02/10/2549 17:48 น. |
เรียนท่านที่มีความรู้ หลักฯในการใช้เครื่องcnc มีอะไรบ้างครับ อยากจะทำเกี่ยวกับด้านนี้ ขอบคุณนะครับ <a href="mailto:aman_took@yahoo.co.th" Target="_BLANK">aman_took@yahoo.co.th</a> |
02/10/2549 21:34 น. |
ขอรายละเอียดเพิ่มอีกหน่อย ดิ หลักทางด้านไหน ผู้ใช้หน้าเครื่อง <br>ผู้ควบคุมงาน ผู้ลงทุนซื้อ ทำกิจการ |
04/10/2549 11:33 น. |
คุณสืบศักดิ์ ช่วยตอบหน่อยในกรณีที่เราจะซื้อเครื่อง ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใหม่หรือเก่า |
04/10/2549 19:27 น. |
ลองดู กระทู้ที่เขียนใหม่ เรื่องอบรมมาตรฐานเครื่องจักร ดูสิ น่าจะได้ทำตอบที่ดีกว่า <br><br>แต่ถ้าจะถามความเห็นผม จะเป็นลักษณะที่อาจไม่เป็นมาตรฐาน ก็ได้ เพราะ ผมจะใช้พื้นฐานจากประสพการณ์ในการทำงาน และลงทุนเป็นเจ้าของกิจการเล็กๆมาตอบ <br><br>การพิจารณา จะเริ่มจาก<br>1. งบประมาณ ในกระเป๋า และความสามารถส่วนตัวในการหมุนเวียนเงินสด มาจ่าย และงานจากลูกค้า <br><br>2. สภาพเครื่อง ในกรณีเครื่องจักรเก่า ตรวจดูในตู้คอนโทรล สภาพความสมบรูณ์ ของบอร์ด คราบหรือรอยต่างๆ การโย้ของตู้ และตัวเครื่องโดยรอบ สภาพของระบบราง บอลสกรู <br><br>3. การทำงานของเครื่อง หากร้านเครื่องเก่า เขาให้ลอง ซึ่งปกติจะต้องลองเครื่องได้ก่อนซื้อ มิฉะนั้น จะซื้อแบบชั่งกิโล โลละ 10 บาท <br>แล้วไปเสี่ยงซ่อมเอาเอง ลองเดินเครื่องฟังเสียงดู ว่าการเคลื่อนที่ต่างๆ เสียงผิดปกติหรือไม่ <br><br>4. เลือกคอนโทรล ที่เรามั่นใจว่าเราคุ้นเคย หรือหาคนทำให้ได้ เช่น Fanuc, ถึงแม้ว่าจะมีช่างซ่อมอยู่มากมาย หากเราพึ่งตัวเองได้ระดับหนึ่ง ก็จะประหยัดงบ และเวลาลงได้มาก ยี่ห้อไม่จำเป็นสูงสุด ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้เครื่องกี่ปี <br><br>5. การรับประกัน และระดับของการรับประกัน ไม่ว่าเก่าใหม่ ตกลงให้ดี และควรเป็นเอกสาร มิฉะนั้น ผู้ขายบางรายอาจไม่สน และต้องระวังก่อนหมดระยะเวลาประกัน <br><br>การจะใช้เครื่องเก่า จำเป็นต้องวางแผนปลดระวางเครื่องทิ้งไว้ด้วย ไม่ควรเกิน 4 ปี ควรจะเปลี่ยนเป็นเครื่องใหม่ให้ได้ แต่ถ้าจำเป็นก็ไม่ต้อง <br><br>ส่วนเครื่องจักรใหม่ ผมจะพิจารณาจาก<br><br>1. ความคุ้นเคย และความสำคัญ ระหว่างตัวเรา กับผู้ขาย (อย่าบอกว่าไม่สำคัญ เพราะผมจะใช้คำว่า เพื่อนในธุรกิจ ย่อมดีกว่าคำว่า ลูกค้าในธุรกิจ ) <br>2. ความสามารถ ความรู้ ประสพการณ์ ของทีมบริการ หัวหน้าทีม หรือ ตัวเจ้าของกิจการ หากเครื่องเกิดอะไรขึ้น คุณทำเองเป็นไหม ช่วยตัวเองได้ในระดับใด <br>3. งบประมาณ ในกระเป๋า อีกเช่นเคยเหมือนข้างบน<br>4. ระดับความเที่ยงตรงของเครื่อง เทียบกับ ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ ของชิ้นงาน ( ค่า Accuracy ของงานที่เราจะทำ ) เครื่องจักรควรทีค่าที่ดีกว่า <br>5. หากเครื่องนั้นเคยมีขายไปบ้างแล้ว ลองถามเพื่อน หรือ คนใช้งาน คนที่เคยซื้อไปใช้ดู ถามหลายๆคนนะ อย่าใช้คำบอกเล่าจากคนๆเดียวตัดสิน และเราต้องตัดสินใจเอง <br><br>กรณี เครื่องยังไม่เคยจำหน่าย ตัวแรกในประเทศไทย เทคโนโลยีใหม่ เรื่องนี้ควรพิจารณาด้วยตัวเอง โดยส่วนตัวผมไม่กลัว และไม่คิดจะกลัวด้วย เจอมาไม่ต่ำกว่า 3 เช่น ตัวแรกในประเทศ เพิ่มเริ่มทำตลาดในประเทศไทยและเพิ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย ( ไม่ขอบอกในนี้ อยากรู้จริงๆ เมล์มาถามส่วนตัว ) <br><br>นี่เป็นความเห็นส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกต้องหรือไม่ กรุณาพิจารณาด้วยตัวท่านเอง <br>หลักใหญ่ๆ ของผม คือ เราควรสามารถ ดูแลจัดการด้วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง พึ่งช่างบริการให้น้อยที่สุด <br>เรื่องไหนที่ยังไม่รู้ หาเอกสารอ่าน ก่อนถามช่าง แม้ว่าต้องหาเป็นภาษาอังกฤษ<br><br>ฝึกไปสักพัก เก็บเกี่ยวไปเรื่อยๆ ก็จะเพิ่มพูนความรู้เองนั่นแหละ และเมื่อรู้ เมื่อเป็นแล้ว ใครจะมาลบไปจากความทรงจำได้ <br>(ยกเว้น ถูกตีที่ท้ายทอย ด้วยของแข็งจนความจำเสื่อม มั้ง )<br><br> |
04/10/2549 23:06 น. |
ขอบคุณมากครับ คุณสืบศักดิ์ เรียนถาม คุณสืบศักดิ์อีกอย่างครับ กว่าจะเป็นชิ้นงาน cnc ได้ ขั้นตอนเริ่มต้น ตลอดจนไปเป็นชิ้นงานมีอะไรบ้างครับ ขอคร้าวๆก็ได้ครับ จะได้ไปศึกษาครับ ตอนนี้กำลังหัดเขียน Solidwork ครับ ขอบคุณ คุณสืบศักดิ์ ครับ นับถือ ..อมร |
04/10/2549 23:13 น. |
ผู้ใช้หน้าเครื่อง ครับ <br> |
10/10/2549 21:35 น. |
การทำงานของพนักงานผู้ใช้เครื่อง CNC <br><br>จะขอแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ <br><br>1. มีความสำคัญน้อย ( ใช้สำหรับการผลิต แบบสายการผลิต/mass production )<br>ผู้ทำงานแบบนี้ จะมีหน้าที่ <br> - ดูแล ป้อนชิ้นงานเข้าเครื่อง / ชุด Jig-fixture และกดปุ่ม Start <br> - ตรวจสอบงานด้วยเครื่องมือพื้นฐาน <br> - เปลี่ยนเม็ดมีด ( เครื่องกลึง )<br> - เปลี่ยน Tool พร้อม Holder ( ที่ Set มาแล้ว ) <br> - ปรับ offset ware <br><br>2. มีความสำคัญปานกลาง ( ใช้กับการผลิต ของ SMEs / เจ้าของคนเดียว มีเครื่องมากกว่า 5 เครื่อง ) <br>ผู้ทำงานแบบนี้ จะมีหน้าที่ <br> - เหมือนด้านบน และเพิ่ม <br> - สามารถ ตั้งแนวระนาบงานเป็น ( เครื่องกัด ) / คว้าน Softjaw / เปลี่ยนแผ่นงาน ยก-ย้าย <br> - ปรับเปลี่ยน หัวจับ ปรับศูนย์ หา Offset Geometry <br> - แก้ไข NC-program ได้บ้าง เล็กน้อย <br> - รู้จักความแตกต่างของ tool, ดอกกัด, เม็ดมีด ที่นำมาใช้ และแก้ไขได้บ้าง <br><br>3. มีความสำคัญมาก ( กรณี มีเครื่องน้อย / เจ้าของคนเดียว ) <br> - พนักงานจะสามารถทำได้หมด ทุกอย่าง ของด้านบน<br> - ถ่ายโอน แก้ไข เขียน NC-program<br> - เขียน CAD/CAM <br> - ปรับเปลี่ยน แก้ไข parameter เป็น ( ความจริงไม่จำเป็น แต่ พนง. จะเป็นเอง ) <br><br>สำหรับ เรื่องวิธีใช้งานเครื่องจักร ปุ่มควบคุม และฟังชั่นการทำงานของเครื่องจักร จะต้องถูกสอน และจำเป็นต้องรู้ เป็นไปตามระดับและหน้าที่ของแต่ละคน<br>แต่ควรมีการอบรม เพื่อเพิ่มระดับความรู้ด้วย ยกเว้นเข็นไม่ขึ้นจริงๆ <br><br><br> |
28/03/2552 15:02 น. |
หลักการปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักรCNC |
28/03/2552 15:05 น. |
หลักทางด้านความปลอดภัยของผู้ใช้เครื่อCNC |
28/03/2552 15:16 น. |
คุณสืบศักดิ์ครับ หลักเเปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักรCNCมีอะไรบางครับ |
17/05/2552 14:34 น. |
ข้อควรระวังในการใช้เครื่องกัด |
23/06/2552 11:14 น. |
อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องcncขอแบบละเอียดเลยนะจะเอาไปทำรายงานเอาเป็นแบบโปรแกรมต่างๆนะคับ |