Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,843
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,212
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,498
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,491
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,949
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,063
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,043
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,353
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,198
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,857
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,809
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,012
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,368
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,922
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,200
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,083
17 Industrial Provision co., ltd 39,939
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,838
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,750
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,078
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,009
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,356
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,779
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,510
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,011
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,003
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,381
28 AVERA CO., LTD. 23,136
29 เลิศบุศย์ 22,098
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,850
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,748
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,366
33 แมชชีนเทค 20,350
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,609
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,580
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,329
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,995
38 SAMWHA THAILAND 18,781
39 วอยก้า จำกัด 18,457
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,022
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,865
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,805
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,759
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,706
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,639
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,635
47 Systems integrator 17,195
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,149
49 Advanced Technology Equipment 16,974
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,939
06/12/2554 18:51 น. , อ่าน 13,876 ครั้ง
Bookmark and Share
การประยุกต์ใช้หน้าจอแสดงผลแบบสัมผัส (ทัชสกรีน) สำหรับระบบควบอัตโนมัติ
โดย : Admin

ปัจจุบันระบบควบคุมการผลิตแบบอัตโนมัติได้เข้ามามีบทบาทในกระบวนการผลิตอย่างแพร่หลาย

ทั้งในโรงงานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ไปจนถึงโรงงานขนาดเล็ก หน้าจอแสดงผลแบบสัมผัส (ทัชสกรีน) ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะเห็นว่าเครื่องแต่ละเครื่องมักจะมีหน้าจอแสดงผลดังกล่าวติดมาด้วยเสมอ ทั้งหน้าจอขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก เป็นหน้าจอขาว-ดำ หรือหน้าจอสีบ้างแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้งาน

 

หน้าจอแสดงผลแบบสัมผัส “MONITOUCH V8” เป็นอีกหนึ่งสายผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิ์ภาพการทำงานสูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไปอาจกล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้

1) Graphic User Interface เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลเชิงรูปภาพเป็นการง่ายแก่การเข้าใจของผู้ใช้งาน ทั้งนี้มักประกอบไปด้วย 2 วัตถุประสงค์คือ Monitoring และ/หรือ Controlling
 

  • Monitoring : สามารถ ใช้ภาพสัญลักษณ์หรือภาพถ่ายของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์จริงเพื่อให้สามารถ เข้าใจได้ทันที เนื่องจากผู้ใช้งานมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว
  • Controlling : สามารถ ออกแบบให้รับคำสั่งผ่านหน้าจอแสดงผลโดยการสัมผัส ตามลำดับขั้นตอนการทำงาน เพื่อเป็นการสะดวกรวดเร็วทั้งยังช่วยป้องกันความผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติงานได้

ตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์

ตัวอย่างการใช้ภาพถ่ายหรือไฟล์รูปภาพ


2) Alarm เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับแจ้งเตือนถึงสภาวะการทำงานที่ผิดปกติ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาทำการแก้ไขให้กลับมาสามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับแผนกซ่อมบำรุง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบรายละเอียดของสัญญาณผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้เร็วที่สุด

ตัวอย่าง Alarm Function


3) Trend Sampling เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับเก็บและแสดงค่าของข้อมูลที่เราสนใจและต้องการบันทึกไว้ เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไป

ตัวอย่าง Trend Sampling (Graph Display)

ตัวอย่าง Trend Sampling (Bar Graph Display)


4) Recipe เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้ในการตั้งค่าหรือเปลี่ยนแปลงค่าของพารามิเตอร์ต่างๆ สำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ ทำให้การเลือกสูตรผลิตภัณฑ์มีความสะดวกรวดเร็ว ทั้งยังช่วยลดข้อผิดพลาดต่างๆ ให้ลดลง

ตัวอย่าง Recipe


5) Security เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับจำกัดสิทธิ์ในการใช้งาน โดยเฉพาะการสั่งการคำสั่งสำคัญๆ หรือการตั่งค่าเครื่องจักร ซึ่งอนุญาตเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น


6) Macro (Functional) เป็นการเขียนฟังก์ชั่นบนทัชสกีน เพื่อให้โอเปอร์เรเตอร์ใช้งานเครื่องที่มีความซับซ้อนได้ง่ายขึ้น ทั้งยังรองรับการคำนวณต่างๆเช่น ฟังก์ชั่นตรีโกณมิติ (SIN, COS, TAN) เป็นต้น

ในการนำหน้าจอแสดงผลแบบสัมผัสมาประยุกต์ใช้งานนั้นสิ่งสำคัญที่ขาดเสียมิ ได้ก็คือการสื่อสาร ทั้งนี้เนื่องมาจากเครื่องจักรหรือสายการผลิตมักจะถูกควบคุมด้วย PLC หรืออุปกรณ์ควบคุมอื่นๆ เช่น Temperature Controller, Inverter, Servo เป็นต้น โดยจะทำการเชื่อมต่อทางพอร์ทสื่อสารซึ่งอาจจะเป็นแบบ Serial (RS232/RS422/RS485) หรือแบบ Ethernet

ตัวอย่างการเชื่อมต่อทาง Serial Ports

ตัวอย่างการเชื่อมต่อทาง Ethernet Ports

มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันด้วยโปรโตคอ ลหรือไดรเวอร์ ทั้งนี้จะต้องทำการตั้งค่าคุณสมบัติของการสื่อสารระหว่างทัชสกรีนกับ PLC หรืออุปกรณ์ควบคุมให้มีค่าตรงกันด้วย เช่น Baud Rate (Speed), Data Length, Stop Bit, Parity, เป็นต้น

ตัวอย่างการเลือก Protocol/Driver และการตั้งค่าคุณสมบัติการสื่อสาร


ในกรณีการสื่อสารแบบ Serial จะต้องทำสายให้ตรงตาม Diagram ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ Protocol/Driver และชนิดของสายสื่อสาร RS232 หรือ RS422 หรือ RS485 โดยจะมีรูปแบบการเดินสายไม่เหมือนกัน

ตัวอย่างการทำสายสื่อสาร


เพียงเท่านี้ก็สามารถทำการออกแบบหน้าจอแสดงผล เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับระบบ และเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับระบบได้แล้วล่ะค่ะ


หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::

แผนก Automation : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 
Fax : (02) 319 1800
Website : https://stcontrol.com

========================================================

 

 

 

10 December 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD