08/09/2549 20:14 น. |
อะไรคือตัวบอก ว่า เป็น High speed ครับ <br>ขอ ความรู้ ด้วยครับ เห็น คุยกัน จัง |
08/09/2549 21:05 น. |
็High Speed ที่เขาพูถึงกันนี้ มาจากคำว่า High Speed Machining หมายถึงการแปรรูปที่มีการกำจัดเศษได้รวดเร็ว<br><br>ซึ่งปกติ มักจะเป็นการถกกันในเรื่องเกี่ยวกับ งานกัด Milling มากกว่า <br>เพราะ หากพิจารณา การแปรรูปที่กำจัดเศษได้เร็วแล้ว งานกลึง จะสามารถนำเนื้อโลหะออกได้รวดเร็ว กว่างานกัดมิลลิ่ง <br> <br>ซึ่งการทำงานแบบ High Speed ในงาน Milling นั้น มักจะเป็นการกัดเนื้อโลหะน้อยๆ แต่มีจำนวนครั้งมากๆ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยน เพลาคอเครื่อง ( Spindle) มอเตอร์ขับ ( Spindle Motor ) ระบบราง และการขับเคลื่อน ( Silde way, Guide) ให้สามารถรวดเร็วและสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง รวมถึงส่วนควบคุมสั่งการ ( control ) <br><br>หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ระหว่าง แบบปกติ กับ แบบ High Speed ขออธิบายด้วยการโค่น ต้นไม้ใหญ่ สักต้นหนึ่ง คือ <br>หากต้องการล้มต้นไม้ใหญ่ อุปกรณ์ที่ใช้ได้ มีตั้งแต่ มีด, ขวาน, เลื่อยมือ, เลื่อยชัก ซึ่งโดยปกติ มักจะใช้ เลื่อยชัก (ที่ใช้สองคนช่วยกัน) ซึ่งก็จะเร็วกว่า เลื่อยมือ ขวาน และมีด ลดลงไป <br>เอาละ เมื่อจะให้เร็วขึ้น เขาก็เปลี่ยนไปเป็น เลื่อยโซ่ ที่เป็นเลื่อยยนต์ ( เหมือนหนังฝรั่งประเภทหวาดเสียวเอามาเล่น) ก็จะทำให้การโค่นต้นไม้นั้นเร็วขึ้น <br>เปรียเทียบก็คือ<br>เลื่อยยนต์ = High Speed Machining<br>เลื่อยชัก = Machining Center <br>ขวาน = NC Milling / CNC Milling <br>มีด = Manual Milling <br><br>พอมองเห็นภาพไหม ? <br>ที่เหลือ เป็นเรื่องของประสิทธิภาพ และคุณภาพ ของแต่ละผู้ผลิต แต่ละยี่ห้อ ซึ่งอาจแตกต่างกัน หรือ เหมือนกัน ก็เป็นได้ |
08/09/2549 21:10 น. |
แล้วที่ ว่า high speed แท้ กับ ไม่ แท้ เป็น ยัง ไง และ อย่างไร ครับ |
09/09/2549 00:05 น. |
high speed แท้ แบบที่โชว์ตามงานนะเขาบอกว่ามันจะกัดงานแบบกินน้อยๆๆแต่ด้วยดอกที่ไม่ใหญ่ทำตามคำสั่งจากแคมด้วยความเร็วในการกัดที่สูงการส่งข้อมูลระหว่างคอนโทรลกับคอม ดีเอ็นซี ก้อมักส่งข้ลมูลแบบ แลนหรือ บูทุชไอ้แบบที่มันไวกว่า9600อ่ะนะ ประมานนี้แหละ |
09/09/2549 00:25 น. |
เร็วกว่า ได้ เท่าไหร่ เหรอ ครับ |
09/09/2549 02:08 น. |
ก้อประมาณที่พี่สืบบอกอ่ะคุณลองไปโค่นต้นไม้ดูสักต้น2ต้นแล้วหาค่าเปรียบเทียบเอานะ |
09/09/2549 02:11 น. |
ไม่เกณฑ์ มาตราฐานเหรอครับ |
09/09/2549 09:16 น. |
เกณฑ์ มาตราฐานก็ขึ้นอยู่กับ รุ่น และยี่ห้อที่ใช้ ฮะ |
09/09/2549 19:20 น. |
การเปรียบเทียบเกณฑ์ ของ High Speed นั้น ปกติไม่มีเกณฑ์มาตรฐานกำหนดไว้ เนื่องจากการพัฒนาของเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือตัด และอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบร่วม มีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น <br><br>1. Spindle Motor เดิมเปิดได้สูงสุด 8000 รอบ แต่กัดงานจริงบอกให้เปิด 4,500 รอบ พวกร้องจ๊าก ปัจจุบันบางเครื่องทำได้มากกว่า 40,000 รอบ หรือ เป็นแสนรอบ <br><br>2. เมื่อรอบกัดสูง ค่า Feed Rate ย่อมต้องสูงตาม เช่น เปิดรอบกัด 12,000 รอบ Feed = 0.01 mm/ฟัน ค่า Feed ปาเข้าไป 240 mm/min <br><br>3. ดอกกัด จากเดิมที่เป็น High Speed หรือ HSCo. พัฒนาเป็นดอก คาร์ไบด์ คาร์ไบด์เคลือบ TiN, TiAlN ไปจนถึงเคลือบ Diamond ในปัจจุบัน ทำให้ค่าความเร็วตัด ของดอกกัด เพิ่มขึ้น จาก Vc = 35 mm ของ ดอก High Speed ไปเป็น Vc = 250 ของดอกเคลือบ Diamond หรือ Vc = 150 ของ คาร์ไบด์เคลือบ <br>ก็ลองคำนวณรอบที่จะใช้ดูสิ สูตร (1000 x Vc) / ( 3.14 x d ) เป็นรอบที่จะต้องใช้ สามารถลดได้ไม่ต่ำกว่า 60 % ของที่คำนวนได้ <br>3. เมื่อมีการกัดด้วย feed ที่เร็ว เครื่องจึงต้องมีระบบการเร่ง และหน่วง ดังนั้น เครื่องที่เป็น High Speed จึงต้องมีค่า Acceleration, Deceleration ( อัตราเร่ง/อัตราหน่วง) เพื่อบอกให้รู้ว่า ทำได้รวดเร็วปานใด ( เหมือนแข่งรถ เครื่อง+เกียร ใครทำได้ดีกว่ากัน และเบรคด้วย ไม่งั้นชนบรรลัย ) <br><br>4. และเมื่อเครื่องมัน Feed เร็วขนาดนั้น Control ของเครื่อง จึงต้องมีการมองหรือ คำนวนทางเดินล่วงหน้า นั้นคือ ค่า look a head block ซึ่ง เครื่องปกติ คำนวนล่วงหน้า 3 Blockเท่านั้น แต่ High Speed ค่าที่เดินมีด บางช่วง สั้นเพียง 1 ไมครอน <br><br>5. เมื่อมี Look a Head จำเป็นจะต้องมีค่าความละเอียดต่ำสุด ที่สามารถป้อนให้ มอเตอร์ขับเคลือน + บอลสกรู สามารถทำให้เคลื่อนที เพราะหากค่า Increment สามารถรับได้น้อยเท่าใด ทางเดินของ Tool ย่อมละเอียดมากขึ้นเท่านั้น จะทำให้เรามองเห็นลายของเส้น แต่เอามือลูบแล้วไม่เป็นคลื่น หรือ เป็นหยักๆ ขั้นๆ <br><br>6. พอเครื่องมันเคลื่อนที่เร็ว มีแรงหน่วงสูง รอบสูง จึงต้องมีการออกแบบโครงสร้างเครื่องให้มีความสเถียร ไม่งั้นมันวิ่งได้ ( เคยเห็นเครื่องเดินเองออกจากที่วางครั้งแรกไหม มันเดินได้จริงนะ ถ้ายึดไม่ถูกวิธี) หรือไม่ก็ควบคุมความละเอียดได้ยาก การออกแบบบางยี่ห้อ จึงลดการเคลื่อนที่ของชิ้นงาน โดยให้หัวกัดเคลื่อนที่แทน <br> <br>ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีก ไว้ถามมาใหม่นะ ละก็ไม่ต้องลองไปโค่นต้นไม้ ด้วย มีด หรอก มันนานเกิน แต่ถ้าแบกเลือยยนต์ไป ก็เตรียมตัวเข้าคุกได้ <br><br> |
11/09/2549 09:34 น. |
สรุปก็คือ งานออกมารวดเร็วที่สุด ผิวงานพอใช้ได้ และลดขั้นตอน ของงาน EDM ใช่ไหมครับ |
11/09/2549 09:43 น. |
ปัจจุบัน spindle ทำความเร็วรอบได้ถึง 120000 - 200000 rpm แล้วครับ ใช้ลมเป็นตัวขับ ไม่ใช่ตัวต่อเพิ่มนะครับ spindle แท้ๆๆเลย เป็นของญี่ปุ่นยี่ห้อหนึ่ง แต่อย่าลืมนะครับความเร็วยิ่งมากยิ่งไม่มีกำลังในการกัดงาน เพราะเทคโนโลยี่ spindle จะมีเรื่อง P-LOAD มาเกี่ยวข้อด้วย เวลาspindle หมุนรอบสูงจะมีความเที่ยงตรงสูงเพราะความร้องขยายตัว แต่เวลาวิ่งรอบต่ำไม่เกิดความร้อนความเที่ยงตรงก็จะต่ำ พูดง่ายๆๆ เครื่องที่มีความเร็วมากๆๆจะกัดงานในรอบต่ำไม่ได้ ครับ |
11/09/2549 15:24 น. |
เครื่อง High Speed ในตอนแรกของการ Present เข้าสู่ตลาด เป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่าง Cutting Tools กับ Machine Tool เนื่องจากทาง Cutting Tools สามารถผลิต Tool ที่ดีได้ ตามการพัฒนาของ Spindle Motor ที่จะมาใส่ในหัวเครื่อง <br><br>ในการนำเสนอ แรกๆ ก็เพื่อลดขั้นตอนการ EDM ตามที่คุณสุรศักดิ์ สรุปนั่นละครับ เพราะเนื่องจากในงาน แม่พิมพ์ (Tool & Die ) <br>เรามีปัญหาประการหนึ่งคือ <br>ชิ้นงานที่ขึ้นรูปแล้ว และนำไปชุบแข็ง เกิดการบิดตัว หรือ เปลี่ยนแปลงขนาด รวมไปถึงขั้นตอนที่ช้า ในขบวนการ EDM เพราะการทำ Mirror Finish ของ EDM หรือ แม้แต่การสปาร์คหยาบ ก็มีอัตราการขจัดวัสดุ (Removeable Rate) เนื้องานออกทำได้น้อยกว่าการกัดมิลลิ่ง <br>ดังนั้น เขาจึงเปลี่ยนเป็นการนำ โลหะไปชุบแข็งเสียก่อน แล้วค่อยมาทำการกัดมิลลิ่ง เมื่อเป็นดังนี้ จึงต้องการดอกกัด ที่สามารถกัดงาน<br>โลหะชุบแข็งได้ <br>และก็พัฒนาเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตอนนี้ก็ไปไกล อย่างที่ว่า เป็นแสนรอบแล้ว |
12/09/2549 10:24 น. |
ตามที่พี่สืบศักดิ์ได้แนะนำ ผมขอเพิ่มเติมยกตัวอย่าง สมัยก่อนงานปั้มขึ้นรูปโลหะหนักเช่นงานข้อเหวียงต้องนำโมลไปกัดก่อนแล้วจึงนำมาชุปแข็งแล้วจึงนำมาEDMเป็นขั้นตอนสุดท้าย ปํญหาที่เกิดขึ้นกับโมล ก็คือโมลจะเกิดแคกตามผิวโมลเพราะความร้อนสะสมที่เกิดที่ผิวงานจะทำให้เกิดร้อยแต่ตามผิวทำให้โมลมีความแข็งแรงน้อยลง แต่เทคโนโลยี่High Speed ทำให้เรากัดเหล็กที่ชุปแข็งแล้วได้<br>ไม่เกิดความร้อนสะสมในผิวของชิ้นงาน สามารถยืดอายุของแม่พิมปั้มโลหะหนัก ตามหลักการที่ว่าCNC กินน้อยแต่วิ่งเร็วขับความร้อนไปที่เศษ Tool และ ชิ้นงานต้องไม่เกิดความร้อนจนเกินไป |
12/09/2549 18:31 น. |
ขอบคุณทุกท่านแทน webmaster ครับ ที่ช่วยกันเพิ่มเติมความรู้ให้ท่านอื่นๆต่อไป <br> |
12/09/2549 18:39 น. |
ไม่ทราบว่า มี เอกสาร หรือ หนังสือที่เป็น เอกสารสำหรับ อ้างอิงได้ มั๊ย ครับ ทั้ง ไทยและเทศ ก็ได้ ครับ ที่ไหน มี ครับ ผม หาทั่ว ละไม่มี เลย <br>รบกวนด้วยครับ <br>เพราะเท่าคุณ กัน ส่วน ใหญ่ จาก คำโฆษณาและ ประสบการณ์ ของทุกท่าน ครับ <br>ขอบคุณ ครับ |
12/09/2549 18:57 น. |
"a" อ่านจากที่นี่ได้ คลิ๊ก ตามลิ้งค์ อ่านไปเรื่อยๆ นะ <br><br><a href="http://www.mmsonline.com/hsm/hsmevent/aspace.html" Target="_BLANK">http://www.mmsonline.com/hsm/hsmevent/aspace.html</a><br><br>หรือ <br><a href="http://widget.ecn.purdue.edu/~simlink/lab_high.html" Target="_BLANK">http://widget.ecn.purdue.edu/~simlink/lab_high.html</a><br><br>หรือ ที่นี่ก็มีนิดหน่อย <br><a href="http://www.mikron-ac.com/go.cfm/p/210/l/e.cfm" Target="_BLANK">http://www.mikron-ac.com/go.cfm/p/210/l/e.cfm</a><br><br>ภาษาไทย เคยช่วย Sandvik ทำเป็นไทย เมื่อหลายปีก่อน ถามหาจาก Sale ของ Sandvik ดู อยู่ในส่วนหน้าของเล่ม Mold & Die และเล่มขาว จำปีไม่ได้ครับ ของผมหายหมดแล้ว <br><br><br> |