25/07/2549 15:42 น. |
อยากสอบถามครับ<br>ต้องการเจอะรู โลหะ ขนาด 300*300 mm หนา 60 mm <br>แผ่นล่ะหลายสิบรู จำนวนหลายแผ่น โดยต้องการความแม่นยำเชิงตำแหน่ง ผิดพลาดไม่เกิน 0.05 mm ในแกน X-Y<br> ที่ผ่านมาจ้างเขาเจอด้วยเครื่องมิลลิ่ง คลาดเคลื่อ่นมาก จนไม่สามารถเอาไปงานได้ อยากทราบว่าควรใช้เครื่องชนิดไหนในการเจอะ และทำเกลียว ขอที่ต้นทุนไม่แพง <br> |
25/07/2549 16:39 น. |
ดูจากลักษณะงานแล้ว เครื่องมิลลิ่ง ที่ติดตั้ง ลิเนียร์สเกล หรือ ที่เรียกว่า ตู้ดิจิตอล น่าจะเพียงพอรับงาน ได้ แต่ว่าน่าจะทดสอบความถูกต้องของเครื่องด้วย ตลอดจนวิธีการทำงาน เนื่องจากเครื่องมิลลิ่งที่ใช้งานไปนานๆ มักเกิดปัญหา แบลค์แลค ที่สกรูขับแท่นเกิดการหลวม ทำให้การเคลื่อนที่ไปในตำแหน่งจริงคลาดเคลื่อน <br>ปกติช่างที่ใช้งานเครื่อง ร่วมกับดิจิตัลนาน จะรู้ว่า การเลื่อนตำแหน่งไปในแต่ละรูให้ถูกต้องจริง จำเป็นจะต้องหมุนพวงมาลัยเครื่องอย่างไร ที่จะทำให้ปัญหาแบลค์แลคน้อย หรือ คลาดเคลื่อนน้อย <br>กรณีที่สอง เนื่องจากคุณไม่ได้บอกว่า เจาะรู diameter เท่าไร เพราะการเลือกใช้สว่าน และต๊าป มีความสำคัญ ตลอดจนวิธีการวางชิ้นงานบนแท่นเครื่องมิลลิ่ง ได้มีการจับฉาก ด้วยตัว Indicator หรือไม่ เพื่อให้รู้ว่า คอเครื่องตั้งฉากกับชิ้นงานจริง <br>ถัดไป เป็นลำดับวิธีการปฏิบัติงาน เจาะทั้งหมดก่อนต๊าป หรือ เจาะและต๊าปไปพร้อมกัน โดยเปลี่ยนหัวจับดอก โดยไม่มีการเคลื่อนที่แท่นเครื่อง <br>ขอทราบรายละเอียด เพิ่มเติมดังนี้ <br><br>1. วิธีการจัดยึดชิ้นงาน บนแท่นเครื่องมิลลิ่ง วางแผ่นหนุน แล้วแคล้มป์ หรือ ใช้ปากกาบีบ <br>2. วิธีการ เจาะ และ ต๊าป พร้อมขนาดที่ทำ <br>3. อายุของเครื่องมิลลิ่ง <br>4. ติดตั้ง ดิจิตัล (ลิเนียร์สเกล) ไว้ใช้งานหรือไม่ <br>5. ปัญหาที่บอกว่า นำไปใช้งานไม่ได้ เกิดจากอะไร เช่น แนวของรูเจาะ ไม่ขนาน และตั้งฉากกัน ในแกน X-Y หรือ รูเจาะเอียงในแนวแกน Z ทำให้ ตำแหน่งพิกัด ในแกน XY เปลี่ยนไป เพระงานคุณหนา ถึง 60 mm. หากรูเอียงเล็กน้อย ( 1 องศา ) ตำแหน่งก็เปลี่ยนไปได้เช่นกัน <br><br>หรือ ไม่หากคุณต้องการให้งานคลาดเคลื่อนน้อยลง คงจำเป็นต้องใช้เครื่อง CNC Milling กระมัง |
25/07/2549 16:56 น. |
ขอบคุณครับ<br>ผมไม่ได้เจอะเองครับ ผมไปจ้างเขาเจอะ ปัญหาคือ <br>ต้องเอาชิ้นงานมาประกอบเข้าด้วยกัน บางชิ้นก็ขนาดเล็ก รูเจอะที่ไม่ได้ศูนย์ของชิ้นงาน2ชิ้นที่ประกอบกัน เข้ากันไม่ได้ มีความเยื้องศุนย์เกิน 0.05 mm ซึ่งผู้รับจ้างเข้าใช้มิลลิ่งเจอะ เครื่องของเขาก็ค่อนข้างใหม่ แต่ชิ้นงาน40-60% ประกอบเข้ากันไม่ได้ <br>รูเจอะ พร้อมทำเกลียว M1 - M4<br><br>ราคาเจอะด้วยเครื่องCNC ต้นทุนสูงไปครับ <br>เป็นไปได้ไหมถ้าจะซื้อเครื่องมาทำงานแบบนี้โดยเฉพาะ<br>พอทราบแหล่งจำหน่าย <br>ขอบคุณมากครับ |
26/07/2549 10:19 น. |
ต้องมีเทคนิคในการคอนโทลเครื่องด้วยครับ CNC บางที่ยังทำไม่ได้เลย <br>โทรมาพูดคุยได้ครับ 01-9841239 |
26/07/2549 10:31 น. |
ตัวเครื่องเองก็มีสว่นสำคัญครับ ว่ากันตั้งแต่ หัวกัดของเครื่อง และการสึกหรอของโต๊ะงาน |
26/07/2549 16:24 น. |
มีเครื่องที่ใช้แค่เจอะงาน และทำเกลียว แต่เคลื่อนที่ในแกน x-y-z ได้อย่างแม่นยำไหมครับ <br>ผมคิดว่าจะซื้อมาใช้เอง จะซื้อCNC milling ก็ดูจะไม่คุ้ม เพราะใช้แค่เจอะ และทำเกลียว แค่นี้เท่านั้น<br>ถ้ามีราคาประมาณเท่าไรครับ<br> |
26/07/2549 18:56 น. |
ลักษณะนี้ อยู่ที่การควบคุมจัดการตอนที่จะทำการเจาะ พร้อมทั้งอุปกรณ์ที่จะใช้ร่วม จากที่คุณอธิบาย การเจาะต๊าป M1 - M4 เป็นงานเจาะต๊าป ที่ละเอียดพอควร อย่าเห็นว่ารูเล็กแล้วทำง่ายๆ<br>หากต้องการทำให้ได้จริง ลองพิจารณาว่าทำตามนี้ได้ไหม <br><br>- ทำการตรวจสอบ ความฉากของคอเครื่องมิลลิ่ง และการเคลื่อนที่ของรางเครื่อง (เรื่องสำคัญที่สุด ต้องมีแท่งฉากอ้างอิง หรือ แผ่นเจียรขนาน ประกอบร่วม พร้อม Dial Indicator หากเครื่องไม่ฉาก หรือ ผิดที่จุดใด จำเป็นต้องรู้ และกำหนดไว้ ) และตรวจสอบความถูกต้องของ ตู้ดิจิตัลด้วย (ใช้เวอร์เนียร์ ดิจิตัล หรือ แท่งที่เจียรระยะที่ทราบค่าแน่นอน) และขอให้อุปกรณ์ทั้งหมด ผิดพลาดไม่เกิน 0.01 mm. เป็นอย่างมาก<br><br>- เลือกใช้หัวจับ แบบที่สามารถเปลี่ยนกลับไปมาระหว่าง ดอกเจาะ และดอกต๊าปได้ ผู้จำหน่ายเครื่องมือมีเกือบทุกที่ ของไต้หวันมี จำรหัสไม่ได้ เพราะแคตตาล็อค อยู่ที่บ้าน <br><br>สาม กำหนดจุดอ้างอิง ให้กับชิ้นงาน เวลาเจาะและต๊าป ต้องทำพร้อมกันให้เสร็จในแต่ละรู เมื่อจะเคลื่อนที่ไปรูเจาะอื่น ให้ทำการเซ๊ตศูนย์ทุกครั้ง และเคลื่อนที่ไปตามระยะที่ต้องการ ทำที่ละแนวแกน X ก่อน หรือ Y ก่อนให้เสร็จที่ละแถว <br><br>- ชิ้นงานที่จะนำมาวางบนแท่น ควรมีจุด Stopper ทั้งสองแกน วางบนแท่นเครื่อง หากจะใช้ปากการช่วยจับ ต้องมีเช่นกัน วางอยู่ด้านนอกหรือ ข้างปากกา และก่อนทำงานจริง เอา Dial ลากดูว่าปากด้านที่ไม่เคลื่อนที่ของปากกา ขนาน หรือไม่ <br><br>- ชิ้นงานของคุณ ปาดมาได้ฉากจริงหรือ ไม่ และต้องกำหนดด้านที่จะใช้อ้างอิง และ ประกบเข้าหากันให้ถูกต้อง หรือไม่คุณก็ทำการเผื่อขนาดทั้งสองด้านไว้ เอามาเจาะต๊าป ให้เสร็จ จากนั้นนำมาประกบกันให้เรียบร้อย ก่อนทำการปาดเก็บขนาด ถ้าให้ดี เจาะรูฝังปิ๊นซ์ ได้ไหม 2 รู เพื่อให้งานประกบกันได้ตรง หากแก้แบบไม่ได้ ก็ไม่ต้อง ใช้รูเจาะที่มุมใดมุมหนึ่งเป็นจุดอ้างอิง <br><br>- ดอกสว่างลับมุมจิกใหม่ ให้เป็น 130 องศา หรือ หาที่มีมุมจิกมากกว่า 120 อย่าใช้ดอกราคาถูก เพราะเวลาเจาะจะเลื้อยได้ ควรใช้ของ Nachi (แท้ๆ นะ) อย่าพะวงว่าราคาดอกสว่านนาชิ จะแพงกว่ายี่ห้ออื่นที่ใช้ เพราะหากใช้เป็นคุณจะพบว่าไม่แพงไปกว่าชิ้นงานที่ต้องโยนทิ้ง <br><br>แต่ผมขอให้ความเห็นแย้งคุณเทพCNC เล็กน้อย หากเครื่อง CNC ตัวมันเองไม่สามารถควบคุมตำแหน่งได้ แสดงว่าเป็นเครื่องที่เก่ามาก และเป็นเครื่องจากกลุ่มไต้หวัน รุ่นแรกๆ หรือ เครื่องที่ทดลองผลิตขายราคาถูกในไทยรุ่นแรก (ไม่ใช้ปัจจุบันนะครับ) <br><br>การทำชิ้นงานให้ฉาก ประกบกันได้ ให้ไปศึกษาวิธีการผลิตแม่พิมพ์ โดยเฉพาะแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ว่าเขากำหนดจุดอ้างอิงอย่างไร เพื่อให้พิมพ์ประกบกันแล้วตรง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่เขาจะกำหนดจากรูเจาะ ที่มุมใดมุมหนึ่ง ให้เป็นจุดศูนย์ ไม่ใช่จากขอบชิ้นงาน เพราะไม่มีใครที่สามารถปาดงานฉากได้ 100% เพราะมีปัญหาลึกๆอีกหลายประการ <br>แต่สำหรับงานของคุณ หากค่าพิกัดเป็น 0.05 มม. จริงๆ ผมมีข้อสงสัยเล็กน้อย เนื่องจาก ค่าพิกัดนี้ กับงานเจาะรูขนาด M1 -M4 หลายๆรู บนแผ่นขนาด 300 x 300 mm. มันไม่น่าจะใช่ นอกจากคนเขียนแบบไม่เข้าใจ เรื่องของ Geometry Error เช่น ค่าความเป็นฉาก ค่าความขนาน และพิกัดค่าเผื่อต่างๆ <br><br>ขอให้โชคดี และขออภัย เนื่องจากปัจจุบัน ไม่ได้ทำธุรกิจที่เกี่ยงข้องกับเครื่องจักรแล้ว แต่หากต้องการคำแนะนำเชิญ เบอร์โทร.ผมมีในเวบบอร์ดนี้มากมาย <br> |
27/07/2549 09:04 น. |
เครื่องCNCเจาะอย่างเดียวก็มี ราค่าก็ล้านกว่าบาทแน่นนอน<br>แต่ใช้เทคนิคที่ผมบอก และทดสอบได้จริง จากเครื่องมิลลิ่ง ก็จบ ถ้างานเจาะไม่มาก แต่ถ้ามากและเร็วก็ต้อง CNC |
20/08/2549 11:49 น. |
ต้องการเจาะฝ้าแผ่นเรียบที่ติดตั้ง ขนาด 6-9 นิ้ว แล้วต้องใช้เครื่องมืออย่างไรบ้างครับ |