Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 175,991
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 173,583
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 172,993
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 172,789
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,468
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,556
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,513
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 167,821
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 160,358
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,452
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,365
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,516
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 67,596
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,134
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 50,527
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,558
17 Industrial Provision co., ltd 39,229
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,381
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,299
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,627
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,451
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 31,855
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,222
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 30,962
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,586
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,518
27 P.D.S. Automation co.,ltd 22,953
28 AVERA CO., LTD. 22,588
29 เลิศบุศย์ 21,689
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,389
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,248
32 แมชชีนเทค 19,897
33 Electronics Source Co.,Ltd. 19,872
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,188
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,143
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 18,802
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,605
38 SAMWHA THAILAND 18,296
39 วอยก้า จำกัด 17,904
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,482
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,335
42 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,306
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,244
44 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,220
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,137
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,071
47 Systems integrator 16,715
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 16,634
49 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,459
50 Advanced Technology Equipment 16,446
02/03/2557 09:13 น. , อ่าน 15,113 ครั้ง
Bookmark and Share
Auto tuning จำเป็นหรือไม่
โดย : Admin

        หลังจากที่มีการเปลี่ยนมอเตอร์ตัวใหม่แทนที่ตัวเก่าที่มีปัญหา ซึ่งตัวใหม่หากจากดู nameplate แล้วเหมือนตัวเก่าทุกประการ   จำเป็นต้องทำ Auto Tune หรือไม่ และหากไม่ทำ Auto Tuningจะมีปัญหาอะไรหรือไม่ ?

 

       ประเด็นนี้ถือว่าเป็นคำถามที่พบบ่อยทั้งในกระทู้ของเว็บบอร์ดและที่หน้างานจริงๆสำหรับผู้ที่ใช้เครื่องจักรที่ใช้อินเวอร์เตอร์เป็นตัวควบคุมควบเร็วและควบคุมทอร์ค

 

      โดยทั่วไปแล้วเครื่องจักรใดๆก็ตาม ก่อนที่จะมีการส่งมอบให้เจ้าของโปรเจ็คเซ็นต์รับมอบงาน  ผู้รับเหมาหรือซัพพลายเออร์จะต้องทำการ commissioning พร้อมทำการทดสอบฟังก์ชั่นต่างๆให้เจ้าของโปรเจ็คมั่นใจว่าเครื่องจักรนั้นๆสามารถใช้งานหรือทำงานได้จริงๆตามข้อตกลง   และการทำ Auto Tuning  ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในขึ้นตอนการ coomissioning  สำหรับเครื่องจักรทั่วไปที่ใช้อินเวอร์เตอร์เป็นตัวควบคุม

    

    Auto Tuning  คืออะไร  ?

             บางท่านอาจมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับอินเวอร์เตอร์ไม่ดีพอ  ก็อาจจะมีข้อสงสัยว่า Auto Tuning  มันคืออะไรและมีผลอย่างไรก้บเร็วและแรงบิด(speed & Torque )ของมอเตอร์ที่ใช้งานอยู่

 

             การทำ Auto Tuning ก็คือการสั่งให้อินเวอร์เตอร์ทำการจูนหรือปรับแต่งค่าหรือพารามิเตอร์ PID controller  ให้เหมาะสมกับ process ที่ต้องการควบคุมนั้นๆนั่นเอง ซึ่งเป็นการสั่งให้ระบบช่วยจูนให้โดยอัตโนมัติ   (การปรับจูนนี้จะมีผลกับเฉพาะระบบควบแบบระบบปิดเท่านั้น (closed loop control )  ส่วนระบบคอนโทรลแบบลูปเปิด หรือ open loop control  พารามิเตอร์ตัวนี้จะไม่มีผลใดๆ)

  *****     Auto Tuning ถือเป็น feature หนึ่งของระบบไดร์ฟรุ่นใหม่ๆ  ซึ่งหากเป็นไดร์ฟหรืออินเวอร์เตอร์รุ่นเก่าๆหน่อยก็จะไม่มีลูกเล่นนี้  ซึ่งจะต้องใช้วิธี manual tunning แทน ซึ่งต้องใช้เวลามากกว่าจะปรับจูน PID controller

          

       จากที่ได้เกรินนำมาจะเห็นได้ว่า Auto Tuning  จะมีผลกับระบบ (closed loop control )    ดังนั้นในระบบในระบบควบคุมมอเตอร์โดยใช้อินเวอร์เตอร์ก็เช่นเดียวกัน พารามิเตอร์ตัวนี้ก็จะมีผลเฉพาะกับโหมด เวกเตอร์คอนโทรล ( Vector Control) หรือ เวกเตอร์คอนโทรลที่ไม่ไช้เอ็นโค๊ดเดอร์ ( Vector Control without encoder) เท่านั้น  ส่วนโหมด สกาลาร์ (scalar) หรือ V/F   ถือว่าเป็น open loop control  ซึ่งพารามิเตอร์กรู๊ปนี้จะไม่มีผลใดๆซึ่งไม่จำเป็นต้องทำ Auto Tuning

 

 

 

 

       ตัวอย่าง การเลือกโหมดใช้งานของ ABB อินเวอร์เตอร์หรือไดร์ฟ   ซึ่งจะมีโหมดการใช้งานให้เลือกอยู่สองโหมดด้วยกัน คือ Direct Torque Control (DTC) และโหมด scalar  และสำหรับโหมด DTC  ก็จะมีสองทางเลือกโดยขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์กรู๊ป 50 ว่าจะกำหนดอย่างไร ดังรูปด้านล่าง

 

 

       ถ้าพารามิเตอร์กรู๊ป 50.06 เลือก Encoder  นั้นก็หมายความระบบนี้ใช้ ENCODER เป็นอุปกรณ์ป้อนกลับ ( speed feedback device )  ซึ่งการทำงานก็จะคล้ายกับระบบ Vector Control   แต่ถ้า 50.06 เลือก INTERNAl  สัญญานป้อนกับ (Feedback signal) ก็จะเป็นกระแสที่อ่านได้จาก cerrent transfermer ( C.T. ) การทำงานก็จะคล้ายกับ Vector Control without encoder  ดังที่ได้เกรินมาตั้งแต่ต้น

 

    ****    Direct Torque Control (DTC)  คือเทคโนโลยีเฉพาะ และเป็นชื่อเรียกเฉพาะของไดร์ฟยี่ห้อ ABB

 

 

   ระบบจะทำอะไรหลังสั่งทำ Auto Tuning  หรือสั่งทำ ID Run (กรณีของ ABB drives)  ?

        หากพิจารณาจากรูปกราฟด้านล่าง จะเห็นว่าระบบควบคุมของไดร์ฟจะสั่งการให้ภาคเพาเวอร์ (power unit ) ทำการฉีดกระแส ( Inject) เข้าไปยังขดลวดของมอเตอร์  เพื่อทำการอ่านค่าอิมพีแดนซ์ ( Z = R+Jxl ) ของเมอเตอร์เพื่อปรับจูนค่า PI controller  ดังรูป

 

 

 

 ****   เวกเตอร์คอนโทรลคือการควบคุมให้กระแสทั้งสองทีเกิดจากสเตเตอร์และอาร์เมเจอร์ทำมุมตั้งฉากกัน 90 องศา  เพื่อทำให้เกิดแรงบิดสูงสุดที่ทุกๆย่านความเร็วของมอเตอร์ ตั้งแต่ 0  -  ความเร็วพิกัดที่แสดงบนแผ่นป้าย maneplate (base speed )

 

 
บล๊อคไดอะแกรมของการควบคุมแบบเวกเตอร์คอนโทรล

 

 

     ถ้าเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ แล้วต้องทำ Auto Tunning หรือ ID Run หรือไม่ ทั้งที่แผ่นป้าย namepalte  ของทั้งสองตัวเหมือนกันทุกประการ ?

        คำถามนี้เป็นอะไรที่ถกเถึยงกันพอสมควรในหน้างานภาคสนาม     บ้างก็บอกว่าไม่จำเป็นเพราะมอเตอร์ตัวใหม่ที่เพิ่งเปลี่ยนนั้นเหมือนตัวเก่า ทุกประการ  และก็ทดลองใช้งานมาแล้ว ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร  

     บางท่านก็บอกว่าจำเป็นเพราะว่าถึงแม้ว่าข้อมูลบนแผ่นป้ายของทั้งสองตัวจะ เท่ากันทุกประการก็ตาม แต่เชื่อได้ว่าค่าอิมพีแดนซ์ ของมอเตอร์แต่ละตัวจะไม่เท่ากัน ดังนั้นเราควรต้องปรับจูน PID controller ใหม่ทุกครั้งที่ทำการเปลี่ยนมอเตอร์  

 

     จากคำบอกเล่าของวิศวกรประจำไชต์งานตามที่ผมยกตัวอย่างมาให้ดูนั้น  ฟังดูแล้วก็มีเหตุผลพอฟังได้ด้วยกันทั้งสองท่าน  เหตุผลของท่านแรกก็ฟังดูดี    เพราะอะไรๆมันก็เหมือนกันทุกอย่างจะต้องไปเสียเวลาปรับจูนใหม่ทำไมให้มัน ยุ่งยาก    ฟังดูแล้วก็น่าจะคล้อยตาม ซิมิๆ

     

   จากประสบการณ์ที่เคยไปแก้ปัญหาให้ลูกค้ามาหลายรายการ  ผมสามารถสรุปได้ดังนี้ 

 


       ตัวอย่างกราฟแสดงสมรรถนะของเครื่องจักรชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้เกียร์ทด 11:1 โดยประมาณ และความเร็วรอบที่เพลา(shaft) สามารถปรับได้ตั้งแต่ 0 -125 RPM เครื่องจักรนี้ใช้มอเตอร์ขนาด 350 แรงม้า 2 ตัว ช่วยกันขับเคลื่อน

 

         กรณีเช่นนี้ขึ้นอยู่กับลูกค้าว่าได้ใช้งานเครื่องจักรในย่านความเร็วเท่าไร และใช้ทอร์คในการขับเคลื่อนเท่าไร  หากเครื่องจักรนั้นใช้งานที่ความเร็วไม่ต่ำมาก กล่าวคือไม่ต่ำจนกระทั่งไกล้เคียง 0 rpm และใช้งานไม่เก็นทอร์คพิกัด (rated torque )  ลูกค้าก็อาจไม่เห็นปัญหาอะไร และคิดว่าไม่จำเป็นต้องปรับจูนไหม่ให้ยุ่งยาก   โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าที่ไม่ค่อยมีความถนัดในการใช้งานเกี่ยวกับตัวไดร์ฟก็จะขาดความมั่นใจในการทำการปรับจูน

 

         แต่เมื่อใดก็ตาม หากเครื่องจักรนั้นๆจำเป็นต้องใช้งานที่ความเร็วต่ำมากๆ  เช่นใช้งานที่ความเร็วไกล้เคียง 0 rpm หรือที่ความเร็ว 0 rpm  และต้องใช้งานทอร์คในย่าน Maximum torque  ( ในบริเวณกรอบสีแดงดังรูปด้านบน)  รับรองได้ว่าเครื่องจักรนี้จะได้รับผลกระทบทันที

        ปัญหาที่พบก็คือเมื่อมีการใช้งานในย่านนี้ ( ในบริเวณกรอบสีแดงดังรูปด้านบน)   มอเตอร์จะออกอาการ jerking กล่าวคือมอเตอร์จะไม่สามารถจ่ายแรงบิดเพื่อต้านโหลดที่ต้องการได้  มอเตอร์จะไม่นิ่งจะสั่นและจะออกอาการเดินหน้าถอยหลังๆอยู่ตลอดเวลา

 

     ดังนั้นท่านใดก็ตามที่มีเครืองจักรที่ใช้ไดร์ฟหรืออินเวอเตอร์เป็นตัวควบคุมความเร็วและทอร์ค และใช้โหมดการควบคุมแบบ closed loop control   ทุกๆครั้งที่ทำการเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ อย่ามองข้ามความปลอดภัยนะครับ  ควรทำ auto tuning ซะก่อน ก่อนที่จะใช้งาน   เพราะหากท่านได้ค่า PI controller ที่เหมาะสมแล้วละก็ มันจะช่วยให้เครื่องจักรของท่านทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยในลดการสั่นสะเทือนซึ่งมีผลระยะยาวต่อตัวมอเตอร์ลงด้วย

 

โชคดีและมีความสุขกับการใช้งานอินเวอร์   ครับ
โอกาสหน้าจะนำประสบการณ์เรื่องไดร์ฟมาเล่าสู่กันฟังอีก หากเพื่อนๆสมาชิกให้ความสนใจ

อย่าลืมนะครับ ชอบกดไลน์ ถูกใจกดแชร์  ถูกใจกดป้ายผู้สนับสนุนด้านล่าง

เว็บมาสเตอร์ 9engineer.com

========================================================