17/08/2549 11:58 น. |
พอดีว่าทำงานออกแบบงานระบบไฟฟ้า แต่ไม่แน่ใจ คือว่า กรณีถ้าพื้นที่ร้านขายของที่อยู่ในห้างทั่วไป จากตาราง(- พท.ไม่มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง จะเท่ากับ 155 x พท. ห้อง หน่วย VA ,ส่วนพท.มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง จะเท่ากับ 85 x พท. ห้อง หน่วย VA ) Demand facter = 100 % อยากทราบการคำนวณโหลดสำหรับอาคารชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป<br>เพราะภายในร้านมี AHU อยู่ในร้านแล้ว เราจะนำ ตัวเลข(155 หรือ 85 ) มาคิดครับ อยากทราบครับ ขอความกรุณาผู้รู้จริงๆนะครับ หรือ ส่ง เมล์มาก็ได้ครับ <a href="mailto:anu_wat8@thaimail.com" Target="_BLANK">anu_wat8@thaimail.com</a> |
19/08/2549 17:05 น. |
อาคารชุดหมายถึงอาคารทุกประเภทที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522<br>การคำนวณโหลดของอาคารชุดจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนของห้องชุดและไฟฟ้าส่วนกลาง การคำนวณโหลดของห้องชุดคำนวณตามขนาดพื้นที่ของห้องชุด และประเภทของอาคารชุดซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทอยู่อาศัย ประเภทอาคารสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป และประเภทอุตสาหกรรม <br><br>การคำนวณโหลดห้องชุด<br>กำหนดให้ VA คือโหลดของแต่ละห้องชุด และ A คือพื้นที่ของห้องชุดเป็นตารางเมตร จะคำนวณโหลดของห้องชุดต่างๆดังนี้<br><br>ห้องชุดประเภทอยู่อาศัย ไม่มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง<br>1.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 55 ตารางเมตร<br>VA=(90xA)+1500<br>2.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 180 ตารางเมตร<br>VA=(90xA)+3000<br>3.ห้องชุดขนาดพื้นที่เกิน 180 ตารางเมตร<br>VA=(90xA)+6000<br><br>ห้องชุดประเภทอยู่อาศัย มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง<br>1.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 55 ตารางเมตร<br>VA=(20xA)+1500<br>2.ห้องชุดขนาดพื้นที่ไม่เกิน 180 ตารางเมตร<br>VA=(20xA)+3000<br>3.ห้องชุดขนาดพื้นที่เกิน 180 ตารางเมตร<br>VA=(20xA)+6000<br><br>ห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป ไม่มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง<br> VA=155xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่<br>ห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไป มีระบบทำความเย็นจากส่วนกลาง<br> VA=85xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่<br>ห้องชุดประเภทอุตสาหกรรม<br> VA=220xA ใช้ได้กับทุกขนาดพื้นที่<br><br>การคำนวณโหลดไฟฟ้าส่วนกลาง<br> ไฟฟ้าส่วนกลางคือไฟฟ้าที่ใช้งานร่วมกันของผู้อาศัยในอาคารเช่นไฟฟ้าทางเดิน ลิฟต์ และไฟฟ้าแสงสว่างทั่วไป การคำนวณโหลดเป็นไปตามการคำนวณโหลดไฟฟ้าในสถานที่ทั่วไปคือคิดจากโหลดที่ติดตั้งจริงและสามารถใช้ค่าดีมานด์แฟกเตอร์ได้ตามที่กำหนดในมาตรฐาน<br><br>การใช้ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์<br>การรวมโหลดทุดห้องชุดสำหรับแต่ละสายป้อนและอาคารสามารถใช้ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์เพื่อลดขนาดโหลดรวมได้ การใช้ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์<br>ให้เรียงลำดับจากห้องที่คำนวณโหลดสูงสุดก่อนตามลำดับ ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์เป็นดังนี้<br><br>ตารางที่ 7.1 ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ สำหรับห้องชุดประเภทอยู่อาศัย<br>ลำดับห้องชุด ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์<br>1-10 0.9<br>11-20 0.8<br>21-30 0.7<br>31-40 0.6<br>41 ขึ้นไป 0.5<br><br>ตารางที่ 7.1 ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์ สำหรับห้องชุดประเภทสำนักงานหรือร้านค้าทั่วไปและประเภทอุตสาหกรรม<br>ลำดับห้องชุด ค่าโคอินซิเดนท์แฟกเตอร์<br>1-10 1.0<br>11 ขึ้นไป 0.85<br><br>หมายเหตุ การคำนวณโหลดเครื่องปรับอากาศส่วนกลางเป็นไปตามเรื่องการคำนวณโหลดทั่วไป และแยกออกจากห้องชุด อาคารที่ไม่มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศทั้งที่เป็นส่วนกลางและในห้องชุด การคำนวณโหลดให้ถือว่าในห้องชุดมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เพราะจะต้องเผื่อไว้สำหรับการติดตั้งในอนาคตด้วย เพราอาคารประเภทนี้ทำการเปลี่ยนสายไฟและอุปกรณ์ยาก และการเพิ่มโหลดอาจหมายถึงต้องเพิ่มขนาดสายป้อน สายเมน หรือแม้แต่อาจต้องเพิ่มขนาดหม้อแปลงไฟฟ้าด้วย ถ้ามีการพิ่มโหลดจำนวนมาก<br><br>ผมคัดมาจากหนังสือของอาจารย์ ลือชัย ทองนิล |
11/11/2550 08:13 น. |
มีโปรแกรมการคำนวณโหลดไฟฟ้า หรือเปล่าคับถ้ามีชื่อโปรแกรมอะไรหาซื้อได้ที่ไหนช่วยบอกทีคับ??????? |
02/07/2551 16:27 น. |
ผมว่าเปิดหนังสือของอาจารย์ประสิทธิ์จะดีกว่าครับ |
02/07/2551 16:28 น. |
โปรแกรมทำจากvb6ครับ |