Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,797
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,171
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,457
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,452
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,913
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,029
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,006
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,294
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,144
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,818
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,773
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,973
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,317
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,815
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,160
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,052
17 Industrial Provision co., ltd 39,849
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,798
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,713
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,041
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,973
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,321
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,741
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,469
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,975
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,969
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,347
28 AVERA CO., LTD. 23,102
29 เลิศบุศย์ 22,062
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,820
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,713
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,327
33 แมชชีนเทค 20,316
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,575
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,544
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,285
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,963
38 SAMWHA THAILAND 18,740
39 วอยก้า จำกัด 18,405
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,978
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,823
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,759
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,725
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,670
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,602
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,595
47 Systems integrator 17,156
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,100
49 Advanced Technology Equipment 16,934
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,898
15/01/2550 08:44 น. , อ่าน 18,737 ครั้ง
Bookmark and Share
motor กระแสสูง
ช่างใหม่
15/01/2550
08:44 น.
เรียนท่านผู้รู้ครับ<br> ผมมีปัญหาว่า มอเตอร์แรงแตก และ Fin ตรง Rotor มีการบิดงอ<br>ซื่งเมื่อนำไปส่งซ่อม ดูจากรายงานต่างๆในการซ่อมพบว่าค่าทุกอย่างเป็นปกติ เช่น Winding Test , dynamic balance อื่นๆ<br> แต่เมื่อนำมอเตอร์มาติดตั้งใช้งาน ตอน Test No-Load ก็เป็นปกติทุกอย่าง ทั้งกระแส และ vibration Motor เอง แต่เมื่อต่อโหลดเข้าไป โดยLoad เป็น Centrifugal Pump ปรากฎว่ากระแสมอเตอร์กลับวิ่งขึ้นสูงมากเกือบเป็น Full Load Motor และมีบางช่วงที่กระแส Peak ขึ้นสูงกว่า Full load <br> Check Pump ดูก็ไม่พบปัญหาอะไร ให้โรงซ่อมมอเตอร์มาดูหน้างาน ก็บอกมอเตอร์ไม่มีปัญอะไร<br> ลองtest run no-load มอเตอร์อีก 1 ตัวที่มี Condition เหมือนกันทุกอย่างเพื่อดูว่ากระแส no-load จะเท่ากับตัวที่ซ่อมมาหรือไม่ ก็ปรากฏว่าเท่ากันทุกประการ<br> คำถาม คือ <br>1. ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจาก UNBALANCE ใน Rotor ได้ไหมครับ แต่ผล DYNAMIC BALANCE ก็ปกติทุกประการ ถ้ามองประเด็นว่ามาจากมอเตอร์ที่ทำให้กระแสสูงนั้นมาจากอะไรได้บ้างครับ กรณีนี้<br>2. ผมไม่ต่อยเห็นด้วยในกรณีที่ว่า ลอง Run No-load motor อีกตัวเพื่อเปรียบกระแส no-load กันเพราะผมคิดว่ามอเตอร์มี Condition ใช้งานแตกต่างกัน ดังนั้นจึงอยากเรียนถามท่านผู้รู้ว่า ปกติถ้ามอเตอร์ชนิดเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน ถ้า Test run no-load แล้วกระแสควรเท่ากัน หรือต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเท่าไหร่
ความคิดเห็นทั้งหมด 20 รายการ | 1  2    »
ความคิดเห็นที่ 1
ช่างซ่อมมอเตอร์
15/01/2550
18:10 น.
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ<br>1. การเกิด Unbance ในส่วนของน้ำหนักที่โรเตอร์ จะไม่ส่งผลต่อค่ากระแสของมอเตอร์มากจนสังเกตุเห็นได้ แต่จะส่งผลอย่างมากต่อค่าความสั่นสะเทือนของมอเตอร์โดยเฉพาะด้าน H<br> แต่ถ้าเป็นการเกิด Unbalance ของแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ จนส่งผลให้เกิดความแตกต่างของกระแส จะส่งผลโดยตรงต่อแรงบิดที่มอเตอร์ผลิตได้ นั่นจะหมายความว่ามอเตอร์ต้องใช้ค่ากระแสมากขึ้นที่จะต้องผลิตแรงบิดเพื่อขับโหลดให้หมุนเท่าเดิม<br><br>2. โดยปกติการพิจารณา กระแสของมอเตอร์ในขณะวิ่งตัวเปล่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาคุณสมบัติของมอเตอร์ว่าอยู่ในสภาวะที่ปกติหรือไม่ เพราะมอเตอร์ที่เป็นรุ่นเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน และขนาดเท่ากัน ควรที่มีค่ากระแส NoLoad ที่ใกล้เคียงกัน<br><br>แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ต่างยี่ห้อกัน มีโอกาส อย่างมากที่ค่ากระแสจะต่างกัน ถึงแม้ว่า ขนาดของมอเตอร์จะเท่ากัน เพราะสิ่งหนึ่งที่ผู้ผลิตมักจะออกแบบแตกต่างกันออกไป ก็คือ ความเร็วพิกัดของมอเตอร์ ซึ่งถ้ามอเตอร์ที่มีความเร็วพิกัดที่ต่ำกว่าจะมีค่ากระแสพิกัดที่สูงกว่า เนื่องจากออกแบบให้ทำให้ทำงานที่แรงม้าพิกัดโดยให้แรงบิดขับโหลดมากกว่า ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังค่ากระแส Noloadที่สูงขึ้นตามไปด้วย<br><br>จากปัญหาที่เกิดขึ้นแนะนำว่า<br>1. ให้ทดลองตรวจสอบเรื่อง บาร์โรเตอร์ ว่าขาดหรือแครก หรือไม่ เพราะถ้าบาร์โรเตอร์แครก มักจะไม่ส่งผลอะไรให้เห็นในขณะมอเตอร์วิ่งขณะไม่ได้ขับโหลด แต่จะส่งผลในขณะขับโหลดโดยเฉพาะขณะทีมอเตอร์ขับโหลดเต็มที่และมีความร้อนเกิดขึ้น<br>2. การตรวจสอบว่ากระแสของมอเตอร์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ปัมท์ คงจะพิจารณาไม่ง่าย นอกเสียจากมีมอเตอร์ขนาดเดียวกันแล้วนำมาเปลี่ยนแทนและแสดงค่าของกระแสที่ต่างกัน บ่อยครั้งที่ต้องใช้วิธีหาข้อสรุปเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้มอเตอร์กระแสสูงต้องใช้วิธีสลับมอเตอร์ดูเพื่อใช้ในการตรวจสอบประสิทธิภาพของปัมท์ว่ามีอะไรผิดปกติ หรือประสิทธิภาพลดลงไปหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ลองสลับดู<br>
ความคิดเห็นที่ 2
กี้
15/01/2550
20:12 น.
ถ้าเราใช้ เพาเวอร์ มิเตอร์ วัดค่า เพาเวอร์อินพุทละ
ความคิดเห็นที่ 3
ช่างซ่อมมอเตอร์
15/01/2550
21:46 น.
คำตอบที่ 2 ช่วยขยายความด้วยครับ
ความคิดเห็นที่ 4
ช่างใหม่
17/01/2550
08:15 น.
ปัญหาเดิมนะครับ ; เสนอสลับมอเตอร์แล้วไม่อนุมัติจากผู้บริหาร ผมเลยลองทดลอง RUN NOLOAD 5 ชั่วโมงแล้วบันทึกค่ากระแส และ อุณหภูมิที่ BEARING และที่ Frame Motor เป็นระยะทุก 30 นาที ผลปรากฏว่า กระแส No-load ค่อนข้างคงที่ อุณหภูมิขดลวดไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ที่น่าตกใจคือ อุณหภูมิแบริ่งด้าน DE กับสูงจนถึง 85 องศา C แค่ Run No-Load นะครับแต่ปัญหาด้านเสียงดังไม่มี <br> สุดท้ายแล้วผมให้โรงซ่อมมอเตอร์ Recheck มอเตอร์ใหม่ แต่ยังสงสัยครับ เมื่อลอง Take Load ตามข้อมูลเดิม ทำไมกระแสสูงได้ถึง Full Load ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ที่จะซ่อม กระแสจะอยู่สูงสุดใช้งานที่ประมาณ 75% <br> ผมยังไม่ค่อยจะเชื่อว่าการที่อุณหภูมิ No-load bearing สูง แต่เราดูองค์ประกอบอื่นๆเช่นเสียงเสียดสีไม่มี และ กระแส No-load ค่อนข้างคงที่ ถ้าเกิดเปิดมอเตอร์ออกดูไม่พบปัญหาการเสียดสี แล้ว Rotor Bar ไม่ Crack จะสรุปว่าอย่างไรดีในเรื่องกระแสสูง มีองค์ประกอบอื่นๆไหมครับ อ้อ มอเตอร์ตัวนี้เป็น EX.MOTOR ครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ช่างไฟ
17/01/2550
08:57 น.
ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ<br><br>1.ไม่ทราบว่ามอเตอร์ไปพันขดลวดมาใหม่หรือไม่.....ถ้ามีการพันใหม่ทางผู้ทำ อาจใช้ลวดทองแดงที่มีขนาดเล็กกว่าของเดิม จะส่งผลให้ กำลังของมอเตอร์ลดลงครับ เมื่อไปครับ load จะทำให้กระแสสูงกว่าปกติ ถ้า run no load กระแสจะดูเป็นปกติครับ<br>2. ตอนนี้ขอแนะนำ ให้วัดค่า power ของ motor ขณะ run load เพื่อจะได้ดูผลและประสิทธิ ของมอเตอร์ครับ (ตามคำตอบที่2 )
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างซ่อมมอเตอร์
17/01/2550
13:32 น.
ขอให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้ครับ<br>1. การสลับมอเตอร์เป็นการทดสอบโหลดว่าปกติหรือไม่ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และดีที่สุดที่ใช้ในการวิเคราะห์สาเหตุ<br>2. อาการที่กล่าวมา คือเรื่องของความร้อนที่แบริ่ง อาจจะมีสาเหตุมาจากโรเตอร์บาร์แครกด้วย หรือไม่ใช่ก็ได้ ซึ่งจะต้องพิจารณาทั้งสองกรณี<br>3. โรเตอร์บาร์แครก สามารถตรวจสอบได้ ทั้ง ที่โรงซ่อม และที่หน้างาน โดยที่หน้างานจะใช้เครื่องวัดสเปคตรัมที่ตรวจจับกระแส มาตรวจจับกระแสที่ไหลเข้ามอเตอร์ และมอเตอร์ต้องขับโหลดอย่างน้อย 50 เปอร์เซนต์ <br> ส่วนการตรวจสอบที่โรงซ่อมก็มีอยู่ด้วยกัน 2-3 วิธี ซึ่งโรงซ่อมน่าจะรู้ดี การตรวจด้วยสายตาไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ อย่างไรแล้วคงต้องให้โรงซ่อมตรวจสอบอย่างละเอียดมากขึ้น<br>3. การพิจารณาเปรียบเทียบเรื่องของกระแส คงต้องไม่ลืมแรงดันที่ป้อนให้กับมอเตอร์ด้วย เพราะกระแสจะแปรเปลี่ยนตามแรงดันเนื่องจากการขับโหลด ฉะนั้นการเปรียบเทียบต้องใช้แรงดันที่เท่ากัน<br><br>สำหรับคำตอบที่ 5 ผมมีความคิดเห็นที่แตกต่างและสอบถามเพิ่มเติมนิดนึงครับ<br>1. ตามความเข้าใจของผมเองนะครับ สิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดแรงบิดของมอเตอร์จะเป็น จำนวนรอบที่ใช้พัน และขนาดของแกนเหล็กเป็นหลักสำคัญ ขนาดของลวดที่ใช้พันจะเป็นตัวกำหนด copper Loss หรือความร้อนที่เกิดขึ้นในขณะทำงานของมอเตอร์ ซึ่งจะหมายความว่า ถ้าเราพันมอเตอร์โดยใช้จำนวนรอบเท่าเดิม แต่ใช้ขนาดลวดที่เล็กลง มอเตอร์จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิที่สูงเพิ่มขึ้น มากกว่าแรงบิดที่ลดลง ( เนื่องจากค่าความต้านทานของขดลวด ) ในกรณีที่เป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ <br><br>แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ขนาดเล็กการลดขนาดลวด จะส่งผลทั้งแรงบิดและความร้อนที่เกิดขึ้นอย่างมาก<br><br>การที่มีความร้อนเพิ่มขึ้นจะทำให้เราไม่สามารถใช้งานมอเตอร์ได้ถึงพิกัดกำลัง เพราะความร้อนจะสูงกว่าคลาสของฉนวน ทำให้เราต้องลดโหลดลง จึงทำให้เรามักจะพูดว่ากำลังของมอเตอร์ลดลง<br><br>สรุปว่า ถ้ามอเตอร์ในกระทู้เป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ และถูกพันด้วยลวดที่เล็กลงเล็กน้อย แต่จำนวนรอบเท่าเดิม กระแสของมอเตอร์จะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก แต่มอเตอร์ จะมีอุณหภูมิใช้งานสูงขึ้นเนื่องจากการใช้งาน ( Temp Rise ) สูงเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม<br><br> 2. ผมมีข้อสงสัยอยากสอบถามเป็นความรู้ เกี่ยวกับการวัด เพาว์เวอร์อินพุท ว่าสามารถสรุปได้อย่างไรว่ามอเตอร์ผิดปกติหรือไม่ เพราะว่าแน่นอน ถ้ากระแสมอเตอร์มีค่าสูงเพิ่มขึ้น เพาว์เวอร์ที่จ่ายให้กับมอเตอร์ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยครับ และการที่มอเตอร์มีค่ากระสูงเพิ่มขึ้นก็มีอยู่ด้วยกัน 2 ปัจจัย คือ มอเตอร์ผิดปกติ หรือ โหลดผิดปกติ<br> <br>
ความคิดเห็นที่ 7
ky
18/01/2550
21:20 น.
ในกรณีถ้ามอเตอร์ปกติถ้าเราสามารถปรับโหลดเอาท์พุทของมอเตอร์ให้กระแสมอเตอร์เต็มพิกัดแล้ววัดกิโลวัตต์อินพุทของมอเตอร์แล้วใช้สูตร<br> KWเอาท์พุทของมอเตอร์ = KWอินพุทที่วัดได้ * ประสิทธ์ภาพ<br><br>ถ้ามอเตอร์มีปัญหา ถ้าเราปรับโหลดของมอเตอร์จนกระแสเต็มพิกัดแล้ววัดกิโลวัตต์อินพุทมอเตอร์ถ้า กิโลวัตต์ที่วัดได้ต่ำกว่ากิโลวัตต์ที่เนมเพลทมอเตอร์แสดงว่ามอเตอร์มีปัญหา(ตามกฎเรื่องพลังงาน ที่ว่าพลังงานไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้หรือทำลายให้หายไปได้แต่สามารถเปลี่ยนรูปได้ ) เช่นถ้ามอเตอร์400 กิโลวัตต์ปรับ โหลดจนกระแสเต็มพิกัดแล้ววัดกิโลวัตต์ สมมุติปกติและมอเตอร์มีประสิทธิภาพ80เปอร์เซ็นต์ มอเตอร์จะมีอินพุทประมาณ 400/0.8 =500กิโลวัตต์ <br> แต่ว่าการใช้เพาว์เวอร์มิเตอร์วัด จะต้องแน่ใจว่ามอเตอร์ไม่มีการสูญเสียพวกCore loss Copper loss การสูญเสียทางกลเช่นการแรงลม การเสียดสี สูงมากเกินไป อาจจะทดสอบโดยการเดินตัวเปล่าก่อนดูค่าไม่ควรเกิน5เปอร์เซ็นของพิกัดมอเตอร์<br><br><br>นี้เป็นการใช้ประการณ์อันน้อยนิดของผม อาจจะมีมั่วๆบางยังงั้ยช่วยวิจารณ์ด้วย
ความคิดเห็นที่ 8
ช่างซ่อมมอเตอร์
18/01/2550
22:00 น.
ผมขอให้ความคิดเห็นต่อคำตอบที่ 7 นะครับ<br><br>การที่เราสามารถปรับโหลดได้ และให้มอเตอร์กินกระแสเท่าพิกัด จะเป็นการที่เราทำให้มอเตอร์ทำงานที่อินพุทพิกัด เพราะเพาว์เวอร์อินพุท จะมีค่าเท่ากับ กระแสพิกัด คูณ แรงดันพิกัด (ค่าทั้งสองที่อยู่ในเนมเพลท ) คูณ เพาว์เวอร์แฟกเตอร์ณ.สภาวะค่าโหลดนั้นๆ(ในที่นี้คือ เพาว์เวอร์แฟกเตอร์ที่พิกัด )<br><br>ในสภาวะที่มอเตอร์ปกติ การที่เราจ่ายอินพุทพิกัดให้กับมอเตอร์ เราจะได้ เอาว์พุทพิกัด ซึ่งจะอยู่ในรูปของพลังงานกล ฉะนั้นหากเราต้องการที่จะหาค่าประสิทธิภาพของมอเตอร์เราต้องสามารถกำหนดค่าโหลดได้ และวัดค่าอินพุท แล้วนำมาแทนค่าในสูตรดังกล่าว หรือในอีกแนวทางหนึ่งคือ ถ้าโหลดของเราปกติ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงค่าอินพุท นั่นก็หมายความว่า ประสิทธิภาพของมอเตอร์เปลี่ยนแปลงลดลง ซึ่งเป็นนัยยะว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นที่มอเตอร์ หรือมีความเสียหายเกิดขึ้น<br><br>ในกระทู้คำถามไม่ได้มีอะไรยืนยันว่า โหลดมีค่าปกติ จึงเป็นปริศนาว่า สาเหตุที่ทำให้มอเตอร์เกิดกระแสสูง เกิดจากความผิดปกติของมอเตอร์เอง หรือ มอเตอร์ทำงานขับโหลดมากขึ้น<br><br>นี่เป็นความเข้าใจของผมเอง และเป็นที่มาของคำถามว่าการวัดอินพุทช่วยการวิเคราะห็ความเสียหายมอเตอร์ได้อย่างไร ถ้าเรายังไม่แน่ใจว่าโหลดของเราปกติ หรือโหลดไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม <br><br>ฉะนั้นผิดถูกอย่างไรช่วยวิจารณ์ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ<br>
ความคิดเห็นที่ 9
กี้
19/01/2550
20:34 น.
load test <br>ตอนนี้ผมมีความคิดที่จะทำโหลดเทสใช้เอง โดยใช้มอเตอร์ที่ต้องการเทสโหลด มาต่อคัปลิงเข้ากับเจนเนเรเตอร์ เอซี แล้วใช้พวกฮีตเตอร์ เป็นโหลด <br><br>เอาท์พุทที่เจนจ่ายออกมา บวก การสูญเสียต่างๆในเจน บวก กำลังงานที่ใช้ในการ เอ็กไซติ้ง บวกการสูญเสียในการคัปลิง เราก็จะได้ เอาท์พุทที่ออกมาจากมอเตอร์<br><br>แนวคิดนี้พอจะเป็นไปได้ปล่าวครับหรือมี<br>มีอะไรผิดพลาดช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ<br><br>
ความคิดเห็นที่ 10
ช่างซ่อมมอเตอร์
19/01/2550
20:54 น.
ขอข้อมูลเพิ่มเติมครับ เพื่อเป็นข้อมูลในการให้ความคิดเห็น<br>1. คำว่า No Load Test หมายถึงมอเตอร์คับปิ้งอยู่กับโหลด หรือมอเตอร์รันตัวเปล่าอย่างเดียว<br>2. อุณหภูมิของตัวปัมท์คอมเพรสเซอร์ และอุณหภูมิรอบข้างของแบริ่งด้าน DE เป็นเท่าไหร่ ในขณะที่แบริ่งของมอเตอร์ร้อนถึง 80 องศา<br>3. วิธีทดสอบ โรเตอร์บาร์แครกของโรงซ่อม ทำอย่างไร<br>4. ประวัติของมอเตอร์และปัมท์ก่อนที่จะเกิดปัญหา เช่น ได้มีการซ่อม หรือทำอะไรไปบ้าง
ความคิดเห็นที่ 11
ช่างซ่อมมอเตอร์
20/01/2550
20:22 น.
ขอให้ความคิดเห็นต่อคำตอบที่ 10 นะครับ<br><br>จากหลักการทำงานที่แจ้งมา น่าจะใช้ได้ในเชิงเปรียบเทียบกับ มอเตอร์ที่มีขนาดเท่ากัน และ สเปคเดียวกัน โดยมีเงื่อนไขว่าตัวหนึ่งตัวใดต้องเป็นมอเตอร์ที่ปกติ(มาสเตอร์ ) และต้องการที่จะทราบว่าตัวที่ต้องการทดสอบว่า มีคุณสมบัติแตกต่างไปจากมอเตอร์ตัวที่เป็น มาสเตอร์ มากน้อยเพียงใด คงไม่สามารถที่จะบอกค่าออกมาเป็น กิโลวัตต์คงเหลือของมอเตอร์ได้
ความคิดเห็นที่ 12
ช่างใหม่
24/01/2550
15:46 น.
ข้อมูลเพิ่มเติมครับ <br>1. คำว่า No Load Test หมายถึงมอเตอร์รันตัวเปล่าอย่างเดียว ครับ<br>2. อุณหภูมิของตัวปัมท์ขณะRUN กับ Motor ไม่ได้วัด เนื่องจากเพียงแค่ Run No-load (เดิน มอเตอร์ตัวเปล่า) temp bearing ขึ้นสูง และขณะต่อกับ PUMP run แล้วกระแสสูงจึงหยุด Run และปลด Coupling ออก Run no-load<br>และอุณหภูมิรอบข้างของแบริ่งด้าน DE ประมาณ 33-35 ในขณะที่แบริ่งของมอเตอร์ร้อนถึง 80 องศา <br>3. วิธีทดสอบ โรเตอร์บาร์แครกของโรงซ่อม เข้าใจว่าคงจ่ายไฟเข้า STATOR และหมุน ROTOR ตรวจสอบความต้านทานของ ROTOR ที่เปลี่ยนไป ...ไม่แน่ใจครับรบกวนถ้าเป็นไปได้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ<br>4. ประวัติของมอเตอร์ก่อนที่จะเกิดปัญหา <br>เท่าที่ค้นได้ไม่มีครับ runๆอยู่แล้วพบว่ากระแสสูงกว่าปกติจึงหยุดเพื่อตรวจสอบมอเตอร์ พบว่า Bearing ชำรุด และ แหวนกันรุนขาด จึงส่งมอเตอร์ไปซ่อม
ความคิดเห็นที่ 13
กี้
26/01/2550
20:27 น.
วิธีทดสอบโรเตอร์บาร์ โดยใช้การจ่ายซิงเกิลเฟสเข้าที่สเตเตอร์ แล้วหมุนโรเตอร์ ดูการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟที่สเตเตอร์ วิธีนี้จะใช้ได้ผลเฉพาะกรณีที่โรเตอร์ บาร์แครกหรือขาดออกจากกันอย่างสมบูรณ์ แล้ว เท่านั้น
ความคิดเห็นที่ 14
ช่างซ่อมมอเตอร์
31/01/2550
12:58 น.
ให้ความเห็นของคำตอบที่ 13 <br><br>จากข้อมูลที่แจ้งมาเป็นไปได้ว่าความร้อนที่เกิดที่แบริ่ง กับกระแสที่สูงมากกว่าปกติ อาจจะมีสาเหตุคนลเสาเหตุกัน ซึ่งจะต้องพิจารณาและหาสาเหตุของแต่ละปัญหา การที่แบริ่งมีความร้อนสูงขึ้นคงจะไม่ส่งผลให้กระแสของมอเตอร์สูงขึ้นมากเท่าไหร่<br><br>อย่างไรแล้วถ้าทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดปํญหา โพสขึ้นมาบอกกันบ้างน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนสมาชิก นะครับ
ความคิดเห็นที่ 15
นิรัน
03/08/2550
22:04 น.
ขอข้อมูลแบริ่งDEร้อนมาก90องศา
ความคิดเห็นทั้งหมด 20 รายการ | 1  2    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
23 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD