30/03/2549 03:24 น. |
1.ที่ MDB หรือ สายกราวกับนิวตรอนจะต่อถึงกันหรือเปล่าค่ะ มีเหตุผลยังไงถึงต้องต่อถึงกันค่ะ<br>2.ถ้าเราไม่ต่อนิวตรอนแต่ต่อสายกราวให้กระแสลงดิน kWh จะยังสามารถคิดค่าพลังงานได้อยู่อีกหรือเปล่า (ไม่เสียตังค์) <br>ขอบคุณค่ะ |
30/03/2549 16:54 น. |
ที่นี่มีคำตอบครับ<br>รบกวนมาโพสที่เวบผมครับ<br>w w w . s t a b i l . c o . t h<br> |
30/03/2549 18:42 น. |
จะตอบให้เป็นวิทยาทานสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านไฟฟ้านะครับ คือ สายนิวทรอลจะต้องต่อเชื่มกับสายดิน(Ground) แล้วต่อลงดินที่ตู้ MDB จุดนี้จุดเดียวเท่านั้นห้ามต่อสายนิวทรอลกับสายดินที่จุดอื่นอีก ตามมาตรฐาน การไฟฟ้า หรือ ว.ส.ท. กล่าวใว้ชัดเจน ครับ เหตุผลก็เพื่อถ้ามีกระแสรั่วหรือลัดวงจรลงดิน กระแสมันจะได้ไหลเป็น Loop เดียว ทำไห้อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วลวดินทำงานได้ถูกต้อง ถ้าไม่ต่อนิวทรอลที่จุดนี้ลงดินไม่ได้ครับ มันจะทำให้แรงดันบากเฟสเกินมาก บางเฟสต่ำมาก เครื่องใช้ไฟฟ้าก็พังอยู่ดีครับ |
04/04/2549 18:00 น. |
1.N ตามปกติแล้ว จะมีความต่างศักดิ์กับ พื้นดิน เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน จึงจำเป็นต้องต่อลงดิน การต่อจะต่อที่หม้อแปลงอยู่แล้วครับ และจุดที่ 2 ก็คือที่ MDB ร่วมกับ PE (ทำให้ศักดิ์เท่ากับGround )<br>2.N ในขณะใช้งานจะมีกระแสไหลผ่าน เพราะจะไหลกับไปที่หม้อแปลง(แต่ไม่ไดไหลลงground)<br>3.PE ในขณะใช้งานปกติจะไม่มีกระแสไหล จะมีกระแสไหลได้ในกรณี ไฟฟ้ารั่วเท่านั้น (ใช้สำหรับป้องกันไฟฟ้าดูด)<br>4.ถ้าไม่ ต่อ N และใช้ PE แทน N ไม่ควรทำครับเพราะกันตรายมาก มิเตอร์อย่างไรก็ยังคิดอยู่แต่อาจมีค่าน้อยลง ขึ้นอยู่กับชนิดของมิเตอร์ และลักษณะการต่อด้วย(ลักษณะการต่อบางอย่างมีผลให้มิเตอร์ไม่ทำงาน) ขอย้ำไม่ควรทำครับเพราะผิดมาตรฐาน และความปลอดภัย |
29/04/2549 12:38 น. |
เคยได้ยินมาเหมือนกันว่าทำได้ แต่อย่าทำเลยอันตรายไม่คุ้มหรอก <br>จะลดค่าไฟหาวิธีอื่นดีกว่า เช่น จัดโหลดอุปกรณ์ หลีกเลี่ยงช่วงพีค นะ |
04/05/2549 08:56 น. |
1. ที่ MDB คุณไม่ต่อถึงกันระหว่าง N กับ G ปัญหาคือเวลามีกระแสรั่วลงดิน ความต้านทานดินจะเป็นส่วนหนึ่งของวงจรป้องกัน เช่น ถ้าคุณมี Breaker 5 A. จากการที่คุณคำนวณโหลดไว้ว่าถ้าเกิดกระแสเกินหรือกระแสรั่วลงดิน กระแสที่ว่าจะคำนวณได้ตาม Loop สายไฟฟ้า สาย N , G ซื่งคุณรู้ใช่ไหมว่าสายไฟฟ้ามีความนำไฟฟ้ามากกว่าดินอยู่แล้ว อุปกรณ์ป้องกันคุณจะมองเห็นและทำงานตามที่ควรจะเป็น<br> แต่ถ้าไม่ต่อ G,N ถึงกัน กระแสเกินที่ว่าจะวิ่งไปผ่าน LOOP ความต้านทานดิน และไอ้ดินที่คุณว่านี่ คุณมั่นใจได้ไหมละครับว่าความต้านทานตำพอเพียงกับการทำงานของอุปกรณ์ป้องกันของคุณ ลองนึกต่อเองนะครับว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าบังเอิญความต้านทานดินคุณสัก 15 โอห์ม แล้ว แรงดันบ้านคุณ 220 v. หากระแสดูครับว่า ว่าถ้าไฟรั่วลงดินแล้ว Breaker 5 A คุณจะตัดการทำงานหรือไม่<br>2. ถ้าคุณใช้สาย N เป็นสาย G ความหมายง่ายๆนะตรับ คือ คุณลากสาย N มาจากหม้อแปลงและต่อเข้ากับ Bus ที่เป็นทั้ง G และ N ที่ MDB และคุณก็ทำการต่อลงดินโดยหลัก G ที่จุดนี้ จากนั้นถ้าเป็นโหลดไฟฟ้าไม่มาก คุณฟางอาจจะไม่ต้องนึกไปถึงระบบอื่นๆความหมายคือมีโหลดให้คุณสนใจเพียงแค่หลอดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าเล็กๆตามบ้านที่อยู่อาศัย ก็เลยไม่ได้นึกถึงความพอเพียงของสาย G ที่ว่าเลยลากสาย G ออกไปจาก Bus N,G ที่ MDB โดยเป็นสายเดียวกัน ปัญหาที่ตามมาคือ ถ้าสายไฟฟ้า หรือวงจรคุณยาวมากๆจะเกิดการแบ่งของกระแสทันมีที่มีการไปแตะอุปกรณ์ไฟฟ้า และ Voltage คุณจะ Drop ไอ้มิเตอร์ที่น้อยลงเพราะมันมี Loop ความต้านทานดินเข้ามานั่นแหละ |
28/07/2550 10:50 น. |
ในการคำนวนหาขนาดไฟฟ้าเมื่อจ่ายให้กับโหลด มาตรฐาน ว.ส.ท. กำหนดไว้ว่าอย่างไร |
27/07/2552 16:04 น. |
ความร้อนเเละประกายไฟจากกระเเสริ่วลงดิน |
19/01/2553 14:30 น. |
บ้านผมสายดิน(Ground) แล้วต่อลงดินที่ตู้ MDB จุดนี้จุดเดียว<br>ไฟรั่วทั้งหลังเลย ความต้านทานสายดินก็ต่ำ การไฟฟ้าเขาแก้ไม่ได้เลยให้แยกออกจากกัน |