Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,991
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,583
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,993
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,789
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,468
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,556
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,513
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,821
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,358
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,452
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,365
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,516
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,596
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,134
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,527
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,558
17 Industrial Provision co., ltd 39,228
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,381
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,299
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,627
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,451
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,855
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,222
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,961
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,586
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,518
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,953
28 AVERA CO., LTD. 22,588
29 เลิศบุศย์ 21,689
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,389
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,248
32 แมชชีนเทค 19,897
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,872
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,188
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,143
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,802
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,605
38 SAMWHA THAILAND 18,296
39 วอยก้า จำกัด 17,904
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,482
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,333
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,306
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,243
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,220
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,137
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,071
47 Systems integrator 16,715
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,634
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,459
50 Advanced Technology Equipment 16,446
06/10/2552 09:36 น. , อ่าน 6,396 ครั้ง
Bookmark and Share
จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแยกสาขาย่อยเป็นวิศวกรรมยานยนต์?
โดย : Admin
 

 

                 

             สาขาวิศวกรรมยานยนต์ (Automotive Engineering) เป็นสาขาวิชาที่เน้นให้นิสิตมีความเชี่ยวชาญด้านยานยนต์เป็นพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อผลิตบุคลากรออกไปทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ และชิ้นส่วน ในประเทศ     
 

  หากพิจารณาดู อาจแบ่งรถยนต์ออกเป็นส่วนหลักได้ดังนี้   
1. Power train:   อันได้แก่ เครื่องยนต์ซึ่งเป็นตัวต้นกำลังสำหรับผลิตงานกลจากการแปลงพลังงานรูปอื่น เช่น พลังงานเคมีในเชื้อเพลิง ระบบถ่ายทอดกำลังซึ่งอาจประกอบด้วย คลัตซ์ กระปุกเกียร์ และระบบเพลาที่ต่อไปสู่ล้อขับ
2. โครงและตัวถัง: ซึ่งใช้รับแรงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเสียรูปเกินขอบเขตที่กำหนด
3. ระบบรองรับ (Suspension system): สำหรับรองรับตัวรถบนล้อ ประกอบด้วย สปริงและตัวหน่วงเพื่อดูดซับความสั่นสะเทือนจากล้อในผ่านไปสู่ตัวถังน้อยที่สุด รวมทั้งควบคุมการโคลง หรือเอียงขณะเลี้ยวเพื่อให้รถมีเสถียรภาพในการขับขี่ดี แขนเต้นหรือปีกนกของระบบรองรับต้องไม่ทำให้ล้อเบี่ยงเบนไปจากสภาวะตั้งฉากกับถนนขณะรถโคลง หรือเอียง
4. ระบบบังคับทิศทาง: สำหรับให้รถมีเสถียรภาพในการวิ่งบนทางตรง และปรับเรขาคณิตของล้อขณะเลี้ยวให้ล้อใน และล้อนอกกลิ้งโดยมีการเลื่อนไถลน้อยที่สุด
5. ระบบห้ามล้อ: สำหรับเปลี่ยนพลังงานจลน์เป็นความร้อน เมื่อต้องการลดความเร็ว โดยจะต้องไม่ทำให้รถสูญเสียการทรงตัว และการบังคับทิศทาง
6. ระบบเสริมอื่นๆ: เช่น ระบบปรับสภาวะอากาศ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบถุงลมนิรภัย ฯลฯ


 

 

 

 

 

 

       



              จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า สำหรับงานวิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อการออกแบบจะต้องอาศัยศาสตร์วิศวกรรมพื้นฐานหลักคือ กลศาสตร์ประยุกต์ทั้งของแข็งและของไหล (อย่าลืมว่ารถยนต์เคลื่อนที่ไปในอากาศ และเครื่องยนต์ใช้ของไหลเป็นสารทำงาน) เทอร์โมไดนามิกส์ และเคมีในการแปลงพลังงานอื่นๆ เป็นพลังงานกล รวมทั้งการควบคุมมลภาวะจากอุปกรณ์ต้นกำลังที่ใช้กระบวนการสันดาปเป็นกระบวนการแปลงพลังงาน การถ่ายเทความร้อน การหล่ออื่น การควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งในปัจจุบันแนวโน้มมุ่งไปสู่การควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแม่นยำกว่าการควบคุมเชิงกลล้วนๆ มอเตอร์ไฟฟ้า และวงจรไฟฟ้ากำลัง

 

     วิศวกรรมยานยนต์ VS วิศวกรรมเครื่องกล
                    จากรายละเอียดของวิศวกรรมยานยนต์ จะเห็นได้ว่ารถยนต์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์กลจำนวนมาก ร่วมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนหนึ่ง โดยอุปกรณ์ทั้งหมดมีแนวโน้มจะใช้ระบบควบคุมอิเล็กทรอนิกส์แบบไมโครโปรเซสเซอร์ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก มองดูในแง่วิชาการ การสอนระดับปริญญาตรี จึงจำเป็นที่ต้องเริ่มที่วิชาพื้นฐาน คือ กลศาสตร์ของแข็ง ของไหล วัสดุ และจักรกล เทอร์โมไดนามิกส์ การถ่ายเทความร้อน ไฟฟ้ากำลัง วงจรอิเล็กทรอนิกส์ การควบคุมอัตโนมัติ และการออกแบบ ซึ่งก็เป็นวิชาพื้นฐานของวิศวกรรมเครื่องกลเช่นกัน ซึ่งเมื่อไปดูหลักสูตรมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ จะพบว่าในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นจะมีการสอนวิชาวิศวกรรมยานยนต์ในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ดังนั้นความแตกต่างของสาขาวิชานี้จึงอยู่ที่วิชาเลือก และบังคับเลือก ซึ่งจะเน้นการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะ

 

 

ขอบคูณทุกแหล่งที่มาของข้อมูล

 

========================================================