Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,990
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,582
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,991
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,787
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,467
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,555
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,512
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,820
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,357
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,451
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,364
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,515
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,595
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,133
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,526
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,557
17 Industrial Provision co., ltd 39,227
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,380
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,298
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,626
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,450
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,854
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,221
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,960
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,585
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,517
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,952
28 AVERA CO., LTD. 22,587
29 เลิศบุศย์ 21,687
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,387
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,247
32 แมชชีนเทค 19,896
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,871
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,187
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,141
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,801
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,604
38 SAMWHA THAILAND 18,294
39 วอยก้า จำกัด 17,903
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,481
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,332
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,305
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,242
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,218
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,136
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,070
47 Systems integrator 16,714
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,632
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,458
50 Advanced Technology Equipment 16,445
01/09/2557 08:22 น. , อ่าน 12,651 ครั้ง
Bookmark and Share
How Wireless Chargers Work
โดย : Admin

Wifi ส่งผ่านกำลังไฟฟ้าได้ด้วยหรือ ?

 

   ในตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าวันนี้มีอุปกรณ์หลายอย่างที่สามารถทำการชาร์จได้ โดยไม่ต้องใช้สายเคเบิล   ซึ่งทำได้โดยเพียงแค่นำอุปกรณ์หรือโทรศัพท์มือถืออย่างสมาร์ทโฟนวางลงบนแผ่นชาร์จเท่านั้น ก็สามารถทำได้แล้ว

    เทคโนโลยีนี้ทำให้หลายคนสงสัยว่ามันทำงานได้ไง..พร้อมมีคำถามอื่นๆตามมาอย่างเช่น  "Wifi ส่งสามารถส่งผ่านกำลังไฟฟ้าได้ด้วยหรือ ? "  หรือบางท่านก็อาจจินตนาติดตลกไปต่างๆนาๆว่า มันเล่นกลหรือใช้เวทนนต์คาถาอะไรหรือเปล่า


     การส่งกำลังไฟฟ้าด้วยวิธีนี้ต้องบอกว่ามันไม่ใช่กลหรือเวทมนต์คาถาใดๆ   การทำงานของอุปกรณ์นี้ก็เป็นเพียงแค่การนำหลักการทางฟิสิกส์เรื่องสนามแม่ เหล็กไฟฟ้า หรือ การเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ( electromagnetic induction)  มาประยุกต์ใช้เท่านั้นเอง  

ซึ่งเหมือนๆกับอุปกรณ์ที่ใช้ในประชีวิตประจำวันอื่นๆ เช่น แปรสสีฟันไฟฟ้า ( toothbrushes)  เทียนที่ใช้หลอด LED (LED candles) รีโมท คอนโทรล ( remote controls) อุปกรณ์เครืองมือแพทย์ (medical equipment) และ เตาไฟฟ้าแบบเหนียวนำ ( induction cooktops) ที่เห็นตามร้านสุกี้บางแห่งนั่นเอง

 

     

  •     Wireless Charger   ใช้ wifi ส่งผ่านพลังงานใช่หรือไม่

             Wireless Charger  ไม่ได้ใช้ Fiwi  เป็นตัวส่งผ่านพลังงานดังที่หลายคนสงสัย  แต่ใช้วิธีส่งผ่านพลังงานโดยอาศัยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า    
           โดยทั่วไปหลักการทำงานก็คล้ายกับการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับนั้นเอง (ดูคลิปด้านล่างประกอบ)  เมื่อมีการจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับเข้าไปยังขดลวดปฐมภูมิ ( Primary winding)   ก็จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ( electromagnetic ) ยุบตัวพองตัวตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าหรือเปลี่ยนแปลงตามลูกคลื่นไซน์เวฟ ( Sine Vawe)   จากนั้นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าก็เคลื่อนที่ผ่านแกนเหล็กไปตัดกับขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Coil)  ซึ่งก็ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำและเกิดการสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นในขดลวด ตามทฤษฏีที่เราเคยเรียนมาตั้งแต่สมัย ปวช. หรือ ม.5-6 ในวิชาฟิสิกส์นั้นเอง  ซึ่งหากใครลืมหรือได้คืนความรู้กลับไปให้อาจารย์หมดแล้วก็สามารถทำการทบทวนใหม่ได้โดยดูจากคลิปดังต่อไปนี้

 

หลักการทำงานของหม้อแปลง (How Transformers Work)

 

 

  •  Wireless Charger ทำงานอย่างไร 

 
       หลักการของ Wireless Chargers  ก็เหมือนกับหลักการของหม้อแปลงไฟฟ้ากระแสสลับดังที่กล่าวมาข้างต้น  แต่แตกต่างกันตรงที่สื่อกลางหรือตัวนำสนามแม่เหล็กที่ใช้เท่านั้น  

        หม้อแปลงไฟฟ้าจะใช้แกนเหล็ก ตัว I แล E ต่อเชื่อมกันเพื่อเป็นตัวนำให้สนามแม่เหล็กเคลื่อนที่ไปยังขดลวดอีกขดหนึ่ง (สนามแม่เหล็กส่วนใหญ่เคลื่อนที่ไปตามแกนเหล็ก)  ส่วน Wireless Chargers  จะใช้จะแยกขดขวดสองขดเป็นอิสระต่อกัน  โดยจะออกแบบให้ขดลวดซึ่งทำหน้าที่เหมือนกับขดลวด Primary winding  ติดตั้งอยู่กับตัวชาร์จเจอร์ หรือ Charger Pad  ส่วนขดลวด Secondary Coil  ติดตั้งอยู่กับอุปกรณ์ที่ต้องการจะชาร์จ หรือสมาร์ทโฟน

 

***   ระบบ wireless charger  system จะเรียกขดลวด Primary winding  ว่า  Transmitter Coil  และจะเรียก Secondary Coil   ว่า Reciever Coil  ดังรูปตัวอย่างดังต่อไปนี้


         และเมื่อมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ  Transmitter Coil ที่ตัว Charger Pad    อุปกรณ์ก็จะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นมาซึ่งเหมือนกับการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ขดลวด Primary winding   จากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าก็วิ่งข้ามผ่านไปยังไปยังขดลวด Reciever Coil  ที่ติดตั้งอยู่ในตัวสมาร์ทโฟน ซึ่งจะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำและสร้างกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น

 


(ซ้ายมือ)  การเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นระหว่างขดลวด Transmitter กับ Receiver Coil
(ขวามือ)   แสดงให้เห็นบริเวณที่เกิดสนามแม่เหล็กของ Charger Pad และตัวสมาร์ทโฟน  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วขดลวดที่ตัว Charger Pad  นั้นจะใหญ๋กว่า
 

 

ตัวอย่างของขดลวด Transmitter และ recierver coil  ซึ่งมีแผงวงจรอิเลคทรอนิกส์ต่ออยู่ด้วย
 

     จากหลักการที่อธิบายมาจะเห็นได้ว่า อุปกรณ์นี้ทำงานโดยอาศัยหลักการทางฟิสิกส์และโอนถ่ายพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยการเหนี่ยวนำนะครับ  ไม่ได้มีการโอนถ่ายพลังงานโดยสัญญาณไวไฟ (Wifi) หรือ เวทมนต์คาถาใดๆ .... เข้าใจตรงกันนะครับ

 

 

***  หากยังสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ก็ดูคลิปนี้เพิ่มเติมครับ

 

 

How To add wireless charging to the Samsung Galaxy S3
ตัวอย่างการเพิ่ม Reciever Coil ให้กับ
Samsung Galaxy S3

 

เรียบเรียงโดย: สุชิน เสือช้อย (เว็บมาสเตอร์)

========================================================