Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,053
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,634
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,032
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,845
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,516
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,598
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,551
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,848
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,420
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,492
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,404
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,555
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,667
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,192
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,615
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,596
17 Industrial Provision co., ltd 39,269
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,414
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,347
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,668
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,511
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,905
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,269
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,012
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,636
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,560
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,996
28 AVERA CO., LTD. 22,622
29 เลิศบุศย์ 21,722
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,450
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,294
32 แมชชีนเทค 19,934
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,909
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,234
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,190
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,837
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,645
38 SAMWHA THAILAND 18,349
39 วอยก้า จำกัด 17,952
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,523
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,381
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,356
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,291
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,265
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,173
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,133
47 Systems integrator 16,749
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,683
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,509
50 Advanced Technology Equipment 16,495
21/02/2554 14:23 น. , อ่าน 7,465 ครั้ง
Bookmark and Share
มีใครรู้จัก ISO 1940 บ้างไหมครับ
่ีjugkaduy
21/02/2554
14:23 น.
ผมกำลังทำมาตรฐานการถ่วงสมดุจ ( balance) ของใบพัดอยู๋ครับ
ผมไม่เข้าใจในการแบ่งน้ำหนักของใบพัดในการทำ (balance)ครับ
ตัวอย่าง งานด้านมิติ ยิ่งยาว ยิ่งมีค่าความเผื่อมากขึ้น แต่ งานถ่วงความสมดุจ ยิ่งน้ำหนักมาก ค่าความเผื่อ ความสมดุจต้องมากตามหรือเปล่าครับ ผมใช้ G6.3 ครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
21/02/2554
16:38 น.

ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ

หัวใจหลักของสแตนด์ดารท์นี้คือการกำหนด ระดับความสั่นสะเทือน ออกเป็นระดับต่างๆ เช่น 2.5 , 4 , 6.3 ซึ่งนั่นก็คือระดับของค่าความสั่นสะเทือนที่ต้องไม่เกินเมื่อมีค่าความเร็วรอบต่างๆ ตามกราฟ ซึ่งก็หมายถึง ถ้าเรามีชิ้นงานชิ้นหนึ่ง เมื่อถ่วงสมดุลย์ตามมาตรฐานที่กำหนดสมมุติว่าเป็น 6.3 เมื่อนำไปถ่วงสมดุลย์ และนำไปใช้งานที่ความเร็วรอบใช้งานแล้ว ค่าความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรหรือชิ้นส่วนหมุนต้องไม่เกิน 6.3 mm/s

ฉะนั้นเครื่องจักรใดที่ซีเรียสเรื่องค่าความสั่นสะเทือนมากๆ ก็จะกำหนดค่ามาตรฐานไว้ต่ำๆ เช่น 2.5 หรือที่น้อยกว่า

ปัญหาว่าเราจะรู้ไ้ด้อย่างไรว่าเมื่อถ่วงไปแล้ว ค่าความสั่นสะเทือนจะไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงเป้นเหตุที่ำทำให้้ต้องทำมาตรฐานกำหนดค่า นน.ที่ทำให้เกิดความไม่สมุดุลขั้นต่ำที่ยอมรับได้ ( Permissible Residual Unbalance ) ซึ่งจะมีหน่วย เป็น กรัม - มิลลิเมตร ต่อ กิโลกรัม เอาไว้เป็นมาตรฐาน ถ้าเราถ่วงชิ้นงานให้มีน้ำหนัักไม่สมดุลเกินค่านี้แล้วจะมั่นใจได้เลยว่าเครื่องจักรหรือชิ้นส่วนหมุนจะสั่นจะไม่เกินเกรดของมาตรฐานที่กำหนด

และเนื่องจากองค์ประกอบ ของรัศมี และ น้ำหนักของชิ้นงานส่งผลต่อค่าควาสั่นสะเทือนอย่างมาก จึงเห็นได้ว่าค่าที่กำนด จึงกำหนดเป็นค่าน้ำหนักที่ห่างจากจุดศูนย์กลางการหมุน ต่อความยาวรัศมี 1 มม. และต่อน้ำหนึกชิ้นงาน 1 กก.

ผิดถูกอย่างไร ผู้รู้ท่านอื่นโพสขึ้นมาแลกเปลี่ยนกันนะครับ
ความคิดเห็นที่ 2
สืบศักดิ์
21/02/2554
17:42 น.
ยืนยันการอธิบายตาม ที่ ช่างซ่อมมอเตอร์ ว่าไว้แล้ว

เพิ่มเติมก็คือ

ค่าความไม่สมดุลย์ของน้ำหนัก ต่างจาก ค่าเกณฑ์การยอมรับ (Tolerance) หรือ ที่ชอบเรียกกันว่า "พิกัดความเผื่อ" หรือ "ค่าพิกัดเผื่อ" ซึ่ง จขกท. บอกว่า เมื่อขนาดโตขึ้น ค่าก็จะโตตาม ซึ่งอันนั้นก็ถูกต้อง

ตัวอย่าง เช่น ค่า Tolerance เชิงเส้นและเชิงมุม สำหรับการขึ้นรูป ตาม ISO-2768-1 ก็มีหลักคำนวณมาจาก ตารางมาตรฐาน IT (ISO-286) โดยการจัดเกรดตาม IT01 - IT16
ขึ้นอยู่กับ งานว่าอยู่ในตาราง เกรดใด และ ที่เจอกันส่วนใหญ่ มักเป็น IT6, IT7 เป็นเกรดของงานแปรรูปโลหะทั่วไป (General Machining) หากต่ำกว่า เช่น IT3-5 เป็นงาน Precision Machining

เพราะฉนั้น จึงต่างจาก ค่าความไม่สมดุลย์ของน้ำหนัก ขณะที่เกิดการหมุนรอบแกน เพราะยิ่งหมุนเร็ว น้ำหนักที่ถูกเหวี่ยงจะมากขึ้น ตามระยะจากจุดหมุน และ เนื่องจาก เราใช้ ระบบเมตริก SI Unit มันจึงต้องมีค่า เป็น กรัม, กิโลกรัม, ต่อความเร็วรอบ หน่วยเป็น นาที

ขออีกนิด คือ ค่าตามตารางมาตรฐาน ต่างๆ เป็นค่าแนะนำ ซึ่งมักกำหนด ค่าเป็นเกณฑ์ทั่วไป และ ค่ามาตรฐานต่างๆ อาจสัมพันธ์ หรือ ไม่สัมพันธ์กันเลยก็ได้


ความคิดเห็นที่ 3
่ีjugkaduy
22/02/2554
09:01 น.
ขอบคุณ อาจารย์
ผมมีสงสัยต่อครับ
ขอตัวอย่าง 1 อย่างครับ อาจารย์
ขนาดงานเส้นผ่าศูนย์กลางโต 250 มม.,น้ำหนัก 26 kg,ความเร็วที่ทำการทดสอบ 900 rpm ใช้ G 6.3
ขอเป็นสูตรคำนวนด้วยครับอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน
ความคิดเห็นที่ 4
ช่างซ่อมมอเตอร์
22/02/2554
11:17 น.
ทิ้งเมลไว้ครับ ผมจะส่งตัวอย่างการคำนวณไปให้ น่าจะง่ายกว่าพิมพ์ในนี้

แก้ไขนิดนึง ผมไม่ได้เป็นอาจารย์นะครับ พอดีพอรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง ก็เลยขึ้นมาโพสเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้นะครับ
ความคิดเห็นที่ 5
jugkaduy
22/02/2554
12:55 น.
ขอบคุณอีกครั้งครับ
่ีjugkaduy@yahoo.com
nantha_g@hotmail.com
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างซ่อมมอเตอร์
22/02/2554
17:27 น.

ผมส่งให้แล้วนะครับ ลองศึกษาดู คิดว่าเข้าใจได้ไม่ยาก
ความคิดเห็นที่ 7
Nana7034
03/10/2559
12:38 น.
ขอโทษนะคะ ไม่ทราบว่าพอจะมีเอกสารที่อธิบายเกี่ยวกับ ISO 1940 ไหมคะ พอดีกำลังแปล Textbook ค่ะ แต่ค่อนข้างยาก เลยอยากลองอ่านเป็นฉบับภาษาไทย เพื่อประกอบการแปลด้วยน่ะคะ
ความคิดเห็นที่ 8
๋Jeg
30/11/2559
21:08 น.
ขอด้วยครับ ผมกำลังทำOTSส่ง KUBOTAมีtest balanceครับ
bosengineering_sales1@hotmail.com
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: