Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,794
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,167
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,454
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,451
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,910
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,026
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,001
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,291
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,140
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,816
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,770
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,970
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,313
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,813
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,157
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,049
17 Industrial Provision co., ltd 39,846
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,797
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,710
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,036
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,970
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,319
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,735
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,464
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,973
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,963
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,345
28 AVERA CO., LTD. 23,100
29 เลิศบุศย์ 22,060
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,817
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,710
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,326
33 แมชชีนเทค 20,313
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,573
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,542
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,282
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,959
38 SAMWHA THAILAND 18,737
39 วอยก้า จำกัด 18,404
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,976
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,821
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,757
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,723
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,668
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,596
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,593
47 Systems integrator 17,153
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,097
49 Advanced Technology Equipment 16,931
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,895
20/09/2549 14:36 น. , อ่าน 5,867 ครั้ง
Bookmark and Share
การเลือกใช้งาน
ยะ
20/09/2549
14:36 น.
ขณะนี้ผมกำลังทำโปรเจคอยู่ เลยมีเรื่องอยากขอคำแนะนำหน่อยนะครับ โปรเจคผมจะเป็นการนำเซอร์โวมอเตอร์มาใช้งานร่วมด้วยเป็นหลัก จึงติดขัดอยู่ที่ผมจะนำอะไรมาควบคุมดีคับระหว่าง PLC, MCS หรือ INVERTER หรือด้วยวิธีอื่นก็ได้คับช่วยแนะนำหน่อยนะคับ และถ้าไม่รบกวนจะขอข้อแตกต่าง ข้อดี ข้อเสียของแต่ละชนิดก็จะเป็นการดีคับ ขอบคุณครับ (เซอร์โวมอเตอร์ของผมมีพิกัดที่ 0.5-1.5 KW ใช้จำนวน 2 ตัว) คราวๆก็ได้ครับ 09-7416394
ความคิดเห็นทั้งหมด 21 รายการ | 1  2    »
ความคิดเห็นที่ 1
JJ
21/09/2549
12:06 น.
1. ถ้าเป็นงานใหญ่ ที่ต้องการโชว์แผนผังงานของระบบออกหน้าจอด้วย... ก็ต้องคอมพิวเตอร์ครับ จะได้ลดความซับซ้อนของฮาร์ดแวร์ลง และมีความน่าเชื่อถือดีขึ้น<br>2. ถ้าเป็นงานประหยัด ... ก็ใช้ ไมโครคอนโทลเลอร์เป็นบอร์ดสำเร็จที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วๆ ไป แล้วมาเพิ่มวงจรบางส่วนก็ได้ครับ<br>3. ถ้าอยากลำบากหน่อย เสียเงินนิด และชอบเดินช็อบปิ่งหาซื้อของเก่า ... ก็ PLC ครับ<br><br>... กรุณาเลือกตามความถนัดดีกว่านะครับ ...
ความคิดเห็นที่ 2
ยะ
21/09/2549
17:31 น.
พี่ครับ (JJ) คำตอบของพี่ทำให้ผมสนใจมากขึ้นในเรื่องของการควบคุมผ่านคอมพิวเตอร์ ผมเองต้องออกตัวก่อนเลยว่าผมไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้นัก จึงอยากให้พี่ช่วยแนะนำอีกนะคับ โดยที่จริงแล้วงานของผมก็ใช่ VB.net ในการแสดงผลที่หน้าจอด้วยน่ะคับ (หรือถ้าสะดวกจะทิ้งเบอร์ไว้ก็ได้นะคับ)
ความคิดเห็นที่ 3
JJ
21/09/2549
22:40 น.
เอาละ! .. ถ้าสนใจคอมพิวเตอร์ควบคุม ผมขออนุญาตแนะนำเว็บ <a href="http://www.thaiio.com" Target="_BLANK">www.thaiio.com</a> ครับ...<br> 1. ให้ความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์ แบบหลากหลายภาษาอย่างกว้างขวาง (มีมานานแล้ว) รวมทั้ง VB ด้วย<br> 2. มีแบบทดสอบ หรือตัวอย่างให้ปฏิบัติตาม .. และได้ผลจริง (ลองแล้ว) <br> 3. เป็นเว็บไทยเราเองครับ (ถ้าต่างประเทศมีเป็น หมื่นเว็บ... ใช้ google ค้นหาครับ .. เช่นพิมพ์คำว่า computer pc-control )<br> หรือ ของต่างประเทศก็มีหลากหลายครับ เป็นวงจร Interface ทางไฟฟ้าด้วยก็มีให้ อย่างเช่น ..<a href="http://www.epanorama.net/circuits/parallel_output.html" Target="_BLANK">http://www.epanorama.net/circuits/parallel_output.html</a><br> ที่ผมแนะนำไป..เพราะผมมีโอกาสไปศึกษาดูงานหลายที่ครับ...<br>ถ้าเป็นงานระดับองค์กร เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ,ปูนซิเมนต์ ก็เห็นว่าใช้เตรื่องคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางการควบคุม ทั้งหมดครับ<br> ถ้าคิดจะทำผมว่า .... ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุคที่เสถียรหน่อยจะดีครับ .. อย่างเช่น IBM, Fujisu (เครื่องมือสองนะครับ! .. ราคาประมาณ 12,000 - 16,000 บาท ที่เซียร์รังสิตมีเยอะครับ ผมก็ยังซื้อ Fujisu มา 1 เครื่อง ตอนนั้น 16,000 บาท ครับ ตอนนี้ใช้เป็นเครื่องมือช่วยหากินได้ไปแสนกว่าบาทแล้วครับ ... คุ้มครับ)
ความคิดเห็นที่ 4
boky
21/09/2549
23:28 น.
มีงบในการทำ Project เท่าไร Project ลักษณะนี้คล้ายกับของผม ของผมจะใช้ Inerter แต่ของคุณใช้ Servo Motor
ความคิดเห็นที่ 5
ยะ
22/09/2549
00:56 น.
งบประมาณเริ่มต้น 300,000 บาท หรือมากกว่าก็ได้ครับ
ความคิดเห็นที่ 6
ยะ
22/09/2549
01:46 น.
ขอบคุณพี่ JJ มากครับกับ เว็บไซท์ ที่ได้แนะนำมา ขอบคุณจริงๆคับถ้ามีอะไรใหม่ๆจะแนะนำผมเพิ่มก็แนะนำได้นะคับ น้องคนนี้พร้อมและยินดีน้อมรับคำแนะนำจากพี่ๆ เสมอขอบคุณคับหรือแวะมาแสดงความคิดเห็นติเตือนอะไรกันก็ได้คับ
ความคิดเห็นที่ 7
JJ
22/09/2549
16:35 น.
เอ! ... แต่ถ้าใช้คอมพิวเตอร์ PC เครื่องใหญ่ ก็ถูกกว่าครับ! .. แต่ต้องเลือกที่เสถียรหน่อย (คือเอายี้ห้อเป็นตัวตั้งเลย เช่น IBM, Dell,..) ราคาประมาณ 5,600 บาท ถึง 10,000 บาท ครับ! (ผมก็ลืมไปว่าแค่ทำโปรเจค ... น่าจะส่งอาจารย์.... ก็คงไม่ต้องแพงมาก เอาแค่เวอร์คก็พอ .... แต่ถ้ารับไซด์งานจากโรงงาน, บริษัท, ห้างร้าน ... ต้องอย่าให้เสียชื่อ...เชียวน่า ... ยิ่งเงินลงทุนมีมากขนาดนี้ จะได้เป็นครูและต้นแบบให้กับเรา...<br> ... จริงๆ แล้วน่าจะบอกเลยว่าจะทำอะไร ... ยังไง เพื่อได้นะนำต่อจนจบขบวนความ ....
ความคิดเห็นที่ 8
JJ
23/09/2549
07:22 น.
Servo motor คือ มอเตอร์ที่มีส่วนสร้างสัญญาณป้อนกลับ feed back ติดอยู่ที่มอเตอร์ด้วย...<br> เราสามารถเอามอเตอร์ธรรมดาใดๆ มาเพิ่มส่วนสร้างสัญญาณป้อนกลับได้เช่นกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น Mouse แบบลูกกลิ้ง ..... ลองแกะออกดูจะพบว่า .... เมื่อลูกกลิ้งหมุนจะไปสัมผัสกับวงล้อสัมผัสทั้ง 2 แกน ... ที่วงล้อสัมผัสจะมีจานกลมเป็นซี่ๆ หมุ่นตัดกับ Photo senser ... ก่อให้เกิดการสร้างสัญญาณ Pluse วงจรอิเล็กทรอนิกส์ก็จะขยายส่งต่อ ... เป็น Input ให้กับตัวประมวลผล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชิปไมโครคอนโทลเลอร์ ต่อไป<br> ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ก็จะทำงานตามโปรแกรมที่เขียนมาให้ก่อนแล้ว เช่น คอยนับ Pluse ว่าได้จำนวน Pluse กี่ครั้งแล้ว ...(คือให้ได้ระยะทางที่มอเตอร์เคลื่อนที่ตามต้องการ) .. เมื่อครบ หรือถึงจำนวนนั้นๆ แล้วอาจจะให้ มอเตอร์หยุดหมุน แล้วหมุนกลับ ... หรือยังก็ได้ ... โดยตำแหน่งที่เคลื่นที่จะแหม่นยำมาก (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถี่ของ Pluse ด้วย) ..<br> ส่วนการควบคุมมอเตอร์ เป็นส่วน Power นั้น จะต้องดูว่าหากกินกำลังมาก, งานเป็นงานที่หนักสำหรับมอเตอร์ คือมีโหลดมาก ... และเราต้องการประสิทธิภาพเต็มที่ที่จะทำได้ ก็ต้องใช้การขับมอเตอร์แบบ Inverter แต่...ถ้าไม่ต้องการถึงขนาดนั้น ... เช่น มอเตอร์มีเกียร์ทดรอบ, โหลดไม่เกินกำลัง ... ก็อาจใช้การขับแบบพื้นฐานก็ได้ นะครับ! ... จะประหยัดกว่ามาก แลัลดความซับซ้อนลงไปได้ ... ที่แน่ๆ ทำเองได้ครับ!
ความคิดเห็นที่ 9
ยะ
24/09/2549
03:48 น.
คับพี่ JJ จากที่พี่ได้แนะนำมาทำให้ผมได้มีความเข้าใจในเรื่องของเซอร์โวมากขึ้นเล็กน้อย จากที่ไม่มีความรู้ด้านนี้เลย เออ ผมต้องขอโทษพี่ด้วยที่ไม่ได้บอกรายละเอียดในงานของผมให้พี่รู้เลย
ความคิดเห็นที่ 10
ยะ
24/09/2549
04:40 น.
โปรเจคของผมเป็นโปรเจคที่ทำเสร็จออกมาแล้วจะเป็นการนำมาใช้งานภายในของสถาบันและใช้ทดสอบให้กับองค์กรเอกชนทั่วไปดังนั้นเรื่องงบประมาณผมจึงไม่มีปัญหา เพราะสถาบันออกให้ ( KMITL ) อืม ที่นี้ผมก็จะขออธิบายงานเกี่ยวกับโปรเจคของผมคราวๆนะพี่ งานจะเป็นลักษณะของการทำเครื่องวัดความเข้มของแสงแล้วเก็บค่าในลักษณะที่เรียกว่า IES File แล้วนำมาแสดงผลที่หน้าจอ ค่าที่เก็บจะเป็นความเข้มแสงในแต่ละองศา โดยอย่างที่ผมเล่าให้พี่ฟังแหละคับว่าผมเลือกใช้เซอร์โวมอเตอร์ในการควมคุมการเข้าตำแหน่งในแต่ละองศาและในแต่ละองศาก็จะทำการเก็บค่า คับรวมแล้วคราวๆจะมีตัวเลขที่เก็บค่ามากสุดไม่เกิน 32,000 ค่าแล้วแต่เราเลือกเก็บค่าคับ อืมที่ค่าเยอะพี่อาจส่งสัย จริงๆแล้วมันมาจากที่มีเซอร์โว 2 ตัวตัวหนึ่งใช้หมุนแขนใหญ่คล้ายกังหันลมด้านหนึ่งยึดหลอดไฟอีกด้านหนึ่งยึดจับตัววัดแสง และด้านจับยึดของหลอดไฟนั้นจะใช้เซอร์โวยึดกับแขนแล้วค่อยนำมาจับหลอดไฟไว้อีกที่ จึงมีจุดหมุน 2 จุดคือที่หลอดไฟและที่กังหันใหญ่(แขน) โดยที่กังหันใหญ่มันจะ FORWARD และ REVERD กลับไปกลับมา และเมื่อมัน FORWARD ครบลูปหรือได้ตามตำแหน่งเก็บค่าที่เราตั้ง เซอร์โวที่หลอดไฟก็จะหมุนเปลี่ยนหลอดไฟไปยังตำแหน่งหรือองศาใหม่ ณ.จุดศูนย์กลางเดิมเมื่อได้ตำแหน่งเซอร์โวที่จับแกนกังหันหรือแขนหมุนก็จะหมุน REVERD กลับมาเก็บค่าใหม่อีกทำอย่างนี้วนไปเรื่อยๆจนครบ ซึ่งก็เลยเป็นที่มาของค่าเยอะที่เกิดจาก 180*180 ครับประมาณ ดังนั้นผมเลยอยากขอคำแนะนำพี่นะคับว่าจะเลือกเซอร์โวแบบไหน MODEการทำงานอย่างไรดี ลักษณะที่เค้านิยมใช้ควบคุมกันในงานลักษณะแบบนี้ ที่มีการเก็บบันทึกค่าที่มากขนาดนี้ ที่ตัวแอมปลิไฟล์เค้านิยมสั่งงานหรือควบคุมผ่านด้วยตัวอะไร แต่ผมเริ่มสนใจที่พี่บอกว่าใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งตรงนี้ผมไม่มีความรู้เลยจึงอยากขอคำแนะนำจากพี่ เพราะผมไม่ค่อยมีความรู้และก็ไม่อยากพลาดเพราะมันเป็นงานที่ต้องใช้งบสูง
ความคิดเห็นที่ 11
JJ
24/09/2549
06:56 น.
...... ฟังดูแล้วไม่น่าหนักใจเลยครับ!... แต่ต้องเพิ่มความพยายามเสาะหาวงจรทางไฟฟ้า + ความรู้การเขียนโปรแรมควบคุม และรับค่าสัญญาณ มาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ แล้วใช้เวลาทดลองซ้ำๆ จนสำเร็จ ..... หากเวลามีจำกัด ผมขอแนะนำให้ปรึกษา อาจารย์<br>ผศ.สุรพันธ์ ยิ้มมั่น ท่านสอนอยู่ที่ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ดูเหมือนว่าอยู่ภาควิชาฟิสิกส์และเครื่องมือวัด) ขณะนี้ศึกษาปริญญาเอกที่พระจอมเกล้าลาดกระบังทางไฟฟ้า (ท่านมีผลงานวิจัยด้านไมโครคอนโทรลเลอร์อยู่มาก) อ้อ... บอกว่าอาจารย์เจริญ ที่ราชภัฏอยุธยา แนะนำมา..... ไม่งัน..ปิ๋ว... (อ.เขาไม่คอยมีเวลาหรอกครับ ... แต่เราต้องตามเอาควมรู้ จึงต้องพยายามนะครับ อย่าถอยก่อนละ ... ส่วนผมนะอยู่ไกลไป...มีเวลาเข้า Internet ก็ช่วงนี้ที่ปิดเทอมนี้ละ) <br>....... 1. เมื่อโปรเจ็ค จะกลายเป็นเครื่องมือเทส - คาริเบส ให้กับองค์กรหรือบริษัทเอกชนต่างๆ ด้วยนั้น .. ยิ่งตอกยำว่าต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างแน่นอน <br>........ 2. ผมไม่รู้ว่าตัววัดความเข้มของแสงที่จะใช้ มีขั้วให้สัญญาณออกมาหรือไม่ (ถ้าโชว์แต่ตัวเลข .... ต้องหาซื้อใหม่แล้ว เพราะจะต่อพ่วงเอาสัญญาณออกมาเข้าคอมพิวเตอร์ไม่ได้ ) ... งานระดับนี้ต้องมีใบรับรองผ่านการสอบเทียบด้วยก็จะดีและเหมาะสมที่สุด เช่น ยี่ห้อ Fluk , HP เป็นต้น<br>........... 3. ก็ยังไม่ชัดว่า วัดความเข้มของแสงพระอาทิตย์ หรือแสงของหลอดไฟอย่างไร .. เพราะฟังดูว่ามีการเคลื่อนที่ด้วยแล้วเก็บข้อมูลเป็นองศา ... เอาแต่เป็นว่าค่า 32,000 ค่า เป็นส่วนที่เล็กน้อยเท่านั้น ถ้าคนมาจดก็คงหนักหนาสาหัด... แต่คอมพิวเตอร์รับค่ามาประมวลผล กับเป็นเรื่องเล็กน้อยเพราะสัญญาณไฟฟ้าและความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ไวกว่าคนทำงานมาก.. ลักษณะเช่นนี้เขาเรียกว่า ดาต้าล็อกเกอร์ ครับ ... พร้อมทั้งขอแนะนำเลยว่า มีชุดทดลอง ดาต้าล็อกเกอร์ขาย ... เป็นของ inex, ETT, Sila research และก็มีวงจรให้สร้างเองด้วย .. ฉบับย้อนหลัง ของ เซมิคอนดักเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ , Hobby อิเล็กทรอนิกส์ ต้องค้นหาดู .. ปกติที่ห้องสมุดเขาจะเย็บวารสาร ที่ผ่านๆ มารวมเล่มไว้ไปขอดูได้เลย ... หรือเข้าไปในเว็ปของ <a href="http://www.se-ed.com" Target="_BLANK">www.se-ed.com</a> แล้วลองหา idex ของวารสารเซมิคอนดักเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Hobby อิเล็กทรอนิกส์ ค้นดู .. จะได้รู้ว่าเล่มใด แล้วจึงไปเสาะหา ... ร้านขายหนังสือเก่า ตามแผงอาจยังมีขายให้ ... แต่ดีกว่านี้ คือ มีแผ่น CD รวมโครงงานของวารสารเซมิคอนอิเล็กทรอนิกส์ขายเลย ติดต่อซื้อได้ที่ บ.ซีเอ็ด ที่ดินแดง หรือตัวแทนจำหน่ายที่ บ.นัฐพงษ์ ที่ เซียร์รังสิต (ที่บ้านหม้อ ... ไม่เห็นวางขายแล้ว) แนะนำว่าต้องซื้อมาลองเขียนโปรแกรมทดสอบการทำงานเลยนะครับ ... จะได้มีความรู้และเข้าใจเพิ่มมากขึ้น... ขอย้ำ ว่าเป็นเช่นนี้จริงๆ ... (ราคาไม่แพงเลย)<br>........ 4. เซอร์โวมอเตอร์ อย่างที่แจ้งให้ทราบแต่ทีแรกแล้วว่ามีหลักการเช่นไร ... งานนี้ต้องสามารถเคลื่อนที่ได้ที่ละ 1 องศา ฟังดูเหมือนละเอียดมาก ... แต่ ก็ยังทำได้ไม่ยากเลยครับ .. แต่ต้องรู้ว่ามอเตอร์ทั้งสองตัวจะแบกน้ำหนักของตัวเองเท่าไร ... ตรงนี้สำคัญครับ เพราะเราจะได้เลือกกำลัง และเลือกชนิดของมอเตอร์ได้ถูกต้องเหมาะสม ... ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การเขียนโปรแกรมควบคุมที่ง่ายขึ้นมากครับ ... เช่น ถ้าแบกรับน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม ก็ใช้สเต็ปเปอร์มอเตอร์ก็พอ ..... และมีขายมากมายหลายขนาดไปเลือกซื้อที่ บ้านหม้อพล่าซ่าชั้นบนได้เลยครับ ....(แล้วเลือกซื้อแบบมีเกียร์ทดรอบด้วยนะ .. จะทำให้เข้าถึงระดับองศาได้ ) ราคาประมาณ 150 บาท ถึง 1,500 บาท <br>...... 5. Mode ถ้าคือวิธีการสั่งงานแล้วละก็ .... ไม่มีอะไรครับ ... เป็นเพียงแต่ควบคุมการทำงานให้มอเตอร์หมุน FORWARD และ REVERD ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ,การเปรียบเทียบที่กำหนด และการรับค่ามาจากเซนเซอร์ ระดับองศาที่ทำไว้ .... โดยเขียนโปรแกรมไว้คอยท่าแล้ว ... เมื่อถึงแต่ละองศา ก็สั่งรับค่าจากตัววัดความเข้มแสงเข้ามา (เป็นสัญญาญข้อมูล ไฟฟ้าแบบดิจิตอลก็จะง่ายมาก .. หรือถ้าเป็นสัญญาณข้อมูลไฟฟ้าแบบอนาล็อก [แรงดัน] ก็ต้องใช้วงจรชิปไอซีแปลงแบบ A/D Converter ... เพราะคอมพิวเตอร์เราทำงานแบบดิจิตอล .. รวมทั้งโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ด้วยนะครับ) ส่วนการจ่ายไฟให้มอเตอร์หมุนนั้น .. ก็ต้องดูว่าเป็น DC มอเตอร์ธรรมดา หรือว่าเป็น สเต็ปเปอร์มอเตอร์ ..ถ้าเป็นมอเตอร์ DC ธรรมดา ก็ใช้รีเลย์เป็นสวิทปิดเปิดก็ได้ (ดีกว่านี้เป็นทรานซิสเอร์ หรือ ทรานซีสเตอร์แบบมอสเฟ็ต หรือสวิทอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูปที่มีขายอยู้แล้วก็ดีครับ) ... แต่ถ้าเป็น สเต็ปเปอร์มอเตอร์ จะต้องมีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมการทำงานให้หมุนครับ ... ในวารสารที่บอกไปนั้นก็มีให้ลองทำใช้งานครับ (และมีขายเป็นชุดสำเร็จ [ชุดคิดของฟิวเจอร์-ชุดขับสเต็ปปิ่งมอเตอร์ ] ซื้อได้ที่ EPS ทั้งสามสาขา ในบ้านหม้อครับ ..( ต้องดูด้วยว่ามอเตอร์ที่ซื้อมามีสายไฟออกมากี่เส้น )<br>........ 6. การเก็บบันทึกข้อมูลแบบนี้เรียกว่า ดาต้าล็อกเกอร์ ครับ... เข้ามีขายเป็นเครื่องมือ มาเรียบร้อยแล้ว ( ของ Fluk, HP, โยโกกาว่า และอีกหลายยี่ห้อ ก็มีขายครับ .. แต่ราคาเป็นแสนบาท เลยครับ.. นี้เฉพาะตัวดาต้าล็อกเกอร์นะครับ .. ถ้าซื้อมายังต้องมาแปลงเข้ากับงานนี้อีกอยู่ดี... แต่จะสำคัญกว่า .. และที่สุด ถ้าเราได้คิดและทำด้วยความสามารถที่มีของเรา )<br>..... 7 . ตัวแอมปลิไฟล์ ความหมายคงคือ ขยายสัญญาณ อาจจะเป็นขยายสัญญาณจากตัวเซนเซอร์แสงมายังคอมพิวเตอร์ .. ถ้าเป็นแบบนี้ละก็ .. ต้องดูก่อนว่าไกลกว่า 5 เมตร ไหม... ไม่ไกลก็ไม่ต้องใช้ ... แต่ถ้าจะใช้ ก็ทำเองได้ไม่อยากหรอกครับ .. (สัญญาณดิจิตอลนี้ขยายง่ายมาก .. ใช้ชิปไอซี 1-2 ตัว หรือจะมากกว่าก็แล้วแต่การออกแบบวงจร และรูปแบบการส่งข้อมูลว่าเป็นแบบขนาน หรือแบบอนุกรม กี่บิต)<br>........ แต่ถ้าหมายถึงส่วนขับเคลื่อนมอเตอร์กำลังแล้วละก็ .. ก็อย่างที่บอกผ่านมา .. ทำได้อีกเหมือนกัน และยังมีชุดสำเร็จขายอีกด้วย<br>..............( ชักเหนื่อยแล้ว ) ... เห็นว่าตั้งใจจะทำ ก็ส่งเสริมให้ได้คิดและลงมือทำได้เลยครับ ... ทำแบบลองที่ละส่วนๆ จะได้เข้าใจ แล้วจึง ไปทำของจริง .. ต้องเริ่มแบบนี้ครับ ถ้าคิดว่ายังไม่รู้อะไรเลย..
ความคิดเห็นที่ 12
ยะ
24/09/2549
18:07 น.
คับขอบคุณคับ อาจารย์เจริญ (พี่ JJ) กับข้อแนะนำต่างๆที่ได้แนะนำมา ผมและกลุ่มเพื่อนโปรเจคจะนำความรู้ที่ได้จากพี่นี้ไปสานต่อให้สำเร็จให้จนได้คับ ตอนนี้ผมก็คงยังไม่มีคำถามอะไร ขอผมและกลุ่มเพื่อนโปรเจคไปหาทางแก้โจทย์ที่พี่ให้มาก่อนละกันนะคับ ถ้าพวกผมมีข้อส่งสัยอะไรก็จะเข้ามาขอคำปรึกษาและขอคำแนะนำจากพี่อีกนะคับ ขอบคุณคับ พี่คับจะรบกวนไหมถ้าผมอยากจะขอ mail พี่หรือเบอร์ติดต่อที่พี่สะดวกจะให้ได้ ถ้ารบกวนก็ไม่เป็นไรคับ อันนี้ mail ผมนะคับ <a href="mailto:piya_power@hotmail.com" Target="_BLANK">piya_power@hotmail.com</a> (เอาไปแจกให้ลูกศิษย์ที่น่ารักๆแถว ราชภัฏอยุธยา มั้งก็ได้นะคับ ) โอเคคับยังไงผมก็ต้องขอขอบคุณพี่มากๆอีกครั้งหละคับ เดี๋ยวถ้าติดอะไรยังไงน้องคนนี้จะมาขอรบกวนพี่คนนี้เป็นระยะๆนะคับ อุ้ยไม่ซิตลอดเวลาเลยดีกว่า
ความคิดเห็นที่ 13
JJ
24/09/2549
18:44 น.
... แหม!.... mail เนี่ยมักแจกแต่สาวๆ .... เอ้า! .... แต่ไม่เป็นไรเพื่อการศึกษา <a href="mailto:Charoen_jan@yahoo.co.th" Target="_BLANK">Charoen_jan@yahoo.co.th</a><br>... ยิ่งเบอร์โทร ..สายแทบไม่ว่าง .. 0863921419
ความคิดเห็นที่ 14
ยะ
26/09/2549
18:11 น.
ขอบคุณคับ ช่วงนี้ผมอาจจะรบกวนพี่น้อยลงนะคับ กำลังเตรียมตัวสอบนะคับ
ความคิดเห็นที่ 15
บอย
17/10/2549
01:46 น.
อาจารย์เจริญ ผมเป็นนักศึกษาคนหนึ่งที่ได้อ่านความรู้ของ อาจารย์ที่ได้ถ่ายทอดแก่ลูกศิษย์ ที่ได้มาอ่าน ผมเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกทึ่งกับสิ่งที่อาจารย์ได้ให้มา ผมคนนึงที่ขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์เป็นอย่างมากเลยครับ ขอให้อาจารย์ เจริญ สมชื่อ นะครับ เมคคาทรอนิกส์ปทุมวัน
ความคิดเห็นทั้งหมด 21 รายการ | 1  2    »
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
22 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD