04/01/2553 12:16 น. |
*o* คุณ game60 ครับ ผมว่าน่าจะตั้งโจทย์ใหม่ให้ตัวแปรน้อย ๆ หน่อยเพราะมันกว้างมากในเชิงการทดลอง เพราะต้อง clear ก่อนว่า<br>1. จะหาค่าความแตกต่างของความเรียบผิวของเหล็กเกรดนี้ที่มีคุณสมบัติทั้ง 3 แบบ หรือว่า<br>2. จะทำแผ่นความเรียบผิว? <br>ถ้าเป็นแบบ 1. ควรกำหนดกลุ่มค่าความเรียบผิวในช่วงที่ต้องการ 3 – 5 กลุ่มก็ได้ เช่น หยาบสุด /หยาบ/ กึ่งละเอียด/ และละเอียดเป็นต้น ซึ่งเราไม่ต้องไปกังวลเรื่องพารามิเตอร์มาก พวก กระแส ON/OFF หรือ Voltage Gap เพราะเราก็จะมีชุดค่าไปที่ให้ผลแตกต่างกันอยู่ 4-5 แบบอย่างที่บอก สำหรับเหล็ก 3 ชิ้น การตั้งค่าพารามิเตอร์ชุดนึงจะได้ผลในลักษณะเดียวกัน สำหรับค่าผิวมาตรฐานไหน ไม่ต้องห่วงคำนวณกลับมาหากันได้ครับ <br>แต่ถ้าเป็นแบบที่ 2. อันนั้นแหละงานจะเยอะมาก เพราะตัวแปรไม่ใช่แค่เหล็ก 3 ชิ้นแต่จะมีพารามิเตอร์อีก 3-4 ตัวที่ต้องทำความเข้าใจมันก่อน รวมไปถึงการ setting อีก 3-4 อย่าง ที่จะทำให้ได้ค่าผิวแตกต่างกันไป แต่หลัก ๆ เลย 2 พารามิเตอร์ที่ทำให้ผิวแตกต่างกันคือ ค่ากระแส (IP) และ ON time ครับ เรื่อง Voltage ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องความเรียบผิวโดยตรงครับ ซึ่งเรื่องเหล่านี้คุยกันยาว เพราะเอาไปใช้กับเครื่องยี่ห้อไหนก็ได้<br>***** แต่สุดท้ายผมอยากแนะนำว่า ถ้าต้องการอย่างข้อ 1. คุณจะไม่เห็นอะไรอย่างชัดเจนเลยด้วยเครื่องมือที่คุณมีอยู่ ซึ่งผลของการทดลองจะเหมือนกันหมด !!! ถ้าใช้เครื่อง surftest แบบ Stylus แม้แต่แบบ Laser อาจจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย แค่ sub ไมครอนซึ่งเราก็ตัดสินไม่ได้อีกว่ามาจากพารามิเตอร์ของการวัดหรือเปล่า ฉะนั้น ถ้าเป็นเรื่องผิวภายนอกถึงชั้น Heat Effect zone ในเนื้อก็ควรใช้ SEM จะชัดกว่า<br> |
04/01/2553 16:40 น. |
โอเค ครับ เป็นเรื่อง ผิวกับเรื่องอิเล็กโทรดสึกหรอ สรุปให้ละกันนะครับ ว่า กลุ่มที่ 1 เรื่อง โวล์เตจ ไม่ได้เกี่ยวข้องทั้งเรื่องผิวกับเรื่องสึกหรอแต่จะเป็นเรื่องของความเสถียรในการ Discharge คือเรื่องความเร็วมากกว่า ซึ่งต้องพิจารณาที Open Voltage สำหรับค่า V ที่บอกมานั่นเป็น Discharge Voltage ก็เป็นเรื่องการ Transfer กระแสให้เพิ่มลดเล็กน้อยจากค่ากระแสเฉลี่ยต่อเวลา (di/dt ) กลุ่มที่ 2 ถ้าหมายถึง ON Time ความยาวรูปคลื่น ตัวนี้มีผลเรื่องผิวกับอัตราการสึกหรอของอิเล็กโทรดโดยตรง แต่.. ถ้าค่าที่ระบุมาเป็นความยาว pulse ที่หน่วยเป็นไมโคร sec. ละก็ มันมากเกินไปและค่าผิวที่ได้มันจะหยาบมาก ๆ ถ้ากระแสสูง ส่วนเรื่องสึกหรอไม่ต้องห่วงแทบไม่สึกให้เห็นเลยถ้าสปาร์คได้นะ จริง ๆ แล้วต้องไปดูค่า Duty% ซึ่งมาจากสัดส่วนของ ON:OFF อีกทีนึง ว่าแต่จะเอากระแสกี่แอมป์ล่ะ ส่วนพารากลุ่มที่ 3 เชื่อเหอะว่าเรื่องผิวกับเรื่องสึกหรอไม่ต่างกันหรอกครับ นอกจากจะเห็น Micro Cracking ที่ผิวมากกว่า ไม่แน่ใจว่าชุบเองหรือเปล่า มีการทำ Temper มั้ย *** ในต่างประเทศส่วนใหญ่ศึกษากันที่ Mat ชนิดเดียวสำหรับเริ่มต้นเพราะ EDM มันมีพารามิเตอร์ให้หาเยอะอยู่แล้ว แต่ถ้าเอาเรื่องคุณสมบัติ Mat. เป็นหลัก เราก็ต้องคุมพาราของ EDM ให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งผมเห็นว่าก็มีแต่ค่ากระแส IP กับความยาวรูปคลื่น ON ที่ต้องศึกษาครับ ลองเปลี่ยนโจทย์ใหม่ละกันครับ |
05/01/2553 19:02 น. |
ตกลงว่าจะทดลองเรื่อง MAT ใช่มั้ย...ชัด ๆ เลยนะครับว่า <br>1. เรื่องอิเล็กโทรดสึกหรอไม่เกี่ยวกับ MAT กลุ่มสังเกตุกลุ่มนี้ เป็นเรื่องของความยาวของ ON Time ล้วน ๆ เป็นตัวแปรอิสระที่มันเทียบกันเอง คือถ้าไล่ค่า ON ตั้งแต่น้อย ๆ ไปถึงมากจะเห็นได้ชัดเจน ให้ตัวแปรอื่นคงที่ ดังนั้นการทดสอบเรื่องอัตราการสึกหรอจะทำกับเหล็กได้หลาย ๆ เกรดตั้งแต่ Low Carbon ถึง HSS ดังนั้นเรื่องนี้แนวทางการศึกษาไม่ถูกต้องครับ ตัดออกไปถ้าจะศึกษาเรื่อง MAT <br>2. เรื่องความเรียบผิว โดยการพิจารณา 2 ตัวแปรหลักคือ ค่ากระแสIP และ ON time อย่างที่บอกไปอีกแหละว่าค่าผิวที่ได้ไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะไล่ตั้งแต่ผิวหยาบถึงละเอียดแค่ไหน แม้แต่เวลาการ Machining ก็พอ ๆ กัน แต่สิ่งที่อาจจะเห็นจากการชุบแข็งเองคือ Micro Cracking หรือรายร้าวเล็ก ๆ บนเหล็กชุบน้ำที่ผิวหยาบ (ON time ยาว IP สูง) ซึ่งหัวข้อนี้น่าสนใจครับ และต่อยอดในการทำ research เล่มต่อไปได้ด้วย Pattern ของการทดลองคือ <br>2.1 เริ่มที่การกำหนดจำนวนความเรียบผิวที่เราต้องการหา เช่น 4 Ry,8Ry,12Ry,18Ry,25Ry และ 40Ry เป็นต้น แค่นี้ก็ต้องทำการ EDM 18 หลุมแล้ว <br>2.2 หาค่า E-Condition แค่ 6 ชุด ที่ใหเด้ผิวใกล้เคียงทั้ง 6 ค่านี้ <br>2.3 เอาตัวแปรอื่นคงที่เช่น การฉีดน้ำมัน ความลึก อิเล็กโทรด เปลี่ยนแค่เหล็กอยางเดียว <br>*** อย่างไรก็ตามอยากให้ทบทวนดูว่า SKD61ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เค้ามีวิธีการ Heat Treatment ที่เหมาะสมดีอยู่แล้ว ถึงเราจะได้ผลออกมาเป็นยังไง แล้วจะมีประโยชน์หรือเปล่าหรือเพียงแค่ต้องการให้เราเข้าใจ เรื่องอบชุบ หรือเรื่อง EDM กันแน่ ถ้าอยากทำ 2 เครื่องไปพร้อม ๆ กันต้องศึกษาในระดับ micro structure ด้วยจึงจะเห็นข้อมูล <br>** ถ้าเปลี่ยนในศึกษาเรื่องสึกหรอก็ง่ายเลย ตัดเรื่อง MAT ทิ้งไป เล่นที่ ON time หรือถ้า IP ด้วยก็จะได้เรื่อง อัตราการขุด (MRR ) ด้วย คิดดูละกันครับ <br> |
08/01/2553 18:08 น. |
ถ้าไม่มีคน Train มาให้ก่อน ต้องงมกันนานครับ ติดต่อไปที่ MITSUBISHI น่าจะดีกว่า นะจะได้ทำความเข้าใจเหลาย ๆ เรื่อง เพราะถ้าผมอธิบายเป็นชุด E-Cond. Parameters ตัว ๆ ไป ยาว ครับ ยาว ไม่สะดวก |