Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,990
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,582
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,786
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,466
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,555
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,512
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,818
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,354
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,451
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,364
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,514
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,595
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,133
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,526
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,557
17 Industrial Provision co., ltd 39,227
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,378
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,625
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,449
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,854
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,585
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,686
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,386
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,896
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,871
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,187
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,141
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,801
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,604
38 SAMWHA THAILAND 18,294
39 วอยก้า จำกัด 17,902
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,481
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,332
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,305
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,242
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,218
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,136
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,714
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,631
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,458
50 Advanced Technology Equipment 16,445
06/01/2546 03:38 น. , อ่าน 25,030 ครั้ง
Bookmark and Share
CNC เช่น 4 แกน 5 แกน
CNC
06/01/2546
03:38 น.
CNC เช่น 4 แกน 5 แกน แตกต่างกันอย่างไรครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 50 รายการ | 1  2  3  4    »
ความคิดเห็นที่ 1
nsuchart@hunsa.com
08/01/2546
00:00 น.
เครื่อง CNC ที่ใช้งานกันทั่วไปจะมีแกนการเคลื่อนที่ 3 แกน คือแกน XYZ ที่เป็นส้นตรง(Linear Motion) สำหรับ CNC 4 แกน และ 5 แกน ก็คือการเพิ่มแกนการเคลื่อนที่ๆ เป็นแกนหมุน (Rotary Motion) ในแนวแกน XYหรือ Z เช่นถ้าเป็นแกนหมุนในแนวแกนX ก็จะเป็นแกนa Y,b Z,c เครื่องจักรที่ออกแบบเป็น 4 แกน หรือ 5 แกน อาจจะมีแกนการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน เช่น XYZa XYZab เป็นต้น สำหรับข้อดีของการเคลื่อนที่ๆ มีแกนหมุนเพิ่มขึ้นก็คือ สามารถตัดเฉือนชิ้นงานที่มีความสลับซับซ้อนสูงๆ ได้
ความคิดเห็นที่ 2
kriangkrai
18/07/2546
16:21 น.
ลองใช้ Mastercam กัดงาน4-5แกนดูซิครับ<br>ง่ายมาก<br>เกรียงไกร<br><a href="mailto:utecpro@hotmail.com" Target="_BLANK">utecpro@hotmail.com</a>
ความคิดเห็นที่ 3
Pawooth 0-6338-8149
21/05/2548
00:39 น.
Basic Cad/Cam Training Program -by Mastercam <br><br>Mill CNC basic+Design 3 Days <br>Mill 4-5 Axis 3 days <br>Lahte CNC basic+Design 3 days <br>Lathe 3-4 Axis,Mill Turn 3 days <br>Wire CNC basic+Design 3 days <br>G-CODE &amp; CNC basic 2 days <br>Post Processor Basic 2 Days <br><br>Thai Book &amp; Training CD for Mastercam Software <br>Mill Book <br>Lathe Book <br>Wire Book <br>Mill 2.5 Axis CD <br>Mill 3 Axis CD <br>Mill 4-5 Axis CD <br>Lahte 2-4 Axis CD <br>Wire 2-4 Axis CD <br><br><br>Any advance Application Please contact : <br><br>UTEC Professional Co.,Ltd. <br>Mastercam Authorised Reseller in Thailand <br>Pawooth <br>Hot Line 0-6338-8149 <br><a href="mailto:sales@utecgroup.com" Target="_BLANK">sales@utecgroup.com</a><br>
ความคิดเห็นที่ 4
เด็กแนว
30/05/2548
08:33 น.
มันแตกต่างกันอย่างไรคับไม่ค่อยเข้าใจตรงนี้ช่วยตอบจ้าระหว่าง4-5เนี่ย
ความคิดเห็นที่ 5
ie nu
12/08/2548
22:35 น.
หลักการและเทคโนโลยีทางด้านการขึ้นรูปด้วยเครื่องกัด 5 แกน<br> ปัจจุบันความต้องการในการขึ้นรูปชิ้นงานที่มีพื้นผิวที่ซับซ้อนอาทิ เช่น เครื่องยนต์ไอพ่น พื้นที่ผิวของชิ้นส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ อากาศยานมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ผิวเหล่านี้ บางครั้งไม่สามารถกัด 3 แกน ปกติหรือถ้าสามารถทำได้ก็ต้องมีการขึ้นรูปหลายขั้นตอน ซึ่งทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถทำการผลิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านคุณภาพของชิ้นงานและระยะเวลาการส่งมอบจากปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการนำเอาเทคโนโลยี การผลิตด้วยเครื่องกัด 5 แกนมาใช้ในกระบวนการผลิต ในบทความฉบับนี้จะกล่าวถึงพื้นฐานที่สำคัญในการผลิตด้วย เครื่องกัด 5 แกน อาทิเช่น การกำหนดชื่อ ทิศทาง ของแกนต่าง ๆ ในเครื่องกัด เหตุผลที่ต้องมีแกนหมุน 2 แกน ในเครื่องกัด 5 แกน ประเภทของการขึ้นรูป โดยใช้เครื่องกัด 5 แกน Kinematic chain diagram การแบ่งประเภทของเครื่องกัด 5 แกน การทำโปรแกรม NC สำหรับเครื่องกัด 5 แกน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้<br> 2.16.1 การกำหนดชื่อ, ทิศทางของแกนต่าง ๆ ในเครื่องกัด 5 แกน ทิศทางของการเคลื่อนที่เชิงเส้นสำหรับเครื่องกัด ใช้ระบบ พิกัดฉาก โดยมีแกน X, Y, Z เป็นแกนหลัก แกนหลักทั้ง 3 จะต้องตั้งแกซึ่งกันและกัน และมีทิศทางตามกฎมือขวา ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยมีจุด O เป็นจุดกำเนิด (หรือจุดอ้างอิง) ซึ่งเป็นจุดตัดของแกนทั้ง 3 โดยมีพิกัดอยู่ที่ (X, Y, Z) = (0, 0, 0)<br><br> <br><br>รูปที่ 2.17 การกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ เชิงเส้นของเครื่องกัดตามกฎมือขวา (25, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> ตามมาตรฐานสากล เครื่องกัดจะกำหนดในแกน Z อยู่ในทิศเดียวกับแกนการหมุนของมีดตัดเฉือนหรือแกนการหมุนของสปินเดิล และกำหนดให้ทิศของแกน Z ลบเป็นทิศที่มีดตัเฉือนเคลื่อนที่เข้าหาชิ้นงานที่ต้องการขึ้นรูปส่วนแกน X และ Y กำหนดต่อจากแกน Z โดยใช้กฎมือขวาดังแสดงในรูปที่ 2<br><br> <br><br>รูปที่ 2.18 แกนการเคลื่อนที่หลัก X, Y และ Z ของเครื่องกัดแนวดิ่ง (26, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br>สำหรับเครื่องกัดที่มีการเคลื่อนที่ทั้งทางด้านการเคลื่อนที่เชิงเส้น (X, Y, Z) และการเคลื่อนที่เชิงมุม (A, B, C) โดยทิศทางการเคลื่อนที่เชิงมุมจะใช้แกน X, Y และ Z โดยแกน A จะหมุนรอบแกน X แกน B จะหมุนรอบแกน Y และแกน C จะหมุนรอบแกน Z โดยทิศบวกของแกน A, B และ C มีทิศทางตามกฎมือขวา<br><br><br> <br><br>รูปที่ 2.19 การกำหนดทิศบวก ของแกน A, B และ C ตามกฎมือขวา (26, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> 2.16.2 เหตุผลที่ต้องมีแกนหมุน 2 แกนในเครื่องกัด 5 แกน<br><br> <br><br>รูปที่ 2.20 แสดงปริภูมิ 3 มิติสำหรับเครื่องกัด 3 แกน ข,ค และ ง แสดงการเพิ่มแกนหมุน 2 แกน ลงบนแกนเส้นตรง 3 แกน ทำให้สามารถขึ้นรูปพื้นผิวใด ๆ ก็ได้ในปริถูมิ 3 มิติ (26, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br>จากรูปที่ 2.20 เราสามารถใช้เครื่องกัดที่มี 3 แกน (แกนเดินตรง X, Y, Z) ขึ้นรูปพื้นผิวเรียบใด ๆ ก็ได้ในปริภูมิ 3 มิติโดยปกติพื้นผิวจะเป็นผิวโค้ง ดังนั้นการเพิ่มแกนหมุน 2 แกนลงบนเส้นตรง 3 แกน ทำให้สามารถขึ้นรูปพื้นผิวใดก็ได้ในปริภูมิ 3 มิติ อาจมีคำถามสงสัยว่าผิวโค้งก็สามารถขึ้นรูปได้ด้วยเครื่องกัด 3 แกนก็ได้แต่ทำไมต้องใช้เครื่องกัด 5 แกน เหตุผลก็เพราะว่า ในการทำผิวโค้งเครื่องกัด 3 แกน เป็นการขึ้นรูป โดยอาศัยการเดินแบบจุดต่อจุด (point to point) ไปตามพื้นที่ผิวนั้นทำให้คุณภาพของพื้นผิวที่ได้มีคุณภาพไม่ดี ซึ่งจะเห็นได้จากการขึ้นรูปทรงกระบอกโดยการกลึง และการกัด 3 แกน ดังนั้น ในการขึ้นรูปของพื้นผิวโค้งด้วยเครื่องกัด 5 แกนจะไม่ใช้การเดินจุดต่อจุดแต่จะใช้การเคลื่อนที่ของแกนหมุนทั้ง 2 แทน ดังแสดงในรูปที่ 2.21<br><br> <br><br>รูปที่ 2.21 การขึ้นรูปของพื้นผิวโค้งด้วยเครื่องกัด 5 แกน (27, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> 2.16.3 ประเภทของการขึ้นรูปโดยใช้เครื่องกัด 5 แกน<br> 2.16.3.1 การขึ้นรูปโดยตำแหน่ง (Positioning with five axes) ในชิ้นงานบางลักษณะอาทิเช่น เสื้อสูบเครื่องยนต์ เสื้อปั๊มน้ำ โดยต้องมีกระบวนการขึ้นรูปหลายการะบวนการ เช่น การคว้านรู การเจาะ การปาดผิว โดยมีการเอียงผิวชิ้นงานด้านต่าง ๆ เทียบกับแกนอ้างอิงของชิ้นงาน การขึ้นรูปประเภทนี้จะอาศัยแกนหมุนทั้ง 2 แกนของเครื่องกัด 5 แกน ชิ้นงานจะถูกยึดจับบนโต๊ะของเครื่องกัด 5 แกน มีดตัดเฉือน (Cutting Tool) ให้เอียงทำมุมสัมพัทธ์ตามแบบที่ต้องการ จากนั้นจะคงตำแหน่งนั้นไว้และเริ่มทำหระบวนการต่าง ๆ เช่น ปาดผิว เจาะรู คว้านรู โดยอาศัยเฉพาะการเคลื่อนที่ของแกนเชิงเส้นทั้ง 3 แกนเท่านั้น<br><br> <br>รูปที่ 2.22 การขึ้นรูปโดยตำแหน่ง (Positioning with five axes) (27, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br> ด้วยเหตุนี้ทำให้เราสามารถทำการขึ้นรูปชิ้นงานได้โดยการจับยึดชิ้นงานเพียงครั้งเดียวทำให้ลดเวลาในการผลิตรวมทั้งยังทำให้ค่าความผิดพลาดในการผลิตน้อยลงด้วยจะเห็นได้ว่าการขึ้นรูปประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องให้แกนหมุนทั้ง 5 แกนเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ความซับซ้อนของการทำโปรแกรมและราคาของชุดควบคุมจะน้อยกว่าการขึ้นรูปอีกแบบหนึ่ง ดังจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไปนี้<br>• การขึ้นรูปบนผิวโค้ง (Profiling with five axes)<br> ลักษณะของงานที่ใช้การขึ้นรูปบนผิวโค้งด้วยเครื่องกัด 5 แกน เช่น ในพัดสำหรับเครื่องยนต์ไอพ่น หรือโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า พื้นผิวของชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ อากาศยาน โดยพื้นผิวเหล่านี้จะมีความซับซ้อนทางสมการคณิตศาสตร์มาก หรือเป็นพื้นที่ผิวที่ Undercut คือไม่สามรถขึ้นรูปได้โดยเครื่องกัด 3 แกน ดังแสดงในรูปที่ 2.23<br><br> <br><br>รูปที่ 2.23 การขึ้นรูปบนพื้นผิวโค้ง (Profiling with five axes) (27, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> การขึ้นรูปแบบนี้ทั้งชิ้นงานและมีดตัดเฉือนจะทำการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันโดยอาศัยแกนทั้ง 5 แกนเคลื่อนที่พร้อม ๆ กันตามตำแหน่งของจุดและมุมอียงของชิ้นงานและมีดตัดเฉือนบนพื้นผิวที่จะทำการขึ้นรูป จะเห็นได้ว่าในการคำนวณหาตำแหนงเหล่านี้จำเป็นต้องใช้ Software ช่วยในการคำนวณรวมถึงชุดควบคุมการเคลื่อนที่ของแกนจะต้องมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน<br> 2.16.4 Kinematic chain diagram เป็นไดอะแกรมที่ใช้แสดงให้เห็นถึงแกนใดบ้างทำหน้าที่เคลื่อนที่ชิ้นงานและแกนใดบ้างทำหน้าที่เคลื่อนที่มีดตัดเฉือน โดยในไดอะแกรมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งจับยึดชิ้นงาน และอีกกลุ่มหนึ่งจับมีดตัดเฉือนเพราะในการขึ้นรูปด้วยเครื่องกัด 5 แกนนั้นเหมือนกับการที่มีหุ่นยนต์ 2 ตัวทำงานร่วมกัน โดยที่หุ่นยนต์ตัวแรกจับชิ้นงานและหุ่นยนต์ตัวที่สองจับมีดตัดเฉือนดังแสดงในรูปที่ 2.24 จะเห็นว่า แกน X, Y, AและB ทำการจับชิ้นงานส่วนแกน Z ทำการจับมีดตัดเฉือน<br><br> <br><br>รูปที่ 2.24 Kinematic chain diagram (28, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> 2.16.5 การแบ่งประเภทของเครื่องกัด 5 แกน<br> 2.16.5.1 การแบ่งประเภทของเครื่องกัด 5 แกน โดยใช้ลักษณะของแกนที่จับยึดชิ้นงานและแกนที่จับยึดมีดตัดเฉือนเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทจาก Kinematic chain diagram ทำให้เราทราบว่า แกนใดบ้างเป็นแกนจับยึดชิ้นงานและแกนใดบ้างเป็นแกนจับยึดมีดตัดเฉือนจากเกณฑ์การแบ่งประเภทในหัวข้อนี้ทำให้เราสามารถแบ่งประเภทของเครื่องกัด 5 แกน ออกเป็น 6 ประเภทด้วยกัน คือ G5 G0’, G0 G5’, G4/G1’, G1/G4’, G3/G2’ และ G2/G3’ โดยที่สัญลักษณ์ G ใช้แทนจำนวนของแกนที่ใช้จับยึดมีดตัดเฉือนและ G’ แทน จำนวนของแกนที่ใช้จับยึดชิ้นงานตัวอย่าง เช่น G2/G3’ หมายถึงมีแกนจำนวน 2 แกน (แกน Y และ B) ใช้จับยึดมีดตัด เฉือน และมี 3 แกน (แกน X, Z และ C) ใช้จับยึดชิ้นงานไว้ ก G5 G0’ หมายถึง มีแกนจำนวน 5 แกน (แกน X,Y, Z,A และ B) ใช้จับยึดมีดตัดเฉือนและงานถูกวางงอยู่บนพื้น ดังแสดงในรูปที่ 2.26<br><br> <br><br>รูปที่ 2.25 เครื่องกัด 5 แกนประเภท G2/G3’ (28, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> <br>รูปที่2.26 เครื่องกัด 5 แกนประเภท G5 G0’ (29, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> 2.16.6 การแบ่งประเภทของเครื่องกัด 5แกน โดยใช้ตำแหน่งของแกนหมุนทั้ง 2 เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทเกณฑ์การแบ่งในหัวข้อนี้ทำให้สามารถแบ่งประเภทหลัก ๆ ของเครื่องกัด 5 แกนได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ<br> 2.16.6.1 แกนหมุนทั้ง 2 อยู่บนมีดตัดเฉือนหรืออยู่ทางฝั่งสปินเดิล ดังแสดงในรูปที่ 2.27<br> <br><br>รูปที่ 2.27 แกนหมุนทั้ง 2 แกน (แกน A และ C) อยู่บนมีดตัดเฉือนหรือยู่ทางฝั่งสปินเดิล (Spindle) (29, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br>ข้อดี<br>1. สามารถทำการขึ้นรูปชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องกัด 5 แกนในข้ออื่น ๆ ได้ เพราะ<br> ขนาดของชิ้นงานไม่ถูกจำกัดโดยขนาดของแกนหมุนทั้ง 2 <br>2. การคำนวณตำแหน่งของแกนทั้ง 5 ไม่ซับซ้อน เช่นในกรณีทีมีการเปลี่ยนตำแหน่ง การ<br> วางของชิ้นงานบนโต๊ะสามารถใช้ Zero Offset (G54 – G59) ในชุดควบคุมได้เลยโดย<br> ไม่ต้องทำการคำนวณด้วย Post-processor อีกครั้ง<br>ข้อเสีย<br>1. การติดตั้งของชุด Main Spindle มีความซับซ้อนมาก ยากต่อการความคุม<br> ตำแหน่งของแกนหมุนทั้ง 2 เนื่องจากเกิดภาวะ Gyroscopic Effect ในขณะที่สปินเดิล<br> และโต๊ะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง<br>2. ชุด Main Spindle ไม่แข็งแรง<br><br><br><br><br><br><br> 2.16.6.2 แกนหมุนทั้ง 2 จับชิ้นงาน ดังแสดงในรูปที่ 2.28<br><br> <br><br>รูปที่ 2.28 แกนหมุนทั้ง 2 (แกน A และ B) จับชิ้นงาน (30, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br>ข้อดี<br>1. ในกรณีที่เป็นเครื่องแนวนอนทำให้มีการคายเศษโลหะได้ดีเมื่อทำการขึ้นรูป<br>2. สามารถทำการชดเชยความยาวมีดตัดเฉือนได้เลยไม่ต้องคำนวณตำแหน่งใหม่ด้วย <br> Post-processor<br>ข้อเสีย<br>1. มีช่วงในการทำงานของแกนหมุนน้อย<br>2. ไม่สามารถเคลื่อนที่แกนหมุนได้เร็ว เพราะน้ำหนักของงาน<br> 2.16.6.3 แกนหมุน 1 แกนจับชิ้นงานอีก 1 แกนจับมีดตัดเฉือน ข้อดีและข้อเสียของเครื่องกัดประเภทนี้ จะนำเอาข้อดีและข้อเสียของเครื่องกัด 5 แกนในหัวข้อที่ 2.16.6.1 และ 2.16.6.2 มาผสมกัน<br>2.16.7 การทำโปรแกรม NC สำหรับเครื่องกัด 5 แกน<br> 2.16.7.1 ขั้นตอนการทำโปรแกรม NC สำหรับเครื่องกัด 5 แกน ในการทำโปรแกรม NC สำหรับเครื่องกัด 5 แกน มีขั้นตอนดังแสดงในรูปที่ 2.29 ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้<br>• ทำการสร้างรูปทรงของชิ้นงานโดย โปรแกรม CAD <br>• ทำการคำนวณหาทางเดนของคมมีดตัดเฉือน โดยโปรแกรม CAM<br>• ทางเดินของมีดตัดเฉือนจะถูกเก็บอยู่ในรูปของ CL data-file ซึ่งจะประกอบตำแหน่งของปลายมีดตัดเฉือน(X,Y,Z) ใดๆ และเวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) โดยทั้ง (X,Y,Z) และ (I, j, k,) เทียบกับจุดศูนย์ของชิ้นงาน โดยปกติทางเดินของมมีดตัดเฉือนของเครื่องกัด 3 แกน จะมีแค่ตำแหน่งของปลายมีดตัดเฉือน (X,Y,Z) ส่วน (I, j, k,) จะมีค่าเท่ากันตลอดโดยมีค่าเท่ากับ (0,0,0) เพราะแกนของมีดตัดเฉือนจะขนานกับแกน Z ตลอดเวลา<br>• ทำการใส่ค่าความยาวของมีดตัดเฉือน และตำแหน่งจุดอ้างอิงของชิ้นงานเทียบกับจุดอ้างอิงของเครื่องจักรลงใน NC – postprocessor หน้าที่ของ NC – postprocessor คือจะทำการเปลี่ยน CL data file (X,Y,Z,B,C) ซึ่งเทียบกับจุดอ้างอิงของชิ้นงานไปเป็น (X,Y,Z,A,B) หรือ (X,Y,Z,A,C) หรือ (X,Y,Z,B,C) ขึ้นอยู่กับชนิดของรูปแบบเครื่องกัด 5 แกน โดยพิกัดเหล่านี้จะเทียบจุดอ้างอิงของเครื่อง<br>• ตรวจสอบการชนกันระหว่างมีดตัดเฉือน เครื่องจักรและชิ้นงาน โดยโปรแกรมจำลอง เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยในการขึ้นรูป<br><br> <br><br>รูปที่ 2.29 ขั้นตอนการทำโปรแกรม NC สำหรับเครื่องกัด 5 แกน (31, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br> 2.16.7.2 ลักษณะการคำนวณทางเดินของมีดตัดเฉือนโดยโปรแกรม CAM <br>ดังได้กล่าวไว้ในข้างต้นว่า CL data file จะประกอบด้วยตำแหน่งของปลายมีดตัดเฉือน (X, Y, Z) และเวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) ซึ่งสามารถคำนวณได้จากโปรแกรม CAM เราสามารถแบ่งลักษณะการคำนวณเวกเตอร์ (I, j, k,) ได้ดังต่อไปนี้<br> 2.16.7.2.1 การคำนวณเวกเตอร์ (I, j, k,) โดยจุด และเส้นตรงในการคำนวณลักษณะนี้ยังแบ่งออกเป็น<br>• เวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) ออกจากจุด<br>• เวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) เข้าหาจุด<br>• เวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) ออกจากเส้นตรง<br>• เวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) เข้าหาเส้นตรง<br>• เวกเตอร์ (I, j, k,) ที่คำนวณเข้าหาหรือออกจากจุดจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่แบบ 5 แกน<br>• เวกเตอร์ (I, j, k,) ที่คำนวณเข้าหาหรือออกจากเส้นตรงจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่แบบ 4 แกน<br>2.16.7.2.2 การคำนวณเวกเตอร์บอกทิศทางของแกนมีดตัดเฉือน (I, j, k,) โดยตั้งฉากและสาพัทธ์ในการคำนวณทางเดินของมีดตัดเฉือนมีพื้นที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 พื้นผิว คือ Past Surface, Drive Surface, Check Surface ซึ่งอธิบายได้ดังรูปที่ 2.30<br><br> <br><br>รูปที่ 2.30 Past Surface, Drive Surface, Check Surface (31, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br><br><br>ดังนั้นการคำนวณในหัวข้อนี้จะเป็นการคำนวณ โดยให้แกนของมีดตัดเฉือนตั้งฉากหรือทำมุมสัมพัทธ์ กับพื้นผิวในรูปที่ 2.30 เป็นวิธีการใส่มุมสัมพัทธ์ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ มุมนำ (Lead angle) และมุมเอียง (Tilt angle) ซึ่งสามารถนิยามมุมทั้ง 2 ได้โดย มุมนำ (Lead angle) คือมุมที่นิยามตามทิศการเคลื่อนที่ของมีดตัดเฉือน ดังแสดงในรูปที่ 2.30 มุมเอียง (Tilt angle) คือมุมที่นิยามตามทิศที่ตั้งฉากของมีดตัดเฉือนในระนาบการขึ้นรูป ดังแสดงในรูปที่ 2.31<br><br> <br><br>รูปที่ 2.31 นิยามของมุมนำและมุมเอียง (32, ชนะ รักษ์ศิริ, 2547)<br>
ความคิดเห็นที่ 6
nakorn
15/09/2548
11:09 น.
คุณ ie nu ตอบดีมากเลยครับ<br>ผมต้องการข้อมูลเพื่อทำรายงานพอดี<br>ผมรบกวนบอกที่มาของข้อมูลได้ไหมครับผมอยากได้รูปภาพนะครับ<br>ขอบคุณครับ<br><a href="mailto:nakorn_sai@hotmail.com" Target="_BLANK">nakorn_sai@hotmail.com</a>
ความคิดเห็นที่ 7
สุดยอดครับ
04/01/2549
02:02 น.
เราจะหาโปรแกรมในการ simulate พวก cnc ได้จากใหนครับ<br>และโปรแกรมตัวดีๆเจ๋งแนะนำหน่อยครับ <a href="mailto:pic.c@hotmail.com" Target="_BLANK">pic.c@hotmail.com</a><br>ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 8
ดีครับ
05/02/2549
16:53 น.
เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม cnc เป็นยังไงครับแล้วจะต้องทำยังไงครับเมื่อผมเรียนในสาขางานนี้ครับ ท่านผู้รู้ช้วยกรุณาตอบให้รุ่นน้องที่ต้องการศึกษาในสาขางานนี้ทราบด้วยครับ ขอบคุณนะครับ
ความคิดเห็นที่ 9
army
13/04/2549
00:03 น.
อยากรู้วิธีการลงโปรแกรม ProE WildFire v.2.0 ตอนนี้งงมาก<br>ใครมีความรู้ขอความกรุณาช่วยแนะนำหน่อยครับ ขอบคุณครับ<br><a href="mailto:army_lek@hotmail.com" Target="_BLANK">army_lek@hotmail.com</a>
ความคิดเห็นที่ 10
army
13/04/2549
00:12 น.
ตอนนี้กำลังมองหางานใหม่อยู่ครับ ความสามารถพิเศษทางด้าน cnc และ ระบบ rs232 และโปรแกรม CadCam ประสบการณ์ <br>8 ปี เงินเดือนคุยกันได้ครับ ติดต่อที่ <a href="mailto:army_lek@hotmail.com" Target="_BLANK">army_lek@hotmail.com</a>
ความคิดเห็นที่ 11
Deckel Maho
24/07/2549
15:03 น.
เรียน คุณสุดยอดครับ(คำตอบที่ 7)<br><br>ทางบริษัทของเรามีโปรแกรมดังกล่าวจากประเทศเยอรมัน ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ในหลายๆสถาบันการศึกษาหลายๆแห่ง รวททั้งในประเทศไทย<br>ผมรบกวนขอข้อมูลต่างๆ ดังนี้ครับ<br><br>1. บริษัทหรือสถาบันซึ่งคุณทำงานอยู่<br>2. ชื่อนามสกุลจริงสำหรับติดต่อ<br>3. ประเถทของเครื่องจักร (เครื่องกัด หรือ เครื่องกลึง)<br>4. ยี่ห้อของเครื่องจักร<br>5. จำนวนแกนของเครื่องจักร<br>6. จำนวน tool ซึ่งติดตั้งบนเครื่องจักร<br>7. ยี่ห้อและรุ่นของระบบ control<br><br>ทางบริษัทยินดีให้บริการครับ<br><br>อัคคพล เชื้อนาคา<br>ผู้จัดการฝ่ายขาย<br>DMG (Thailand) Co.,Ltd.<br>Deckel Maho Gildemeister<br>0-1987-3035<br><a href="mailto:akkapol.c@dmgthailand.com" Target="_BLANK">akkapol.c@dmgthailand.com</a>
ความคิดเห็นที่ 12
Deckel Maho
24/07/2549
15:35 น.
เรียน คุณ CNC<br><br>สำหรับระบบแกนซึ่งใช้ในเครื่อง CNC จะใช้อักษรภาษาอังกฤษเป็นสัญลักษณ์แทน เช่น<br>X, Y, Z<br>A, B, C<br>W<br>หากในเครื่องจักรเดียวกัน มีแกน X หลายแกน จะใช้สัญลักษณ์แทนด้วย X1, X2...Y1, Y2.. เป็นต้น<br><br>ในความเป็นจริงต้องแยกอธิบายตามประเภทของเครื่องจักร คือ เครื่องกัดหรือเครื่องกลึง<br><br>จากคำถามของคุณ คิดว่าน่าจะหมายถึงเครื่องกัด ผมจึงของอธิบายเฉพาะเครื่องกัดก่อนครับ<br>เครื่องกัดโดยทั่วไปจะใช้ระบบ 3 แกนและ 5 แกน<br>ระบบ 3 แกนจะประกอบด้วยแกน X, Y, Z<br>ระบบ 5 แกนจะประกอบด้วยแกน X, Y, Z, B, C<br>วิธีการสังเกตว่าแกนไหนเป็นแกนไหน มีดังนี้<br><br>แกน X, Y, Z เป็นแกนซึ่งชิ้นส่วนเครื่องจักรเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง(เชิงเส้น)<br>เมื่อผู้ควบคุมเครื่องจักรหันหน้าเข้าเครื่องกัด แกนที่ชิ้นส่วนเครื่องจักรเคลื่อนที่ซ้ายและขวาคือแกน X<br>แกนที่ชิ้นส่วนเครื่องจักรเคลื่อนที่ตั้งฉากกับแกน X และอยู่ในระนาบเดียวกับโต๊ะกัดงาน คือ แกน Y<br>แกนซึ่งชิ้นส่วนเครื่องจักรเคลื่อนที่แนวเดียวหรือขนานกับแกนกลางของสปินเดิ้ล คือ แกน Z<br><br>สำหรับแกน B, C เป็นแกนซึ่งชิ้นส่วนเครื่องจักรมีการเคลื่อนที่เชิงมุม(แนววงกลม)<br>แกน B คือ แนววงกลมที่ชิ้นส่วนเครื่องจักรหมุนรอบแกน Y<br>แกน C คือ แนววงกลมที่ชิ้นส่วนเครื่องจักรหมุนรอบแกน Z<br><br>สำหรับเครื่องแบบ 5 แกนยังมีแยกย่อยอีก 2 แบบ คือ 5 axis/5 sides และ 5 axix simultaneous หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อตามที่อยู่ด้านล่างครับ<br><br>อัคคพล เชื้อนาคา<br>ผู้จัดการฝ่ายขาย<br>DMG (Thailand) Co.,Ltd.<br>Deckel Maho Gildemeister<br>0-1987-3035<br><a href="mailto:akkapol.c@dmgthailand.com" Target="_BLANK">akkapol.c@dmgthailand.com</a><br>
ความคิดเห็นที่ 13
สืบศักดิ์
22/09/2549
20:23 น.
Laser Sinter Machine ไม่ต้องพึ่งเครื่อง 5 แกน หากชิ้นงานมีขนาดไม่เกิน 250 x 250 x 200 ออกแบบเสร็จ <br>ส่งเข้าเครื่อง ออกมาเป็นเหล็ก ความแข็ง 20 HRC ชุบได้ 40 HRC<br>ออกแบบไว้ อย่างไร ได้งานแบบนั้น <br>ไม่ต้องกัด ไม่ต้องทำแม่พิมพ์ ยิงผงเหล็กขึ้นมาแทน <br>ทำเสร็จได้ ชั่วข้ามคืน <br>
ความคิดเห็นที่ 14
สืบศักดิ์
22/09/2549
20:24 น.
Laser Sinter Machine ไม่ต้องพึ่งเครื่อง 5 แกน หากชิ้นงานมีขนาดไม่เกิน 250 x 250 x 200 ออกแบบเสร็จ <br>ส่งเข้าเครื่อง ออกมาเป็นเหล็ก ความแข็ง 20 HRC ชุบได้ 40 HRC<br>ออกแบบไว้ อย่างไร ได้งานแบบนั้น <br>ไม่ต้องกัด ไม่ต้องทำแม่พิมพ์ ยิงผงเหล็กขึ้นมาแทน <br>ทำเสร็จได้ ชั่วข้ามคืน <br><br>สนใจติดต่อ 08 1813 5049
ความคิดเห็นที่ 15
เด่นชัย
20/10/2549
14:53 น.
ประเภทของcnc
ความคิดเห็นทั้งหมด 50 รายการ | 1  2  3  4    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: