Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,798
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,171
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,457
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,452
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,913
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,029
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,006
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,295
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,145
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,818
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,773
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,973
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,317
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,815
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,160
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,053
17 Industrial Provision co., ltd 39,849
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,798
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,713
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,041
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,974
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,322
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,741
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,469
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,975
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,969
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,347
28 AVERA CO., LTD. 23,102
29 เลิศบุศย์ 22,062
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,820
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,714
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,327
33 แมชชีนเทค 20,316
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,576
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,545
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,286
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,963
38 SAMWHA THAILAND 18,740
39 วอยก้า จำกัด 18,405
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,978
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,824
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,759
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,725
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,670
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,602
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,595
47 Systems integrator 17,156
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,100
49 Advanced Technology Equipment 16,934
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,898
11/06/2549 08:04 น. , อ่าน 9,001 ครั้ง
Bookmark and Share
Motor เกิด Current Unbalance
วิทวัส
11/06/2549
08:04 น.
ผมมีปัญหามารบกวนถามครับ คือว่าผมมี MOTOR 6.9 KV. 450 KW. เมื่อขณะทำการ Start พบกระแส Unbalance Ia = 234 Ib=234 Ic=208 A. ขณะ Run Ia= 25 Ib=25 Ic=21 A. ผมทำการตรวจสอบมอเตอร์ โดยการ Meg , Micro Ohm Test วัดค่า Ohm แล้วทุกอย่างปกติหมดครับ ส่วนสายก็ Meg แล้ว <br>ผมอยากทราบว่าปัญหามันคืออะไรครับ มีคนให้ยกมอเตอร์ไปทำ Surge Test ที่ 0.5 Uแต่ผมยังไม่อยากยกมอเตอร์ไปครับ ช่วยแนะนำผมทีครับ ผมควรจะเช็คอะไรต่อครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
jirasak
13/06/2549
13:27 น.
ได้ตรวจสอบระดับแรงดันไหมครับว่าแต่ละเฟสต่างกันเท่าไร ถ้า<br>ทุกอย่างไม่ต่างกันให้ตรวจสอบ VCB และ Fuse ว่าหน้า contact bad ไหม และสุดท้ายต้องนำมอเตอร์ไปตรวจสอบละเอียดอีกครั้ง ด้วยวิธี Surge และอื่นๆ ถ้ามีข้อสงสัยสอบถามได้ครับ<br>บ.ก้าวหน้าอิเล็คทริคฯ<br>ผมทำงานเกี่ยวกับ งานซ่อมบำรุงมอเตอร์ AC, DC, Servo,Pump, Generatorทั้งในส่วน Overhaul / Rewinding ( Low voltage &amp; Hight voltage ) และด้าน Mechanic ถ้าท่านใดต้องการทราบรายละเอียด โปรดติดต่อ 059160070 ได้ครับ <br><br>บริการตรวจวัดคุณภาพไฟฟ้าและปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ได้ถึง 3000 A ทั้งในระบบหนึ่งเฟสและสามเฟส สามารถวัดค่าทางไฟฟ้าได้ทุกค่าเช่น kW,kVA,kVAR,PF,V,A, ปริมาณของแรงดันและกระแสฮาร์มอนิกแต่ละอันดับ ฯลฯ บันทึกค่าอย่างต่อเนื่อง แสดงผลได้ทุกวินาที ดูเป็นกราฟและค่าตัวเลข นอกจากนี้ยังแสดงรายงานผลการวิเคราะห์โดยทีมงานที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน<br>ยินดีรับใช้ครับ<br>
ความคิดเห็นที่ 2
service boy.
14/06/2549
13:13 น.
เวบนี้เขาห้ามโฆษณานะ
ความคิดเห็นที่ 3
yut
15/06/2549
08:47 น.
Impedance ของแต่ละ phase เป็นอย่างไรบ้าง ควรเอา surge comparison tester ไปวัดเทียบ phase โดยป้อน voltage supply เท่าหรือมากกว่าค่าใช้งานแล้วดูผลจากกราฟว่ามัน inphase กันทุกคู่หรือไม่
ความคิดเห็นที่ 4
ช่างซ่อมมอเตอร์
16/06/2549
23:07 น.
ขอให้ความคิดเห็นอย่างนี้ครับ<br>สาเหตุที่ทำให้มอเตอร์มีกระแส ไม่เท่ากัน หรือ Unbalance Current ได้แก่<br><br>1. แรงดันของแหล่งจ่ายไม่สมดุลย์<br>2. เกิดค่าความต้านทานที่ผิดปกติต่ออยู่กับการส่งจ่ายระบบไฟฟ้าเข้ามอเตอร์<br>3. เกิดความผิดปกติที่มอเตอร์<br> 3.1 แกนเหล็กที่สเตเตอร์เกิดความเสียหาย <br> 3.2 รอยต่อหรือจุดเชื่อม ระหว่างสายหลีดที่ต่อออกมาจากขดลวดกับหางปลา หรือจุดต่อต่างๆ ที่อยู่ภายในมอเตอร์ และเทอร์มินอลไม่แน่น เกิดการหลุดหลวม<br> 3.3 เกิดการ ช๊อตวงจรของขดลวดเฟสใดเฟสหนึ่ง<br><br>วิธีการทดสอบ<br> สาเหตุที่ 1 และ 2 ให้ทดลองสลับสาย ไฟจากแหล่งจ่ายเข้ามอเตอร์ดู เช่น สายเข้ามอเตอร์ เดิมเข้าเป็น RST ให้สลับเป็น STR และดูการเปลี่ยนแปลง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกระแสที่ไหลเข้ามอเตอร์ ( เช่น เดิมเฟส U, Z กินกระแส สูง และเปลี่ยนเป็นกระแสต่ำ ) แสดงว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่มอเตอร์ และตรงกันข้ามถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงปัญหาจะอยู่ที่มอเตอร์<br><br>การตรวจสอบความผิดปกติที่มอเตอร์ ก็จะมีการตรวจสอบ <br><br>การตรวจสอบแกนเหล็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธี คอร์ลอสเทส ซึ่งต้องทำที่ โรงซ่อมมอเตอร์ และถอดโรเตอร์ออก<br><br>ส่วนการตรวจสอบสาเหตุที่ 3.2 และ 3.3 สามารถทำได้โดย<br>1. วัดค่าความต้านทานขดลวด<br>2. วัดค่าอินดักแตนซ์ หรืออิมพีแดนซ์<br>3. การวัด เสริจเทส<br>การวัดทั้งสามข้างต้นสามารถทำได้ที่หน้างาน โดยเฉพาะ การวัดค่าอินดักแตนซ์ และเสริจเทส มอเตอร์ต้องสามารถขยับโรเตอร์ได้<br><br>ตามความคิดเห็นแล้วควรที่ทำการสลับสายเข้าแหล่งจ่ายดูก่อนเพื่อที่จะสรุปว่าสาเหตุไม่ได้มาจากแหล่งจ่ายไฟ และถ้าต้องการทำเสริจเทส ควรจะทำที่แรงดันสูงกว่า 0.5 U เพราะถ้าทดสอบที่แรงดันต่ำกว่าแรงดันพิกัดแล้ว การเสริจเทสก็ไม่น่าจะให้ผลอะไรมากนัก <br><br>และจากความคิดเห็นส่วนตัว เสริจเทสมักจะใช้ทดสอบมอเตอร์ที่เกิดปัญหาที่ไม่สามารถสตาร์ทได้ หรือสตาร์ทมอเตอร์แล้วชุดควบคุมทริป มากกว่าการเสริจเทสเพื่อหาความไม่สมดุลย์ของอิมพีแดนซ์เพราะ ในขณะที่แรงดันปกติยังทำให้ กระแสเกิดการไม่สมดุลย์ถ้าเรานำเสริจเทจมา ทำการเสริจย่อมแน่นอนว่า ต้องแสดงว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นแน่นอน เนื่องจากค่าอิมพีแดนซ์ของแต่ละเฟสไม่เท่ากัน และถ้าเกิดการช๊อตรอบขึ้นจริงซึ่งมีผลทำให้เกิดกระแสไม่สมดุลย์ มอเตอร์ไม่น่าจะสามารถสตาร์ทออกตัวไปได้ นอกเสียจากการสตาร์ทแบบที่ค่อยๆมีการปรับแรงดันเพิ่มขึ้น แต่ในข้อมูลที่บอกมาบอกว่ามอเตอร์สามารถสตาร์ทและขับโหลดได้ <br>
ความคิดเห็นที่ 5
ช่างใหม่
06/07/2549
08:40 น.
แล้วปกติแล้ว กระแสควรต่างกันเป็นเปอร์เซนต์เท่าไหร่ครับถึงจะยอมรับได้ เคยอ่านในบทความบางชุดบอกว่า ให้คิดสัดส่วนของกระแสที่ต่างกันมากสุด หารด้วย กระแสเฟสที่มากสุดแล้วคิดเป็นเปอร์เซนต์ ถ้าได้น้อยกว่า 5 เปอร์เซนต์ถือว่ายอมรับได้ <br>
ความคิดเห็นที่ 6
ช่างใหม่
06/07/2549
08:40 น.
แล้วปกติแล้ว กระแสควรต่างกันเป็นเปอร์เซนต์เท่าไหร่ครับถึงจะยอมรับได้ เคยอ่านในบทความบางชุดบอกว่า ให้คิดสัดส่วนของกระแสที่ต่างกันมากสุด หารด้วย กระแสเฟสที่มากสุดแล้วคิดเป็นเปอร์เซนต์ ถ้าได้น้อยกว่า 5 เปอร์เซนต์ถือว่ายอมรับได้ <br>
ความคิดเห็นที่ 7
ช่างซ่อมมอเตอร์
06/07/2549
22:56 น.
ขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ<br><br>เท่าที่ศึกษา และมีข้อมูลอยู่ สรุปได้ว่า มีการกำหนดโดย NEMA ว่า มอเตอร์จะใช้งานได้อย่างปกติเมื่อมีค่าแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์มีค่า Unbalance น้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์ และถ้ามากกว่า 1 เปอร์เซนต์มอเตอร์ควรที่จะมีค่า Derating Factor เข้าไปคูณเพื่อลดขนาดของโหลดที่จะนำมอเตอร์ไปใช้ขับ และไม่ควรนำไปใช้เมื่อมีค่า Unbalance Voltage เกิน 5 เปอร์เซนต์ เนื่องจาก แรงม้าหรือกำลังของมอเตอร์จะลดลงเหลือประมาณ 75 เปอร์เซนต์ของแรงม้าพิกัดเดิม<br><br>และเท่าที่ศึกษาดูไม่มีสแตนดาร์ทไหนกำหนดเรื่องกระแส Unbalance ว่ามีค่าเท่าไหร่ มีแต่บอกว่า ค่า แรงดัน Unbalance 1 เปอร์เซนต์จะทำให้เกิดกระแส Unbalance ประมาณ 6 เปอร์เซนต์โดยประมาณ<br><br>ซึ่งก็น่าจะหมายความว่าถ้าต้องการจะใช้มอเตอร์ที่มีกระแส Unbalance เกิน 5-6 เปอร์เซนต์จะต้องมีการลดโหลดลงมาเช่นเดียวกัน แรงดัน Unbalance เพื่อให้มอเตอร์สามารถใช้งานต่อไปได้โดยไม่มีอุณหภูมิที่สูงเกินปกติ
ความคิดเห็นที่ 8
ช่างซ่อมมอเตอร์
10/11/2552
00:11 น.
การตรวจสอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ความคิดเห็นทั้งหมด 8 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
23 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD