Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,791
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,164
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,449
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,999
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,287
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,814
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,766
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,966
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,307
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,047
17 Industrial Provision co., ltd 39,844
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,794
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,707
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,971
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,098
29 เลิศบุศย์ 22,057
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,814
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,708
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,323
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,570
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,538
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,280
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,956
38 SAMWHA THAILAND 18,734
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,751
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,720
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,666
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,593
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,588
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,094
49 Advanced Technology Equipment 16,928
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,893
17/01/2553 21:32 น. , อ่าน 6,607 ครั้ง
Bookmark and Share
การผลิตไฟฟ้าโดยเซลล์แสงอาทิตย์
โดย : Admin



“แสงอาทิตย์”
เป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นพลังงานสะอาดและมีอยู่ทั่วไป แต่การนำมาใช้ประโยชน์อาจยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เนื่องจากแสงอาทิตย์มีเฉพาะในตอนกลางวัน ตลอดจนมีความเข้มของแสงที่ไม่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและฤดูกาลที่เปลี่ยนไป

               แสงอาทิตย์เกิดจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์ เมื่อแสงอาทิตย์เดินทางมาถึงนอกชั้นบรรยากาศของโลก จะมีความเข้มของแสงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,350 วัตต์/ตารางเมตร แต่กว่าจะลงมาถึงพื้นโลก พลังงานบางส่วนต้องสูญเสียไปเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศต่างๆ ที่ห่อหุ้มโลก เช่น ชั้นโอโซน ชั้นไอน้ำ ชั้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ความเข้มของแสงลดลงเหลือประมาณ 1,000 วัตต์/ตารางเมตร (หรือประมาณร้อยละ 70)

 

  ปริมาณแสงอาทิตย์ที่ได้รับบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จะมีปริมาณสูงสุดเมื่อพื้นที่นั้นทำมุมตั้งฉากกับแสงอาทิตย์ ดังนั้นหากต้องการให้พื้นที่ใดรับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุดต่อวัน ก็จะต้องปรับพื้นที่รับแสงนั้นๆ ตามการเคลื่อนที่ของแสงอาทิตย์ ซึ่งจะเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตกเสมอ นอกจากนั้น จากการที่โลกเอียง ทำให้ซีกโลกเหนือหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ในฤดูร้อน และเอียงซีกโลกใต้หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ในฤดูหนาว ดังนั้นเราจึงต้องปรับมุมพื้นที่รับแสงนั้นๆ ในแนวเหนือใต้ (มุมก้มและมุมเงย) ให้สอดคล้องตามฤดูกาลด้วย เพื่อให้พื้นที่นั้นๆ รับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุดตลอดทั้งปี

อ่านต่อ => https://9engineer.com/ee_main/Solar%20cell/SolarElectricity.htm

 

           ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างเส้นขนานที่ 6-10 องศาเหนือ จะได้รับแสงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 4-5 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ตารางเมตร/วัน ซึ่งหากสามารถปรับพื้นที่รับแสงให้ติดตามแสงอาทิตย์ได้ตลอดเวลาแล้ว คาดว่าจะสามารถรับแสงได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.3-1.5 เท่า

 

      หลักการผลิตไฟฟ้าโดยเซลล์แสงอาทิตย์

            “เซลล์แสงอาทิตย์” เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลก นำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และในทันทีที่มีแสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีอนุภาคของพลังงานประกอบ ที่เรียกว่า Photon จะถ่ายเทพลังงานให้กับ Electron ในสารกึ่งตัวนำ จนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของ Atom และสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่อ Electron มีการเคลื่อนที่ครบวงจร ก็จะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น

                องค์ประกอบหลักของ “เซลล์แสงอาทิตย์” คือ สารกึ่ง ตัวนำ (Semi Conductors) 2 ชนิด มาต่อกัน ซึ่งเรียกว่า P-N Junction เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ ก็จะถ่ายพลังงานให้อะตอมของสารกึ่งตัวนำ ทำให้เกิดอีเลคตรอนส์และโฮลส์อิสระ ไปรออยู่ที่ขั้วต่อ ดังนั้นเมื่อมีการเชื่อมกับวงจรภายนอก เช่น เอาหลอดไฟฟ้ามาต่อคร่อมขั้วต่อ ก็จะเกิดการไหลของอีเลคตรอนส์/โฮลส์ ที่ให้พลังงานไฟฟ้ากระแสตรงกับวงจรภายนอกได้ และจะให้พลังงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่ยังมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที หรือนำไปกักเก็บไว้ในแบตเตอรี่ เพื่อใช้งานภายหลังได้

========================================================

 

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD