Siemens PLC S5 Basic Operations (Timer Operations )
โดย : Admin

โดย : อ. ชำนาญ   เฉลิมยุทธ   

 

THE PLC: 
Brief history Type of PLC
Pulse Edge Scan Time
Input Module Output Module
Intelligent Module Sink/Source Module
Operand Logic Gate
Programming.  


 Basic Operations:

Boolean logic  Set/Reset
Data Block  Arithmetic
Comparison  Timer 
Counter  Load/Transfer 
Block Call   
   

Appendix(S5) :
Table 1 Table 2   Table  3  Table  4  Table  5





 

Timer Operations       

Operation

Operand

ความหมาย

SP

   

Pulse Timer

SE

   

Extended Pulse Timer

SR

   

On-Delay Timer

SS

   

Stored On-Delay Timer

SF

   

Off-Delay Timer

R

   

Reset Timer

ตัวอักษรระบุอุปกรณ์
T

ตัวเลขระบุตำแหน่ง
0 ถึง 127

ตารางคำสั่งที่ใช้ในการปฏิบัติการของ Timer Operations

    

สํญลักษณ์ของไทม์เมอร์ ภายในโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ SIMATIC S5

 

 

  การเซ็ทค่าเวลา และลักษณะการทำงานของไทม์เมอร์


           ในโปรแกรมควบคุมจะใช้ไทม์เมอร์ทำงานในหลายกรณี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการกำหนดค่าเวลาให้กับไทม์เมอร์ นั้น การกำหนดค่าเวลาของไทม์เมอร์จะมีหลายลักษณะ ดังนี้
         1. อยู่ในรูปเลขฐาน 10 ซึ่งประกอบด้วย ค่าของเวลา และ ฐานเวลา ซึ่งกำหนดผ่าน โอเปอร์แรนด์ KT เป็นต้น

 


              
     ตัวเลขหลังจุดทศนิยมนั้นเป็นรหัสที่ใช้บอกหน่วยของเวลา ของไทม์เมอร์ จะมีค่าตามตารางข้างล่าง

Time base

3

Factor

0.01 sec 

0.1 sec  1 sec  10 sec

อย่างไรก็ตามค่าเวลาที่ไทม์เมอร์ทำงานจริง จะสามารถคำนวณได้จากการนำเอา เลขหน้าจุดทศนิยมมาคูณกับแฟคเตอร์ของหน่วยเวลาตามเลขรหัสหลังจุดทศนิยม

คำสั่ง

การคูณของแฟคเตอร์

ค่าเวลาของไทม์เมอร์

KT 400.1

400 x 0.1 s

40 s

KT 40.2

40 x 1 s

40 s

KT 4.3

4 x 10 s

40 s

             จากตารางจะเห็นว่า การตั้งเวลาให้มีค่า 40 วินาที จะมีหลายวิธีซึ่งในแต่ละวิธีจะมีความละเอียดในการนับเวลาแตกต่างกัน ซึ่งในแบบแรก จะมีความละเอียดสูงสุด คือ จะทำการนับครั้งละ 0.1 วินาที ในขณะที่แบบสุดท้าย จะทำการนับครั้งละ 10 วินาที ทำให้มีโอกาสผิดพลาดสูงกว่า ดังนั้นการกำหนดค่าเวลาของไทม์เมอร์ ควรจะกำหนดให้มีแฟคเตอร์ หน่วยของเวลา ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2. อยู่ในรูปของไบนารี่ 16 บิท ซึ่งประกอบด้วย ค่าของเวลา ( Time value ) และ ฐานเวลา ( Time base ) ซึ่งกำหนดผ่าน โอเปอร์แรนด์ DW , IW , QW , FW เป็นต้น

 

ส่วนประกอบในการกำหนดค่าเวลาของไทม์เมอร์

Time base

00 

01

 10 

11

Factor

0.01 sec 

0.1 sec 

1 sec 

10 sec

 

รูปแบบการกำหนดค่าเวลาของไทม์เมอร์

 

ในไทม์เมอร์โอเปอร์แรนด์ หนึ่งเวิร์ด ประกอบด้วย 16 บิท ซึ่งประกอบด้วย ฐานเวลา ( Time base ) และ ค่าของเวลา ( Time value )
รายละเอียดของบิทในไทม์เมอร์ โอเปอร์แรนด์ หนึ่งเวิร์ด มีดังนี้

บิทที่ 0 ถึง บิทที่ 11 ค่าเวลา ( Time value )
          จะใช้ในการกำหนดค่าเวลาในรูปแบบไบนารี่ ( ได้มาจากการแปลงรหัส BCD ตั้งแต่ 000 ถึง 999 ) เมื่อถูกกำหนดให้เริ่มต้นทำงานจะนับเวลาถอยหลังจนมีค่าถึง 000
บิทที่ 12 และ บิทที่ 13 ฐานเวลา ( Time base ) บิทนี้จะใช้ในการกำหนดฐานเวลาในรูปของรหัสไบนารี่
บิทที่ 14 และ บิทที่ 15 สำรองไว้ ไม่ได้ใช้งาน

 

      การกำหนดค่าคงที่ของไทม์เมอร์ ในลักษณะนี้แสดงดังตัวอย่างข้างล่าง ซึ่งต้องการกำหนดค่าเวลาคงที่ 40 วินาที และเก็บค่าเวลาคงที่ของไทม์เมอร์ไว้ที่ DB2 ใน DW0 , DW2 และ DW4 เพื่อนำไปใช้กำหนดให้ไทม์เมอร์ภายหลัง

 

DB 2
  DW 0 KM 0011000000000100
  DW 2 KM 0110000001000000
  DW4 KM 1101010000000000
BE

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)