Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,015
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,602
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,006
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,815
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,483
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,576
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,531
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,838
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,382
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,468
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,383
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,531
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,627
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,165
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,563
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,576
17 Industrial Provision co., ltd 39,248
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,394
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,314
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,644
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,477
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,875
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,241
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,980
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,607
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,532
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,974
28 AVERA CO., LTD. 22,604
29 เลิศบุศย์ 21,705
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,409
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,270
32 แมชชีนเทค 19,914
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,888
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,203
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,157
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,818
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,619
38 SAMWHA THAILAND 18,318
39 วอยก้า จำกัด 17,927
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,500
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,355
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,322
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,263
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,238
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,153
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,094
47 Systems integrator 16,730
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,654
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,477
50 Advanced Technology Equipment 16,463
17/03/2548 18:10 น. , อ่าน 11,680 ครั้ง
Bookmark and Share
INTERPOLE WINDING
narong.toshiba
17/03/2548
18:10 น.
มีหน้าที่หลักๆอย่างไร ในส่วนประกอบของ D.C.มอเตอร์ ครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 21 รายการ | 1  2    »
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
18/03/2548
13:28 น.
Interpole Winding มีหน้าที่หลักในการสร้างสนามแม่เหล็กเข้าไปหักล้างกับสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นที่โรเตอร์ในขณะขับโหลด เพราะถ้าไม่มีสนามแม่เหล็กของ อินเทอร์โปลเข้าไปหักล้าง สนามแม่เหล็กชองเมนโปล จะถูกสนามแม่เหล็กของโรเตอร์ทำให้ตำแหน่งที่เป็นจุดนิวตรอลโซนเปลี่ยนตำแหน่ง และเมื่อตำแหน่งของจุดนิวตรอลโซนเปลี่ยนแต่เราไม่เปลี่ยนตำแหน่งของซองถ่านตาม ผลที่ได้จะเกิดการสปาร์คขึ้นที่ถ่าน เนื่องจากการเกิดการคอมมิวเตชั่นที่ไม่สมบูรณ์<br> และเนื่องจาก อินเทอร์โปล สร้างมาเพื่อหักล้างสนามแม่เหล็กที่เกิดจากโรเตอร์ จึงมักจะสรุปง่ายว่า อินเทอร์โปลมีหน้าที่แก้ อาร์เมเจอร์รีแอคชึ่น
ความคิดเห็นที่ 2
narong.toshiba
22/03/2548
12:56 น.
นิวตรอนโฃล,คอมมิวเตชั่นและอาร์เมเจอร์รีแอคชั่น 3คำนี้ มีความหมายที่แท้จริงว่าอย่างไรขอคำอธิบายมากกว่านี้ได้หรือไม่ครับเนื่องจากศึกษาขอ้มูลดานนี้มานอ้ยไปหน่อยขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 3
ช่างซ่อมมอเตอร์
26/03/2548
13:18 น.
คอมมิวเตชั่น คือการเปลี่ยนทิศทางของกระแสที่ไหลผ่านขดลวดอาร์เมเจอร์ โดยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสได้แก่ คอมมิวเตเตอร์และแปรงถ่าน สาเหตุที่ต้องมีการเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสในขดลวดอาร์เมเจอร์ก็เพราะ เมื่ออาร์เมเจอร์หมุนในสนามแม่เหล็กซึ่งมี ขั้วของขดลวดฟีลด์ที่เปลี่ยนไปตามองศาต่างๆของสเตเตอร์ ขั้วของโรเตอร์หรืออาร์เมเจอร์ต้องเปลี่ยนไปให้สอดคล้องกับขั้วของฟีลด์เพราะไม่ฉะนั้นมอเตอร์จะไม่หมุน ( อาจจะเป็นการดูดหรือผลัก )<br><br>การเปลี่ยนทิศทางการหมุนของกระแส ซึ่งจะใช้แปรงถ่านเป็นสะพานไฟที่ทำหน้าที่ส่งถ่ายกระแสผ่านทางคอมมิวเตเตอร์ และส่งต่อไปยังขดลวดอาร์เมเจอร์อีกที ในจังหวะของการเปลี่ยนทิศทางจะมีช่วงเวลาสั่นๆที่แปรงถ่านจะทำการชอ๊ตเซอร์กิตระหว่างซี่คอมมิวเตอร์อาจจะเป็น 2 หรือ 3 ซี่ขึ้นไป ซึ่งแต่ละซี่มีการต่ออยู่กับขดลวดอาร์เมเจอร์ ซึ่งในขณะที่ชอ๊ตอยู่นี้ ถ้าขดลวดที่ต่ออยู่ยังอยู่ในทิศทางที่ตัดสนามแม่เหล็กที่ฟีลด์ ก็จะทำให้เกิดการสปารค์ขึ้นที่แปรงถ่านและหน้าคอมมิว ฉะนั้นตำแหน่งของแปรงถ่านจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ขดลวดไม่ตัดกับสนามแม่เหล็กของเมนโปลหรือขดลวดฟีลด์ หรือพูดง่ายๆว่าในขณะที่ซี่คอมมิววิ่งผ่านแปรงถ่าน ขดลวดที่ต่ออยู่กับซี่คอมมิวที่อยู่ใต้แปรงถ่าน จะต้องไม่อยู่ในตำแหน่งที่ตัดกับสนามแม่เหล็กของเมนโปล ซึ่งตำแหน่งนั้นจะเรียกว่า นิวตรอลโซน<br><br>ถึงแม้ว่าเราสามารถที่จะหานิวตรอลโซนได้แล้วในขณะที่มอเตอร์ไม่ได้ขับโหลด แต่เมื่อมอเตอร์ถูกนำไปขับโหลด สนามแม่เหล็กที่เกิดจากอาร์เมเจอร์จะไปทำให้ตำแหน่งของนิวตรอลโซนของเดิมเปลี่ยนไป ทำให้ต้องมีการออกแบบอินเทอร์โปลขึ้นมาเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กมาหักล้างกับสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นที่อินเทอร์โปล ซึ่งก็หมายความว่า อินเทอร์โปลสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ผลที่เกิดจากอารเมเจอร์ ซื่งก็จะตรงกับภาษาอังกฤษว่า อาร์เมเจอร์รีแอคชั่น
ความคิดเห็นที่ 4
narong.toshiba
26/03/2548
17:45 น.
ผมพอจะเข้าใจบ้างแล้วครับขอขอบคุณสำหรับคำตอบของคุณช่างซ่อมมอเตอร์ ผมเคยเจอ มอเตอร์ ดีซีตัวใหญ่บางตัวมีขดลวดอยู่ชุดหนึ่งที่เรียกว่า คอมเพนเสท (ไม่ทราบว่าสะกดถูกหรือปล่าวนะ)ไม่ทราบว่าทำหน้าที่เหมือน อินเทอโปลใหม๋ครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ช่างซ่อมมอเตอร์
27/03/2548
09:46 น.
เป็นคำถามที่ดีครับ มอเตอร์ดีซี ถ้าเป็นขนาดไม่ใหญ่มากนัก โครงสร้างของสเตเตอร์จะประกอปด้วย ขดลวดฟีลด์ และขดลวด อินเทอร์โปล ใหญ่ขึ้นมาอีกนิดหนึ่งหรือต้องการออกแบบให้การเกิดอาร์เมเจอร์รีแอคชั่นน้อยลงไปอีก ก็จะมีการเพิ่มขดลวด คอมเพนเสท ( Compensating Winding )ซึ่งจะพัน อยู่บนผิวหน้าของขั้วฟีลด์โปลอีกทีหนึ่ง มีหน้าที่เหมือน อินเทอร์โปล แต่จะช่วยการแก้อาร์เมเจอร์รีแอคชึ่นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น<br><br> และถ้าเป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่มาก ๆ โครงสร้างของสเตเตอร์ก็จะมีขดลวดเพิ่มขึ้นอีก 1 ชุดคือ ซีรีย์ฟีลด์ ซึ่งจะพันอยู่บนรวมกับฟีลด์คอยล์ หน้าที่ก็จะเหมือนกับอินเทอร์โปลและคอมเพนเสท โดยจะไปช่วยเสริมการทำงานของอินเทอร์โปลและคอมเพนเสทให้สามารถแก็อาร์เมเจอร์รีแอคชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ<br><br>และเนื่องจากอาร์เมเจอร์รีแอคชึ่น จะแปรผันตามโหลดหรือกระแสของอาร์เมเจอร์ จึงทำให้ ขดลวดทั้งสามจะต้องต่ออนุกรมกับ อาร์เมอเจอร์ แต่จะมีข้อสังเกตุที่พึงระวังดังนี้<br> 1. ขดลวดอินเทอร์โปล และ คอมเพนเสท ส่วนมากจะต่อตายตัวอนุกรมกับอาร์เมเจอร์ออกมาแค่ 2 สายสำหรับ ไฟจ่ายเข้า<br> 2. ถ้ามอเตอร์มีขดลวด ซีรีย์ฟีลด์ อยู่ด้วย ขดลวดนี้จะถูกต่อสายออกมาที่เทอร์มินอลบล็อกด้วย เพื่อนำมาต่ออนุกรมข้างนอกกับขดลวดอาร์เมเจอร์และอื่นๆ สาเหตุที่ต้องนำมาต่อด้านนอกเพราะขดลวดซีรีย์ฟีลด์ จะต้องมีขั้วสนามแม่เหล็กที่สร้างขึ้นเสริมกับขั้วแม่เหล็กของขดลวดฟีลด์<br> 3. การกลับทางหมุนของมอเตอร์ในข้อสอง จึงทำได้ 2 วิธี คือ <br> 3.1 กลับขั้ว แหล่งจ่ายที่จ่ายให้กับ อาร์เมเจอร์+ อินเทอร์โปล+คอมเพนเสท แต่ ขั้วของซีรีย์ฟีลด์ ยังมีขั้วตามเดิม<br> 3.2 กลับขั้วแหล่งจ่ายที่จ่ายให้กับขดลวดฟีลด์คอยล์ และ ซีรีย์ฟีลด์ แต่ด้วยวิธีนี้ ไม่เป็นที่นิยมใช้เพราะมีข้อจำกัดของการใช้งานมอเตอร์ จึงทำให้จะใช้วิธีการในข้อ 3.1 จึงเป็นสาเหตุที่ต้องต่อสายของขดลวดซีรีย์ฟีลด์ออกมาข้างนอก ทั้งที่ การใช้งานจะต่ออนุกรมกับอาร์เมเจอร์ก็ตาม<br>
ความคิดเห็นที่ 6
narong.toshiba
31/03/2548
12:47 น.
การเปลี่ยนแปลงถ่านของมอเตอร์ dc ถ้าจะให้ได้ผลดีและใช้งานได้ดีเหมือนเดิมควรจะต้องคำนึงถึงและระวังในสิ่งใดบ้างครับ(กรณีที่มอเตอร์ติดตั้งอยู๋กับโหลดครับ)
ความคิดเห็นที่ 7
ช่างซ่อมมอเตอร์
31/03/2548
18:09 น.
สิ่งที่ต้องคำนึงในการเปลี่ยนแปลงถ่าน<br> 1. เกรดถ่าน หรือ วัสดุส่วนผสมที่ใช้การผลิตแปรงถ่าน<br> 2. ขนาดของถ่าน ความกว้าง ความหนา และ ความยาว<br> 3. รูปแบบโครงสร้างของถ่าน ( หางปลา , จำนวนชิ้นต่อซอง , การรองฉนวนที่บริเวณ สปริงจับกด ) ต้องเป็นแบบเดิม เพราะรูปแบบของแปรงถ่านถูกออกแบบมาให้ใช้งาน เฉพาะในงานแต่ละประเภท<br> 4. ขนาดของซองถ่าน ต้องไม่สึกชำรุด ทำให้เกิด Clearance ระหว่างถ่านกับซองมีผลทำให้เกิดการสั่นในขณะใช้งาน ( ตัวเลขจำไม่ได้ต้องค้นดู หรือหาดูได้จาก คู่มือมอเตอร์ที่ให้มาพร้อมกับมอเตอร์ )<br> 5. ระยะห่างระหว่างซองกับผิวคอมมิวเตเตอร์ควรมีค่าอยู่ในช่วง 2-3 มม. เพราะถ้ามากกว่านี้จะทำให้เกิดการแกว่งไปมาของถ่านเช่นกัน ปัญหานี้อาจจะเกิดกับมอเตอร์ที่ส่งซ่อมและ ไปกลึงผิวคอมมิว และไม่ได้มีการปรับเซตระยะตรงนี้ใหม่<br> 6. การขัดถ่านให้ได้ curve กับผิวคอมมิว มากที่สุดน่าจะเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในขบวนการเปลี่ยนแปรงถ่าน คงต้องพยายามทำให้เข้ารูปร่างกับผิวคอมมิวมากที่สุด<br><br> ถ้ามีการตรวจสอบ และปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวข้างต้น การใช้งานของมอเตอร์จะได้ผลดีเหมือนเดิม
ความคิดเห็นที่ 8
narong.toshiba
06/04/2548
12:34 น.
ขอขอบคุณอีกครั้งครับสำหรับคำตอบ
ความคิดเห็นที่ 9
ผู้หวังดี
12/01/2551
21:50 น.
หน้าจะมีคำตอบ หลายกว่านี้นะครับ
ความคิดเห็นที่ 10
เด็ก ดี
16/06/2551
13:52 น.
การเกิดอาร์เมเจอร์รีแอดชั้นคืออะไร และวิธีแก้ทำอย่างไงคับ
ความคิดเห็นที่ 11
ราร
18/08/2551
11:46 น.
ก็ดี<br>
ความคิดเห็นที่ 12
ความรู้ไม่ถึงขั้น
28/09/2551
00:42 น.
ปัญาหาของคอมมิวเตชั่นมีอะไรบ้าง และมีวิธีแก้อย่างไรคับ
ความคิดเห็นที่ 13
เด็กๆ
05/11/2551
15:34 น.
ขอบคุณคำตอบที่ 3 คับ
ความคิดเห็นที่ 14
เด็กCm
12/02/2552
18:14 น.
ขอบคุงมากนะค่ะ<br><br>ที่ให้ข้อมูล
ความคิดเห็นที่ 15
narong.toshiba
06/08/2552
15:30 น.
นิวตรอนโฃล,คอมมิวเตชั่นและอาร์เมเจอร์รีแอคชั่น 3คำนี้ มีความหมายที่แท้จริงว่าอย่างไรขอคำอธิบายมากกว่านี้ได้หรือไม่ครับเนื่องจากศึกษาขอ้มูลดานนี้มานอ้ยไปหน่อยขอบคุณครับ <br> <br> <br>
ความคิดเห็นทั้งหมด 21 รายการ | 1  2    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: