ในบทนี้ได้กล่าวถึงลักษณะแบบแผนขององค์กรแห่งความคิดสร้างสรรค์องค์กรแห่งความสมบูรณ์แบบ
ตลอดจนความขัดแย้งของแบบแผน ที่มีผลความสามารถเชิงโครงสร้างองค์กร
นอกจากนี้แล้วยังได้กล่าวถึงระบบการทำงานที่อ่อนแอ และระบบที่ชาญฉลาด
การรวมวัฒนธรรมองค์กรทั้งสองเข้าด้วยกัน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
การจัดการพันธกิจให้ประสบความสำเร็จ
และตัวชี้บ่งที่สำคัญในการวางแนวทางการทำงาน
การวิเคราะห์ประเด็นที่สำคัญ
ความขัดแย้งเชิงโครงสร้าง
หนังสือได้อ้างถึงคำกล่าวของนักทฤษฎีออกแบบองค์กรที่ชื่อ
Jay Galbrath
ว่าองค์กรที่ถูกออกแบบเพื่อให้ทำงานได้ดี 1
ล้านครั้ง
เป็นองค์กรที่ผิดพลาดในการทำงานในครั้งแรก ๆ
ที่เขาหมายถึงว่านวัตกรรมนั้นต้องการกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกจิตใจที่ต่างจากกระบวนการผลิตสินค้า
ดังนั้นจึงเป็นการยากที่ผู้ที่นิยมความสมบูรณ์แบบ
กับผู้ที่นิยมนวัตกรรมจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติด
เนื่องจากพวกเขามีรูปแบบของพฤติกรรม โครงสร้าง ขบวนการคิด
และวัฒนธรรมที่อยู่บนแกนตรงกันข้ามกัน
ผู้ประพันธ์ได้ยกตัวอย่างให้เห็นถึงบริษัท
หรืออุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จนั้น โดยทั่วไปแล้ว ในช่วงต้น ๆ
เป็นช่วงแห่งการค้นหา “OBW” หรือ The
One Best Way of doing things
หรือวิธีทำงานที่ดีที่สุด
ซึ่งในช่วงนี้มีการนำเอากฎระเบียบมาใช้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แต่กลับประสบความสำเร็จอย่างมากมาย โดยวิธีการสุ่มทดลองหรือ
Trial and Error เป็นสำคัญ
โดยวิธีการนี้ทำให้พวกเขาออกแบบผลิตภัณฑ์ ตราสินค้า กลยุทธ์การตลาด
วิธีการจัดจำหน่าย
วิธีการพิเศษที่สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือผู้บริโภค
ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จด้านการเงินในที่สุด
จากนั้นธุรกิจ ก็เริ่มนำเอามาตรการต่าง ๆ
มาควบคุมการทำงานของพนักงาน
โดยนำเอาโครงสร้างองค์กรที่ผู้บริหารชอบมาใช้
นำเอาระเบียบปฏิบัติที่แน่นอนตายตัวมาใช้ กฎระเบียบการปฏิบัติงาน
และพฤติกรรมของการทำงานของพนักงานถูกนำมาใช้ปฏิบัติ
จนกลายมาเป็นมาตรฐานการทำงาน (Deface to norm)
ในที่สุด
ในองค์กรที่เจริญเติบโต
และประสบความสำเร็จแล้วมักจะมีการฝ่าฝืนมาตรฐานที่ยอมรับกันแล้วน้อยมาก
และความอยากที่จะเปลี่ยนแปลงมาตรฐานก็น้อยลงทุกที่เช่นกัน
การเติบโตขององค์กรนี้สะท้อนถึงการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวของปัจเจกชน
ในขณะที่คนเราแก่ตัวขึ้น และประสบความสำเร็จมากขึ้นในชีวิต
เรามีแนวโน้มที่จะมีการค้นคว้าหรือค้นหาสิ่งใหม่ ๆ น้อยลงเรื่อย ๆ
