โดย : อ. ชำนาญ เฉลิมยุทธ
Scan Time
|
|
เมื่อมีการเริ่มต้นจ่ายกำลังไฟฟ้าให้กับ PLC/PC โปรเซสเซอร์จะเริ่มทำงานโดยทำการประมวลผลโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการระบบก่อน หลังจากนั้น ถ้าหน่วยประมวลผลอยู่ในโหมด "RUN" โปรเซสเซอร์ก็จะทำหน้าที่เข้าสู่การสแกนโดยการสแกนจะมี 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ทำการอ่านสถานะของอุปกรณ์อินพุทที่เชื่อมต่ออยู่กับอินพุทโมดูล นำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ที่ หน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บสถานะอินพุท ซึ่งภายใน PLC S5 เรียกว่า PII (Process Image Input)
ขั้นตอนที่ 2 โปรเซสเซอร์จะทำการประมวลผลโปรแกรมที่ผู้ใช้สร้างขึ้น โดยใช้ข้อมูลภายใน PII และ PIQ ประกอบการประมวลผล และในระหว่างการประมวลผล ถ้ามีผลลัพธ์จากการประมวลผลทำให้ อุปกรณ์เอ้าท์พุททำงาน โปรเซสเซอร์จะยังไม่ส่งข้อมูลที่ประมวลผลได้ออกไปที่เอ้าท์พุทโมดูล แต่จะเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ที่หน่วยความจำ ที่ใช้ในการเก็บสถานะของเอ้าท์พุทก่อน ซึ่งภายใน PLC S5 เรียกว่า PIQ (Process Image Output)
ขั้นตอนที่ 3 รอจนกระทั่งโปรเซสเซอร์ประมวลผลโปรแกรมที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาจนจบโปรแกรม หลังจากนั้น โปรเซสเซอร์จะทำการส่งข้อมูลที่เก็บอยู่ใน PIQ ไปยังเอ้าท์พุทโมดูล หลังจากนั้นโปรเซสเซอร์ ก็จะย้อนกลับไปทำงานในขั้นตอนที่ 1 ของการสแกน เพื่อทำการสแกนรอบต่อไป
แต่ในการประยุกต์ใช้การสแกนภายในการทำงานของ PLC/PC ในปัจจุบัน จะมีส่วนที่ทำหน้าที่ ตรวจวัดคาบเวลาที่ใช้ในการสแกน 1 รอบ ด้วย เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่า PLC/PC ที่ใช้งาน มีประสิทธิภาพ ตามที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ SIMATIC S5 จะใช้เวลาในการสแกน 1 รอบ ไม่เกิน 500 ms. ถ้าโปรเซสเซอร์ตรวจพบว่าค่าเวลา Scan Time เกินกว่านี้ ไมโครโปรเซส เซอร์จะหยุดทำงาน ทันที
คาบเวลาการตอบสนองเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานะของอินพุท ที่มีผลต่อสถานะของเอ้าท์พุท
========================================================