02/08/2549 16:07 น. |
สมมุติโหลดพิกัดทั้งหมด 3000 kw ต้องติดตังหม้อแปลงกี่ kVA ครับ. |
03/08/2549 12:42 น. |
ผมงงๆนะ เวลาเรา design เราจะคิดพิกัดของโหลดเป็น kVA อยู่แล้วนี่ครับ แล้วก็มีตัวคูณลดเพราะไม่มีทางที่โหลดทุกตัวจะถูกใช้งานพร้อมกันหมด |
06/08/2549 22:13 น. |
การคิดค่า kVA ของหม้อแปลง ควรคิดจากขนาดกระแสโหลดรวมแล้วก็เอามาคูณกับแรงดัน No load ของหม้อแปลง(กฟน.=416 V) ถ้าเอามาคูณกับแรงดันพิกัดของโหลด จะได้ขนาดหม้อแปลงน้อยเกินไป <br>กระแสโหลดรวมต้องเอาดีมานด์แฟกเตอร์มาคูณแล้วนะ<br> |
07/08/2549 15:48 น. |
ผมคิดว่าก่อนอื่นต้องทราบกระแสของโหลด(โดยการประเมิน) แล้วก็ดูว่าหม้อแปลง rate ไหนที่ cover กระแส(ปกติจะมีบอกกระแสพิกัดของหม้อแปลงบนเนมเพลท) ซึ่งคิดว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดครับ หรือถ้าจะให้ละเอียดหน่อย ก็อาจจะกำหนด demand factor (ไม่เกิน 1) แล้วคำนวณย้อนไปหาkvaของหม้อแปลง ก็ได้ครับ<br> |
19/04/2550 09:39 น. |
คิดง่ายๆเลยนะครับ โรงงานคุณใช้ไฟฟ้าระดับแรงดันเท่าไร 22 kv 12 หรือ 6.6 kvนี่คือแรงดัน กำลังงานที่คุณใช้คือ 3000kw ถ้าอยากทราบกระแส kva ที่ใช้ก็เอาแรงดันหารกำลัง ตัวอย่าง ถ้าคุณใช้ระดับแรงดัน 22kv ก็จะได้พิกัดหม้อแปลงเท่ากับ 3000/22 =137 kva <br>หมายเหตุ นี่เป็นวิธีการคำนวนคร่าวๆเท่านั้น ส่วนการคำนวนที่ถูกต้องจริงจะมีค่าอื่นมาประกอบอีกแต่ก็จะไม่แตกต่างจากนี้เท่าไรนักไม่เชื่อลองจ้างวิศวกรเขาคำนวนออกแบบดูซิ หรือวานเพื่อนฝูงที่เป็นวิศวะก็ได้ |
09/11/2551 23:56 น. |
20KVA |
31/08/2552 14:29 น. |
ตอบเหมือนรู้ แต่ไม่มีใครรู้จริงซักคน อย่าตอบดีกว่านะครับผมว่า<br>คนอ่านเขาอ่านแล้ว งง <br><br>อย่างผมถ้าไม่รู้ก็จะตอบว่าไม่รู้ครับ ไม่ดำน้ำให้คนอื่นเขาเขว มันบาป |
16/10/2552 11:30 น. |
เควีเอ =กิโลโวลล์ x แอมป์แปร์<br>ความถี่=800W=3.6 A<br>1 KVA = 800 W=3.6 A<br>สมมุติโ หลด3000 KW.=3000x1000=3,000,000W.<br>ดังนั้น 3,000,000/800=3750KVA |
05/03/2553 17:56 น. |
ดูแล้วคิดว่าน่าจะต้องเสริมข้อมูลให้ถูกต้อง เพื่อจะเป็นประโยชน์ ไม่เกิดการเข้าใจผิดในหลักวิศวกรรมไฟฟ้า<br><br>Appearance Power (S) คือ กำลังไฟฟ้าปรากฏ หน่วย VA , kVA, MVA<br>Active Power (P) คือ กำลังไฟฟ้าจริง หน่วย W, kW, MW<br>Reactive Power (Q) คือ กำลังไฟฟ้าเสมือน หน่วย VAR, kVAR, MVAR<br>Power Factor (PF) คือตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ไม่มีหน่วย<br>Demand Factor (DF) คือ อัตราส่วนของความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด ต่อ โหลดทั้งหมด (แสดงให้เห็นถึงความต้องการใช้ไฟฟ้ามากน้อยเพียงไร) ไม่มีหน่วย<br><br>สูตร <br><br>S = VI<br>P = VI Cos &#952;<br>Q = VI Sin &#952;<br>S = P + jQ<br>PF = P/S = Cos &#952;<br>ดังนั้น S = P / Cos &#952;<br>หรือผลของ DF เพื่อลดขนาดหม้อแปลง<br>S = ( P * DF) / Cos &#952;<br>ทั้งนี้ต้องคำนึงถึง Safety Factor 1.25 ด้วย เป็นตัวคูณ เผื่อ ในหลาย ๆ กรณีเช่น โหลดเกิน โหลดในอนาคต <br><br>เทคนิค<br><br>ถ้าออกแบบหม้อแปลงโดยใช้โหลดสูงสุด โดยไม่คำนึงถึง Demand Factor หม้อแปลงก็จะมีขนาดใหญ่ สิ้นเปลือง<br><br>ถ้าระบบมี Power Factor ต่ำ แล้วไม่แก้ไข หม้อแปลงก็จะมีขนาดใหญ่ และสิ้นเปลือง<br><br>ในการออกแบบ ยังต้องคำนึงถึงระบบ เป็นสำคัญ เช่น ระบบมี Harmonic สูง ก็ต้องป้องกัน Harmonic ด้วยการใช้ Filter หรือ ออกแบบให้หม้อแปลงขนาดใหญ่กว่าปกติ คือมี Safety Factor มากกว่าปกติ เพื่อป้องกันความร้อนจากกระแสไหลวนใน วงปิด Delta ทั้งนี้ ขึ้นกับการต่อใช้งานด้วย<br><br>บางทีต้องการยืดอายุใช้งานหม้อแปลง ก็ต้องไม่ให้มัน Overload จึงต้องพิจารณาออกแบบเผื่อไว้บ้าง แต่ในที่นี้ หม้อแปลงยังอยู่ในขอบข่ายของ Service Transformer หรือ Distribution Transformer คือ ขนาดไม่เกิน 5,000 kVA ปัญหาเรื่องออกแบบเผื่อจึงไม่ต้องซีเรียส เหมือน Power Transfomer 10 MVA ขึ้นไป ที่ควรจะทำงานที่ 80% พิกัด เพื่อยืดอายุการใช้การ จะเห็นได้จากหม้อแปลง ตามสถานีไฟฟ้า ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค |
20/04/2557 12:56 น. |
ผมคิดคร่าวๆ กำหนด PF = ค่าต่ำสุดที่การไฟฟ้าฯยอมรับได้ คือ 0.8 ดังนั้น kva = 0.8 x kw kva = 0.8 x 3000 = 2400 kva เลือก หม้อแปลงขนาด 2500 kva |
20/04/2557 13:02 น. |
แก้ไขครับ เมื่อกี๊ใส่สูตรผิด หุหุห kw = 0.8 x kva kva = kw/0.8 = 3000/0.8 =3750 kva เลือกหม้อแปลง ขนาด 4000 kva หรือ 2000 kva 2 เครื่อง |