มีความอดทนต่อภาวะไม่แน่นอนน้อยลง
และมีแนวโน้มที่จะนำรูปแบบของความสำเร็จที่เราชอบมาใช้มากขึ้น
ในการศึกษาเรื่องพลังสมองของบุคคล
เราจะอ้างถึงปรากฏการณ์นี้ว่า เป็นความขัดแย้งของแบบแผน
(Pattern Paradox)
สมองของคนเป็นได้ทั้งถูกปลดปล่อยให้เป็นอิสระ
หรือถูกกักขังไว้โดยแบบแผนที่เขาสร้างขึ้นมา
หมายถึงว่ามนุษย์สามารถที่จะคิดประดิษฐ์อะไรขึ้นมาก็ได้ตามจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่
หรืออาจถูกปิดกั้นความคิดไว้ตามกรอบที่ถูกครอบงำไว้ก็ได้เช่นกัน
การครอบงำในที่นี้อาจถูกครอบงำด้วย
วัฒนธรรมหรือกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เป็นต้น
ดังนั้นหากมนุษย์สามารถคิดนอกกรอบได้ก็อาจจะสามารถทำในสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรม
(Innovation)
ซึ่งจะให้คุณประโยชน์ต่อองค์กร และประเทศชาติได้ในที่สุด (ผู้วิเคราะห์)
สมองมนุษย์มีลักษณะเป็นรูปแบบ
(Pattern) ที่ถูกสร้างขึ้นมา
และเป็นเครื่องมือรับรู้แบบแผนที่ดีเลิศ
ณ ปัจจุบันยังไม่มีระบบอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ใด
ๆ มีความสามารถใกล้เคียงกับความสามารถในการจัดรูปแบบ การรับรู้จำได้
และรูปแบบกระบวนการในการรับรู้ของสมอง การตัดสินใจ
และการตัดสินใจของสมอง ความสามารถของสมองในการเข้ารหัส
และถอดรหัสรูปแบบ ที่เกือบไม่ต้องใช้แรงใด ๆ เลย
สมองมีพลังมากมายมหาศาลที่จะจัดการกับสภาพแวดล้อมของเรามีจิตสำนึก
และมีความคิดสร้างสรรค์
แต่ความสามารถในการประมวลผลรูปแบบ
(Pattern – Processing)
ของสมองก็สามารถทำให้คนเรามีพฤติกรรมที่ตรึงอยู่กับที่
มีกลยุทธ์ในการปฏิบัติตัวที่สบายเกินไป
มนุษย์ส่วนใหญ่เมื่อมีอายุมากขึ้น กระบวนการทางจิตใจจะล้าสมัยลง
องค์กรและพฤติกรรมขององค์กร
สะท้อนผลรวมของพฤติกรรมด้านจิตใจของสมาชิกขององค์กรนั้นๆ
องค์กรเป็นได้ทั้งการมอบหมายอำนาจหน้าที่
(Empowered)
และถูกกักขังไว้โดยแบบแผน (Pattern)
ที่ควบคุมการทำงานของสมาชิกในองค์กรก็ได้
หนังสือเล่มนี้ได้อุปมาว่าองค์กรทั้งหลายจะอยู่ใน
Spectrum ระหว่างความมีเสถียรภาพ (Stability)
และความไม่มีกฎระเบียบ (Chaos)
ที่ด้านปลายสุดของความคิดสร้างสรรค์
จะมีสิ่งที่เราเรียกว่าองค์กรแห่งความคิดสร้างสรรค์
(Inventive Organization)
ที่ปลายสุดด้านตรงกันข้ามจะมีสิ่งที่เราเรียกว่า
องค์กรแห่งความสมบูรณ์แบบ (Perfective Origination)
หนังสือได้กล่าวเน้นว่า เราไม่อาจจะตัดสินใจได้ว่า
องค์กรที่อยู่ด้านปลายสุดความคิดสร้างสรรค์ของ
Spectrum ว่าเป็นองค์กรที่ไม่ฉลาด
โดยดูที่กระบวนการที่ไม่เป็นระเบียบของเขา มันขึ้นอยู่กับพันธกิจ
(Mission) วุฒิภาวะ (Life Stage)
และวัตถุประสงค์ของผู้นำ
สถานที่ทำงานซึ่งไม่มีกฎระเบียบ
อาจเป็นสัญญาที่ดีแห่งความสำเร็จในอนาคตก็ได้
องค์กรต้องค้นหาหนทางที่มุ่งสู่ความสำเร็จของเขาเอง
ในทางตรงกันข้าม องค์กรที่มีโครงสร้างชัดเจน ที่เสถียรภาพ
ใช้กฎระเบียบเป็นหลัก องค์กรแห่งความสมบูรณ์แบบ
อาจเป็นไปได้ทั้งการรวมเอาคนโง่ หรือคนฉลาดมาไว้ในองค์กร
ขึ้นอยู่กับว่าเขาประสบความสำเร็จตามพันธะกิจระดมพลังสมองที่มีอยู่
และการผลักดันให้ประสบความสำเร็จตามพันธะกิจ
ผู้ประพันธ์ได้พยายามเปรียบเทียบให้เห็นว่าองค์กรใด
ๆ นั้นเปรียบได้กับสมองของมนุษย์ โดยพฤติกรรมขององค์กร
จะถูกสะท้อนออกมาจากคนทำงานซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรนั่นเอง
ถ้าหากคนทำงาน หรือผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์มีความคิดสร้างสรรค์
ไม่ยึดถึงกรอบแนวคิดเดิม ๆ และกฎระเบียบมากเกินไป
องค์กรนั้นจะก็จะเป็นองค์กรแห่งความคิดสร้างสรรค์
ซึ่งองค์กรอาจได้ประโยชน์สูงสุดจากความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน
ซึ่งตรงกันข้ามกับองค์กรที่ยึดถือเอากฎระเบียบเป็นหลัก
มักจะเป็นระบบที่แข็งทื่อ เป็นระบบที่มีลักษณะเป็นเจ้าขุนมูลนายสูง
มีโครงสร้างชัดเจน และมักเป็นองค์กรที่มีความเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
ซึ่งขาดความกระตือรือร้น ที่จะพัฒนา และสร้างนวัตกรรม
(ผู้วิเคราะห์)
ระบบอ่อนแอ
ในประเด็นนี้หนังสือได้เน้นให้เห็นว่า
ระบบงานโดยทั่วไปของธุรกิจส่วนใหญ่แล้วไม่เคยได้รับการ “ออกแบบ”
มาก่อน แต่มักจะเกิดจากการวิวัฒนาการของคนรุ่นก่อน ๆ
ขณะที่องค์กรหรือหน่วยงานย่อยเติบโตขึ้น มีงานมากขึ้นเรื่อย ๆ
คนก็พยายามปะผุ (Patching) ซ่อมแซม
และเพิ่มเติมระบบที่ควบคุมงานเขาอยู่
และเขาอาจสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ขึ้นมา โดยไม่ได้กำจัดของเก่าออกไป
ในที่สุดก็จบลงที่งานกระดาษ
ที่พวกเขาได้ส่งเอกสารไปตามสายงานไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องคนแล้วคนเล่า
ทำให้กระบวนการทำงานล่าช้าลง และสูญเสียการควบคุมไม่ทราบว่า
Process Flow จะจบลงที่ใคร
ประเด็นนี้ผู้ประพันธ์ได้ให้แนวทางในการจัดการระบบไว้ดังนี้
คือให้มีการตัดสินใจเกี่ยวกับว่าจะจัดการกับระบบทำงานอย่างไร
จะจัดการการไหลของข่าวสารอย่างไร จะกระจายคน
และจัดกลุ่มคนที่มีทักษะอย่างไร
และจะแบ่งปันความรับผิดชอบและอำนาจอย่างไร
ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำให้การทำงานมีความฉลาดเยี่ยม
หรือไม่มีประสิทธิภาพอย่างสุด ๆ ก็เป็นได้
ระบบที่ชาญฉลาด
ลักษณะของระบบส่งมอบบริการมีมติพื้นฐานของความฉลาดดังนี้
1.
ความฉลาดด้านการปฏิบัติงาน
(Performance Intelligence)
เป็นการประเมินว่าองค์ประกอบ (Element)
อันไหนของระบบโดยรวม – คน,
กระบวนการ,
วิธีปฏิบัตินโยบาย สารสนเทศ และทรัพยากรที่จับต้องได้ –
การทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์คุณค่าตามเจตนารมณ์
โดยไม่มีการสูญเสียเวลาหรือทรัพยากร
และปราศจากผลที่เกิดขึ้นข้างเคียงที่ตามมาโดยมิได้ตั้งใจ ที่
Core Value Level
หรือระดับคุณค่าแก่นแท้ของความฉลาด
การรวมวัฒนธรรมองค์กรเข้าด้วยกัน
การรวมองค์กร
2 องค์กรเข้าด้วยกัน หมายถึงการรวมเอา
2 วัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ผู้ประพันธ์ได้ชี้
ให้เห็นถึงปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นจากการรวมกันของ 2
วัฒนธรรมก็คือ
ผู้บริหารของทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีการวิเคราะห์
ประเมินถึงปัญหาของระบบการทำงาน เช่นระบบคอมพิวเตอร์
ระบบควบคุมการเงิน ระบบการวางแผน ระบบควบคุมการดำเนินงาน
ระบบการรายงานและระบบการบริหารทรัพยากร เป็นต้น
ซึ่งในด้านเทคนิคแล้วมักจะมีความแตกต่างกันอย่างมากในด้านเจตคติ
(Attitude) ระบบความเชื่อ ระบบคุณค่า
(Value System) และความรู้สึกนึกคิดส่วนบุคคล
คนของวัฒนธรรมองค์กรที่ไปรวมกับคนอื่นจะรู้สึกหวั่นไหวเกี่ยวกับอนาคตของเขา
ผู้จัดการของเขาอาจะกังวลเกี่ยวกับว่าพวกเขาจะอยู่ ณ จุดใด
และอยู่อย่างไร และเขาจะมีปัญหาความเหมาะสมในการรวมกันนี้หรือไม่
ส่วนผู้ถูกรวม (Merge)
อาจรู้สึกว่าพวกเราอยู่ในสถานะที่ด้อยคุณค่า
เขาอาจรู้สึกมีความปกป้องรูปแบบการทำงานของพวกเขาไม่มีความรู้สึกว่ามีระบบบริษัทแม่
และต้องรับนโยบายที่กำหนดให้เขาทำ
ผู้ประพันธ์ได้แนะนำให้ผู้บริหารควรพยายามแก้ปัญหาด้านวัฒนธรรมด้วยการแก้ที่ระบบ
(System based)
ค้นหาสิ่งอำนวยประโยชน์ สร้างความเข้าใจ การสื่อสาร ประสานงาน
ความร่วมมืออย่างจริงใจ นำเอาองค์ประกอบที่เป็นกุญแจสำคัญ 7
ประการของ OI
มาใช้
ผู้ประพันธ์เน้นให้เห็นว่าองค์กรที่ชาญฉลาดของวิสาหกิจรวมกับขององค์กรอีกฝ่ายหนึ่ง
จะให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นความโง่
อย่างไรก็ตามองค์กรที่ชาญฉลาดทั้งสองฝ่ายของวิสาหกิจก็อาจสะสมเป็นความโง่ได้
เมื่อ
Squashed เข้าด้วยกัน
ผู้ฉลาดบวกกับผู้ฉลาดบวกกับการประยุกต์ที่ฉลาดของคุณฉลาด
จึงจะสามารถก่อให้เกิดความฉลาดสุทธิ
การจัดการพันธะกิจ
หนังสือให้แง่คิดว่าในการวัดองค์กรใหม่
ขอให้เริ่มต้นโดยการเชื่อว่าการจัดองค์กรใหม่เป็นกระบวนการไม่ใช่เป็นแค่เพียงเหตุการณ์หนึ่งเท่านั้นการให้ความหมายของการสื่อสาร
แนวคิดของโครงสร้างใหม่ให้แก่คนในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญมาก
เนื่องจากความหวั่นไหว ความกลัวความไม่ไว้วางใจ
และสงสัยจะกระทบต่อความเข้าใจและการยอมรับการเปลี่ยนแปลงของเขาเสมอ
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจ
แน่นอนว่าจะทำให้ผู้จัดการจำนวนมากเกิดความหวั่นไหว
เกี่ยวกับอนาคตของเขา อาจทำให้ต้องสร้างอาณาจักร
และป้องกันเขตอิทธิพลของเขาขึ้นมา ในตอนแรก ๆ
ที่มีการประกาศจัดองค์กรใหม่
คนอาจจะสงสัยเกี่ยวกับวัตถุประสงค์จริงของการจัดองค์กรใหม่
ใครจะแพ้และใครจะชนะ ใครจะก้าวขึ้นมาแทนและใครจะโดนเขี่ยออกไป
อย่างไรก็ตามหลักการเก่า ๆ ก็ยังคนอยู่นั่นคือ
โครงสร้างองค์กรตามด้วยกลยุทธ์นั่นเอง
ในท้ายที่สุดมันมีความจำเป็นและเหมาะสมที่จะจัดการวิสาหกิจรอบ ๆ
ศูนย์กลางแนวคิดของพันธกิจของวิสาหกิจ ข้อเสนอที่มีคุณค่า
และการตัดสินเชิงกลยุทธ์
วิธีการใด ๆ
ที่เลือกมาเพื่อการจัดการเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เพราะว่าในการเลือกแนวคิดเชิงโครงสร้างใด ๆ เพียงโครงสร้างเดียว
แต่ไม่ได้เลือกข้อได้เปรียบด้านศักยภาพของฝ่ายหนึ่ง
สิ่งที่ฉลาดที่สุดอย่างหนึ่งที่ผู้นำชอบทำก็คือ สร้างจินตนาการ
แนวคิด เพื่อจัดลำดับทรัพยากรที่มีโอกาสที่ดีที่สุด
ในการกระตุ้นให้คนใช้พลังงานของพวกเขาให้มุ่งตรงสู่พันธกิจ
เพื่อร่วมมือกันทำงานและสื่อสารข้ามขอบเขตองค์กรและค่อย ๆ
พัฒนากระบวนการโดยมีแรงเฉื่อย
(Entropy) น้อยสุด
และให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ดรรชนีที่สำคัญของการปรับแนวทาง
การประเมินสถานการณ์ปรับแนวทางการทำงานในองค์กรของคุณให้ตั้งคำถามตัวคุณเองอย่างน้อยดังต่อไปนี้ |
1. |
โครงสร้างโดยรวมขององค์กร เหมาะสมกับพันธกิจของธุรกิจหรือไม่ |
2. |
นโยบาย กฎระเบียบและข้อบังคับ
เหมาะสมกับลำดับความสำคัญธุรกิจหรือไม่ |
3. |
กระบวนการธุรกิจอำนวยให้ลูกจ้างทำงานอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ
และเพิ่มผลิตภาพ
(Productivity)
ไม่ใช่ขัดขวางหรือไม่ |
4. |
ระบบสารสนเทศ และเครื่องมือต่าง ๆ
ได้ส่งเสริมให้พนักงานทำงานของเขาได้อย่างมีประสิทธิผลหรือไม่ |
5. |
ระบบสารสนเทศ
ทำให้พนักงานสามารถสร้างสรรค์คุณค่าให้ลูกค้าของเขาได้หรือไม่ |
6. |
อำนาจหน้าที่
และความรับผิดชอบได้ถูกส่งผ่านไปยังระดับล่างขององค์กรเท่าที่เป็นได้หรือไม่ |
7. |
พันธกิจของแผนกและฝ่ายสอดคล้องกัน
เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีความร่วมมือ
และความพยายามประสานงานกัน
ไม่ใช่ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในหน่วยงาน |
|
|