![]() 26/04/2549 10:11 น. |
เรียนปรึกษาท่านผู้รู้ครับ<br> ถ้ามีมอเตอร์ใช้งานอยู่และต่ออยู่กับโหลดแต่อยู่ๆแล้วเกิดปัญหาเสียงดัง แต่สงสัยว่าเสียงที่ดังมาจาก Load ที่ต่อ หรือ Motor Bearing <br>จะตรวจสอบอย่างไรครับ <br> ที่มีการปฏิบัติเป็น Basic คือ มีการถอดโหลดที่ต่อมอเตอร์ออกและ Test run motor ตัวเปล่า พบว่าเสียงBearing Motorไม่ดัง แต่พอใส่โหลดแล้วเสียง Bearing Motor ดังมากยิ่งขึ้น ก็เป็นอันสรุปว่าต้องเปลี่ยน Bearing Motor<br> เผอิญว่าเป็นมอเตอร์เล็กนิดเดียวครับเลยไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายเรื่อง Vibration Analysis มีคำแนะนำ หรือ ข้อสรุปไหมครับว่า TEST MOTOR เพื่อฟังเสียงความผิดปกติที่ Bearing ควรต่อโหลด หรือ แค่ Run ตัวเปล่าก็เพียงพอ<br> แล้วถ้า Run ตัวเปล่าเสียง Bearing มอเตอร์ไม่ดัง พอต่อโหลดกลับดัง จริงๆแล้วควรทำอย่างไรครับ |
![]() 26/04/2549 16:23 น. |
ขอเพิ่มเติมข้อมูลที่ถามครับ <br>ความหมายจริงๆผมทราบครับว่าการทดสอบมอเตอร์ หรือ Test Run ตามโรงซ่อมทั่วไปจะเป็น No-Load แต่เพียงแค่สงสัยต่อครับว่า ถ้าเราทดสอบการ Run แล้วมอเตอร์อาจจะไม่มีเสียงดังของ Bearing มากพอ หรือ อาจจะอยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่าปกติ คำถามผมคือว่า เป็นไปได้ไหมว่า พอมีโหลดต่อเข้าไปแล้วเสียงจะดังมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าเป็นอย่างนั้นเวลาส่งมอเตอร์ไปซ่อมต้องระบุเพิ่มเติมให้ Test Run อย่างไร ต้องขอรบกวนผู้รู้ถ้าทำให้เสียเวลาอ่าน เพราะไม่ทราบจริงๆ และขอความกรุณาตอบด้วยครับ <br> ถ้าทดสอบ NO-LOAD TEST คลอบคลุมถึง ความผิดปกติที่มาจาก Bearing เสียงดังได้หมดหรือไม่ |
![]() 27/04/2549 19:35 น. |
ขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ<br><br>ในกรณีมอเตอร์ซึ่งขับโหลดอยู่มีเสียงดัง การแยกมอเตอร์ออกจากโหลดและทดสอบดู จากประสพการ์ณแล้วยังไม่เคยพบว่า เมื่อแบริ่งของมอเตอร์เกิดความเสียหาย จะเกิดผลการเปลี่ยนแปลงของเสียงแบริ่ง หมายความว่า ถ้าแบริ่งมอเตอร์เกิดความเสียหาย ถึงถอดแยกออกมา แบริ่งมอเตอร์ก็ยังคงที่จะส่งเสียงให้เราได้ยิน หรือตรวจจับได้อยู่ดี การทดสอบว่าเสียงนั้นเกิดจากแบริ่งหรือไม่( ขณะที่ต่อกับโหลดอยู่ ) จะใช้วิธีทดสอบโดยการอัดจาระบีเพื่อเปรียบเทียบกับเสียงเดิม กับเสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อพิจารณาว่าเสียงเกิดจากแบริ่งตัวใดหรือไม่<br><br>ในหลายๆกรณี อุปกรณ์อื่นๆที่อยู่ในห้องแบริ่ง หรือหมุนไปกับเพลาอาจจะส่งสัญญาณ หรือส่งเสียงที่ทำให้คล้ายกับเสียงแบริ่งได้ คงต้องพิจารณาในส่วนนี้ประกอบไปด้วย <br><br>ถ้ามาพูดถึงการทดสอบมอเตอร์ของโรงซ่อมหรือหลังการเปลี่ยนแบริ่ง จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี <br> กรณีแรก ลูกปืนแบบ Ball Bearing ถ้ามีการทดสอบก่อนส่งมอบลูกค้าที่ดีของโรงซ่อม เช่น มีการตรวจวัดสภาพ หรือฟังเสียงแบริ่ง และวัดอุณหภูมิของแบริ่ง เพื่อตรวจสอบความผิดปกติ โดยให้มีการหมุนตัวเปล่า อย่างน้อย 30 นาที เมื่อทดสอบผ่านจุดนี้ได้ ค่อนข้างจะการันตีได้เลยว่าเมื่อไปต่อใช้งานกับโหลดแล้ว จะไม่ก่อให้เกิดเสียงดัง แต่ก็ต้องระวังว่าหลังจากการทดสอบแล้วไม่มีขั้นตอนใดที่มีโอกาสทำให้เกิดความเสียหายที่แบริ่งขึ้นได้ เช่น การใส่คัปปิ้งโดยการตอกเข้า (นิยมใส่หลังการทดสอบ หรือลูกค้ามักจะใส่เอง ) หรือเกิดการกระแทกของเพลาในขณะขนส่ง<br><br> กรณีที่เป็นแบริ่งแบบ Roller Bearing แบริ่งประเภทนี้จะมี Clearance ในตลับแบริ่ง และพื้นที่สัมผัสค่อนข้างมาก ทำให้แบริ่งประเภทนี้จะเกิดเสียงดังเมื่อมีการทดสอบในขณะที่ไม่ได้ต่ออยู่กับโหลด เพราะเม็ดลูกปืนอยู่ในสภาวะลอยตัว ทำให้เกิดเสียงดัง ฉนั้นแบริ่งประเภทนี้จะตรงกันข้ามกับประเภทแรก คือ การทดสอบในสภาวะไม่ได้ต่ออยู่กับโหลด จะมีเสียงดังกว่า มีโหลดต่ออยู่ และถ้าเป็นแบริ่งปกติเสียงที่เกิดขึ้นก็จะไม่แตกต่างกันมากนัก |
![]() 21/12/2552 17:07 น. |
การฟังเสียงของตลับลูกปืน |