Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,058
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,638
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,036
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,849
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,521
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,599
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,554
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,850
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,423
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,495
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,407
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,557
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,670
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,199
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,620
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,607
17 Industrial Provision co., ltd 39,271
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,419
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,349
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,671
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,515
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,906
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,271
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,016
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,639
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,565
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,999
28 AVERA CO., LTD. 22,623
29 เลิศบุศย์ 21,724
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,454
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,296
32 แมชชีนเทค 19,945
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,910
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,237
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,192
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,838
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,649
38 SAMWHA THAILAND 18,354
39 วอยก้า จำกัด 17,954
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,524
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,384
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,358
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,295
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,267
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,173
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,133
47 Systems integrator 16,751
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,687
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,521
50 Advanced Technology Equipment 16,496
19/11/2550 12:00 น. , อ่าน 10,209 ครั้ง
Bookmark and Share
ขอความรู้เพิ่มเติม งานอีดีเอ็ม (สปาร์ค)
คนชอบอี(-ดีเอ็ม)
19/11/2550
12:00 น.
ท่านใดพอให้ความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับงานอีดีเอ็ม<br>ที่จะสปาร์ค ทองแดงอีเลคโตรด กับทองแดงชิ้นงาน<br>(สปาร์คทองแดง-ทองแดง) ต้องทำอย่างไรบ้างครับ ผมต้องการให้ช่วยแนะนำให้ได้ผลงานดีที่สุด รบกวนแสดงความคิดเห็นและแนะนำกันหน่อยครับ พอดีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสปาร์คลักษณะนี้<br>
ความคิดเห็นทั้งหมด 24 รายการ | 1  2    »
ความคิดเห็นที่ 1
t1000
19/11/2550
13:09 น.
ผมไม่เคยทำหรอก แต่โดยหลักการแล้ว ทำได้ยากเพราะไม่มีความต่างศักย์ระหว่างทองแดงกับทองแดง (เพราะมันเท่ากัน) อาจจะทำได้โดยใช้ทองแดงบริสุทธิ์(99.99 %) กับทองแดงธรรมดา เพราะอาจมีความต่างศักย์อยู่เล็กน้อย ก็ยังพอให้เกิดการ spark ได้ แต่อาจจะต้องใช้เวลา EDM นานหน่อย ไม่ลองเปลี่ยนไปใช้ electrode ตัวอื่นแทนทองแดงล่ะครับ เช่น เงิน(Ag) หรือ copper tungsten (CuW) น่าจะดีกว่าใช้ทองแดงกับทองแดง (แต่แพงมากๆๆๆๆ)ใครมีประสบการณ์ช่วยแนะนำเพิ่มด้วยครับ
ความคิดเห็นที่ 2
สืบศักดิ์
19/11/2550
16:17 น.
เคย เจอ แต่ ลักษณะ บดหน้าแม่พิมพ์ โดยทั้งคู่ เป็น อลูมิเนียม และให้สึกไปพร้อมๆกัน เพื่อปิด parting line <br><br>แต่จำไม่ได้จริงๆ ว่า ค่าไฟ สามารถ ตั้ง เป็น ทองแดงกับ ทองแดงได้ หรือไม่ บางยี่ห้อเคยเห็น ทั้ง electrod และ part เป็นวัสดุเดียวกัน เพราะมีวิธีเฉพาะในการปล่อยกระแส <br><br>คงต้องลอง ดูคู่มือของเครื่อง ในส่วนของ ตารางการตั้งค่าไฟ ละครับ ว่ามีให้มาหรือเปล่า เพราะหากมีให้มาก็น่าจะทำได้ <br>อีกวิธี คือ ถามฝ่ายเทคนิค บริษัทนั้นๆ ละครับ <br><br>ที่นี้ที่ไม่รู้เลย หรือ ควรบอกก่อน คือ <br>เครื่อง ประเภทไหน Z-NC หรือ CNC <br>สัญชาติ / ยี่ห้อ ถ้าบอกได้ <br><br>เพราะจะเป็นตัวช่วย ให้ตอบได้ตรงประเด็น ไม่อยากหลงประเด็นกันอีก นานเข้ากลายเป็น เรื่องอื่น ไม่ใช่ ประเด็นที่ถาม เนื่องจากมีรายละเอียดไม่ครบถ้วน <br>
ความคิดเห็นที่ 3
สืบศักดิ์
19/11/2550
16:25 น.
อ้อ เพิ่งนึกได้ หากคุณ สมภพ อ่านกระทู้นี้ ก็เมล์หาหน่อยนะ <br>เจอ แล้ว ช่างคนที่เคยพูดถึงนะ ชื่อ อน...ณ <br><br>เห็นบอกว่า ตามเขาได้ที่ บอร์ด ซีเอ็ด ห้องอีเล็คทรอนิคส์ เพราะเขาไปหางานในนั้นบ่อยๆ
ความคิดเห็นที่ 4
คนชอบอี(-ดีเอ็ม)
19/11/2550
21:21 น.
เครื่องไต้หวันทั่วไปครับ เก่าแล้ว<br>ตารางไฟไม่มี จะลองพยายามทำดู<br>ช่วยวิเคราะห์ว่า การปรับพารามิเตอร์ในการสปาร์คตัวใดจึงจะพอบังคับให้เครื่องพอทำงานในลักษณะที่กล่าวนี้ได้
ความคิดเห็นที่ 5
สมภพ
19/11/2550
21:56 น.
อ้อ..คุณสืบศักดิ์ ผมไปตอบที่<br><a href="http://www.9engineer.com/webboard/question.asp?QID=12756" Target="_BLANK">www.9engineer.com/webboard/question.asp?QID=12756</a><br>แล้วนะครับ พอดีเปิดหลายหน้าต่าง พิมพ์ผิดช่องเลยไปโผล่ตรงนู้น
ความคิดเห็นที่ 6
สืบศักดิ์
19/11/2550
22:18 น.
สำหรับ จขกท. แนะว่า ลองไปขอ จาก คนอื่น ที่มี เครื่องขนาดใกล้เคียงกัน <br>แต่ไม่รับประกัน นะครับ เพราะระบบการปล่อยกระแส แต่ละเครื่องมี เทคนิค ไม่เหมือนกัน <br>( ภาคคลื่นความถี่ และ การ discharge รวมทั้ง วิธีการสลับด้านของกระแส เพื่อลดการสึกหรอ )
ความคิดเห็นที่ 7
EDMER
20/11/2550
22:08 น.
สั้น ๆ นะครับ คือ Cu กับ Cu เนี่ยปกติสปาร์คยากอยู่แล้วครับ แต่ก็พอทำได้ไม่ว่าเครื่องไหน แต่ต้องเป็น square pulse นะครับ ส่วน slope pulse ไม่ค่อยดี ช้า ส่วน high peak pulse ก็สึกเยอะแน่ ๆ แต่หลัก ๆ ก็คือ ตามนี้<br>1. กลับขั้วครับ จากปกติ ชิ้นงานเป็น - ให้เป็น +<br>2. เวลาแช่หรือ Down time สั้น ๆ ครับ ไม่ควรเกิน 0.5 sec ส่วนระยะยกก็ตามสมควร ปรับลูกบิดเอาละกัน<br>3. Pulse Duration time หรือ ON ยาวมากไม่ได้ครับ 20 ไมโคร sec. ก็พอได้ อาจจะต้องน้อยกว่า OFF อีก ถ้าเปรียบเทียบกับ OFF ให้ Duty % มากสุดอยู่ที่ 50 : 50 ละกัน หรือ 70 : 30 ก็ได้(ON time 30 ) <br>4. Ignition Voltage อย่ามากไป ก็ไม่เกิน 100 V. ก็ได้ครับ<br>5. ถ้ามีพวก Adaptive control ต่าง ๆ เช่น Fuzzy หรือ Optimizer ต่าง ๆ ก็ควรจะปิดนะครับ เพราะผมไม่คิดว่าเค้าจะทำระบบ Adaptive control มาใช้กับ Cu-Cu <br>6. พวก Condensor ไม่ต้องใช้นะครับ<br>อืมมมม....... ก็ประมาณนี้ครับ แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนที่วัสดุ Electrode ก็คงจะต้องเป็น Cr-Cu ที่สปาร์คกับ ETP Cu ครับ หรือ Oxygen Free Cu ก็ได ส่วน Code ที่ใช้กัน เหมาะสุดก็คือ 99.95% ครับคือรหัส C1100 พอหาได้อยู่ในไทย ส่วน 99.99% ต้องหาที่ประเทศอื่นแล้วครับเพราะไม่เคยเห็น ถ้าคุณสมภพปรับตามที่ผมบอกแล้ว OK ก็บอกกันมั่งนะครับ แล้วก็น่าจะเอาไปใช้กับ BeCU หรือ HR750 กลุ่ม copper alloy พวกนี้ได้ด้วย.....Good luck ไปละคร้าบต้องไปทำงาน EDM ต่อ<br>
ความคิดเห็นที่ 8
คนชอบอี(-ดีเอ็ม)
20/11/2550
23:48 น.
อ่า โอ้โห อ่านซะตาค้างเลยครับ คำถามของผมเองครับไม่ใช่คุณสมภพครับ<br>แต่ก็ขอบคุณ คุณ EDMER มากๆ ครับคิดว่าคงตั้งใจตอบผมนั่นแหละ ผมสนใจเรื่องงานสปาร์ค เป็นพิเศษครับ ตอนนี้คิดว่าตัดสินใจไม่ผิดที่เข้ามาถามตรงนี้ จากที่เฝ้าดูมาพักนึง ก็เห็นว่าเรื่อง อีดีเอ็มนี่การถามตอบบนนี้ยังน้อยอยู่ครับ เลยไม่ค่อยกล้าตั้งกระทู้มา บางครั้งก็เห็นถกกันหลายเรื่องเลย แต่ก็ยังพอยืนยันได้นะครับว่ายังมีคนรู้เรื่องนี้อยู่ไม่มากก็น้อยเลย แต่จะแสดงตัวหรือเปล่าคงเป็นอีกเรื่องนึง ผมตั้งกระทู้เรื่องที่สงสัยเผื่อจะมีท่านใดสงสัยเหมือนผม และได้ความรู้จากการตอบของทุกๆท่าน ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ตอบด้วยครับ<br>แต่อย่างไรก็ต้องรบกวนคุณ EDMER ตอบอีกครั้งครับ<br>1. บรรทัดที่สอง ความหมาย เรื่อง square pulse กัย slope pulse<br>2. ข้อ 4 ignition voltage เป็นโวลท์ตอนไหนครับ<br>3. ข้อ 6 ทำไมคิดว่า Condencer หรือ C Box ไม่น่าจะ ok ล่ะครับ<br>รบกวนแค่นี้ก่อนครับ ว่างค่อยตอบก็ได้ครับ ท่าทางงานจะเยอะ 3-4 ทุ่มยัง E อยู่เลย<br>ท่านใดมีความเห็นเพิ่มเติม เหมือนหรือต่าง เชิญเลยนะครับ<br><br> <br>
ความคิดเห็นที่ 9
t1000
21/11/2550
08:47 น.
คุณ EDMER แน่จริงๆ ครับ ตอบได้ลึกถึงแก่นมาก<br> เสริมนิดนึงครับที่คุณ EDMER บอกว่า ในไทยหา Cu 99.99% ได้ยาก อยากบอกว่า จริง ครับ เพราะในไทยมีสิ่งเจือปนสูงมาก ที่ทำงานเก่าผมก็สั่งจากญี่ปุ่นเท่านั้น ของในไทยไม่ซื้อครับ พราะ EDM ได้ไม่ดี อยากถามคำถามเสริมความรู้คุณ EDMER ว่า electrode ที่เป็นทองแดงผสมกราไฟต์ (เคยเห็นในงาน thai metalex ปีก่อนๆ)นี่มันใช้ได้ดีหรือไม่ เหมาะกับงานประเภทใด เพราะผมคิดว่ามันรวมข้อดีของทั้งตัวมาไว้ด้วยกัน แต่ผมยังไม่เคยลองใช้หรอกเพราะไม่ได้ทำในส่วนตรงนั้นแล้ว
ความคิดเห็นที่ 10
สืบศักดิ์
21/11/2550
10:16 น.
ขอบคุณ EDMER ด้วยนะ ว่างๆ เชิญใหม่
ความคิดเห็นที่ 11
EDMER
22/11/2550
01:06 น.
ต้องขอโทษ คุณ คนชอบ E ด้วยครับที่ผมดูผิดคนแล้วตอบไป เพราะผมถอดแว่นน่ะครับเพราะตัวหนังสือเล็ก แล้วก็คุณ สมภพด้วยขอโทษนะครับที่อ้างชื่อไป <br>วันนี้ก็เลยอยากเข้ามาถามคุณ คนชอบ E ว่าได้ลองทำหรือยังครับเพราะผมก็อยากรู้เหมือนกัน แล้วถ้า Wear consumption ได้อยู่ที่ประมาณ 20-30% นี่สุดยอดเลยครับ แต่ถ้า 50% ก็ อืมม....เสมอตัวละกันครับ แล้วที่คุณ คนชอบ E ถามเรื่อง Pulse shape แบบ Square กับ Slope ของ EDM นี่ก็แสดงว่าสนใจเรื่องนี้เหมือนกันหรอครับ ดีเลยเพราะว่าเรื่องแบบนี้ผมหาคนคุยด้วยไม่ได้จริง ๆ ครับ คงไม่ค่อยมีคนสนใจเท่าไรแต่ผมก็ไม่เคยคิดว่ามีผมคนเดียวหรอกครับแต่อาจจะหาไม่เจอ เพราะจริง ๆ แล้วผมก็ยังเด็ก ๆ อยู่คงต้องหาคนปรึกษาและประสบการณ์ไปเรื่อย ๆ <br>ถ้าความหมาย Square Pulse มันก็คือ Pulse shape แบบหนึ่งของ Generator EDM ซึ่งเป็นรูปแบบพื้นฐานจะมีอยู่กับเครื่อง EDM ทุกตัว เพราะวงจรที่สร้าง Pulse ทำได้ไม่ยากและก็เป็น Pulse ที่สามารถได้ Average current สูงสุดด้วยเกือบเท่ากับ IP current เลย ก็เป็นได้ ดังนั้นตอนที่ EDM ก็จะเกิดพลังงานที่สูงมากจาก Pulse shape แบบนี้ ก็เลยควรใช้ Graphite ที่ทนความร้อนได้สูงมาเป็นอิเล็กโทรด สำหรับเครื่อง EDM ชื่อดังจาก Japan หรือ Swiss ก็มักจะใช้ Square Pulse ไปจนถึงขั้นตอนการทำ semi finishing ครับ(ผิวดีสุดประมาณ 3 Ry ขึ้นไป แล้วแต่เกรด Graphite) แต่ถ้าใช้กับ Cu ก็พอได้ครับ แต่การปรับ Discharge duration เนี่ยผมคิดว่า range มันแคบครับ ถ้าปรับไม่เหมาะก็สึกง่าย ก็เลยเป็นที่มาของ Slope Pulse ไงครับ เพราะช่วงจังหวะที่เกือบจะสิ้นสุด Ignition Voltage จากนั้นการ Discharge เริ่มต้นขึ้นแบบทันทีทันใด เหมือน square pulse นั้นน่ะเป็นต้นเหตุหลักของการสึกหรอของทองแดง ดังนั้นก็เลยต้องเพิ่ม Delta IP และ Delta On เติมลงไปใน Pulse ครับกลายเป็นรูปร่าง slope ขึ้นมา แล้วตอนนี้ถ้าคุณ คนชอบ E ลอง image รูปคลื่นขึ้นมา ในส่วนของ ignition voltage ที่ผมหมายถึงก็คือ open voltage ที่หลาย ๆ คนหรือหลาย ๆ ตำราได้กล่าวไว้นั่นเอง<br>จริง ๆ แล้วเครื่อง EDM ที่ผมทำอยู่เนี่ยมีรูปแบบของ pulse shape มากกว่า 10 แบบแล้วก็ต่าง Application กันด้วย ซึ่งถ้าให้อธิบายให้หมดคงต้องสัก 10 หน้า A4 ครับ และผมก็เข้าใจมันแค่ 7-8 แบบเอง ส่วนเรื่อง Condenser น่ะอย่างที่คุณ คนชอบ E เข้าใจน่ะถูกแล้วครับ จะปรับด้วยลูกบิด , สายคีบ , หรือแบบ Digital parameter ก็อาจเป็นได้ แต่ condenser generate ต้องเอาไปใช้กับงานเฉพาะอย่างน่ะครับ <br>ส่วนคำถามของคุณ t1000 เรื่อง GrCu electrode นั้น ผมได้ลองใช้แล้วครับแต่ผู้ผลิตอาจจะเป็นรายอื่นที่ไม่ใช่ที่คุณ t1000 ไปเห็นมา เพราะตอนนี้ก็มี brand ญี่ปุ่นที่ทำกันมาแล้วครับ ข้อดีก็เยอะอยู่ตั้งแต่ความสามารถด้านการตัดเฉือน แต่งง่าย เก็บละเอียดที่ประมาณ 1-1.5 Ry พอได้ น้ำหนักก็ไม่เท่าทองแดง แต่ก็หนักกว่า Graphite ธรรมดา ทำเป็นเกลียวอิเล็กโทรดก็ดี แต่ราคาครับแพงอยู่แล้ว E-parameter ก็ต้องสร้างเอาเองครับ ปกติ Graphite เป็นวัสดุ High technology material ซึ่งกระบวนการผลิตก็ซับซ้อนอยู่แล้ว นี่ต้องทำการ fusion copper ลงไปอีก ความสามารถของอิเล็กโทรดชนิดนี้จึงควรจะรอบด้าน แม้กระทั่งการ Machining กับชิ้นงาน WC-Co ก็เหอะ ข้อดีก็อีกเยอะครับ แต่ขอพอก่อนละกันนะ<br><br>สำหรับ คุณ คนชอบ E ก็ยินดีที่ได้รู้จักนะครับเพราะรู้สึกว่าก็ชอบ EDM เหมือนผมเลย แต่ใน W/B นี้เค้าไม่ค่อยคุยเรื่อง EDM กันผมก็เลยไม่ค่อยได้เข้ามาดูเพราะถ้าถามเรื่องอื่นอย่าง CNC controller หรือ CAD/CAM พวกนั้นผมไม่รู้เรื่องหรอกเพราะผมไม่มีเวลามาสนใจเรื่องอื่นมากเท่าไร แต่ถ้าเป็น EDM ,WEDM, Small-Hole EDM, Micro EDM และ WEDG อ่ะพอคุยได้ครับ <br>คงต้องไปละครับเลิกงานพอดี <br>
ความคิดเห็นที่ 12
t1000
22/11/2550
08:52 น.
ได้ฟื้นความรู้และเสริมความรู้ใหม่เข้าไปอีกรอบ หลังจากลืมไปเกือบ 5 ปี ผมมีคนญี่ปุ่นที่ถือว่าเป็นเซียนทางด้านนี้เหมือนกัน เค้าสอนเหมือนที่คุณ EDMER บอกไว้เปี๊ยบเลย แต่ผมแค่รู้ไม่ได้ทำในส่วน EDM เลยไม่ค่อยถนัด ที่รู้เพราะต้องเอาไป design แม่พิมพพ์ งานผมจะเป็นงานความเที่ยงตรงสูงระดับ 1 ไมครอน การทำ EDM ให้ได้ระดับนั้นถือว่า ไม่ง่ายเลย ต้องมีความรู้ในเรื่องที่คุณ EDMER บอกและอีกหลายอย่างผสมกัน งานกราไฟต์นี่ผมไม่เคยทำเลยล่ะ เพราะที่เก่าผมไม่ใช้ ใช้แต่ Cu กับ CuW และ AgCU สำหรับงานละเอียดๆ มีคำถามเพิ่มเติมคือ คุณ EDMER คิดว่า เครื่องยี่ห้อไหนทำงานความเที่ยงตรงระดับ micron หรือ sub micron ได้ดีที่สุด อันนี้ผมอยากรู้มากและอยากมานานแล้วครับ แต่ไม่มีใครตอบผมได้แบบกระจ่างเสียที บางคนบอก Argie บางคนบอก Mitsubishi รบกวนคุณ EDMER ช่วยตอบให้หายข้องใจหน่อยครับ ( ตอบได้โดยไม่ต้องเกรงใจใครครับ หรือถ้าอึดอัดในการตอบก็บอกข้อดีของแต่ละยี่ห้อก็แล้วกันครับ)
ความคิดเห็นที่ 13
สืบศักดิ์
22/11/2550
11:48 น.
ก็น่า จะกระจ่าง สำหรับ หลายท่าน เรื่อง EDM ก็ขอบคุณอีกครั้ง <br><br>ส่วน เรื่อง brand ขอไว้หน่อย ละกัน นะ เพราะไม่อยากเห็น การถกแบบเดิมๆ อีก เพราะติดเรื่อง ยี่ห้อกัน <br><br>ลักษณะ ความสามารถ ระดับ ไมครอน ซับไมครอน พูดยากนะ เพราะเกี่ยวข้อง กับ error หลายตัว ทั้งที่เป็น แบบ positioning error คือ เฉพาะจุด เฉพาะตัว และ แบบ Total error ที่เมื่อประกอบรวมเข้าด้วยกันแล้ว <br><br>อีกอย่าง หลายบริษัท เป็นตัวแทน ซึ่งแต่ละยี่ห้อ จะดีอยู่แล้ว ในตัว ขึ้นอยู่กับ ผู้ใช้งาน <br><br>ม้า ดี ต้องมี จอกกี้ ที่ดีด้วย <br>ม้า ดีๆ แต่ จ๊อคกี้ ไม่เก่ง อาจทำให้ ม้าขาหัก <br>จนต้องยิงม้าทิ้ง ก็เคยมี
ความคิดเห็นที่ 14
คนชอบอี(-ดีเอ็ม)
23/11/2550
00:10 น.
สำหรับคำตอบที่ 11 นี่ผมอ่านซ้ำ 4 รอบเลยนะครับ ยอมรับว่าได้ประโยชน์มากจากคุณ EDMER ซึ่งตอนแรกผมเดาว่าเป็นคนที่ผมรู้จักอีกท่านนึงมาตอบ แต่ดูจากลักษณะการอธิบายแบบนี้แล้วคงไม่ใช่แน่ ยิ่งดูจากประสบการณ์โดยประเมิณจากข้อความในการถ่ายทอดความรู้แล้วละก็น่าจะประมาณว่า เคยได้ทดลองใช้เครื่องมาหลายยี่ห้อพอควร หรือสนใจในลักษณะของ Applications งาน EDM อย่างมากเลย ประเภทนี้ผมเรียกว่าคนบ้า (อย่าเพิ่งโกรธ) ประมาณว่ายืนสปาร์คงานเกือบทั้งวันทั้งคืน ไม่ใช่แค่สนใจงานตอนเสร็จ แต่ระหว่างสปาร์คก็สนใจปรับโน่นปรับนี่ไปหาความรู้เข้าตัวตลอด นี่เป็นเครื่องยืนยันว่าคนเก่งในด้านนี้ในวงการไม่ได้มีแค่คนเดียว สิบคน ร้อยคน หรือพันคน แต่คงจะเป็นใครก็ได้ที่สนใจในเรื่องนั้นๆ ด้านนั้นจริงๆ และหมั่นฝึกฝน เปิดรับและแลกเปลี่ยน ถ่ายทอด เทคนิคและความรู้กันตลอด บางคนก็เก่งครับ แต่ไม่ถ่ายทอด หรือถ่ายทอดไม่เป็น หรือแกล้งถ่ายทอดไม่หมดก็มี แต่คุณ EDMER จะเป็นใครก็ช่างเถอะครับ ผมก็ขอบคุณและยินดีเลยที่ได้ให้ความรู้ ณ.ที่นี้ บางจุดผมยังไม่เข้าใจก็จะได้ทดลองและพยายามต่อไป สิ่งนึงที่จะขอได้ก็คือแวะมาตอบมาดูกระทู้กันบ้างนะครับอย่าหายไป หริอเบื่อหน่ายซะก่อนล่ะครับ ผมจะได้มีคนแนะนำ เพราะเท่าที่อ่านดู คุณ EDMER น่าจะเป็นบุคคลที่ได้จับหรือใช้งานเครื่องอีดีเอ็มญี่ปุ่น หรือยุโรป คุณภาพสูง และทันสมัยอยู่เป็นประจำในทุกวันนี้นะครับ ผมเองก็บ้าครับ ประมาณว่าบ้าอีเลคทรอนิส์อุตสาหกรรมน่ะครับ ระบบคอนโทรลเครื่องจักร, งานออกแบบวงจรอนาลอก/ดิจิตอล -แผงวงจร(PCB) เขียนโปรแกรม C, ASM , ระบบ PLC , PC Control, Servo system, Single board Microprocessor/ Microcontroller ,MCS-51,PIC, PLD, CPLD ประมาณนี้ บ้าอีเลคทรอนิคส์หลายๆด้านหลายเทคโนโลยีนะครับ จนทุกวันนี้ยังเอาดีไม่ได้เลยครับบ้าไปวันๆ แหะๆ<br>แต่ที่ผมสนใจที่สุดก็น่าจะเป็นเทคโนโลยีของระบบคอนโทรล เครื่องอีดีเอ็มนะครับ มันลึกดี มันมีหลายด้าน นอกจากการระบบควบคุมการเคลื่อนที่และตำแหน่งของแกนขับ-โต๊ะงาน เหมือนหลักๆของเครื่องจักรอัตโนมัติส่วนใหญ่แล้ว มันยังมีเทคโนโลยีการควบคุมการจ่ายไฟสปาร์ค ที่ทำให้เกิดผลงานสำเร็จได้โดยที่อีเลคโตรดกับชิ้นงานไม่ได้สัมผัสกันจริง ต่างจากเครื่องมิลลิ่งหรือกลึงเป็นต้น ผมมองว่ามันยากดี ยากกว่าซีเอ็นซีคอนโทรล 5 แกน 10 แกน(ถ้าสร้างกันได้) ยิ่ง WEDM แล้วหละก้อ สุดยอดเลย (ผมมองด้านไฟฟ้าอีเลคทรอนิคส์ ระบบควบคุมเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับตัวเครื่อง โครงสร้างรวมหรือความยากง่ายในการใช้งาน และเป็นความเห็นส่วนตัว) สิ่งนี้เป็นจุดสนใจที่ผมตัดสินใจเข้าทำงานกับรุ่นพี่ในวงการขายและบริการซ่อมเครื่องจักรนี้เมื่อ 14-16 ปีก่อนนี้ (ไม่แน่ใจ ลืมปี) ในตำแหน่งช่างเทคนิคกระจอกๆ ซ่อมเครื่องอีดีเอ็มและเครื่องจักรทั่วไปน่ะครับ ผมทำงานส่วนนี้ไปเพราะชอบอีเลคทรอนิคส์ครับ ลึกๆแล้วไม่ได้ชอบวงการขายและบริการซ่อมเครื่องจักรซักเท่าไร เรื่องลึกๆในวงการ ในระบบบริษัทมันน่าเบื่อหลายเรื่อง อาจารย์ปู่อย่างคุณสืบศักดิ์คงทราบดี จึงไม่ได้คิดยากจะเป็นใหญ่เป็นโตหรือได้ดิบได้ดีในวงการเลยครับ ทำอยู่ไม่นานหรอกครับแค่ 10 กว่าปี โดยไม่เปลี่ยนสายงานเลย วันที่ผมออกก็ยังเป็นช่างซ่อมอีดีเอ็มกระจอกๆอยู่เลย นี่เขาก็ไล่ผมออกให้มานั่งพิมพ์แต๊กๆ อยู่เนี่ย ฮ่าๆๆ ไส้แห้งเลย<br>ก็ไงแล้ว ช่วงเร็วๆนี้อาจรบกวนคุณ EDMER คุณ t1000 คุณปู่สืบศักดิ์ หรือท่านอื่นที่มีความรู้และเต็มใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กันอีกหลายครั้งนะครับ เพราะกำลังทำโปรเจ็คเกี่ยวกับอีดีเอ็มให้บริษัทเล็กๆบริษัทนึงอยู่ ผมเป็นแค่ช่างซ่อม-ช่างอีเลคทรอนิคส์ ไม่ค่อยได้สปาร์คงานจริงจังนะครับ ก็จะได้จากประสบการณ์ที่ท่านทั้งหลายจะแนะนำเนี่ยหละครับ หลายๆงาน(90%)ที่เป็นงานระบบควบคุมอัตโนมัติของผม สำเร็จได้ก็เพราะได้ผู้ใช้งานเครื่องที่ไม่อัตโนมัติ, ผู้ที่แก่ประสบการณ์(ปู่โรงงาน), ผู้ที่เดินผ่านมาติและแนะนำ ไปจนถึงเด็กใช้งานเครื่อง, แม่บ้านในโรงงาน นั่นแหละครับสอนและให้คำแนะนำ ตลอดจนแนะแนวทางในการออกแบบงาน/เขียนและปรับแต่งโปรแกรมควบคุม/เขียนและออกแบบหน้าปัทม์ ส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (control panel) คนพวกนี้แหละครับที่มีส่วนช่วยมาก ที่ผมจะได้ทำจริงๆซะส่วนใหญ่ก็นส่วนออกแบบวงจร ออกแบบ PCB งาน Assembly / Wiring และ งานSystem intregrations เท่านั้นหละครับ ขนาดทดสอบระบบขั้นสุดท้ายเจ้าของงานเขายังยังต้องให้คนพวกนี้ firm งานและติชมขั้นสุดท้ายเลย เห็นมั้ยครับ คนเก่งมีเยอะครับ คนที่มีส่วนช่วยให้คนเก่งประสบความสำเร็จก็มีเยอะกว่าครับ<br> <br>
ความคิดเห็นที่ 15
สืบศักดิ์
23/11/2550
00:54 น.
คนชอบอี(-ดีเอ็ม)<br><br>นี่ เล่น เรียกปู่ เลยหรือ <br><br>หลักชีวิต ผม มักจะมองอดีต เป็นเพียงเครื่องเตือนความจำ ไม่เสียใจแม้ว่าตัดสินใจ บางอย่างผิด เพราะเราเลือกเอง ณ.เวลานั้น <br><br>ปัจจุบัน และข้างหน้า เป็นสิ่งสำคัญกว่า <br><br>รู้สึกยินดี ที่บอร์ด มีคนที่สนใจ งาน EDM WEDM ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากพอควร ต่างจากงานตัดกลึง ทั่วไป เหมือนอย่างที่อธิบายกัน <br><br>ก็หวังว่า ทั้งสอง คงจะเข้าดูต่อ นะ หลังจาก ที่ คนชอบอี(-ดีเอ็ม)<br> หายไปพักนึง <br>
ความคิดเห็นทั้งหมด 24 รายการ | 1  2    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: