Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,968
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,329
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,611
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,599
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,045
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,152
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,130
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,453
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,423
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,937
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,890
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,104
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,481
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,148
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,287
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,180
17 Industrial Provision co., ltd 40,129
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,925
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,848
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,168
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,093
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,443
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,860
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,618
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,087
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,096
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,469
28 AVERA CO., LTD. 23,223
29 เลิศบุศย์ 22,176
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,936
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,835
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,461
33 แมชชีนเทค 20,431
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,692
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,656
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,434
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,088
38 SAMWHA THAILAND 18,890
39 วอยก้า จำกัด 18,565
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,122
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,953
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,883
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,841
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,808
45 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,721
46 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,720
47 Systems integrator 17,271
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,236
49 Advanced Technology Equipment 17,053
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,037
22/10/2556 09:25 น. , อ่าน 7,989 ครั้ง
Bookmark and Share
ปัญหาฮาร์มอนิก
โดย : Admin

ฮาร์มอนิก (Harmonic) คืออะไร?

   สำหรับงานคุณภาพกำลังงานไฟฟ้าสามารถอธิบายได้อย่างง่ายคือค่าความถี่ที่ไม่ต้องการให้มีหรือเกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นของแรงดันหรือกระแสไฟฟ้า

     สำหรับประเทศไทยความถี่ของการผลิตและส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าคือ 50Hz (50Hz คือความถี่ฐานหรือฮาร์มอนิกลำดับที่ 1  :  fundamental frequency or 1st order harmonic) ดังนั้นความถี่ของแรงดันและกระแสไฟฟ้านอกจากความถี่ 50Hz นี้เป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น  โดยทั่วไปความถี่ที่ไม่ต้องการนี้จะเกิดขึ้นเป็นจำนวนเท่าของความถี่ 50Hz


 
รูปที่ 1 ตัวอย่างรูปคลื่นที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวหรือบวกกันจากฮาร์มอนิกลำดับที่ 1 และ 3


รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างรูปคลื่นที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวหรือบวกกันจากฮาร์มอนิกลำดับที่ 1 และ 3 ซึ่งผลที่ได้จะสังเกตได้ว่าจะมีความผิดเพี้ยนจากรูปคลื่นไซน์พื้นฐานอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับแรงดันและกระแสไฟฟ้าในระบบที่มีโหลดอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมากดังที่กล่าวไปแล้ว โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องจักรแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติทำให้เกิดฮาร์มอนิกต่างกัน และขนาดความรุนแรงของปัญหาฮาร์มอนิก โดยทั่วไปนิยามจากค่าเปอร์เซ็นต์ความเพี้ยนเชิงฮาร์มอนิกรวม (%Total Harmonics Distortion: %THD) ซึ่งเป็นค่าที่บอกถึงปริมาณผลรวมฮาร์มอนิกลำดับที่ 2 ขึ้นไปเทียบกับลำดับที่ 1 (THD = 0% หมายความว่าเป็นรูปคลื่นไซน์ที่ต้องการในอุดมคติ)


%THDv = ค่าเปอร์เซ็นต์ความเพี้ยนแรงดันเชิงฮาร์มอนิกรวม, %THDi = ค่าเปอร์เซ็นต์ความเพี้ยนกระแสเชิงฮาร์มอนิกรวม


ปัญหากระแสฮาร์มอนิกต่อระบบไฟฟ้ามีดังต่อไปนี้

  • ทำให้กำลังงานสูญเสียของหม้อแปลงเพิ่มขึ้นทั้งจากลวดตัวนำและแกนแม่เหล็ก
  • กระแสฮาร์มอนิกที่ไหลอยู่ในระบบทำให้เกิดกำลังงานสูญเสียในสายตัวนำมากขึ้นเนื่องจากกระแสฮาร์มอนิกทำให้ค่ากระแสและความต้านทานของสายสูงขึ้น
  • ทำให้เกิดกำลังงานสูญเสียในคาปาซิเตอร์แก้ค่าตัวประกอบกำลัง (Capacitor Bank) และทำให้เกิดความร้อนสูงขึ้น
  • กระแสฮาร์มอนิก Triplen (ลำดับที่ 3,6,9..) จะรวมกันไหลอยู่ในสายนิวตรอลทำให้เกิดความร้อนสูง
  • ทำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหายเนื่องจากได้รับกระแสและแรงดันเกินพิกัด
  • ผลของกระแสฮาร์มอนิกต่อเครื่องจักรไฟฟ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งมอเตอร์และอุปกรณ์ที่มีการทำงานโดยใช้ผลของสนามแม่เหล็กทำให้กำลังงานสูญเสียเพิ่มขึ้นเป็นผลทำให้เครื่องจักรร้อนและมีอายุการใช้งานสั้นกว่าปกติ
  • ทำให้รีเลย์และอุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้าทำงานผิดพลาด
  • ทำให้มิเตอร์วัดค่าไฟฟ้า (Watt-Hour Meter) ทำการวัดค่าผิดพลาดได้
  • ทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise) ในระบบสื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำงานผิดพลาด

 

 
รูปที่ 2 ตัวอย่างรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้าที่มีความเพี้ยนและสเปคตรัมแสดงส่วนประกอบฮาร์มอนิก

 

 
รูปที่ 3 ตัวอย่างรูปคลื่นกระแสไฟฟ้าที่มีความเพี้ยนและสเปคตรัมแสดงส่วนประกอบฮาร์มอนิก


ในการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในอาคารสำนักงานและโรงงานอุตสาหกรรมถ้าเป็นอาคารและโรงงานที่ถูกสร้างมาในระยะ 10 ถึง 20 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับรองรับปัญหากระแสฮาร์มอนิกจากอุปกรณ์เครื่องจักรสมัยใหม่ที่ติดตั้งเพิ่มเติม (ในปัจจุบันถ้าในขั้นตอนการออกแบบไม่ได้ออกแบบเพื่อรองรับก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน) โดยในระยะแรกขณะที่จำนวนหรือปริมาณอุปกรณ์และเครื่องจักรที่สร้างปัญหากระแสฮาร์มอนิกมีไม่มากในระบบ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือความร้อนสะสมที่อุปกรณ์ที่กระแสฮาร์มอนิกไหลผ่านจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เช่น หม้อแปลง สายไฟและอุปกรณ์ภายในตู้ MDB โดยที่ผู้รับผิดชอบด้านไฟฟ้าอาจจะยังไม่สังเกตได้ แต่เมื่อปริมาณกระแสฮาร์มอนิกในระบบมีมากขึ้นจะสร้างสิ่งผิดปกติที่สังเกตได้ดังนี้ สายนิวตรอลจะมีความร้อนสูง หม้อแปลงและตู้ MDB จะมีความร้อนสูงและมีเสียงสั่นคราง คาปาซิเตอร์แก้ค่าตัวประกอบกำลังจะร้อนและเสียหายบ่อย อุปกรณ์ป้องกันในระบบ เช่น เบรกเกอร์และรีเลย์จะทำงานเองโดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนั้นกระแสฮาร์มอนิกยังเป็นสาเหตุหลักของแรงดันฮาร์มอนิกที่จุดต่อร่วมและสร้างปัญหาให้กับอุปกรณ์และเครื่องจักรในระบบไฟฟ้า


ปัญหาแรงดันฮาร์มอนิกต่อระบบไฟฟ้ามีดังต่อไปนี้

  • ทำให้กระแสไฟฟ้าที่จ่ายออกจากจุดต่อร่วมมีส่วนประกอบฮาร์มอนิกออกไปแม้ว่าโหลดที่นำมาต่อมีคุณสมบัติเชิงเส้น
  • ถ้ามีแรงดันฮาร์มอนิกในลำดับที่ 5 และ 11 ซึ่งเป็นเนกาทีฟซีแควนซ์ จะทำให้มอเตอร์ที่ได้รับแรงดันนี้เข้าไปจะเกิดแรงหมุนในทิศทางกลับหรือต้านกับทิศทางการหมุนปกติทำให้มอเตอร์ร้อนเนื่องจากต้องใช้กำลังงานเพื่อต้านแรงนี้
  • อุปกรณ์ที่ทำงานโดยผลของสนามแม่เหล็ก เช่น บัลลาสต์แกนเหล็ก แม่เหล็กไฟฟ้า หม้อแปลงจะร้อนผิดปกติเนื่องจากผลของแรงดันฮาร์มอนิกในลำดับที่ 5 และ 11 จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กต้านภายในแกนเหล็กทำให้ต้องการกระแสไฟฟ้าขาเข้าและใช้กำลังงานไฟฟ้ามากกว่าปกติ
  • เป็นสาเหตุของการเรโซแนนซ์ทางกลของมอเตอร์ทำให้มอเตอร์ทำงานสั่นอย่างผิดปกติ
  • เป็นสาเหตุให้อุปกรณ์ที่ต้องทำงานเข้าจังหวะ (Synchronization) กับความถี่สายกำลัง เช่น เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) สวิตช์ถ่ายโอนอัตโนมัติ (ATS) วงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง-ไทริสเตอร์ชนิดควบคุมเฟส ระบบการสื่อสารข้อมูล ทำงานผิดพลาดได้
  • เป็นสาเหตุให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดหรือเสียหายได้

 

ตารางแสดงขีดจำกัดความเพี้ยนฮาร์มอนิกของแรงดันสำหรับผู้ใช้


ตารางด้านบนแสดงขีดจำกัดแรงดันฮาร์มอนิกสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดๆ ที่จุดต่อร่วม โดยนำมาจากเอกสารข้อกำหนดกฎเกณฑ์ฮาร์มอนิกเกี่ยวกับไฟฟ้าประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยข้อกำหนดนี้ออกมาเพื่อเป็นการควบคุมปริมาณกระแสฮาร์มอนิกจากผู้ใช้ไฟฟ้า จะต้องมีค่าต่ำกว่าขีดจำกัดดังกล่าวจึงจะอนุญาตให้ต่อเชื่อมกับระบบหรือจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับผู้ขอใช้ไฟฟ้า แม้ว่าปัจจุบันข้อกำหนดนี้จะมีความเข้มงวดกับผู้ยื่นขอใช้ไฟรายใหม่แต่ในความเป็นจริงแล้วหากมีการตรวจสอบกันอย่างจริงจังจะพบผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากสร้างปริมาณกระแสฮาร์มอนิกเกินขีดจำกัดนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นการควบคุมปริมาณกระแสฮาร์มอนิกในระบบไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟจะเป็นการลดปัญหา ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้ไฟเองและยังเป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดกฏเกณฑ์ของผู้ให้บริการไฟฟ้าด้วย

 

บทความโดย บริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด

หากมีข้อสงสัยหรือศึกษาบทความเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ www.pq-team.com

========================================================

 

 

 

25 January 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD