Output Module
หน่วยเอ้าท์พุทจะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างหน่วยประมวลผล
กับอุปกรณ์เอ้าท์พุททำงานภายนอก
โดยหน่วยประมวลผลจะส่งสัญญาณ
หรือข้อมูลปริมาณต่างๆ
ซึ่งเป็นผลลัพธ์
หรือข้อมูล
ที่ได้จากการประมวลผล
ของโปรเซสเซอร์
ออกไปควบคุมอุปกรณ์ทำงาน
และลักษณะของเอ้าท์พุทโมดูล
จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
คือ
โมดูลเอ้าท์พุทแบบลอจิก
(DO : Digital Output Module )
และโมดูลเอ้าท์พุทแบบอะนาลอก
(AO : Analog Output Module)
ขึ้นอยู่กับชนิดของอุปกรณ์ทำงานที่ใช้งาน
ว่าเป็นอุปกรณ์ทำงานแบบดิจิตอล
หรือ แบบอะนาลอก
ผู้ใช้ต้องเลือกใช้งานให้เหมาะสม
เอ้าท์พุทโมดูลแบบลอจิก
( Logic Output Module )
จะส่งสัญญาณที่มีลักษณะเป็นไบนารี่
หรือ ดิจิตอล
ออกไปควบคุมอุปกรณ์ทำงานภายนอก
ซึ่งจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ
คือ
อุปกรณ์เชื่อมโยงทางแสง
เพื่อแยกสัญญาณ
จากวงจรภายในของ PLC/PC
ออกจาก
วงจรของอุปกรณ์ควบคุมภายนอก
เพื่อป้องกันความเสียหายของวงจรภายใน
หรือ หน่วยประมวลผล
ที่เกิดขึ้น
เนื่องจากส่วนของอุปกรณ์ภายนอก
โดยเอ้าท์พุทโมดูลที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันจะมีอยู่
2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ
- เอ้าท์พุทโมดูลแบบลอจิก
ที่ให้สัญญาณเอ้าท์พุทออกมาอยู่ในรูปของแรงดัน
(Voltage Output) เช่น สถานะ
"1"
จะได้แรงดันที่เอ้าท์พุท
เท่ากับ 24 V และ สถานะ
"0" เท่ากับ 0 V
- เอ้าท์พุทโมดูลแบบลอจิก
ที่ให้สัญญาณเอ้าท์พุทออกมาอยู่ในรูปของหน้าสัมผัส
(Relay Output) ) เช่น สถานะ
"1"
จะได้เอ้าท์พุทเป็นหน้าสัมผัสปิด
และ "0"
จะได้เอ้าท์พุทเป็น
หน้าสัมผัสเปิด
บล็อกไดอะแกรมแสดงส่วนประกอบของการทำงานของโมดูลเอ้าท์พุทแบบลอจิก
เอ้าท์พุทโมดูล
จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากหน่วยประมวลผล
ไปยังอุปกรณ์ทำงาน
เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักร
หรือ
อุปกรณ์ภายในกระบวนการผลิต
ให้มีลักษณะตามต้องการ
นอกจากโมดูลเอ้าท์พุท
จะประกอบด้วยอุปกรณ์เชื่อมโยงทางแสง
แล้วยังประกอบด้วย
ส่วนที่ทำหน้าที่ขยายขนาดของสัญญาณให้มีขนาดที่เหมาะสมสำหรับควบคุมอุปกรณ์ภายนอก
เช่น
ระดับแรงดันที่ใช้ในการประมวลผล
อาจจะมีขนาดเท่ากับ 5
โวลต์
แต่แรงดันที่ใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ทำงานอาจจะมีขนาด
24 โวลต์
ดังนั้นจึงต้องมีส่วนที่ทำหน้าที่ขยายขนาดของสัญญาณ
นอกจากนั้นยังมีส่วนที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบสถานะการลัดวงจรของอุปกรณ์ภายนอก
เพื่อใช้ในการแสดงสถานะของโมดูลกับผู้ใช้ว่าโมดูลอยู่ในสภาวะปกติหรือไม่
|