Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,017
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,603
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,011
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,817
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,486
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,578
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,532
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,840
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,391
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,472
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,386
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,532
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,631
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,167
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,572
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,577
17 Industrial Provision co., ltd 39,250
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,394
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,316
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,647
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,478
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,879
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,243
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,982
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,609
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,532
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,976
28 AVERA CO., LTD. 22,606
29 เลิศบุศย์ 21,706
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,413
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,272
32 แมชชีนเทค 19,914
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,890
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,204
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,157
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,820
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,621
38 SAMWHA THAILAND 18,321
39 วอยก้า จำกัด 17,930
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,503
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,356
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,324
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,264
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,239
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,154
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,099
47 Systems integrator 16,730
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,658
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,479
50 Advanced Technology Equipment 16,464
10/02/2555 13:13 น. , อ่าน 11,157 ครั้ง
Bookmark and Share
increase torque 40 HP DC motor
bugkork
10/02/2555
13:13 น.
ผมมี DC motor ขนาด 40 HP อยากจะให้มันทำกำลังให้ได้ถึง 60 HP
โดยต้องได้ torque 150% ที่ rate speed จะทำอย่างไรดีครับ?
DC drive ของผมเป็น digital drive ขนาด 75kW

name plate motor ตาม file ที่แนบมา
ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 12 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
10/02/2555
16:16 น.
ขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ

การเพิ่มค่าแรงบิดมอเตอร์ ต้องเพิ่มแแอมแปร์ เทรินของขดลวดชันท์ฟิลด์ ซึ่งเข้าใจว่าไม่น่าจะเพิ่มได้มากถึง 50 เปอร์เซนต์ เพราะจะทำให้แกนเหล็กอิ่มตัวก่อน

ฉะนั้นสิ่งที่ผมคิดว่าพอจะเป็นไปได้คือ เพิ่มแรงบิด ซัก 25 เปอร์เซนต์โดยการเพิ่มกระแสฟิลด์คอยล์หรือพันใหม่ แล้วไปเพิ่มจำนวนรอบการหมุนโดยเพิ่มแรงดันที่ป้อนอาร์เมเจอร์ ให้มีความเร็วรอบเพิ่ม อีก 25 เปอร์เซนต์ ประกอบกับเพิ่มอัตราลมที่ใช้ระบายความร้อน น่าจะทำให้มอเตอร์สามารถ เป็น 60 HP.ได้

แต่ถ้ากำหนดให้ความเร็วรอบเท่าเดิม แล้วเพิ่มแต่แรงบิดอย่างเดียว ผมแทปจะฟันธงได้เลยว่าเป็นไปไม่ได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 2
bugkork
10/02/2555
18:34 น.
แต่ถ้าเราลดความเร็วลงมาประมาณ 80% ตามกราฟ เราจะได้ torque 200% แล้วเราค่อยไปเปลี่ยน ขนาด pulley ทีปลายมอเตอร์ ให้โตขึ้นจะได้ใหมครับ? ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 3
ช่างซ่อมมอเตอร์
11/02/2555
09:38 น.
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ

เมื่อดูจากกราฟแล้วเข้าใจว่า กราฟที่ได้น่าจะเป็นการต่อ มอเตอร์แบบ Cummulative Compound Motor คือต่อให้ Serie Field เสริมกับ Shunt Field เพราะจะเห็นว่ากราฟของความเร็วรอบตกลงอย่่างมาก 20 เปอร์เซนต์จากสภาวะ ไม่มีโหลดไปจนถึงขับโหลด 100 เปอร์เซนต์ ซึ่งมอเตอร์ดีซีปกติไม่ควรเกิน 10 เปอร์เซนต์

กราฟที่ปรากฏ จะเป็นกราฟที่เกิดจากการป้อนแรงดันพิกัด อาร์เมเจอร์ และกระแสพิกัดฟิลด์คอยล์ และใช้การเปลี่ยนแปลงโหลดจาก 0 ไปจนถึง 450 และวัดความเร็วรอบเพื่อนำมาพล๊อตเป็นกราฟ ฉะนั้นถ้าเราใช้วิธีการปรับความเร็วรอบให้ลดลงมา เหลือ 80 เปอร์เซนต์ก็คือการปรับแรงดันจ่ายอาร์เมเจอร์ เราก็จะไม่สามารถนำกราฟนี้มาใช้อ้างอิงได้

โดยปกติค่าทุกค่าที่อยู่ในเนมเพลทจะเป็นค่าที่บอกอยู่ในสภาวะการทำงานเต็มพิกัดทกๆค่า ฉะนั้นถ้าเราไปใช้งานในเงื่อนไขที่ไม่ได้อยู่ในสภาวะพิกัด จะต้องทำให้มีอย่างหนึ่งอย่างใดเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งก็หมายความว่า ถ้าเรานำมอเตอร์ไปใช้งานที่เกินกว่าแรงบิดของมอเตอร์ที่ออกแบบไว้ จะมีผลต่อ ระยะเวลาการใช้งานมอเตอร์ (Duty Cycle )เช่น มอเตอร์เดิมออกแบบมาให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเราออกแบบแล้วให้มอเตอร์ทำงานเกินค่าแรงบิดที่กำหนดไว้ที่ตัวมอเตอร์ มอเตอร์ตัวนั้นต้องถูกนำไปใช้งานได้ในระยะเวลาที่สั้นลงไม่ต่อเนื่องเหมือนเดิม เพราะไม่เช่นนั้นมอเตอร์ก็จะไหม้เนื่องจากความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น

คำถามคือแล้วเราจะเพิ่มวิธีการระบายความร้อนได้หรือไม่ ตอบว่าได้ครับ แต่ก็จะมีอยู่ในระดับหนึ่ง เพราะการระบายความร้อนออกจากตัวมอเตอร์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณลมและความเร็วลมที่พัดผ่านมอเตอร์แต่เพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยเรื่องปริมาณพื้นที่ผิวสัมผัส และสัมประสิทธิการนำมาความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้องอีก

ถ้าจะยกตัวอย่างให้ง่ายขึ้นก็ให้มองเอซี มอเตอร์ เอซีมอเตอร์จะผลิตทอร์คได้สูงสุดหลังจากการสตาร์ทไปแล้ว อยู่ที่ 250-300 เปอร์เซนต์ แต่เราไม่สามารถนำค่าแรงบิดที่สูงกว่า 100 เปอร์เซนต์มาใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ยกเว้นมอเตอร์ที่ออกแบบมาให้มี ค่า SF ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่น่าเกิน 1.2 แต่ก็ยังต้องแลกกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกติ และอายุของฉนวนขดลวดที่ลดลงไปอีกครึ่งหนึ่งหากจะใช้งานในย่าน SF นี้

จากเหตุผลดังกล่าวยังขอยืนยันความเห็นเดิมอยู่ครับ(คำตอบที่ 1 )
ความคิดเห็นที่ 4
bugkork
14/02/2555
17:13 น.
คงจะเป็นอย่างพี่ "ช่างซ่อมมอเตอร์" ว่าละครับ ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ที่ช่วยตัดสินใจ
ทีนี้ผมจะต้องเอาเจ้าดีซีมอเตอร์ 40 แรงม้าตัวนี้ไปใช้แทนดีซีมอเตอร์อีกงานครับ ข้อแม้เป็นตามนี้ครับ
งานปัจจุบันที่ใช้อยู่ ; motor nameplate laminated DC motor 74 kW,1836 rpm.,armature 440 VDC-165 A,field 110 VDC-11.5 A ประมาณ full torque = 384.7 Nm
ใช้งานเครืองอัดรีด (Plastic Extruder; flat torque ,continue rate)อยู่ที่ ประมาณ 25 kW รอบมอเตอร์ประมาณ 65% ปลายเพลาใส่ pulley dia.200 mm.,motor torque =200 Nm ,ที่โหลดเป็น pulley dia.300 mm.,load torqe =300 Nm (pulley ratio = 1.5)

และผมจะต้องเอา เจ้า "Reliance" 40 HP ไปใช้ทดแทนจะไหวใหมครับ?(Rating ตาม Nameplate ข้างบนครับ)ให้ขับ โหลดที่ pulley load เท่าเดิม (300 Nm -load pulley dia. = 300 mm.)แต่อาจะต้องมีการเปลี่ยน pulley ที่ปลายเพลามอเตอร์ก็ได้ครับ ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 5
bugkork
15/02/2555
08:40 น.
ขอแก้ค่ากระแส armature กับรอบมอเตอร์ครับ จาก 165 A,1836 rpm
ไปเป็น 185 A ,1880 rpm ครับ
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างซ่อมมอเตอร์
15/02/2555
09:01 น.

กระแสมอเตอร์ ตัว 74 KW.ขณะทำงานมีค่าเท่าไหร่ครับ เพราะกระแสจะเป็นตัวบอกค่าแรงบิดที่โหลดต้องการคร่าวๆได้
ความคิดเห็นที่ 7
bugkork
15/02/2555
09:32 น.
ประมาณ 92-96 A ครับ
ความคิดเห็นที่ 8
ช่างซ่อมมอเตอร์
15/02/2555
12:08 น.
ผมสรุปข้อมูลที่ได้ทั้งหมดเป็นอย่างนี้ครับ

มอเตอร์เดิม 75 KW.Ar. 440 V. 185 A. Fld. 110 V.11.5 A 1880 RPM.
ทำงานอยู่ที่ ความเร็วรอบ 65% (1880x.65 = 1222 RPM ) กินกระแส 96 A.

ต้องการนำมอเตอร์ 40 HP. Ar. 500 V. ? A. Fld 300 V. 1.77 A. 1150 RPM

จากข้อมูลข้างต้นลองมาหาทอร์คของมอเตอร์กัน จากสูตร T(N.m) = KW. x9550 / RPM
มอเตอร์เดิมมีแรงบิดพิกัด T(75) = 75x9550/1880 = 380.9 N.m
มอเตอร์ที่จะนำมาแทน T(29.8) = 29.8 x 9550 / 1150 = 247.5 N.m

จากข้อมูลการใช้งานมอเตอร์กินกระแส ประมาณครึ่งหนึ่ง ฉะนั้น ทอร์คที่โหลด ต้องการน่าจะอยู่ประมาณ 381 /2 = 190.5 N.m

แต่เนื่องจากความเร็วรอบเดิมที่ใช้อยู่มีค่ามากกว่าความเร็วรอบพิกัดใหม่ อยู่ 1222-1150 = 72 รอบ ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาในการใช้งานที่จะเพิ่มแรงดันอาร์เมเจอร์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหรือปรับเปลี่ยนขนาดพู่เลย์ จึงสรุปได้ว่าตัวมอเตอร์เองไม่น่าจะมีปัญหาที่จะถูกนำมาใช้งานแทนกันได้

แต่เมื่อมาพิจารณาเรื่องชุดไดรว์จะเห็นว่าแรงดันที่ชุดไดรว์จ่ายออกมาไม่สัมพันธ์กับ มอเตอร์ตัวทีทีจะนำมาทดแทนเลย (พิจารณาจากตัวมอเตอร์เดิม ) ทั้งแรงดันอาร์เมเจอร์ และฟิลด์คอยล์ ก็เลยน่าจะเป็นสาเหตุ ที่ทางเจ้าของกระทู้พยายามจะลดแรงดันใช้งานของอาร์เมเจอร์ลงมาให้ตรงกับไดรว์ที่มีอยู่ (คำถามในกระทู้ ) แต่อย่าลืมว่าด้านฟิลด์คอยล์ก็จะต้องมีการแก้ไขเหมือนกัน

จากข้อมูลทั้งหมด สรุปได้ว่า การที่จะนำมอเตอร์ตัวทดแทนนี้ไปใช้งานได้ ต้องหาชุดไดวร์ใหม่ที่สอดคล้องกับแรงดันพิกัดของมอเตอร์ที่นำมาทดแทน หรือ พันมอเตอร์ใหม่ให้สอดคล้องกับชุดไดวร์ที่มีอยู่เดิมครับ
ความคิดเห็นที่ 9
bugkork
16/02/2555
04:12 น.
ต้องขอขอบคุณอีกครั้งครับ ยังมีต่ออีกครับ คือผมมี เจ้า40แรงม้าที่ว่านี้ 2ตัว หมุนเร็วเท่ากัน,ยี่ห้อเดียวกัน กะเอาไว้จะมาเป็น spare แทน 74 kw แต่ 2 ตัวที่มีอยู่นี้ frame ไม่เท่ากัน ตัวในรูปข้างบนคือ Nema frame B0327ATZ (ประมาณ IEC frame 200)armature 500 VDC 68 A ,field 300 VDC 2.49 A ,1150 rpm
อีกตัว frame เล็กกว่าครับ คือ NEMA frame LC2512ATZ (ประมาณ IEC frame 160)armature 500 VDC 72 A ,field 300 VDC 4.8 A ,1150 rpm แต่ตัวมันยาวกว่า frame 327ATZ ประมาณ 20% (rotor initia น่าจะน้อยกว่า frame 327ATZ)
เราควรจะเลือกตัวไหนเป็นตัวแแรกครับ? ส่วนรื่อง Drive ไม่มีปัญหาครับ (digital drive ขนาด 75kW)

ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
ความคิดเห็นที่ 10
ช่างซ่อมมอเตอร์
16/02/2555
09:09 น.

ตามความคิดเห็น Inertia จะส่งผลอย่างมากกับการใช้งานมอเตอร์ ที่ต้องมีการสตาร์ท และสต๊อป หรือเปลี่ยนความเร็วรอบบ่อยๆ ฉะนั้นถ้ามีการสตาร์ท สต๊อป หรือเปลี่ยนความเร็วรอบบ่อยๆในการใช้งาน เลือกตัวเล็ก-ยาว แต่ถ้าสตาร์ทแล้ววิ่งยาวตลอดเลย ผมว่าเลือกตัว ใหญ่-สั้นจะดีกว่าเพราะจะทำให้เสถียรภาพด้านความเร็วรอบดีกว่า เนื่องจากมีแรงเฉื่อยของโรเตอร์ของมอเตอร์มาช่วยด้วย
ความคิดเห็นที่ 11
bugkork
23/02/2558
19:47 น.
กระทู้นี้เป็นของผมเอง ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนอ่านเยอะที่สุด ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 12
bugkork
23/02/2558
19:50 น.
เยอะที่สุด ที่เกียวกับ DC motor นะ
ความคิดเห็นทั้งหมด 12 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: