Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,270
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,545
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,855
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,822
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,282
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,345
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,313
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,693
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,715
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,157
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,084
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,303
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,745
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,508
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,517
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,382
17 Industrial Provision co., ltd 40,461
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,113
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,042
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,375
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,274
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,628
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,054
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,844
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,276
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,293
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,662
28 AVERA CO., LTD. 23,405
29 เลิศบุศย์ 22,364
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,125
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,028
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,685
33 แมชชีนเทค 20,638
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,867
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,851
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,642
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,282
38 SAMWHA THAILAND 19,122
39 วอยก้า จำกัด 18,848
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,348
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,155
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,081
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,029
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,023
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,924
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,916
47 Systems integrator 17,464
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,438
49 Advanced Technology Equipment 17,244
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,234
17/08/2549 19:45 น. , อ่าน 2,695 ครั้ง
Bookmark and Share
สลิปริง มอเตอร์ 480 กิโลวัตต์มีปัญหาโรเตอร์
กี้
17/08/2549
19:45 น.
มีสลิปริงมอเตอร์ 480 กิโลวัตต์ V1 380 โวลท์ V2 750 โวลท์ โรเตอร์เกิดระเบิด เอาไปซ่อม เอากลับใช้งาน ใช้งานได้ประมาณ 4 เดือน โรเตอร์เกิดระเบิดอีก ถอดเอาไปซ่อมอีก แล้วเอาตัวสแปร์ขึ้นแทน ใช้งานได้วันเดียวเอง โรเตอร์ระเบิดอีก ก้อเลยต้องหยุด ลายน์ผลิต เอามอเตอร์ไปซ่อมทั้งสองตัว พอซ่อมมอเตอร์ตัวเเรกเสร็จ เอามาติดตั้ง ใช้งาน ได้ สองอาทิตย์ โรเตอร์ระเบิดอีก ตัวสแปร์ก้อยังซ่อมไม่เสร็จ ก้อเลยต้องหยุดลายน์ผลิตอีก ความเสียหายที่เกิดจะเหมือนกันทุกครั้ง คือจะระเบิดตอนสตาร์ทมอเตอร์ทุกครั้ง ทั้งสองตัว แล้วจะมีรอยอาร์ก อย่างรุนแรง ที่น๊อตขั้วสายไฟที่ออกจากซองถ่านทั้งสามเฟส ( หมายสายไฟที่ต่อมาจากเทอร์มินอท K L M กับ ซองถ่าน ) เหมือนกับอาร์กซ๊อตเข้าหากันทั้งสามเฟส ที่บริเวณน๊อตเพราะน๊อคตัวผู้กับตัวเมียละลายหลอมติดกัน หัวน๊อคตัวผู้ก็ละลาย แต่หางปลาสายไปกลับไม่เป็นอะไรเลย แปรงถ่านเป็นแปรงถ่านใหม่ ทุกครั้งที่ซ่อมมา สายแปรงถ่านไหม้ แปรงถ่านกับสลิปริง ก็มีรอยอาร์ก จะมีอาการและสภาพอย่างนี้ทุกครั้ง <br> <br> ช่างเขาบอกว่า รีซิสแตนซ์ สตาร์ท มีปัญหา เมกต่ำ มาก แต่ไม่ถึงกับลงกราวด์ <br> ค่าความต้านทาน ที่จังหวะแรก ประมาณ สองโอห์มกว่าๆ วัดที่ปลายระหว่างเฟส ค่าประมาณขนาดนี้เหมาะสมหรือปล่าวครับ มีวิธีคำนวนปล่าวว่า ควรใช้เท่าไร
ความคิดเห็นทั้งหมด 7 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
กี้
17/08/2549
19:55 น.
ลืมบอกไปว่า ขดลวดที่โรเตอร์ จะมีรอยระเบิด ที่บริเวณ ลวดที่อยู่นอกร่องสลอท และมีรอยขาดออกจากกัน
ความคิดเห็นที่ 2
ช่างซ่อมมอเตอร์
17/08/2549
21:40 น.
ขอถามเพิ่มเติมดังนี้ครับ<br>1. มอเตอร์สตาร์ทขณะมีโหลดต่ออยู่ใช่หรือไม่<br>2. มีการตรวจสอบค่าความต้านทานชุดสตาร์ทด้วยอะไร<br>3. การซ่อมโรเตอร์ใหม่แต่ละครั้งใช้วิธีพันใหม่ทั้งตัวหรือซ่อมบางส่วนเฉพาะที่เสียหาย<br>4. จำนวนการสตาร์ทต่อวัน <br>5. การเข้าสายเทอร์มินอลของโรเตอร์ใช้ พนักงานคนเดียวทำตลอดไปหรือไม่ หรือมีการสับเปลี่ยนกันเข้าสาย
ความคิดเห็นที่ 3
กี้
19/08/2549
20:47 น.
ตอบคำถาม<br> 1. มอเตอร์จะคัปลิงกับฟายวีล ขนาดค่อยข้างใหญ่ที่เดียว แล้วก้อคัปลิงเข้ากับชุดเกียร์ อออกจากเกียร์ ก้อเป็น ลายลูกรีด แต่ตอนสตาร์ทจะไม่มีการใส่เหล็ก<br> 2.โอห์มมิเตอร์<br> 3.ซ่อมเฉพาะส่วนที่เสียเท่านั้น<br> 4.ถ้าไม่มีปัญหาการผลิต ก้อสตาร์ทแค่ 1 ครั้งต่อวันเท่านั้น ถ้าวันไหนมีปัญหาก็มีการสตาร์ทมากกว่านั้น อาจถึง 5 บ้าง บางครั้ง<br> 5.ช่างไฟมีอยู่สองคน แต่สองคนนี้เขาจะทำงานด้วยกัน ลูกพี่กับลูกน้อง
ความคิดเห็นที่ 4
ช่างซ่อมมอเตอร์
19/08/2549
22:21 น.
ขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ<br><br>จุดที่ควรให้ความสนใจคงเป็นเรื่องการเข้าสายระหว่างซองถ่านกับสายที่ต่อออกมาข้างนอก เพราะโดยปกติมักจะอยู่ในที่ลึกลงไป และอยู่ในที่แคบ ทำให้การขันให้แน่นเกิดความไม่สมบูรณ์<br><br>ผมเคยเจอกรณีที่คล้ายแบบนี้เหมือนกัน แต่ของเขาจะมีปัญหาเกิดความเสียหายนเฉพาะที่หลักเทอร์มินอล เท่าที่สันนิษฐานในครั้งนั้น สรุปว่าเกิดจากการเข้าสายไฟไม่สมบูรณ์ที่หลักเทอร์มินอล เนื่องจากจะต้องนำสาย 2 เส้น มาเข้าหลักเดียวกัน พอเส้นแรกเข้าไปแล้วขันล๊อคด้วย น๊อต พอนำเส้นที่สองมาใส่ และขันล๊อคด้วยน๊อต จังหวะขันน๊อตตัวที่สองจะต้องใช้ประแจแหวน 2 ตัว ( เพราะจะไม่กล้าขันโดยตรงกับเทอร์มินอล ) ประแจตัวแรกจะไม่สามารถจับน๊อตที่ตัวล่างสายเส้นแรกได้ เพราะอาจจะอยู่ลึกหรือไม่ก็สายบังอยู่ ส่วนมากจะไปจับตัวที่อยู่ใต้สายเส้นที่สอง ซึ่งทิศทางการขันให้สายเส้นที่สองแน่น ถ้าออกแรงมากกับน๊อตตัวล่างสายเส้นที่สอง จะทำให้เป็นการคลายความแน่น ของสายเส้นแรก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดรอยต่อที่ไม่สมบูรณ์<br><br>การเกิดการอาร์คที่เทอร์มินอล หรือรอยต่อ จะทำให้ทอร์คที่มอเตอร์ผลิตได้เกิดลดลง ส่งผลให้มอเตอร์กินกระแสสูงเป็นเวลานานกว่าปกติ ( ในลักษณะนี้ถือว่าฟาลวีลเป็นโหลด ) ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงที่รอยต่อที่ไม่สมบูรณ์ และโดยเฉพาะที่โรเตอร์ จะมีกระแส มากกว่าสเตเตอร์หลายเท่า ประกอบกับการซ่อมไม่ได้พันใหม่ทั้งหมด ( จุดความเสียหายใหม่คงไม่น่าจะซ้ำที่เดิม ) ทำให้จุดที่อ่อนแอที่สุดเสียหาย และที่สำคัญ เป็นโรงเหล็กด้วยสิ่งแวดล้อมมีผลมาก
ความคิดเห็นที่ 5
กี้
20/08/2549
18:22 น.
มีช่างบางคนเขาบอกว่าเกิด Hi voltage ขึ้นที่โรเตอร์ ทำให้มันแฟลทเข้าหากันระหว่างเฟส ในกรณีนี้สามารถเป็นไปได้หรือปล่าวครับ เพราะแรงดันที่หม้อแปลงจ่ายมาขณะไม่มีโหลด สูงเกิน ประมาณ420 โวล์ท นอกจากนั้นก็ยังมี คาปาซิเตอร์ แก้ค่าพีเอฟด้วย<br> <br>
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างซ่อมมอเตอร์
20/08/2549
21:39 น.
ผมขอให้ความเห็นเกี่ยวกับ แรงดันแหล่งจ่ายที่สูงขึ้น นิดนึงครับ<br>1. แรงดัน 420 โวลท์เป็นค่าที่สูงกว่าแรงดันพิกัด 10 เปอร์เซนต์ ( ถ้าพิกัดแรงดัน 380 V. ) ซึ่งไม่รู้ว่าจะมอเตอร์ใช้มาตราฐาน +/- 5 หรือ +/- 10 ซึ่งถ้าเป็น +/-5 มอเตอร์ก็อาจจะ เกิดการอิ่มตัวขึ้นได้ แต่โดยปกติมอเตอร์ขนาดใหญ่ มักจะออกแบบให้มีจุดอิ่มตัวที่สูงกว่านี้ แต่ถ้าอิ่มตัวจริง ก็หมายความว่า เส้นแรงแม่เหล็กที่ส่งไปที่โรเตอร์ก็จะคงที่ ทำให้แรงดันของโรเตอร์ไม่สูงไปมากกว่า พิกัดแรงดันของโรเตอร์ +5 เปอร์เซนต์เท่าไหร่นัก<br><br>ส่วนในกรณีที่ว่า มีแคปต่ออยู่กับวงจรแล้วอาจจะทำให้แรงดันสูงขึ้นไปอีก ตามความคิดแรงดันที่โรเตอร์ก็ไม่น่าจะสูงขึ้นตามด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วเช่นกัน และถ้าตั้งสมมุติฐษนว่าสาเหตุมาจากแหล่งจ่าย หรือแคป ( ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติ และผลิตสัญญาณ ฮาร์โมนิคขึ้นมา ) ตามความคิดของผม สเตเตอร์น่าจะเป็นผู้ได้รับผลโดยตรงมากกว่าขดลวดโรเตอร์ ซึ่งต้องแปลงเป็นสนามแม่เหล็กก่อนที่จะแปลงกลับมาเป็นกระแสและแรงดันอีกที<br><br>สรุปว่า ไม่เห็นด้วยกับสมมุติฐานนี้ครับ
ความคิดเห็นที่ 7
KKU
01/09/2549
18:09 น.
ถึง คุณกี้<br>ถ้าในโรงงานคุณกี้มีตัว Thermoscan ใช้ คุณกี้ก็จะสามารถรู้ได้ว่าหลังจากที่คุณเข้าสายไฟที่หลักเทอร์มินอลไปแล้วมันหลวมรึเปล่า ถ้าไม่มีก็ลองติดต่อกับบริษัทที่เค้าทำเกี่ยวกับบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าลองดูครับ. <br>วิธีตรวจสอบและการใช้งานเครื่องก็แสนที่จะง่าย การใช้งานเหมือนกับกล้องถ่ายรูปนะครับ ส่วนวิธีการตรวจสอบหลังจากที่คุณกี้ run MOTOR ตัวนี้แล้ว ก็ใช้ตัว Thermoscan ตัวนี้เล็งไปที่ สายไฟที่หลักเทอร์มินอล แล้วก็สังเกตดูว่ามีแสงกระพริบที่สายไฟที่หลักเทอร์มินอลที่หน้าจอของตัวThermoscanรึเปล่า ถ้ามีแสดงว่าสายหลวมแน่นอนครับ ถ้าไม่มีก็ลองวิเคราะห์ด้วยวิธี Delta -T Temperature (LV ) (หาอ่านได้จากบทความของคุณ ลือชัย ทองนิล การไฟฟ้านครหลวง)ดูนะครับ <br>
ความคิดเห็นทั้งหมด 7 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
12 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD