Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,702
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,103
3 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,390
4 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,377
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,858
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 169,967
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,941
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,201
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,057
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,764
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,709
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,910
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,244
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,712
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,096
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 43,987
17 Industrial Provision co., ltd 39,774
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,735
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,641
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 34,979
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,913
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,266
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,678
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,408
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,912
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,904
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,278
28 AVERA CO., LTD. 23,010
29 เลิศบุศย์ 21,999
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,761
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,658
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,265
33 แมชชีนเทค 20,258
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,515
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,480
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,230
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,900
38 SAMWHA THAILAND 18,676
39 วอยก้า จำกัด 18,337
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,911
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,755
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,680
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,672
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,609
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,532
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,530
47 Systems integrator 17,093
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,042
49 Advanced Technology Equipment 16,862
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,834
25/02/2554 21:42 น. , อ่าน 5,183 ครั้ง
Bookmark and Share
การตรวจสอบสภาพมอเตอร์ กับ มาตรฐานการผลิต
Elec_Prew
25/02/2554
21:42 น.
การตรวจสอบสภาพทางไฟฟ้าของขดลวดมอเตอร์ในปัจจุบันเราอ้างอิงจาก IEEE Standard ซึ่งเป็นของ US ทั้งการวัด IR / PI หรือ DAR ซึ่งที่มาของค่าที่ยอมรับได้ ย่อมมาจากสถิติของมอเตอร์ที่ใช้งานใน US ซึ่งใช้แรงดันและความถี่ทางไฟฟ้าต่างกับมอเตอร์ที่ใช้ในประเทศไทยที่ผลิตตามมาตรฐาน IEC

ดังนั้นไม่แน่ใจครับว่า ค่าที่เราใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบนั้นเหมาะสมหรือไม่ครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
28/02/2554
09:42 น.
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ

เมื่อเข้าไปดูในมาตรฐาน จะไม่ได้พูดถึงเรื่องความถี่ มีแต่ย่านแรงดันพิกัดใช้งาน กับชนิดของฉนวนที่อ้างอิงกับปีมอเตอร์ที่ผลิต และจากความเข้าใจส่วนตัวการทดสอบดังกล่าวเป็นการทดสอบเบื้องต้นเท่านั้นว่า ระบบฉนวนของมอเตอร์มีสิ่งป่นเปื้อนมากน้อยเพียงใด เพราะการทดสอบประสิทธิภาพของฉนวนต้องมีการทดสอบที่ใช้เครื่องมือและขั้นตอนที่ยุ่งยากและสูงกว่านี้ เช่น การทดสอบ Tan Delta การทดสอบ Partial Discharge

การทดสอบสิ่งป่นเปื้อนที่กระทำกับฉนวน ไม่ว่าจะเป็น IR , PI หรือ DAR โดยกำหนดเป็นย่านแรงดันน่าที่จะเพียงพอที่พอจะบอกสภาพเบื้องต้นได้พอสมควร เพราะสิ่งป่นเปื้อนที่กระทำต่อฉนวนจะเป็นสเต็ปแรกของการเริ่มเกิดความเสียหายของฉนวน เพราะสิ่งป่นเปื้อนจะเป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าไหลพาดผ่านฉนวน พร้อมกับกัดเซาะ ( Tracking ) และเพิ่มระดับความเสียหายมากขึ้นเมื่อไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งจะเห็นว่าแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ จะเป็นตัวผลักดันค่ากระแสนี้สัมพันธ์กับ ค่าความเป็นฉนวน จึงน่าจะเป็นเหตุผลที่ไม่ได้นำเรื่องของความถี่ใช้งานมากำหนดย่านการทดสอบ

ความคิดเห็นที่ 2
Elec_Prew
28/02/2554
20:35 น.
ผมเข้าใจนะครับ แต่ที่ผมสงสัยว่าถูกต้องหรือไม่คือ การที่เราเอาค่าระบุใน IEEE Std. 43 หรือ ของ EASA ก็ตาม มาเป็นตัวตัดสินเบื้องต้นว่า ฉนวนของมอเตอร์ตัวนั้นๆสามารถยอมรับได้หรือไม่นั้นมันถูกต้องหรือเปล่า เช่น ค่า IR40 = kV+1 หรือ 5 M-ohm สำหรับ Random-Wound และ = 100 M-ohm สำหรับ Form-Wound หรือ PI ต้องมากกว่า 2.0 สำหรับ ฉนวน Class B ขึ้นไป เราได้คำนึงถึงการได้มาของค่าพวกนี้หรือเปล่า เพราะค่าเหล่านี้อาจจะเป็นค่าที่เิกิดจากการเก็บสถิติ หรือ ทดสอบกับมอเตอร์ในอเมริกา ซึ่งผลิตขึ้นตาม NEMA Standard ในขณะที่มอเตอร์เกิน 80% ในบ้านเราผลิตภายใต้ IEC Standard

เราสามารถเอาค่า?ี่ยอมรับได้พวกนี้ของ IR+ PI พวกนี้มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลยได้หรือเปล่าว่าต้องล้างอบมอเตอร์ โดยเฉพาะมอเตอร์แรงต่ำขนาดปานกลาง (110 - 375 kW) นะครับ เพราะ Motor ขนาดใหญ่ที่สำคัญเรามักจะทำ PD + IPF หรือ AC Winstanding Voltage ประกอบอยู่แล้ว

ที่โพสต์นี่เพื่อให้ท่านที่ทำงานเกี่ยวกับด้านนี้ให้ลองฉุกคิดและตระหนักเท่านั้นเองว่า ค่าที่ผมและท่านเชื่อถือเหล่านี้ มันอาจจะไม่ถูกต้องและเหมาะสมเสมอไปครับ
ความคิดเห็นที่ 3
ช่างซ่อมมอเตอร์
01/03/2554
20:36 น.

ยอมรับครับว่า ไม่รู้ที่มาของ สแตนดาร์ตดังกล่าว รู้แต่เพียงว่า โรงซ่อมมอเตอร์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกไม่ว่าทวีปไหน อ้างอิงข้อมูลจาก สมาคม EASA เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นสมาคมเดียวที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้ที่มีแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการบำรุงรักษามอเตอร์มากที่สุด
แต่จริงๆ แล้วก็เป็นที่รู้กันอีกว่า ถ้าจะให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับการทดสอบ การใช้งาน สินค้าต่างๆให้ดีที่สุด คู่มือที่ติดมากับสินค้าจะเป้นข้อมูลที่บอกรายละเอียดได้ดีทีสุด คงต้องเข้าไปเจาะลึกดูว่าจะเหมือนหรือแตกต่างกับ ข้อมูลกลางๆ ที่สมาคมที่อยู่ตรงกลางจัดทำขึ้นหรือเปล่า และแน่นอนว่าถ้าไม่ตรงกันก็คงจะต้องเชื่อตามคู่มือที่ติดมากับเครื่องจักรหรือสินค้าอย่างแน่นอน
ความคิดเห็นที่ 4
Elec_Prew
02/03/2554
20:42 น.
http://www.tinamics.com/download/tinamics_com/motortest_routine.pdf

ได้มาจาก Internet นะครับ สันนิษฐานว่าอ้างอิงจาก IEC 60034 แต่ไม่รู้ Part เหมือนกัน ถ้าอ่านหัวข้อ IR จะเห็นว่าค่อนข้างต่างจาก IEEE เลยครับ ทั้งแรงดันในการทดสอบ และ ค่าที่ยอมรับได้ในมอเตอร์แรงดันน้อยกว่า 2 kV และ อ้างอิงที่ 20 degC (IEEE ใช้ 40 degC)

ใน Manual ของผู้ผลิตบางยี่ห้อยังใช้ IR = kV + 1 อยู่เลย

ยังงัยท่านที่เคยอ่าน IEC 60034 มาแล้วช่วยเข้ามาตอบหน่อยครับ ว่า IEC กำหนดค่ายอมรับได้ของ IR ไว้ที่เท่าไหร่ และ มีพูดถึง PI หรือไม่ครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ช่างวรเดช
03/03/2554
20:38 น.
ประทานโทษครับท่าน

ผมไม่ค่อยสันทัดเรื่องเครียดๆเท่าไร

ผมก็สงสัยอีกเหมือนกันว่า

เกณฑ์ที่เราๆท่านๆใช้กันมานั้น กับ เกณฑ์ที่กำลังพูดถึงนั้น

มันทำให้อะไร เกิดอย่างไร ได้อะไรเสียอะไร และ อูยยย ไมเกร็นขึ้น อิอิ

ได้โปรดอย่าว่าผมเลย ผม คนรู้น้อย
ความคิดเห็นที่ 6
Elec_Prew
08/03/2554
00:54 น.
การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ ต้องเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ และ การตัดสินใจในแต่ละครั้งสำหรับบางท่านอาจจะหมายถึงเงินที่บริษัทที่ท่านนั้นๆทำงานอยู่ต้องจ่ายเพิ่มในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ตั้งแต่หลักหมื่นถึงหลักแสน ดังนั้นที่ผมถามเพื่อให้คนที่มีประสบการณ์ด้านนี้เข้ามาช่วยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับว่า ข้อมูลที่เราใช้ในการตัดสินนั้นมันถูกต้องและเชื่อถือได้ ถ้าบางท่านมองว่าไม่เกิดประโยชน์กับตัวท่าน หรือ ไม่เคยผ่านตาพวก Standard ต่างๆ สามารถข้ามไปอ่านหัวข้ออื่นได้เลยครับ
ความคิดเห็นที่ 7
ช่างวรเดช
09/03/2554
12:56 น.
อ้อ ผมเข้าใจแล้ว


แต่ว่าผม ไม่สามารถทำตามบรรทัดสุดท้ายของคุณได้

เพราะผมไม่มีความสามารถข้าม สิ่งที่มองเห็นแล้วไม่อ่าน ไม่ได้


อย่า ฮง นะ ผมตั้งใจ จริง อยากรู้ แต่ไม่มีโอกาสรู้
ความคิดเห็นที่ 8
Elec_Prew
10/03/2554
21:33 น.
รับทราบครับช่าง
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง: