Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,991
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,583
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,993
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,789
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,468
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,556
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,513
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,821
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,358
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,452
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,365
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,516
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,596
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,134
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,527
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,558
17 Industrial Provision co., ltd 39,229
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,381
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,299
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,627
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,451
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,855
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,222
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,962
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,586
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,518
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,953
28 AVERA CO., LTD. 22,588
29 เลิศบุศย์ 21,689
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,389
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,248
32 แมชชีนเทค 19,897
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,872
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,188
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,143
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,802
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,605
38 SAMWHA THAILAND 18,296
39 วอยก้า จำกัด 17,904
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,482
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,335
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,306
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,244
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,220
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,137
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,071
47 Systems integrator 16,715
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,634
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,459
50 Advanced Technology Equipment 16,446
09/04/2559 07:10 น. , อ่าน 5,078 ครั้ง
Bookmark and Share
'ช่างไฟฟ้า'อาชีพเสี่ยง!! บังคับสอบวัดฝีมือลดสูญเสีย
โดย : Admin


CR : http://www.dailynews.co.th/article/375159

 


''งานด้านไฟฟ้า''เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญในการซ่อมแซม ปรับปรุง ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งภายใน ภาย นอกอาคาร และในที่สาธารณะด้วยความปลอดภัยทั้งตัวช่างไฟฟ้าและประชาชน แต่ปัจจุบันพบว่าอาชีพนี้ถูกกำหนดให้เป็นอาชีพที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะ ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมและทดสอบวัดระดับฝีมือของช่างก่อนปฏิบัติงาน เพื่อลดความผิดพลาดที่ทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้เป็นจำนวนมาก


โดย กรีฑา สพโชค อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อธิบายว่า อาชีพช่างไฟฟ้าถูกกำหนดว่าเป็นอันตราย เนื่องจากการกำหนดสาขาอาชีพ ตำแหน่งงาน หรือลักษณะงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะมีการดำเนินการโดยผู้ได้รับ หนังสือรับรองความรู้ความสามารถที่มาจากการพิจารณาของคณะทำงานซึ่งเป็นผู้ เชี่ยวชาญจากตัวแทนกลุ่มวิชาชีพ สมาคมวิชาชีพแต่ละสาขาและหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยในเบื้องต้นพิจารณาจากตัวอย่างของประเทศที่มีการประกาศใช้ไลเซนส์ในการ ประกอบอาชีพมาก่อน เช่น ออสเตรเลีย อเมริกา และเยอรมนี เนื่องจากยังเป็นเรื่องใหม่ในการบังคับใช้ในประเทศไทย


การกำหนดอาชีพเสี่ยงขั้นแรกมีการคัดเลือกสาขา พิจารณาองค์ประกอบและหลักเกณฑ์ คือจำนวนผู้ปฏิบัติงานของแต่ ละสาขาวิชาชีพ จำนวนประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีโอกาสได้รับผลกระทบ โอกาสในการสร้างความเสียหายเกิดอันตรายแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินส่วนบุคคลและสาธารณะ ซึ่งเบื้องต้นพบว่ากลุ่มอาชีพที่คัดเลือกผ่านเข้ารอบพิจารณาประกอบด้วย กลุ่มช่างไฟฟ้า คือ ช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม ช่างไฟฟ้าในอาคาร ช่างไฟฟ้านอกอาคาร และกลุ่มช่างเชื่อม จากการพิจารณาพบว่าช่างไฟฟ้าในอาคารเป็นอาชีพที่ควรมีการทดสอบมาตรฐานฝีมือ แรงงานแห่งชาติเป็นการนำร่อง

 

  ช่างไฟฟ้าในอาคารมีจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ทุกส่วนของประเทศ เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง หากมีความผิดพลาดในชิ้นงานก็มีโอกาสส่งผล กระทบต่อชีวิตคนและทรัพย์สินสาธารณะในวงกว้างได้ เช่น หากเดินสายไฟหรือวางระบบผิดพลาด อาจทำให้ไฟช็อต ไฟดูดคนเสียชีวิต หรือหากไฟฟ้าลัดวงจรเกิดไฟไหม้บ้านไหม้อาคาร และอาจลุกลามไปหลายบ้านเรือนหรือทั้งชุมชน ซึ่ง ปัจจุบันมีผู้ผ่านการทดสอบที่ได้รับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร จำนวน 15,497 คน แต่ตัวเลขผู้ปฏิบัติงานด้านช่างไฟฟ้าที่แท้จริงไม่มีตัวเลขแน่นอน เพราะยังไม่มีการควบคุมหรือสำรวจอย่างเป็นระบบ บางครั้งอาจเป็นแรงงานต่างชาติ เมื่อมีความผิดพลาดในการติดตั้งระบบไฟฟ้าจึงหาผู้รับผิดชอบได้ยาก



ดังนั้นการกำหนดให้สาขาช่างไฟฟ้าในอาคารเป็นอาชีพที่ต้องได้รับการอนุญาต หรือดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถจะช่วยให้การ ตรวจสอบจำนวนและควบคุมคุณภาพการทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งมีความปลอดภัยลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่ง ในปี 2559 นี้ ขอเชิญชวนให้ช่างไฟฟ้าในอาคารทุกคนไปติดต่อขอทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่ง ชาติที่ศูนย์และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย หรือศูนย์ทดสอบของส่วนราชการ สถานศึกษา และองค์การวิชาชีพอีก 32 แห่ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าประเมินขอรับใบอนุญาตหนังสือรับรองความรู้ ความสามารถเพื่อใช้ประกอบอาชีพเสี่ยงที่จะบังคับใช้ในเร็ว ๆ นี้

มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ” เป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ มีองค์ประกอบ คือ ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ส่วน “หนังสือรับรองความรู้ความสามารถในการทำงาน” เป็นหนังสือที่ใช้ในการประกอบอาชีพที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะเพื่อคุ้ม ครองป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและประโยชน์สาธารณะ ดังนั้นผู้ที่จะรับการประเมินต้องปฏิบัติ 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ดำเนินการสมัครและรับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าในอาคาร ถ้าสอบผ่านจึงดำเนินการ ขั้นตอนที่ 2 คือสมัครรับการประเมินความรู้เพื่อออกหนังสือรับรองความรู้ความสามารถในการ ทำงาน

 




กระบวนการนี้ใช้เกณฑ์พิจารณาให้คะแนน 3 ส่วน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็น ผลการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 50 คะแนน เป็นการวัดความรู้และทักษะความชำนาญ ซึ่ง ส่วนแรกทดสอบความรู้ด้านวิชาการหรือทฤษฎีด้วยวิธีสอบข้อเขียนและ ส่วนที่สองคือ การวัดทักษะโดยการปฏิบัติ เช่น หากเป็นช่างไฟฟ้าในอาคารจะทดสอบให้ออกแบบติดตั้งวางระบบไฟ การเดินสายไฟ-สายดิน ระบบความปลอดภัย วัดวิธีการขั้นตอนการทำงาน ความเรียบร้อย สวยงาม ถูกต้องครบถ้วนแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น ประสบการณ์ 25 คะแนน พิจารณาจากหนังสือรับรองการทำงาน การผ่านการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องในสาขานั้น ๆ การเป็นวิทยากรหรือการสอน เป็นต้น และคุณลักษณะส่วนบุคคลอีก 25 คะแนน พิจารณาจากการสัมภาษณ์หรือการให้ทดสอบเพื่อวัดศักยภาพในการประกอบอาชีพ หรือการทำงานที่มีอยู่ในตัวบุคคล เช่น ทักษะในการจัดการเกี่ยวกับวิธีการหรือกระบวนการในการทำงาน หรือทักษะในเรื่องของความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน เป็นต้น


ผลดีของการใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานสำหรับนายจ้างสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการ วัดความรู้ความสามารถของบุคลากร ทำให้ทราบว่าพนักงานมีขีดความสามารถ ความรู้ และทักษะในระดับใด เป็นประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาบุคลากร รวมทั้งใช้เป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทนความสามารถได้ และการใช้แรงงานที่ได้มาตรฐานจะส่งผลให้ลดการสูญเสียและผิดพลาดในสินค้าและ บริการ ส่วนลูกจ้างสามารถทราบขีดจำกัด ข้อดีและข้อด้อยของตัวเองเพื่อนำไปสู่การทบทวนฝึกฝน รวมทั้งใช้หนังสือรับรองผู้ผ่านการทดสอบฯ ประกอบการขอหนังสืออนุญาตไปทำงานในต่างประเทศได้ สุดท้ายผู้บริโภคหรือประชาชนจะได้รับสินค้า บริการที่มีคุณภาพและปลอดภัยที่สุด

 

ถึงแม้ตอนนี้ช่างไฟฟ้าจะยังไม่มีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ประชาชนที่ต้องการใช้บริการงานด้านไฟฟ้าหากต้องการมั่นใจถึงความปลอดภัยควร เลือกช่างที่มีใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าในอาคารที่ออกโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานไปก่อน เพราะเชื่อมั่นได้ในเบื้องต้นว่ามีความรู้ความสามารถด้านทฤษฎีและทักษะความ ชำนาญในการปฏิบัติงานตามเกณฑ์ได้ และในอนาคตหากมีการเข้มงวดการประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงได้อย่างเป็น รูปธรรมแล้วเชื่อว่าจะช่วยลดสถิติความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินได้มากที เดียว.

 

เผย 10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง-ดาวร่วงปี 2559

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผย 10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ในปี 2559 โดยธุรกิจดาวรุ่ง ได้แก่ อันดับ 1 ธุรกิจทางการแพทย์และความงาม อันดับ 2 ธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสาร อันดับ 3 ธุรกิจเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว อันดับ 4 ธุรกิจการท่องเที่ยว อันดับ 5 ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต อันดับ 6 ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเพื่อสุขภาพ อันดับ 7 ธุรกิจขนส่งและ โลจิสติกส์ อันดับ 8 มี 2 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจจัดการตลาด เช่น ตลาดนัดและตลาดสด ตลาดนัดกลางคืน และธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างและธุรกิจก่อสร้าง อันดับ 9 มี 2 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจจำหน่ายและผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และธุรกิจยา เวชภัณฑ์ และสมุนไพรธรรมชาติ สุดท้าย อันดับที่ 10 มี 2 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจพลังงานทดแทน และธุรกิจพลังงานหมุนเวียน
 

ส่วนธุรกิจดาวร่วง ได้แก่ อันดับ 1 ธุรกิจหัตถกรรม อันดับ 2 ธุรกิจฟอกย้อม อันดับ 3 ธุรกิจสิ่งทอผ้าผืน อันดับ 4 ธุรกิจจำหน่ายผักและผลไม้อบเเห้ง และธุรกิจร้านค้าดั้งเดิมที่ไม่ปรับตัว อันดับ 5 ธุรกิจรับซื้อยาง อันดับ 6 โรงสีขนาดเล็ก อันดับ 7 ธุรกิจสิ่งพิมพ์ หนังสือเล่ม อันดับ 8 ธุรกิจรับซื้อคอมพิวเตอร์มือสอง และธุรกิจร้านจำหน่ายโทรศัพท์มือสอง อันดับ 9 ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องจักรทางการเกษตร และ อันดับ 10 ธุรกิจพ่อค้าคนกลางพืชผลทางการเกษตร. ชญานิษฐ คงเดชศักดา“

 
  • คอมเม้นท์บางส่วนของจากผู้ติดตามข่าวสาร

 
Aetz Pea · ทำงานที่ กฟภ.
งี้ค่าแรงก็ขึ้นสิครัช อิอิ
อัน นี้ก็น่าสนใจนะ แต่มีช่างอีกชุดคือช่างที่ทำงานเป็นผู้รับเหมางานโครงการก่อสร้างละครับ คือที่ผมเจออยู่ตอนนี้คือเรียกง่ายๆไม่รูเรื่องงานช่างเอาเสียเลยแต่มีค่า แรงเท่ากับระดับช่างฝีมือเลย ยังงี้จะให้มีการอบรมยังใง
ผม ว่าอยู่ที่ สถานประกอบการหรือเจ้าของตึดว่าจะเอาด้วยหรือป่าวเราไปสอบมาแต่เค้าไม่ขึ้น เงินให้ทำไงอะแล้วที่เรียนมามันยังบอกฝีกมือยังไม่ได้อีกจัดสอบวัดฝีกมืออีก ถ้าสอบเข้าหน่วยงานราชการก้อว่ากันไปครับ
แล้วคนที่จบปวช.ปวส ต้องทดสอบอีกมั้ย
ช่างที่รับเหมาอิสระ ไม่ได้เป็นลูกน้องของร้านค้า,หจก.,บริษัท หล่ะคับ ทำไง??
สอบ เช่นกันครับ เพราะถ้าไม่สอบก็ไปรับงานอาคารควบคุมตามกฏไม่ได้(มีประเภทอาคารที่บังคับ อยู่เช่นโรงพยาบาล ศูนย์การค้า และก็อีกหลายอาคาร)
ถูกใจ · ตอบกลับ · 1 · 3 กุมภาพันธ์ 2016 17:19
สมพงษ์ สาบุบผา อย่างผมพึ่งจบ ปวส ช่างไฟฟ้ามา ถ้าจะไปสอบการไฟฟ้าหรือไปทำงานโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จำเป็นต้องไปสอบรึป่าวครับ
ถูกใจ · ตอบกลับ · 1 · 13 มีนาคม 2016 0:51

 ปัญหา หลักๆ 1ช่างที่ไม่ได้เรียนหนังสือจำเค้ามา ฝึกงาน ควมรุ้พื้นฐานไม่มี วินัยไม่มี ความรู้เรื่องควาามปลอดภัย มาตรฐานติดตั้งไฟฟ้าไม่รู้จัก วสท คืออะไรไม่รู้จัก เน้นถูกเงิน ถูกใจ 2.ช่างที่จบ ปวส รู้ทฤษฎี ปฎิบัติ แต่จะทำเรื่องความปลอดภัยหรือเปล่าอยู่ที่อาจารย์ปลูกฝั่ง ต้องหาประสบการณ์ อีกหน่อย พอทำงานได้ ถ้าได้ทำงานในด้านที่รักที่ชอบจะเรียนรู้ได้ไว ที่หน้ห่วงพวกแรก จำเค้ามา พอถามจะตอบอะไรไม่ได้ อยู่ที่ผุ้จ้างจะเลือกจ้าง ย้ำอีกครั้งถูกและดีไม่หรอก
ยังไม่ได้บังคับกับงานทั้งหมดครับ บังคับกับงานบางอย่าง อาคารบางชนิดครับ แต่ก็นะ ถ้าไม่ไปสอบขอบเขตงานที่ทำได้ก็จะถูกลดทอนลงหละครับ
ถูกใจ · ตอบกลับ · 3 กุมภาพันธ์ 2016 17:20


วันนี้ถ้าเราไม่มีมาตราฐานในวิชาชีพ แรงงานต่างชาติเข้ามาแน่
แล้ว พวกกูจะร่ำเรียนจนจบการศึกษามาทำไมว้ะเฮ้ย งั้นไม่ต้องเรียนก็ได้ดิ่ สอบพวกมึงผ่านก็รับงานไฟฟ้าอย่างถูกต้องตามกฏของหมายได้แล้ว ว่างั้น

========================================================