![]() 27/07/2549 23:01 น. |
มีใครพอจะรู้ ลำแสง Sincrotron มีใครพอรู้บ้างครับ |
![]() 28/07/2549 14:44 น. |
ลำแสง Sincrotron เป็นงานวิจัยพัฒนา ของกระทรวงวิทย์ หาดูจากเวบของ mtech.ot.th <br> |
![]() 28/07/2549 15:04 น. |
บอกผิด เอาไปใหม่ (ถ้าไม่พอ ใช้ Google หาเพิ่มเอาเองนะ)<br><br>แสงซินโครตรอน<br>เทคโนโลยีพลังงาน<br><br>แสงซินโครตรอนคืออะไร<br>เมื่ออนุภาคมีประจุ เช่น อิเล็กตรอนถูกเร่งให้มีความเร็ว<br>ใกล้ความเร็วของแสงและบังคับให้เคลื่อนที่ในแนววงกลมภาย<br>ในสูญญากาศ อิเล็กตรอนจะสูญเสียพลังงานบางส่วนโดย<br>การปลดปล่อยออกมาในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงที่<br>เรียกว่าแสงซินโครตรอนซึ่งเป็นแสงที่มีคุณลักษณะพิเศษ<br>ที่โดดเด่นหลายประการ เช่น มีความสว่างจ้ามาก ความเข้ม<br>แสงสูงและมีลำแสงที่คม มีสเปคตรัมต่อเนื่องโดยให้แสงที่<br>มีความถี่ตั้งแต่ย่านอินฟราเรดจนถึงเอ็กซ์เรย์ทำให้เป็นแหล่ง<br>กำเนิดแสงชนิดเดียวที่สามารถเลือกช่วงความยาวคลื่นหรือ<br>พลังงานที่ต้องการใช้งานได้ แสงมีคุณสมบัติโพราไรเซชั่น <br>นอกจากนี้ยังมีความเป็นพัลล์ที่สั้นมาก (very short pulsed)<br><br>เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน<br>เครื่องกำเนิดแสงสยาม เป็นเครื่องกำเนิดแสงที่ใช้ใน<br>การผลิตแสงซินโครตรอนเครื่องแรกของประเทศไทย มีส่วน<br>ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ<br>1. เครื่องเร่งอนุภาค (Accelerator) มีหน้าที่เร่งอิเล็ก<br>ตรอนให้มีพลังงานสูง และมีอัตราเร็วเข้าใกล้อัตราเร็วของ<br>แสงประกอบด้วย<br>1.1 เครื่องเร่งอนุภาคในแนวเส้นตรง (Linear <br>accelerator หรือ Linac) เร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงถึง<br>40 MeV<br>1.2 เครื่องเร่งอนุภาคในแนววงกลม (Booster <br>Synchortron) เร่งอิเล็กตรอนจากส่วน Linac ซึ่งมีพลังงาน<br>40 MeV ให้มีพลังงานสูงขึ้นเป็น 1 GeV <br>2. วงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอนทำหน้าที่กักเก็บอิเล็ก<br>ตรอนที่มีพลังงานสูงซึ่งถูกเร่งมาจากส่วนเร่งอนุภาค อิเล็ก<br>ตรอนที่วิ่งภายในวงแหวนจะถูกบังคับให้เคลื่อนที่ในแนว<br>โค้งโดยใช้สนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กสองขั้วที่เรียกว่า <br>Bending Magnet ขณะที่อิเล็กตรอนเกิดการเลี้ยวเบนจะ<br>ปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปแสงซินโครตรอนในทิศ<br>ทางสัมผัสกับวงโคจรของอิเล็กตรอน<br><br>ระบบลำเลียงแสงซินโครตรอน (Beamlines)<br>แสงซินโครตรอนที่ปลดปล่อยออกมาจาก bending <br>magnet, undulator หรือ wiggler จะถูกลำเลียงไปใช้ประ<br>โยชน์ในส่วนที่เรียกว่าสถานีทดลอง (experimental <br>station) ระบบลำเลียงแสงซินโครตรอน ประกอบด้วย<br>ส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ<br>1. Front-end เป็นส่วนที่มีหน้าที่ดังต่อไปนี้<br>- ป้องกันไม่ให้ผู้ทำการทดลองขึ้นได้รับอันตราย<br>ทางรังสีที่เกิดขึ้นในส่วนของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน<br>- ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องกำ<br>เนิดแสงซินโครตรอน อันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุใน<br>ส่วนของสถานีทดลองหรือในส่วนของระบบลำเลียงแสง<br>ซินโครตรอน<br>- ป้องกันอันตรายจากแสงซินโครตรอนที่ตกกระทบ<br>ท่อสูญญากาศ หรือส่วนต่างๆ ของระบบลำเลียงแสงซินโคร<br>ตรอน<br>2. Optical Beamline เป็นส่วนกำหนดพลังงาน ขนาด <br>และความเข้มของแสงซินโครตรอนที่นำไปใช้งาน ซึ่งจะประ<br>กอบด้วยอุปกรณ์หลักคือ monochromator ซึ่งเป็นส่วนที่ทำ<br>หน้าที่เลือกค่าพลังงานของแสงซินโครตรอนที่จะนำไปใช้<br>ประโยชน์และระบบกระจกสำหรับรวมแสงทั้งก่อนและหลัง<br>จากผ่าน monochromator ( Pre-and Post-focusing <br>mirror systems)<br><br>ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มใหญ่ <br>คือ <br>1. การใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนกับงานวิจัยด้าน<br>ฟิสิกส์ เคมี และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม<br>แสงซินโครตรอนสามารถใช้ในงานวิจัยพื้นฐานในการหา<br>คุณสมบัติของอะตอม โมเลกุลและความยาวพันธะระหว่าง<br>อะตอมภายในโมเลกุลของสสาร การศึกษาการเปลี่ยนแปลง<br>ของวัสดุเมื่ออยู่ในสภาวะความดันและอุณหภูมิสูงๆ การศึกษา<br>คุณสมบัติบางประการของแม่เหล็ก และการศึกษาการจัดเรียง<br>ตัวของอะตอมบริเวณพื้นผิวและรอยต่อระหว่างพื้นผิว โดยผล<br>ที่ได้จากงานวิจัยพื้นฐานเหล่านี้จะนำไปสู่การคิดค้นและพัฒนา<br>วัสดุชนิดใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้แสง<br>ซินโครตรอนยังสามารถใช้ในการวิเคราะห์หาปริมาณ หรือชนิด<br>ของสารมลพิษที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้ดี เนื่องจากสามารถ<br>ตรวจวัดสารที่มีปริมาณน้อยมาก (Trace elements) ได้อย่าง<br>แม่นยำ ตัวอย่างเทคนิคที่ใช้แสงซินโครตรอนในงานวิจัยด้าน<br>ฟิสิกส์ เคมี และวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ได้แก่ Atomic <br>spectroscopy, Molecular spectroscopy, Solid state <br>spectroscopy. Photoelectron diffraction และ <br>Photoelectron microscopy เป็นต้น<br><br>2. การใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนกับงานวิจัยด้าน<br>วิทยาศาสตร์ ชีวภาพและวิทยาศาสตร์การแพทย์<br>แสงซินโครตรอนเป็นเครื่องมือที่สำคัญ สำหรับการศึกษา<br>โครงสร้างของสารชีวโมเลกุลที่มีขนาดเล็กมาก และมีโครง<br>สร้างที่มีความซับซ้อน ซึ่งพบภายในเซลล์สิ่งที่มีชีวิต เช่น <br>โปรตีน กรดนิวคลีอิก เป็นต้น ตัวอย่างเช่น การหาข้อมูลทาง<br>โครงสร้างสามมิติของสารชีวโมเลกุลด้วยเทคนิค Protein <br>Crystallography ซึ่งผลที่ได้สามารถประยุกต์ใช้ใน<br>อุตสาหกรรมการออกแบบตัวยาสำหรับรักษาโรคได้ <br>และการรักษาโรคตัวอย่างเช่น การใช้เทคนิค coronary <br>angiography สำหรับตรวจวินิจฉัยหาการตีบตันของเส้น<br>เลือดบริเวณหัวใจ เป็นต้น<br><br>3. การใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอนเชิงอุตสาหกรรม<br>แสงซินโครตรอนสามารถใช้ในขั้นตอนของกระบวนการ<br>ผลิตแม่แบบสำหรับการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้มีขนาด<br>เล็กมากๆ เช่น ไมโครชิปที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ หรือการผลิตชิ้น<br>ส่วนเครื่องจักรขนาดจิ๋ว โดยการใช้แสงซินโครตรอนร่วมกับ<br>เทคนิคที่เรียกว่า LIGA (Lithography and Galvanoplating <br>or Electrodeposition) เนื่องจากในขบวนการผลิตสามารถ<br>เลือกใช้แสงซินโครตรอนที่มีความยาวคลื่นที่สั้นกว่าแสงที่<br>ใช้ในขบวนการ LIGA ทั่วไปจึงสามารถผลิตชิ้นงานที่มีขนาด<br>เล็กมากในระดับไมครอนหรือต่ำกว่าและมีความคลาดเคลื่อน<br>ในแต่ละมิติน้อยมาก<br><br><br><br> <br> <br><br> <br>Synchrotron <br> <br> <br>ที่มา<br>1. แผ่นพับของศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ<br><br>2. <a href="http://www-project.slac.stanford.edu" Target="_BLANK">www-project.slac.stanford.edu</a>/ ssrltxrf/spear.htm<br> <br> |