Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,194
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,492
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,798
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,766
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,215
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,303
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,278
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,634
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,647
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,099
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,042
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,255
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,675
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,450
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,461
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,328
17 Industrial Provision co., ltd 40,396
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,070
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,997
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,328
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,231
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,588
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,003
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,790
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,231
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,249
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,606
28 AVERA CO., LTD. 23,367
29 เลิศบุศย์ 22,318
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,085
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,985
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,627
33 แมชชีนเทค 20,574
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,827
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,803
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,592
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,240
38 SAMWHA THAILAND 19,061
39 วอยก้า จำกัด 18,760
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,291
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,097
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,034
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,982
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,977
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,875
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,865
47 Systems integrator 17,426
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,379
49 Advanced Technology Equipment 17,201
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,188
06/11/2563 08:43 น. , อ่าน 18,481 ครั้ง
Bookmark and Share
Operational Amplifier
โดย : Admin

Op Amp (Operational Amplifier)





ชมคลิป สรุปการทำงานของออปแอมป์


 ออปแอมป์ (Operational Amplifiers,Op-Amp) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นวงจรขยายแรงดัน โดยออปแอมป์มีโครงสร้างภายในเป็นวงจรที่ซับซ้อน ประกอบไปด้วย ตัวต้านทาน, ทรานซิสเตอร์, ตัวเก็บประจุ และไดโอด จำนวนมาก โดยมีสัญลักษณ์ และวงจรสมมูล

 

 

    ออปแอมป์จะมีขั้วอินพุต/ป้อนเข้า (Input) 2 ขั้ว นั่นคือ ขั้วอินพุตบวกเรียกว่า Non-inverting terminal และขั้วอินพุตลบเรียกว่า Inverting terminal และขั้วเอาต์พุต/ป้อนออก(Output) 1 ขั้ว


จากวงจรสมมูลของออปแอมป์) ส่วนทางด้านอินพุตของออปแอมป์จะประกอบด้วยตัวต้านทาน Rin ซึ่งเป็นความต้านทานทางด้านอินพุตของออปแอมป์ โดยจะมีแรงดันตกคร่อมระหว่างขั้วอินพุตบวกและขั้วอินพุตลบ เท่ากับ Vd

ส่วนทางด้านเอาต์พุตจะประกอบด้วยตัวต้านทาน Ro เป็นความต้านทานที่มองเข้าไปทางขั้วเอาต์พุตของออปแอมป์ และแหล่งจ่ายแรงดันที่ควบคุมด้วยแรงดันที่มีค่าเท่ากับ Avd  ซึ่งค่า A นี้เรียกว่าอัตราขยายวงเปิด (Open loop gain) ของออปแอมป์


ออปแอมป์แบบอุดมคติ (Ideal Op-Amp)

เพื่อความง่ายในการวิเคราะห์วงจรเราจะกำหนดให้ออปแอมป์เป็นอุดมคติซึ่งจะมีคุณสมบัติดังนี้


ออปแอมป์แบบอุดมคติ



เนื่องจากออปแอมป์ในอุดมคติมีความต้านทานทางด้านอินพุตมีค่าเป็นอนันต์ ดังนั้นกระแสที่ไหลเข้าทางขั้วอินพุตทั้งสองจึงมีค่าเท่ากับศูนย์

i1 = 0, i2 = 0,



การต่อออปแอมป์เพื่อใช้งานเป็นวงจรขยายเพื่อให้มีเสถียรภาพนั้น เราจะต่อออปแอมป์ให้มีการป้อนกลับแบบลบ (Negative feedback) ซึ่งจะขอไม่กล่าวถึงรายละเอียดเรื่องเสถียรภาพและการป้อนกลับแบบลบในที่นี้ แต่สำหรับออปแอมป์แล้วการป้อนกลับแบบลบคือ มีการต่อขั้วเอาต์พุตกลับมายังขั้วอินพุตลบของออปแอมป์ ซึ่งอาจจะผ่านวงจรหรืออุปกรณ์หนึ่งก่อนก็ได้ เมื่อออปแอมป์มีการป้อนกลับแบบลบแล้วจะได้ว่า แรงดันระหว่างขั้วอินพุตของออปแอมป์มีค่าประมาณศูนย์คือ
    Vd = V1 - V2 ≈ 0 (ประมาณหรือเท่ากับ 0)   หรืออาจกล่าวได้ว่าแรงดันที่ขั้วบวกกับแรงดันที่ขั้วลบของออปแอมป์มีค่าเท่ากัน V1 = V2

 

 

วงจรขยายแบบกลับขั้ว (Inverting Amplifiers)





วงจรขยายแบบกลับขั้วนี้มีอัตราส่วนของแรงดันเอาต์พุตต่อแรงดันอินพุต (หรือเรียกว่าอัตราขยาย) มีค่าที่ติดลบ โดยค่าอัตราขยายนี้จะขึ้นกับค่าความต้านทานที่ใช้ในวงจร ส่วนค่าติดลบหมายถึง การที่เราป้อนสัญญาณอินพุตมีค่าเป็นบวกสัญญาณทางเอาต์พุตจะมีค่าเป็นลบ หรือในทางตรงข้ามถ้าเราป้อนสัญญาณอินพุตมีค่าเป็นลบสัญญาณทางเอาต์พุตจะมีค่าเป็นบวก

 

วงจรขยายแบบไม่กลับขั้ว (Non-inverting Amplifiers)





 วงจรขยายแบบไม่กลับขั้วนี้มีอัตราส่วนของแรงดันเอาต์พุตต่อแรงดันอินพุตมีค่าเป็นบวก โดยค่าอัตราขยายนี้จะขึ้นกับค่าความต้านทานที่ใช้ในวงจร ส่วนค่าที่เป็นบวกหมายถึง การที่เราป้อนสัญญาณอินพุตมีค่าเป็นบวกสัญญาณทางเอาต์พุตจะมีค่าเป็นบวกด้วย หรือในทำนองเดียวกันถ้าเราป้อนสัญญาณอินพุตมีค่าเป็นลบสัญญาณทางเอาต์พุตจะมีค่าเป็นลบด้วย
 

วงจรตามแรงดัน (Voltage Follower)

กรณีที่วงจรขยายแบบไม่กลับขั้วกรณีที่มีค่า Rf = 0 (ลัดวงจร) และ R1= (เปิดวงจร) จะได้วงจรเป็นดังรูปที่ มีอัตราขยายเป็น 1 ซึ่งก็คือ นั่นเอง เราจะเรียก วงจรนี้ว่าวงจรตามแรงดันหรือวงจรบัฟเฟอร์ (Buffer)


 



  วงจรขยายผลบวก (Summing Amplifiers)


จรขยายผลบวกมีค่าเอาต์พุตเป็นผลบวกของแรงดันอินพุตแต่ละค่า ซึ่งมีอัตราขยายเป็นลบที่มีค่าขึ้นกับค่าความต้านทานที่ใช้ในวงจร

 

วงจรขยายผลต่าง (Difference Amplifiers)





 จรขยายผลต่างมีค่าเอาต์พุตเป็นผลลบของแรงดันอินพุต ซึ่งมีอัตราขยายเป็นลบที่มีค่าขึ้นกับค่าความต้านทานที่ใช้ในวงจร
 


ไอซีออปแอมป์เป็นไอซีที่แตกต่างไปจากลิเนียร์ไอซีทั่วๆ ไปคือไอซีออปแอมป์มีขาอินพุท 2 ขา เรียกว่าขาเข้าไม่กลับเฟส (Non-Inverting Input) หรือ ขา + และขาเข้ากลับเฟส (Inverting Input) หรือขา –

ส่วนทางด้านออกมีเพียงขาเดียว เมื่อสัญญาณป้อนเข้าขาไม่กลับเฟสสัญญาณทางด้านออกจะมีเฟสตรงกับทางด้านเข้า แต่ถ้าป้อนสัญญาณเข้าที่ขาเข้ากลับเฟส สัญญาณทางออกจะมีเฟสต่างไป 180 องศา จากสัญญาณทางด้านเข้า
 




ที่มา :

1. https://atom.rmutphysics.com
2.https://sites.google.com/site/xupkrnxilekthrxnikslaeawngcr/home/bth-thi-8

========================================================

 

 

 

21 March 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD