24/04/2563 06:24 น. ,
อ่าน 3,765 ครั้ง
Primary Resistance Start
โดย : Admin
การสตาร์ทมอเตอร์ด้วยตัวต้านทาน Primary Resistance Start
การสตาร์ทมอเตอร์ด้วยตัวต้านนี้คือ การใช้ตัวต้านทานมาต่ออนุกรมกับขดลวดสเตเตอร์ของมอเตอร์ในช่วงสตาร์ทหรือช่วงออกตัว เพื่อให้เกิดแรงดันตกคร่อมขดลวดของมอเตอร์น้อยลง ซึ่งเสมือนกับเป็นการลดแรงดันขณะสตาร์ทอีกวิธีหนึ่งนั่นเอง
โดยทั่วไปการกำหนดคาแรงดันตกคร่อม จะต้องอาศัยพารามิเตอร์ของมอเตอร์แต่ละตัวนำมาคำนวนหาค่าเพื่อออกแบบตัวต้านทาน ซึ่งมอเตอร์แต่ละตัวก็จะมีค่าความต้านทานที่แตกต่างกัน เพื่อจะทำให้เกิดแรงบิดและควบคุมกระแสในขณะสตาร์ทให้เป็นไปตามความต้องการ
*** วิธีการสตาร์ทมอเตอร์แบบนี้ ปัจจุบันไม่ค่อยมีใช้และเป็นอะไรที่หาดูได้ยาก
การทำงานของวงจรสตาร์ทมอเตอร์
ขั้นตอนแรก KM11 จะถูกสั่งให้ทำงานและต่อวงจรให้ตัวต้านต่ออนุกรมกับขดลวดของมอเตอร์ ซึ่งก็จะทำให้แรงดันตกคร่อมขดลวดน้อยลงและเป็นการลิมิตกระแสขณะสตาร์ทหรือช่วงออกตัว
จากนั้นความเร็วของมอเตอร์ผ่านไปได้ประมาณ 80% ของความเร็วซิงโครนัสสปีด KM1 ก็จะถูกสั่งให้ทำงานและขณะเดียวกัน KM11 ก็จะถูกสั่งให้หยุดการทำงาน เพื่อตัดตัวต้านทานออกจากวงจรและมอเตอร์ก็จะได้รับแรงดันโดยตรงจากแหล่งจ่าย
ส่วนความสัมพันธ์ของกระแสและแรงบิดจะมีลักษณะดังนี็
กระแสขณะสตาร์ท....ถ้าออกแบให้มีแรงดันคร่อมมอเตอร์ที่ 75 % (285V) กระแสขณะสตาร์ทก็จะมีค่าประมาณ (285/380) * 6 = 4.5 เท่าของกระแสพิกัดบนแผ่นป้ายเนมแพลท
แรงบิดขณะสตาร์ท ...ซึ่งหากออกแบบให้แรงดันตกคร่อมเท่ากับ (75%) มอเตอร์ก็จะมีแรงบิดช่วงสตาร์ทประมาณ (285/380) * 1.5 = 0.84 เท่าของแรงบิดขณะสตาร์ท
========================================================