30/08/2549 22:02 น. |
พอดีได้อ่านหนังสือพบว่า การเซตค่าโอเวอร์โหลดควรจะเซตที่ 125 เปอร์เซนต์ของกระแสพิกัดมอเตอร์ เหมือนกับกระทู้ก่อนหน้านี้ ที่มีคนตอบเอาไว้ พอดีอยากถามว่าพอจะมีผู้รู้ท่านใดอธิบายถึงที่มาของ ค่ากำหนดนี้ได้หรือไม่ เพราะดูเหมือนว่าต้องรอให้มอเตอร์ทำงานเกินตั้ง 25 เปอร์เซนต์ถึงโอเวอร์โหลดจะทำงาน ขอบคุณล่วงหน้าครับ |
31/08/2549 13:31 น. |
เครื่องป้องกันโหลดเกินที่มีใช้งานทั่วไปเป็นชนิดติดตั้งแยกต่างหากจากตัวมอเตอร์และทำงานสัมพันธ์กับกระแสของมอเตอร์ การปรับตั้งกำหนดเป็นร้อยละของพิกัดกระแสโหลดเต็มที่ของมอเตอร์ มอเตอร์ทั่วไปจะปรับตั้งที่ร้อยละ 115 ของกระแสโหลดเต็มที่ สำหรับมอเตอร์ที่ระบุเซอร์วิสแฟกเตอร์ไม่น้อยกว่า 1.15 และมอเตอร์ที่ระบุอุณหภูมิเพิ่มขึ้นไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส ปรับตั้งร้อยละ 125 บางกรณีที่เครื่องป้องกันโหลดเกินปลดวงจรจากกระแสเริ่มเดินมอเตอร์ กรณีนี้ยอมให้ปรับค่าสูงขึ้นได้อีกแต่ไม่เกินร้อยละ 130 และ 140 ตามลำดับ<br><br>ที่มา: หนังสือของอาจารย์ ลือชัย ทองนิล |
31/08/2549 22:56 น. |
ขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ โดยปกติโอเวอร์โหลดที่เป็นแบบเทอร์มอล( ใช้แผ่นความร้อนในการทริปวงจรออก) จะแบ่งออกเป็นคลาสๆได้ 3 คลาส คือ คลาส 10, 20 , 30 แต่ละคลาส จะต่างกันที่ เวลาทริปที่กระแส 7.2 เท่าของกระแสที่ตั้ง เช่น คลาส 10 ก็จะหมายถึง โอเวอร์โหลดคลาสนี้จะทริปภายในเวลา 10 วินาที ที่กระแสไหลผ่าน โอเวอร์โหลด 7.2 เท่าของกระแสที่เซต ถ้าเราเซตค่ากระแสไว้ 100 แอมป์ โอเวอร์โหลดก็จะทริป ภายใน 10 วินาที่ ที่กระแส 7.2x100= 720 แอมป์ไหลผ่าน และในทำนองเดียวกัน คลาส 20 , 30 เวลาก็จะเป็น 20 และ 30 วินาทีตามลำดับ เวลาที่ใช้ในการทริป กับค่ากระแสทริปของโอเวอร์โหลดไม่เป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนเท่าที่กระแสไหลผ่าน โอเวอร์โหลดจะไม่ทริปที่กระแส ไหลผ่าน 1.05 เท่า แต่จะเริ่มทริป ที่กระแสไหลผ่าน 1.2 เท่าของกระแสที่เซต โดยจะทริปภายใน 2 ช.ม แต่เมื่อดูจาก กราฟแสดงคุณสมบัติ (Curve ) แล้ว จะเป็นจุดที่อาจจะทริปหรือไม่ทริปก็ได้ ( ฉะนั้นจากความเข้าใจควรจะต้องเซตไว้ 1.25 เท่าถึงทำให้มีการทริปที่แน่นอนแต่คงบอกไม่ได้ว่าจะทริปที่เวลาเท่าไหร่ เพราะในขณะที่ 1.2 เท่าต้องใช้เวลา 2 ช.มหรือมากกว่า แต่ถ้าเป็น 1.5 เท่าจะใช้เวลาไม่เกิน 4 นาที่สำหรับโอเวอร์โหลดคลาส 10 ) จากคุณสมบัติของโอเวอร์โหลดข้างต้น ถ้าเราสมมุติว่า มีมอเตอร์ตัวหนึ่งขับโหลดที่ฟูลโหลด มีค่า 100 แอมป์ กรณีแรกเราเซตกระแสทริปเป็น 1.15 เท่าของกระแสพิกัดมอเตอร์ ฉะนั้นเราต้องเซตโอเวอร์โหลดที่ 1.15X 100 = 115 แอมป์ และจากเงื่อนไขการทำงานของโอเวอร์โหลด ซึ่งจะเริ่มทำงานที่ 1.2 เท่าของกระแสที่เซตซึ่งก็จะมีค่าเท่ากับ 115 x 1.2 = 138 แอมป์ หรือเพื่อความแน่นอนของการทริป กระแสต้องมากจนไปถึง 1.25 ก็จะมีค่าเท่ากับ 115 x 1.25 = 144 แอมป์ ซึ่งจะทริปเมื่อไหร่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ( อยู่ระหว่าง 2 ช.ม กับ 4 นาที ) ซึ่งเห็นได้ว่ามอเตอร์ต้องมีการโอเวอร์โหลดไปเกือบ 44 เปอร์เซ็นต์ ตัวโอเวอร์โหลดถึงจะทำงาน และจะยิ่งเลวร้ายเข้าไปอีกถ้าเราจะเซตไว้ที่ 1.25 ของกระแสพิกัด เพราะจะเท่ากับโอเวอร์โหลดจะทริปชัวร์ที่ 100 x1.25 x1.25 = 156 แอมป์ ซึ่งมอเตอร์ต้องทำงานโอเวอร์โหลดไปถึง 56 เปอร์เซ็นต์ จากเหตุผมดังกล่าว ผมจึงมักแนะนำให้เซตไว้ที่ กระแสพิกัด หรือ 1 เท่าเพราะมอเตอร์จะได้โอเวอร์โหลดแค่ 100 x1.25 = 125 แอมป์ หรือมอเตอร์โอเวอร์โหลดแค่ 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ด้วยว่ามอเตอร์ส่วนมากจะมี SF. อยู่ที่ 1.15 และอุณหภูมิใช้งานบ้านเราจะต่ำกว่า Ambient Temp ที่กำหนดอ้างอิง อยู่ประมาณ 10 องศา ( อุณหภูมิใช้งาน 30 องศา อุณหภูมิอ้างอิง 40 องศา ) ซึ่งทำให้มีการชดเชยกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นเนื่องจากกระแสที่สูงขึ้นอีก 10 องศา จึงมีผลทำให้อุณหภูมิของขดลวดอยู่ในสภาวะทำงานที่ใช้แค่ Service Factor ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีค่ามากกว่าอุณหภูมิในสภาวะขับโหลดที่พิกัด ซึ่งจะทำให้ต้องแลกกับอายุฉนวนของมอเตอร์ครึ่งหนึ่ง ( ทุกๆ 10 องศาที่อุณหภูมิใช้งานเพิ่มขึ้นอายุฉนวนจะลดลงครึ่งหนึ่ง ) อุณหภูมิที่กล่าวมาเป็นค่าที่เกิดจากมอเตอร์มีการระบายความร้อนในสภาวะปกติ ( มอเตอร์ใหม่ ) ถ้ามอเตอร์มีฝุ่นจับ หรือมีสิ่งสกปรกต่างๆที่ขัดขวางการระบายความร้อน เนื่องจากการใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่ามอเตอร์จะคงต้องมีอุณหภูมิสูงขึ้นไปอีกทั้งๆที่กระแสไม่สูง อายุของฉนวนก็จะยิ่งลดลงไปอีก สรุปว่าจากกระทู้ที่ถามมา ก็ไม่แน่ใจว่า การเซตค่าโอเวอร์โหลดที่ 1.25 ของกระแสพิกัด กับโอเวอร์โหลดเริ่มทำงาน ที่ค่า 1.25 ของกระแสที่เซต จะเป็นตัวเลขเดียวกันหรือเปล่า แต่จะเห็นว่าความหมายต่างกันเยอะมาก หมายเหตุ ผมไม่รู้ว่าเกิดความผิดพลาดในการพิมพ์ หรือผมเองเข้าใจผิด เพราะจากหนังสือที่คุณคำตอบที่ 1 ใช้อ้างอิง ประโยคที่ว่า มอเตอร์ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นจากการใช้งานไม่เกิน 40 องศา ผมคิดว่าตัวเลข 40 อาจจะเกิดการผิดพลาด เพราะมอเตอร์ที่มีขายในท้องตลาด ณ. ปัจจุบัน จะเป็นมอเตอร์ ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นจากการใช้งานไม่เกิน 80 องศา ( Temp rise class B ) แต่ข้อความที่คุณคำตอบที่ 1 คัดมาไม่ผิดแน่นอนเพราะผมเองก็เคยเห็น อย่างไรแล้วถ้าผมเข้าใจผิดขอให้ท่านผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยนะครับ และต้องขอโทษคำตอบที่ 1 อย่างแรงที่กล่าวพลาดพิงความคิดเห็น |
03/09/2549 11:08 น. |
ขอบคุณครับ สำหรับคำตอบของคุณเล็ก และช่างซ่อมมอเตอร์ แต่อยากถาม ช่างซ่อมมอเตอร์ ต่อว่า ดูเหมือนจะบอกว่า มอเตอร์กินกระแสเท่าเนมเพลท และ เซตโอเวอร์โหลด เท่ากระแสเนมเพลท มอเตอร์ก็จะทำงานเกินกำลังอยู่แล้ว แต่การเซตเท่ากระแสที่เนมเพลท ไม่รู้ว่า จะทริปในขณะสตาร์ทหรือไม่ และถ้ามอเตอร์ไม่ได้กินกระแสเท่าเนมเพลท ยังต้องเซตเท่ากระแสเนทเพลทด้วยหรือเปล่า<br>ขอบคุณมากครับ |
04/09/2549 22:15 น. |
เมื่อดูจากกราฟ ของโอเวอร์โหลดคลาส 10 ซึ่งจะมีเวลาอย่างน้อย 4 วินาทีที่ยอมให้กระแส 7.2 เท่าของกระแสมอเตอร์ไหลผ่าน ในการสตาร์ทมอเตอร์จริงจะใช้เวลาในการสตาร์ทที่ทำให้กระแสพุ่งขึ้นไป 6-8 เท่าน้อยมาก ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าจะทริป หรือถ้าทริปก็ควรที่จะเลือกโอเวอร์โหลดที่มีคลาสสูงกว่า เพราะการปรับค่าเซตโอเวอร์โหลดให้มีค่ามากขึ้นก็เท่ากับเป็นการยอมให้มอเตอร์ทำงานหนักขึ้นซึ่งจะส่งผลให้มอเตอร์เกิดความเสียหาย ในแบบค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งความเสียหายมากพอจนทำให้เกิดการช๊อตวงจร <br><br>ส่วนคำถามที่ถามว่าถ้ามอเตอร์ทำงานไม่เต็มพิกัดจะเซตโอเวอร์โหลดอย่างไร คำตอบคือ ต้องดูจุดประสงค์ของการใช้งานโอเวอร์โหลด ถ้าเราต้องการป้องกันมอเตอร์อย่างเดียวการเซตไว้ที่กระแสพิกัดก็ถือว่า โอเค แต่ถ้าต้องการดูความผิดปกติของโหลดที่เกิดขึ้นและตัดวงจรออกอย่างรวดเร็วเพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ก็ต้องเซตค่าโอเวอร์โหลดตามค่ากระแสที่ใช้งานจริง |
17/12/2550 22:44 น. |
ผมเพิ่งมาเห็นคำถามและคำตอบ ไม่ทราบว่าช้าไปหรือเปล่า อยากเรียนว่า มอเตอร์ที่มีอุณภูมิสูงขึ้นไม่เกิน 40 องศาซลเซียส นั้นเป็นไปตามมาตฐาน NEC Article 430-32 และมาตรฐานของ วสท. ข้อ 6.3.12 ซึ่งอาจเป็นแบบที่บ้านเราหายาก |
20/07/2551 11:18 น. |
เง็งมากอ่ะ |
22/07/2551 16:14 น. |
ตอบได้ดีคร้าบ |
20/08/2552 20:54 น. |
อยากทราบว่ามีโอเวอร์โหลด แบบดิจิตอลบ้างหรือยังครับ<br>แบบว่าเมื่อ กระแสเกินพิกัดที่เซตไว้ก็อารามหรือเกิดเสียงดังขึ้นอะครับไม่ทราบจริงๆครับอยากรู้ |
23/01/2553 14:18 น. |
ถาม ว่า มอเตอร์ มีพิกัด FLA=40 A นั้น ควรเลือก พิกัดโอเวอร์ตั้งแต่ กี่แอมป์ ถึงกี่แอมป์ และมีสูตรคำนวณอย่างไร (เอาทั้ง 2แบบนะคือ มอเตอร์แบบ สตาร์-เดลต้า และอีกแบบคือ Drilec online อย่ามั่วตอบนะมันบาป การให้ความรู้เป็นทานนั้น 1 อย่าง เปรียบได้ว่าท่านสร้างบุญ 10 ชาติ อนุโมทนาบุญ |
18/03/2564 09:16 น. |
คลิปอธิบายการปรับตั้งโอเวอร์โหลด |