05/02/2549 10:23 น. |
ตามที่มีคนถามเรื่อง DC MAGNETIC BREAK<br>ผมมีเรื่องสงสัยใคร่ขอความอนุเคราะห์ท่านผู้รู้ครับ<br> 1. พอดีลองจับ Manual ระบบ Hoist ขึ้นมาดูแล้วเห็นระบบ Break Hoist เขียนว่า Break โดยระบบ Conical Break ความหมายของ Conical Break เป็นอย่างไร หรือ ทำงานอย่างไรครับ<br> ในข้อ1นี้ผมลองSearch หาความรู้จาก Net เท่าที่พอจับประเด็นได้บ้างคือมีการออกแบบให้ Rotor ของ motor เป็นรูปกรวยแล้วถูกยันโดยแรงอัด Sprink จากนั้นดูโครงสร้างที่ประกอบกับชุด Rotor ก่อนถึง Ventilation Fan มีลักษณะเหมือนแผ่นจานกลมประกอบอยู่แล้วระบุชื่อว่า Conical Break สงสัยครับว่ามันทำงานสัมพันธ์กับแรงปลด-อัดให้ Sprink คลายตัวอย่างไร <br> ผมลองไปดูวงจรควบคุมทางไฟฟ้าจะเป็นวงจรธรรมดาคือจ่ายไฟเข้ามอเตอร์ธรรมดาโดยไม่เห็นขั้วจ่ายไฟเบรกในระบบนี้ หรือว่าไม่ต้องใช้ไฟจ่าย แล้วอำนาจแม่เหล็กที่จะเอาชนะแรงสปริงเพื่อปลดเบรก หรืออะไรก็แล้วแต่มาจากไหนครับในระบบ Conical Break ที่ว่านี้<br>2. ผมลองเช็คในระบบ Hoist อื่นๆดูบ้างว่า Break แบบไหนก็เจออีกลักษณะหนึ่งเขียนว่าเป็นแบบ DC MAGNETIC BREAK ซื่งจากการตรวจสอบที่วงจรไฟฟ้า พบว่ามีการ Tap แหล่งจ่ายออกมาต่างหากจากชุด หม้อแปลงแล้วจ่ายผ่าน Rectifier แล้วเข้าชุด DC MAGNETIC BREAK ซื่งในวงจรจะแยกจากแหล่งจ่ายไฟเข้ามอเตอร์ชัดเจน สงสัยอีกแล้วครับว่า DC magnetic break นี่เบรกแบบไหน จ่ายไฟเพื่อเบรก หรือ เพื่อปลดเบรก<br> 3. ถ้าลองมองจากการเบรกทั้งสองแบบนั้นเท่าที่เห็นทั่วไป Hoist ขนาดยกได้มากๆจะใช้ Break Conical ส่วน Hoist เล็กๆจะใช้ DC MAGNETIC BREAK ใช่หรือไม่ แล้วทั้งสองแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไรครับ<br> รบกวนปรึกษาครับ<br> |
05/02/2549 13:44 น. |
ผมขอให้ความเห็นตามหัวข้อที่ถามมาอย่างนี้ครับ<br><br> 1. ก่อนหน้านี้ผมได้กล่าวถึงประเภทของ คอยล์เบรกว่ามี 2 แบบคือจ่ายไฟ แล้วปลดเบรก กับอีกแบบที่เป็น จ่ายไฟเพื่อเบรก แต่ถ้าเป็นประเภทของมอเตอร์เบรก ก็จะมีอยู่ 2 ประเภทเช่นกัน ( เท่าที่มีประสพการ์ณ ) คือ<br> 1.1 มอเตอร์ เบรก ที่มีมอเตอร์ ทำงานแยก กับ คอยล์เบรก ซึ่งคอยล์เบรก ก็จะมี 2 ประเภทอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในกระทู้ก่อนหน้านี้<br> 1.2 มอเตอร์ที่ทำงานทั้งสองหน้าที่ คือ ทั้งหมุนขับโหลด และปลดเบรก การทำงานของมอเตอร์ประเภทนี้ คือ มอเตอร์จะมีโครงสร้างของสเตเตอร์ และโรเตอร์เป็น รูปกรวย ( Cone ) ทำให้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าจ่ายเข้าที่สเตเตอร์ และตำแหน่งการจัดวางโรเตอร์กับสเตเตอร์ที่เยื้องกัน มีผลทำให้เกิดแรงเคลื่อนที่ในแนวแกน ( เคลื่อนที่จากกรวยใหญ่ทิศทางเข้าหากรวยเล็ก ) และเมื่อมีการเคลื่อนที่จะใช้การเคลื่อนที่นี้เป็นการปลดเบรก<br> ข้อดีของมอเตอร์ประเภทนี้<br> 1. มีระบบการคอนโทรลที่ไม่ยุ่งยาก เพราะจ่ายไฟเข้าสเตเตอร์อย่างเดียวไม่ต้องมีการจ่ายไฟเข้าคอยล์เบรกก่อน<br> 2. มีความเร็วออกตัวดีกว่ากว่าแบบ มอเตอร์กับคอยล์เบรก เพราะไม่ต้องรอให้เบรกจากก่อนแล้วค่ยอจ่ายไฟเข้ามอเตอร์<br><br> ข้อเสียของมอเตอร์ประเภทนี้<br> 1. มักจะใช้แบริ่งพิเศษ ที่ไม่ใช่เบอร์มาตราฐาน<br> 2. มักจะเกิดการสึกหรอ บริเวณปลายเพลามอเตอร์ที่มีลักษณะเป็นเฟือง เนื่องจากต้องมีการเคลื่อนที่<br> 3. บาร์โรเตอร์มักจะเกิดความเสียหายเนื่องจากการทำงานหนัก<br><br> 2. มอเตอร์เบรกโดยทั่วไป เป็นแบบจ่ายไฟเพื่อปลดเบรกครับ โดยปกติจะใช้สปริงทำให้เกิดแรงเสียดทานในการเบรก<br><br> 3. จากประสพการ์ณที่ผ่านมา จะตรงกันข้ามครับ มอเตอร์เบรกขนาดใหญ่มักจะเป็น แบบ มอเตอร์ ทำงาน แยก กับ คอยล์เบรกครับ เพราะอะไรที่ออกแบบมาโดยเฉพาะหน้าที่ของมันจะทำงานได้ดีกว่าแบบที่สามารถทำงานได้หลายอย่าง |
05/02/2549 14:09 น. |
ขอโทษครับ อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ถามอีกที<br>1.ถ้า Conical break แสดงว่าไม่ใช้การจ่ายไฟ DC ให้เกิดอำนาจแม่เหล็กเพื่อเอาชนะแรงสปริงใช่ไหมครับแต่เป็นการออกแบบให้โรเตอร์มอดตอร์เคลื่อนที่ชักเข้า-ออกในตอนเริ่มแรกจากแรงเคลื่อนที่ในแนวแกน เพื่อ เบรก หรือ ปลดเบรก ซื่งเป็นการอัดสปริงกับดันสปริง ถูกไหมครับ<br>2. ถ้าเกิดการ Overload Trip ขึ้นมาในระหว่างยกของ ถ้าเป็น DC MAGNETIC BREAK วัสดุจะยังคงค้างอยู่โดยการหยุดจ่ายไฟมีผลให้ Break ทำงาน<br> แต่ถ้าเป็น Conical Break ที่ว่านี้ถ้า Over load trip จะทำให้สิ่งของที่ยกรูดลงมาเลยโดยไม่ค้างถูกไหมครับ คือผมไม่เข้าใจครับว่าถ้าหยุดจ่ายไฟเข้ามอเตอร์แล้วเบรกในระบบ Conical ทำงานอย่างไร<br> 3. ขอถามเกี่ยวกับที่บอกว่ามอเตอร์ เบรก ที่มีมอเตอร์ ทำงานแยก กับ คอยล์เบรก หมายถึงออกแบบมอเตอร์ที่มี Coil break ติดมาในตัวเป็น Complete set ใช่ไหมครับ พอดีงง น่ะครับเห็นในวงจร Control เขียน Part Break กับ Motor แยกจากกัน หรือ จริงๆแล้วเป็นอย่างไร<br>ขอบพระคุณครับที่กรูณาตอบ / ช่างใหม่ |
05/02/2549 16:05 น. |
ขอตอบตามหัวข้อที่ถามเพิ่มเติมดังนี้ครับ<br><br>1. เข้าใจถูกต้องแล้วครับ เพระมอเตอร์เบรกแบบนี้ จะไม่มีคอยล์เบรก และมอเตอร์จะเบรกก็ต่อเมื่อไม่มีการจ่ายไฟเข้าขดลวดสเตเตอร์ ที่ปลายเพลาด้านเพลาขับจะมีสปริงตัวใหญ่ติดตั้งอยู่ มีหน้าที่ดันโรเตอร์ที่มีจานเบรคส่วนที่เคลื่อนที่ให้ถอยหลังไปเสียดสีกับจานเบรคส่วนที่อยู่กับที่ ถ้าไม่มีการจ่ายไฟ แรงดันสปริงจะดันโรเตอร์ที่มีจานเบรคส่วนที่เคลื่อนที่ไปสัมผัสกับจานเบรคส่วนที่อยู่กับที่ทำให้เกิดการเบรค และถ้าเราจ่ายไฟเข้าไปที่ขดลวดสเตเตอร์ โรเตอร์จะเคลื่อนที่ไปด้านหน้า และหมุนไปในเวลาเดียวกัน การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจะเป็นการปลดเบรก ซึ่งจะเห็นได้ว่ามอเตอร์ต้องทำงานสองอย่างในเวลาเดียวกัน คือเอาชนะแรงดันสปริงตลอดเวลาที่มีการใช้งานมอเตอร์ และในขณะเดียวกันต้องต้องขับโหลด และนี่ก็เป็นสาเหตุให้บาร์โรเตอร์ของมอเตอร์ประเภทนี้เกิดความเสียหายขึ้นบ่อยมาก<br> จากการทำงานข้างต้นมอเตอร์เบรกประเภทนี้จะไม่มี ประเภทการจ่ายไฟแล้วทำให้เกิดการเบรคครับ<br> <br>2. ถ้าเป็นมอเตอร์เบรกที่ใช้ในการยกของ ต้องออกแบบเป็นแบบเบรกด้วยสปริงหรือทางแมคคานิคอยู่แล้วครับ เพราะไม่อย่างนั้นในขณะยกของเกิดไฟฟ้าดับหรือผิดปกติขึ้นมา สิ่งของต้องตกลงมาอย่างแน่นอน (ผมอาจจะลำดับความไม่ดีทำให้อ่านแล้วสับสน ) และยังไม่เคยพบว่ามอเตอร์เบรกที่จ่ายไฟแล้วเบรกออกแบบมาใช้กับเครน หรือ ฮอยส์ ส่วนมากจะพบกับมอเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีโหลดที่มีแรงเฉื่อยมากๆ และถูกใช้งานกับเครื่องจักรที่อยู่กับพื้นดิน<br><br>3.มอเตอร์เบรกที่มอเตอร์ ทำงานแยกกับคอยล์เบรก ถ้ามองตามโครงสร้างแล้วจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าส่วนไหนที่เป็นมอเตอร์ และส่วนไหนที่เป็นส่วนเบรคแยกกันอยู่อย่างชัดเจน แต่จะประกอบอยู่ด้วยกัน<br> ส่วนถ้าเป็นชุดควบคุมก็แล้วแต่การออกแบบครับ แต่ส่วนมากที่เห็นจะออกแบบให้นำไฟที่จ่ายให้กับมอเตอร์จ่ายให้กับชุดเรตติไฟของชุดเบรคด้วย ฉะนั้นเมื่อมีการจ่ายไฟเข้ามอเตอร์ เบรคก็จะทำงานทันทีพร้อมกับมอเตอร์ แต่ก็จะมีการออกแบบที่มีระบบป้องกันที่ดีที่ออกแบบให้เบรคต้องทำงานก่อน โดยอาศัยสวิทช์ขนาดเล็กติดตั้งไว้ที่คอยล์เบรคเป็นตัวสั่งงานให้มอเตอร์ทำงานต่อจากเบรคอีกที ก็หมายความว่าถ้าคอยล์เบรกไม่ทำงานหรือปลดเบรก มอเตอร์ก็จะไม่ทำงาน มอเตอร์ก็เลยจะไม่มีโอกาสทำงานในสภาวะล๊อคโรเตอร์ ทำให้ช่วยให้มอเตอร์ไม่ค่อยเกิดความเสียหาย |
11/11/2550 16:25 น. |
มอเตอร์มีความสัมพันธ์กับแรงดันแม่เหล็กอย่างไร<br>อยากทราบด่วนค่ะจะทำรายงาน<br> |
27/11/2550 09:11 น. |
<a href="http://www.tinamics.com/s0103/index.php?tpid=0062&pgid=0010&menusub=12" Target="_BLANK">www.tinamics.com/s0103/index.php?tpid=0062&pgid=0010&menusub=12</a><br>การเบรกโดยวิธีการฉีดไฟฟ้ากระแสตรง(Dc injection braking)<br> การเบรกด้วยวิธีนี้ทำได้โดยการปลดไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ออกจากขั้วของขดลวดสเตเตอร์ออกจากไลน์แล้วจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงเข้าไปกระตุ้นขดลวดในสเตเตอร์แทน ไฟฟ้ากระแสตรงจะสร้างสนามแม่เหล็กถาวรที่ขดลวดสเตอร์แต่ไม่ได้เป็นสนามแม่เหล็กหมุนเหมือนไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ตัวโรเตอร์ซึ่งเป็นขดลวดวงจรปิด ที่กำลังหมุนอยู่ด้วยแรงเฉื่อยจะหมุนตัดผ่านสนามแม่เหล็กถาวรจากไฟฟ้ากระแสตรง จะเกิดการเหนี่ยวนำแล้วมีกระแสไหลในขดลวดโรเตอร์จะสร้างให้เกิดแรงบิดต้านการหมุน เป็นผลให้กราฟแรงบิดของมอเตอร์เป็นกราฟแรงบิดเป็นแบบย้อนกลับหรือแบบเงา(Mirror)ใกล้เคียงกับเส้นกราฟของแรงบิดของมอเตอร์ ซึ่งความสูงของเส้นกราฟจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการฉีดปริมาณของกระแสของไฟฟ้ากระแสตรงที่จ่ายเข้าไปเพื่อทำการเบรก <br> |
24/03/2555 09:19 น. |
ทำไมต้องใช้ไฟDCในการเบรกมอเตอร์และผมเคยเจอไฟเบรกมี 2ชุด คือ100Vdc,12Vdcเพราะสาเหตุใดครับ |