28/10/2549 16:00 น. |
ลืมไป มัวแต่ตอบปัญหาเรื่อง เครื่อง CNC กับเรื่องการผลิต <br>หากท่านใด สงสัย เกี่ยวกับ เรื่องการวัด คุม ทางด้านมิติ <br>เช่น งาน Dimension Gaging, CMM, Gage Block<br>งานสอบเทียบ ฯลฯ <br><br>ขอเป็นทางด้าน มิติ ขนาด นะครับ งานด้านอื่นไม่ถนัด เดี๋ยวจะยุ่ง <br><br>โพสต์ มาถกกันได้นะ เพราะ ไม่มีห้อง วัดคุม โดยเฉพาะ |
31/10/2549 19:38 น. |
ดีครับพี่งานด้านนี้ผมหาคนสอบถามยากมาก พอดีผมมีคำถามคือผมใช้ CMM วัด หลุมรูปโค้งที่มีขนาดประมาณ 20ม.ม.ลึกประมาณ4 ม.ม. ผิวจะเป็นserface ลึกลงไป วัดเป็นPoint ไล่จนทั่วงาน แล้วนำค่าที่ได้ไปปูserface แล้วกัดงานออกมา ปรากฏว่างานที่ได้มิติผิดเพี้ยนไปพอสมควร ผมคิดว่าเงื่อนไขน่าจะเกิดจากการวัดครับ 1.ถ้าเป็นงานลักษณะนี้มีเครื่องมืออื่นที่เหมาะสมกว่าหรือไม่<br>2.ผิวโค้งลาดเอียงมีผลต่อความผิดพลาดหรือไม่ครับแก้ไขหรือมีวิธีการอย่างไรครับ |
01/11/2549 21:24 น. |
ปกติ เครื่อง CMM ทุกตัว มีค่าความคลาดเคลื่อนสูงมาก ( สูงกว่าเครื่อง CNC ) <br>อย่างงครับ ตามมาดูกัน แล้วกลับไปพิจารณาเครื่องของคุณนะ <br><br>1. ค่า Accuracy ของ CMM. แบบ Manual เริ่มจาก 3.5 + 4L/100 มม. หรือ อย่างดีที่สุดที่เคยเห็น 2.5 + 3L/100 mm. <br>มันหมายความว่า เริ่มผิดพลาดคือ 3.5 ไมครอนเข้าไปแล้ว ที่ตำแหน่งจุดเริ่ม หรือ Origin แล้วเมื่อเคลื่อนที่ไปเท่าไร ก็บวกไปตามสูตร ครับ <br>2. Touch Probe และ หัว Touch Sensor ที่คุณใช้ เป็นแบบใด <br>Ranishaw รุ่น TP2 มีค่า accuracy 2 ไมครอน โดยใช้ร่วมกับ ปลายทับทิม (Stylus ) ขนาด 1.0 มม. ก้านยาว 15 มม. <br>หากคุณให้ ปลายที่โตกว่า หรือ ต่อก้านให้ยาวกว่า ค่านี้ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว <br>( บางคนเล่นต่อก้าน ยาวเป็น ร้อย แล้วบอกว่าเครื่องมีค่าเที่ยงตรง ไม่เกิน 5 ไมครอน ขอ ขำ ขำ นะ ) <br><br>เอาแค่นี้ก่อนนะ มากกว่านี้ ตั้งประเด็นมา แล้ว จะอธิบายเป็นข้อๆ ไป <br><br>สำหรับ คำถามของผิวลาดเอียง มีผลต่อการวัดไหม <br>ตอบว่า มีครับ <br><br>เป็นผลมาจาก การทำงานของโปรแกรม เครื่องเอง <br>โดยที่ ปกติ CMM จะให้เราทำการ compensate / offset ปลายหัววัด หรือ ตำแหน่ง หัววัด ในแนว 3 มิติ โดยให้คุณไปแตะกับ ตัวบอลกลม บนโต๊ะงาน แล้วจะทำการเก็บค่าเหล่านั้น มาหักลบ กับตอนเวลาคุณวัด <br><br>โปรแกรมทำการคำนวณตำแหน่งที่วัด ในรูปสมการวงกลมสัมผัสกัน ในสามมิติ หรือ บางครั้งหักลบกับ ค่า offset <br>คอนโทรลบางรุ่น ดีขึ้นอีก เล่นคำนวณ ค่าerror เผื่อความเร็วในการเดินเข้าแตะชิ้นงานด้วย <br><br>หากคุณทำได้ดี ขณะทำ offset นั้น และตอนวัดแต่ละจุด แตะได้ดี ค่าที่ได้ก็จะนิ่งหน่อย แต่อย่าลืม ค่า accuracy ของเครื่องด้วยนะ <br><br>กรณีของคุณ เป็นลักษณะ ของการลอกแบบ <br>แนะนำ ให้ใช้ Hard Probe เล็กที่สุดที่จะทำได้ หรือ ปลายแหลม ( Hard Probe คือ ไม่มีหัววัด เป็นแท่งต่อตรงๆ ไปที่คอเครื่อง ซึ่งจะทำได้ต่อเมื่อเป็นเครื่อง CMM Manual เครื่อง Joy stick และ CNC ทำไม่ได้ ) <br>เวลาจะสแกน ให้ล็อค แกนใดแกนหนึ่ง ระหว่าง X กับ Y แล้วเดิน ในแกนที่ไม่ล็อค <br><br>หากเป็นเครื่อง Joy Stick หรือ CNC เลือกใช้ ปลายทับทิม (Stylus ) ที่เล็ก และสั้นที่สุด ที่จะสามารถทำงานได้ <br><br>สุดท้าย อย่าลืมค่า Accuracy ของเครื่อง เพราะ column ของเครื่องลอยอยู่ บนเบาะอากาศ ที่มีความสูง ประมาณ 3 - 5 ไมครอน ขณะที่เครื่องลอยตัว <br>( กระเทือนหน่อยก็ เคลื่อนไป 2 ไมครอน โดยที่คุณไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เพราะค่าที่หน้าจอไม่ได้บอก ) <br><br>แค่นี้ก่อนนะ |
02/11/2549 15:27 น. |
แหมจารย์.....กะลังอ่านเพลินเลย นึกจะจบก็ไปซะแล้ว<br>รีบมาสอนต่อเร็วๆนะครับ<br><br>ความรู้ดีดีแบบนี้เอามาบอกน้องๆเยอะๆหน่อยครับ |
02/11/2549 18:38 น. |
นี่ ทวัด ชัย เรื่องงานสอบเทียบ ค่าความคลาดเคลื่อน พิกัดของรูปทรง <br>เรื่องเหล่านี้ สอนกันเป็นปี ถึงจะเข้าใจ บางอย่างต้องฝึก การสัมผัส ความรู้สึกระดับไมครอนเป็นอย่างไร ไม่ใช่ เรียนในห้องอบรม 3 - 8 ชม. ได้ประกาศมาใบหนึ่ง แล้วคิดว่า เจ๋ง <br>อ่านแต่ เอกสารภาษาไทย ไม่รู้ว่า เอกสารจริง ของต่างประเทศ พิมพ์ผิด ก็ไม่รู้ว่า จะบอกอย่างไร <br>( ผิด ตั้งแต่เรียน เคยเห็นไหม ) <br><br>อยากรู้เพิ่ม ก็ตั้งกระทู้มา จะตอบเป็นข้อๆ ไม่อยากเขียนเป็น บทความ เดี๋ยวไม่มีคนอ่าน <br>เฉพาะ เรื่อง ความเรียบผิว อย่างเดียว ไม่มีคนสนใจ <br>มีแต่ โหลด เรื่อง ต่อสาย Link แค่ไม่เกิน 20 คน <br>เอาไว้มีเวลา จะหามาให้ webmaster เขาลงให้ <br>ตอนนี้ เพิ่งไปขอ เรื่องการเลือกใช้หินเจียร มาให้เพิ่ม <br>ส่วน เรื่อง ความเรียบผิว กำลังจะเปลี่ยน Version ขอเวลาแก้ไข เพิ่มเติม เล็กน้อย <br>ส่วน มาตรฐาน ความเรียบ แบบ 3 มิติ ยังไม่ได้อ่าน ไม่มีเวลา ดึงมาเก็บไว้หมดแล้ว ละ <br> |
03/11/2549 00:26 น. |
ไม่ทราบ ว่า วัด กี่ ตำแหน่ง และ กี่ layer ครับ |
03/11/2549 18:27 น. |
พี่.....ใน 20 คน นั้นคงมีผมด้วยแหละ<br>( น้อยใจไปได้......ผมโหลดเก็บไว้อ่านทั้งหมดแล้ว อย่างน้อย ความเรียบผิวผมก็อ่านแล้ว) |
03/11/2549 21:39 น. |
เฮ็ ทวัยชัด ไม่ได้น้อยใจ ก็ขอไปแล้วไม่ใช่เหรอ <br><br>คุณ tong <br>ผมไม่แน่ใจ คำถาม แต่ว่า งานของ parinya เหมือนกับทำ reverse engineering โดยการใช้ เครื่อง CMM ทำตัวเหมือน เครื่อง Scanning Machine เพื่อให้ได้ point crown กลุ่มหนึ่ง ก่อนไปปู Surface เพื่อแปลงกลับไปเป็น ทางเดินมีด Tool Path อีกครั้ง <br>หรือ แก้ไขเล็กน้อยก่อน แปลง <br><br>ผมคงกำหนดไม่ได้ว่า ต้องเป็นกี่ตำแหน่ง กี่ Layer เพราะ CAD ของคนใช้ มีฟังชั่น Nurbs, B-Spline ที่สมบูรณ์ หรือ ไม่ประการใด ซึ่งบางทีก็พิสูจน์ยาก <br><br>หากมีข้อแนะนำ ขอทราบด้วย เพราะผมวิเคราะห์ในลักษณะ errror ที่อาจเกิดจากเครือง CMM ตอนเอามาทำ Scan ที่ข้อมูลมีสิทธผิดจากความเป็นจริงมาก ขึ้นอยู่กับ แบบและรุ่น<br> |
10/11/2549 10:12 น. |
งานสอบเทียบตามมาตรฐานISO 9000มีอะไรบ่างครับ<br> |
10/11/2549 14:58 น. |
งานสอบเทียบตามมาตรฐาน ISO 9000 <br><br>มาตรฐาน คือ มาตรฐาน งานสอบเทียบ ตาม ISO 9000 ต้องพิจารณา <br>1. เครื่องมือที่จะต้อง ทำการสอบเทียบ กำหนดเกณฑ์ตัดสิน <br>2. กำหนด ช่วงเวลาของการสอบเทียบ<br>3. กำหนด ขอบเขตของการตรวจรับ และ เกณฑ์การยอมรับ <br><br>ใน ISO-9000 ไม่ได้บอกว่า เครื่องมือจะสอบเทียบอย่างไร แต่บอกว่า เครื่องมือ ควรมีการสอบเทียบ ปรับเทียบ ตรวจสอบว่ายังวัดได้ถูกต้อง และให้เราเป็นคนกำหนดเกณฑ์ของการสอบเทียบ และช่วงเวลา ที่จะทำให้แน่ใจว่า เครื่องมือวัด หรือ ระบบการวัด ยังเทียบได้กับมาตรฐาน หรือ มาตรฐานที่เทียบต่อกันมา <br><br>ส่วน เกณฑ์ของการตัดสิน การสอบเทียบ ไปอ้างอิงในฉบับอื่น ( จำไม่ได้ ดิ ทำไงดี ไม่ได้เปิดนานแล้ว )<br><br>ผมมี บทความอยู่ตัวหนึ่ง ที่ใช้ ค่าความไม่แน่นอน ของระบบ มาเป็นตัวกำหนด การสอบเทียบ โดยยกตัวอย่าง ไมโครมิเตอร์ และ Ring Gage เป็นตัวอย่าง <br>ลักษณะเป็นการใช้ ค่าความไม่แน่นอนขอบระบบ เพื่อกำหนดเกณฑ์ และค่าความเที่ยงตรง ของ ตัว Standard ที่จะใช้ในการสอบเทียบ สนใจก็เมล์มาละกัน จะแนบไปให้อ่าน <br><br> |
13/02/2550 11:16 น. |
อาจารย์คะ หนูอยากได้บทความจัง<br><a href="mailto:nantakarn@thapt.co.th" Target="_BLANK">nantakarn@thapt.co.th</a> |
09/05/2550 13:54 น. |
สวัสดีค่ะทุกๆ ท่าน<br>ตอนนี้กำลังเขียน WI การประเมินค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบ อยู่ค่ะ ว่าไปก็ยากอยู่เหมือนกันนะค่ะ |
20/09/2550 15:03 น. |
อาจารย์ครับ..ช่วยแนะนำหน่อยครับ..เท่าที่อาจารย์จะแนะนำได้ครับ<br>ตอนนี้ Mitutoyo ยังไม่สามารถจำหน่ายได้ ถามว่าขณะนี้ เครื่องยี่ห้อไหน ความสามารถในการใช้งานรวมทั้งการ Service ที่ดีบ้างครับ..ขอบคุณมากครับ |
26/09/2550 15:40 น. |
ถึงคุณ Phornchai<br>ผมอยากแนะนำ ตัว Smartscope ของ OGP. ตอนนี้ผมใช้อยู่ครับ เขียนง่าย แก้ไขโปรแกรมง่ายด้วย แถมมีแสง LED ให้ด้วยนะครับ ผมใช้รุ่น ZIP250 ตัวเล็กครับ. <br> |
26/09/2550 15:44 น. |
ถึงคุณ Phornchai<br>การ Service ดีครับ ชื่อ Infact Technology System.co.ltd ผมทำงานโรงงานที่ลำพูน แผนก Metrology.นะครับ. |
26/09/2550 20:51 น. |
สวัสดีครับขอแนะนำ Scope check จาก Werth Mestechnik GmbH Germany ที่วี จี เอ เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่อง 3D เช่นเดียวกันติดต่อที่ผมได้ครับ 02-9657770-3 /965-7990-3 คุณวิรัตน์ หรือ <a href="mailto:vgagroup@ksc.th.com" Target="_BLANK">vgagroup@ksc.th.com</a> |