Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,060
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,638
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,036
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,849
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,521
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,599
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,554
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,850
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,423
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,495
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,407
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,559
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,671
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,199
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,620
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,607
17 Industrial Provision co., ltd 39,271
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,419
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,349
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,671
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,515
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,906
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,272
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,018
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,639
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,565
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,000
28 AVERA CO., LTD. 22,623
29 เลิศบุศย์ 21,724
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,454
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,296
32 แมชชีนเทค 19,945
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,910
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,237
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,192
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,838
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,649
38 SAMWHA THAILAND 18,354
39 วอยก้า จำกัด 17,954
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,525
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,384
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,358
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,295
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,267
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,175
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,134
47 Systems integrator 16,751
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,687
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,521
50 Advanced Technology Equipment 16,497
09/12/2550 02:35 น. , อ่าน 13,676 ครั้ง
Bookmark and Share
สอนหน่อย
วรากร
09/12/2550
02:35 น.
คือที่บริษัทมีงานแมชชีนมากมาย แต่ไม่มีใครสามารถตีราคาเป็น เลยให้พวกบริษัทเค้าตีราคาค่างานแมชชีนให้ แต่ทีนี่กลายเป็นว่าราคาดันแพงพอๆกับเมืองนอกเลย ทีนี้เลยอยากตีราคางานแมชชีนพวก กลึง กัด เสตนเลส กับ อลูมิเนียมน่ะ มีใครพอสอนได้บ้างมั้ยครับอยากตีราคาเองเป็นบ้างน่ะครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 15 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
สันต์
09/12/2550
07:58 น.
ไม่เห็นยากเลย...ก็เอาdrawingส่งไปให้ตามร้านกลึง,กัดทั่วไปตีราคาให้ถ้าเขามีเครื่องมือหรือtoolนั้นๆ....ส่งไปให้หลายหลายเจ้าตีราคา....แล้วคุณก็เอามาตั้งราคากลางของคุณเอง.....ถ้าอยากได้งานเข้าเยอะเยอะก็ต้องถูกหน่อย....ก็แค่นั้นเอง
ความคิดเห็นที่ 2
t1000
10/12/2550
08:57 น.
จริงๆแล้วเค้ามีหลักสูตรการประเมินราคาแม่พิมพ์นะครับ ของสมาคมแม่พิมพ์แต่อบรมไปแล้ว ไม่แน่ใจว่าจะมีอีกมั้ย การประเมินราคาของโรงกลึงเป็นการตีราคาเหมาโดยอาศัยประสบการณ์ในการทำ คาดคะเนเอาว่าควรราคาเท่าไหร่ แต่ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง ถ้าจะให้ถูกต้อง ต้องใช้เวลาการทำงานที่คุณคาดว่า จะทำงานชิ้นนี้เสร็จภายในกี่ชั่วโมง(ซึ่งตรงนี้เองเป็นส่วนที่ยากที่สุด เพราะต้องอาศัยฐานข้อมูลที่เคยทำแล้วเก็บเอาไว้ และที่สำคัญคือ อาศัยประสบการณ์ของคนที่เคยทำ)และบวกเวลาเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้สักหน่อย แล้วคูณด้วยราคาต่อหน่วย (Unit Price) ของเครื่องจักรที่คุณใช้ (ให้ทางบัญชีคำนวณให้ก็ได้) ก็จะได้ราคาประเมิน แต่แบบนี้ราคาอาจจะสูงกว่าแบบโรงกลึง แต่ควรเอาไว้ใช้เปรียบเทียบว่าที่เราประเมินกับที่โรงกลึงทำมาให้ถูกหรือแพงกว่ากัน ซึ่งไม่แน่เสมอไปว่า โรงกลึงจะทำมาถูกกว่าที่เราประเมิน เพราะบางที่เค้าก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน ถ้าใช้วิธีแบบส่งไปให้ทางโรงกลึง ผมว่าเค้าก็คงรู้ว่าคุณจะเอาไปทำอะไร ทางที่ดีหัดเรียนรู้ไว้ดีกว่าครับ
ความคิดเห็นที่ 3
t1000
10/12/2550
09:37 น.
ผมยกตัวอย่างง่ายในการคำนวณนะครับ ถ้าคุณต้องการกลึงเพลา 1 ตัวใช้เวลาทำทั้งหมด(รวมเวลาติดตั้ง) 30 นาที unit price ที่ได้จากฝ่ายยัญชีอยู่ที่ 200 บาท/ช.ม. ต้นทุนงานกลึงเพลาจะอยู่ที่ 100 บาท <br>-แล้วบวกราคาเหล็กเข้าไป (ถ้ามี) เช่น ราคาเหล็ก 100 บาท ต้นทุนรวมเป็น 200 บาท <br>-และคูณด้วยแฟคเตอร์เผื่อเหลือเผื่อขาดหรือโสหุ้ย (Over head) (เช่น ค่าไฟ ค่าขนส่ง)อีกสัก 10-30% (ผมเลือก 15%) ต้นทุนรวมก็เป็น 230 บาท <br>-ถ้าคุณจะบวกกำไรในกรณีเอาไปขายต่อ ก็บวกตามใจชอบ (ผมเลือก 10 %) ก็จะเป็น 253 บาทครับ<br><br>นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆครับแต่ละที่รายละเอียดไม่เหมือนกัน บางที่มีเวลามาตรฐานเลยว่าถ้างานกลึงต้องใช้เวลาเท่านี้เลย (ส่วนมากจะมีการทำเวลามาตรฐานจากการทำ work study มาก่อน) บางที่ก็กะจากประสบการณ์ของคนทำ แต่ถ้าเป็นโรงกลึงเค้าจะตีราคาให้คุณเลยคือเวลาทำงาน เช่น 100 บาท ตามที่ผมยกตัวอย่างให้ดู ซึ่งมันถูกมากๆ และนี่เป็นเหตุว่าทำไมโรงกลึงจึงถูก ราคาดีสำหรับคนซื้อ แต่ไม่ดีสำหรับโรงกลึง เพราะเค้าแบกรับค่าโสหุ้ยเอาไว้เองแต่ถ้าเค้าพอใจและอยู่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะตอนนี้การแข่งขันสูง ตั้งราคาสูงไปก็ไม่ดี แต่ถ้าจะให้ดีพิจารณาจากคุณภาพ และเวลาส่งมอบเข้าไปด้วยนะครับ
ความคิดเห็นที่ 4
ลองดู
11/12/2550
12:36 น.
วิธีการคิดค่าใช้จ่ายสำหรับงาน Machining cost <br>ต้นทุนในการตัดชิ้นงานหนึ่งชิ้น จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ ( หน่วย : บาท )<br>จากสมการ ( เศรษฐศาสตร์การตัดวัสดุ )<br>Cp = Cl + Cu + Cs + Cm + Ct ……………..สมการ<br><br>เมื่อ ;<br>Cp คือ ต้นทุนการผลิตต่อชิ้น ( Production Cost per piece )<br>Cl คือ ต้นทุนการใส่ชิ้นงานก่อนการตัด ( Loading cost per piece )<br>Cu คือ ต้นทุนการถอดชิ้นงานหลังการตัด ( Unloadding Cost per Piece )<br>Cs คือต้นทุนการตั้งใบมีดก่อนตัดชิ้นงาน ( Setting cost per Piece )<br>Cm คือ ต้นทุนการตัดต่อชิ้นไม่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับใบมีด ( Machinig cost per piece )<br>Ct คือ ต้นทุนเกี่ยวกับใบมีดหมายถึงค่าเปลี่ยนใบ ค่าลับคม ( Tooling cost per piece )<br>รายละเอียด<br><br>Cl = ( Ao + Al)Tl ……………………( 1 )<br><br>เมื่อ Al ค่าใช้จ่ายต่อชิ้นที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น ค่าแรงช่าง ( บาท / นาที )<br> Ao เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องจักรไม่ว่าจะใส่งานหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าแรงทางอ้อม ค่าไฟฟ้า ค่าซ่อมบำรุง ค่าเสื่อมราคา ( บาท / นาที )<br> Tl คือเวลาที่ใส่งานต่อหนึ่งชิ้น ( นาที )<br><br>Cu = ( Ao + Au ) Tu …………………( 2 )<br><br> Tu คือเวลาที่ถอดงานออกต่อหนึ่งชิ้น ( นาที )<br> Au คือ ค่าใช้จ่ายต่อชิ้นที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น ค่าแรงช่าง ( บาท / นาที )<br><br>Cs = ( Ao + As ) Ts……………………( 3 )<br><br> As คือ ค่าใช้จ่ายต่อชิ้นที่เกิดขึ้นโดยตรง เช่น ค่าแรงช่าง ( บาท / นาที )<br> Ts คือ เวลาในการตั้งใบมีดต่อชิ้น ( Tool setting Time )<br><br><br><br><br>Cm = ( Ao + Am + Ad ) Tm ……………………( 4 )<br><br> เมื่อ Am คือ ค่าใช้จ่ายตรง โดยรวม ค่าแรงช่างกับค่าไฟฟ้า<br> Ad คือ ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร<br> Tm คือ เวลาที่คมมีดลงตัดชิ้นงาน ( Actual cutting Time )<br><br>Ct = (( Ao+Am)Tc + ( Bo + Bg + Bd )Tg ) /Nw .. ( 5 )<br><br>Tc คือ เวลาที่ใช้เปลี่ยนคมมีด ( Tool Change time per edge )<br>Bo คือ ค่าลับคมมีดที่ต้องจ่ายเช่น ค่าไฟ ค่าเครื่องจักร ค่าเสื่อมราคา<br>Bg คือ ค่าแรงช่างลับคม ค่าสึกหรอ<br> Bd คือ ค่าเสื่อมราคาของคมมีด<br>Tg คือ เวลาที่ใช้ในการลับคมมีดแต่ละครั้ง ( Tool grinding time )<br>Nw คือ จำนวนชิ้นงานที่ตัดได้ต่อการลับคมหนึ่งครั้ง<br><br><br>ดังนั้นจากสมการจะเห็นว่า<br><br>Cp = Cl + Cu + Cs + Cm + Ct<br><br>CP = ( Ao + Al)Tl + ( Ao + Au ) Tu + ( Ao + As ) Ts + ( Ao + Am + Ad ) Tm +(( Ao+Am)Tc + ( Bo + Bg + Bd )Tg ) /Nw<br><br><br>เมื่อลองพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกิดชึ้น ในห้อง CNC / TE2<br>พบว่า<br>1.ค่าแรงพนักงาน <br> 0.62 บาท/นาที<br><br>2.ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องจักร มี<br> ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 1.15 บาท / นาที<br>3.ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร<br>คิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง 10 ปี คุ้มทุน มูลค่าซากเครื่องจักร 3,000,000<br> = ( 6,000,000-3,000,000)/10 = 300,000 บาท / ปี<br>หรือ 25000 บาท / เดือน หรือ 0.58 บาท / นาที<br><br>4.ค่าต้นทุนเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องจักร<br> CNC ค่า PM 44,000 บาท / ปี<br>ค่าอะไหล่ part ประวัติย้อนหลัง 1 ปี ประมาณ 300 ,000 บาท / ปี<br> หรือ 25,000 บาท / เดือน หรือ 0.58 บาท / นาที<br>Milling ค่า PM 30,000 บาท / ปี<br>หรือ 2500 บาท / เดือน หรือ 0.058 บาท / นาที<br>Other M/C 15,000 บาท /ปี<br>หรือ 2500 บาท / เดือน หรือ 0.028 บาท / นาที<br><br>รวม 0.58 + 0.058 + 0.028 = 0.67 บาท / นาที<br><br><br><br><br><br>จากสมการ<br>Cp = Cl + Cu + Cs + Cm + Ct<br><br>CP = ( Ao + Al)Tl + ( Ao + Au ) Tu + ( Ao + As ) Ts + ( Ao + Am + Ad ) Tm +(( Ao+Am)Tc + ( Bo + Bg + Bd )Tg ) /Nw<br><br>เมื่อ Ao ค่าไฟฟ้า + ค่าเสื่อมราคา + ค่าซ่อมเครื่อง <br> = 1.15 + 0.58 +0.67 = 2.4 บาท / นาที<br>Al ค่าแรงช่าง = 0.62บาท / นาที <br>Au ค่าแรงช่าง = 0.62 บาท / นาที <br>As ค่าแรงช่าง = 0.62 บาท / นาที <br>Am อัตราค่าไฟ + ค่าแรงช่าง = 1.15 + 0.62 = 1.77 บาท / นาที<br>Ad ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร 0.58 บาท / นาที<br>สำหรับ Ct ต้นทุนเกี่ยวกับใบมีด ( เพื่อความสะดวกเนื่องจาก แต่ละเดือน มีการซื้อ tooling ประมาณ 50,000 บาท / เดือน หรือคิดเป็น 1.15 บาท / นาที )<br><br><br>เมื่อกำหนด เวลา<br>Tl คือเวลาที่ใส่งานต่อหนึ่งชิ้น ( นาที ) = 2 นาที<br>Tu คือเวลาที่ถอดงานออกต่อหนึ่งชิ้น ( นาที ) = 1 นาที<br>Ts คือ เวลาในการตั้งใบมีดต่อชิ้น = 2 นาที<br>Tm คือ เวลาที่คมมีดลงตัดชิ้นงาน ( ประมาณจาก Program ) <br><br>ดังนั้น ; <br>Cl = ( 2.4 + 0.62 ) ( 2 ) = 6.04 บาท / นาที<br>Cu = ( 2.4 + 0.62 ) ( 1 ) = 3.02 บาท / นาที<br>Cs = ( 2.4 + 0.62 ) ( 2 ) = 6.04 บาท / นาที<br>Cm = ( 2.4 +1.77+ 0.58 ) ( T ) = 4.7 T บาท/ นาที<br>Ct = 1.15 บาท /นาที<br>ดังนั้น ต้นทุนการผลิต ต่อ ชิ้น<br>Cp = Cl + Cu + Cs + Cm + Ct <br> Cp = 16.25 + 4.75 T ……………………######<br>T คือเวลาในการ Machining ( min )<br> หรือ ประมาณ 300 Bht / Hr ( Machining cost ไม่รวมการราคา material )<br><br> เห็น vendor บางที่เขาตั้งราคาไว้ 300-400 บาท/ชม<br><br><br>
ความคิดเห็นที่ 5
เด็กน้อย
11/12/2550
20:56 น.
แหล่มเลย
ความคิดเห็นที่ 6
มะขวิด
12/12/2550
10:10 น.
จบบัญชีมาแหงเลย...คิกคิก....
ความคิดเห็นที่ 7
P
12/12/2550
12:38 น.
ไม่ใช่ครับ จบวิศวะ มาครับ แต่นำทฤษฎี ที่อาจารย์เขาวิจัยมาประยุกต์กับงานจริง ให้ใช้สมการ Cp ที่ว่านั่นแหลครับ จะได้ต่อรองราคา กับ vendor ได้สมเหตุสมผลหน่อย
ความคิดเห็นที่ 8
t1000
12/12/2550
15:27 น.
สูตรที่นำมาให้ดู ก็จะเป็นส่วนที่ผมบอกให้ให้ทางบัญชีเค้าคำนวณให้ เพราะตัวแปรบางตัว เราต้องขอจากทางบัญชี เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าแรงพนักงาน ฯลฯ ซึ่งสูตรก็เหมือนกัน แต่เค้าจะเข้าใจกว่าเราคำนวณเอง เราแค่หาเวลามาตรฐานให้เค้าเท่านั้น เค้าจะทำได้ดีกว่า เคยเอาสูตรนี้มาลองใช้ในการทำใบเสนอราคาแล้ว พบว่าในการทำงานจริงถ้าใช้สูตรแบบนี้จะเสียเวลาในทำใบเสนอราคามาก เรียกว่า ไม่ทันกินเลยทีเดียว และพบว่าสูตรนี้เหมาะสำหรับงาน Machining ที่เป็นแบบ Mass production เพราะเวลาการติดตั้งชิ้นงานและ tool แต่ละตัวจะไม่ต่างกันมากนัก ส่วนงานทำ part ของแม่พิมพ์เวลาการติดตั้งจะต่างกันตามขนาดและความยากง่าย เคยลองเปรียบเทียบพบว่าที่คำนวณกับงานจริงต่างกันมาก พูดง่ายๆคือ ขาดทุนครับ แต่ไม่ใช้ว่าสูตรใช้ไม่ได้นะครับ แต่มันอยู่ที่การค่าตัวแปรแต่ละตัวต่างหาก ที่ทำยังไงถึงจะได้ค่าที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุด ถ้าจะเอาแค่ประเมินเพื่อต่อรองราคากับ vendor ก็พอใช้ได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 9
P
12/12/2550
16:18 น.
ครับเหมือนที่ P't1000 บอกนั่นแหละครับเอามาต่อรองราคากับ vendor ซึ่งสูตรนี้ผมก็เสนอให้บริษัท ญี่ปุ่นเอาไปใช้ ส่วนเรื่องเวลา ผมคิดจากการ Estimate โดยใช้ เวลา run time จากโปรแกรม Cam ขึ้นมา โดยset ค่าเสมือนทำงานจริงแล้วเผื่อไปตามสภาพงาน ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละที่สถานที่ไม่เหมือนกัน Cp = 16.25 + 4.75 T (ราคาทุนของการ maching ยังไม่บวก ค่า mat &amp; กำไร ) โดย T ก็เป็นเวลาจากการ estimate โดย program cam เผือซักหน่อย ผมก็ใช้สูตรนี้แหลตีราคางานเพราะแต่ละเดือนมี drawing กว่า 400 แบบ เข้ามาเลยต้อง ตีราคาก่อนส่ง ทำ mass ข้างนอกครับ
ความคิดเห็นที่ 10
kenta_y@yahoo.com
22/08/2552
16:10 น.
ส่งมาให้เราซิเรามืออาชีพรับจ้างทำงานแมชชีน<br>ด้วยเครื่องcnc
ความคิดเห็นที่ 11
s-p
29/09/2552
15:10 น.
สูตรในการคำนวนราคางานกลึงความเป็นจริงนำมาใช้ไม่ใด้เลยคุณต้องคิดทำอย่างไรจึงจะสู้ตลาดหรืออยู่รอดใด้คุณต้องทำในสิ่งที่เขาทำไม่ใด้คือคุณภาพ
ความคิดเห็นที่ 12
Keng.SDU
11/01/2553
14:35 น.
วิธีในการหาราคาของผมคือ[ลูกรีดครับ<br>
ความคิดเห็นที่ 13
jojo
22/02/2553
11:56 น.
ผมก็ทำงานpart ส่งโรงงาน หลักการคิดไม่มีหรอครับ(สำหรับผม) คิดมากราคาก็ยิ่งสูง ส่วนตัวผมใช้ ต้นทุนวัสดุ+ต้นทุนขนส่ง+กำไรที่พอควร = การเจรจา <br>เพราะไม่ว่าคุณจะเสนอราคาเท่าไหร่ ลูกค้าก็จะบอกว่าแพงเสมอ สิ่งที่ผมทำคือ พยายามคุยให้ได้ตัวเลขที่ลูกค้าจ่ายได้ แล้วเรารับไหวรึไม่ ถ้าไม่ไหว ก็ไม่ต้องยื้อ บายไปเลย<br>ทั้งหมดนี้ แค่อยากจะบอกว่านอกจากต้นทุนทางเศรฐศาสตร์ ความคาดหวังในตัวของลูกค้าด้านงานในอนาคตก็ไม่ควรมองข้าง
ความคิดเห็นที่ 14
ICE IE SU
11/08/2556
22:22 น.
ขออนุญาติ ถามพี่ t1000 หน่อยนะคับว่า สมการการคิดค่าใช้จ่าย Machining cost ที่พี่บอกพี่ใช้จากประสบการณ์มาเขียนเป็นสมการตัวนี้หรือ พี่มีแหล่งอ้างอิงอะไรไหมคับ คือผมอยากจะเอาสมการบ้างส่วนของพี่ไปใช้อ่ะคับแต่ผมไม่รู้ว่าจะยกไปแล้วจะอ้างอิงกับอะไรอ่ะคับ
ความคิดเห็นที่ 15
วินัย
03/09/2561
10:24 น.
สมมุติ เครื่อง CNC -ขนาด 500*1000 เมตร
อยากทราบวิธีคิดค่า CNC ต่อชั่วโมงคับเท่าไหร่ขอวิธีง่ายๆ..ขอบคุณคับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 15 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: