16/01/2549 10:59 น. |
มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป้องกันกระแส Shaft Current ซื่งจะแก้ไขโดย การใช้ Bearing ที่มีฉนวนกั้น หรือ การใช้วิธีการ บายพาสแบริ่งโดยชุดแปรงถ่าน<br> ข้อสงสัยก็คือ ในการออกแบบวิธีป้องกันเพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดจาก Shaft Current นั้น (ตาม 2 วิธีข้างต้น)<br>เอาหลักเกณฑ์อะไรมาตัดสินครับ ผมหมายถึงจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไรจะใช้ Bearing Insulation เมื่อไรควรออกแบบแค่การ บายพาสแบริ่งโดยแปรงถ่านก็พอ ดูจากอะไร ถ้าบอกว่า พิกัดมอเตอร์มากๆ ผมก็ยังเคยเห็นมอเตอร์บางตัวพิกัดเท่ากันตัวหนึ่งบอกว่า Bearing เป็น Insulation มาแล้ว อีกตัวบอกไม่ได้ใช้ Bearing insulation เลยออกแบบติด Brush ที่เพลา<br> และอีกคำถามครับ ผมลองอ่น Manual ที่ผู้ผลิตส่งให้เกี่ยวกับ Bearing ไม่เห็นมีโครงสร้างบอกเลยครับว่าเป็น Bearing Insulation หรือเปล่า เคยถามผู้รู้บอกว่า มันต้องมี Insulation อยู่แล้ว Bearing มอเตอร์ขนาดใหญ่ขนาดนี้ตามทฤษฎีต้องมี แต่ผมจะเชื่อได้อย่างไร จะหาข้อมูลจากไหน หรือการที่ผมจะรู้ว่า Bearing ผมเป็น Insulation Bearing หรือเปล่าต้องมีการถอดออกมาดูและให้โรงซ่อมมอเตอร์มาดูเท่านั้นครับ <br>รบกวนท่านผู้รูทุกท่านด้วยครับ |
16/01/2549 19:03 น. |
ผมขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ<br><br> มอเตอร์ที่ต้องมีวิธีการป้องกัน Shaft Current ก็ได้แก่ มอเตอร์ที่เป็น MV และ มอเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับ Inverter โดยเฉพาะ<br><br> วิธีที่ใช้ในการป้องกัน Shaft Current ไหลผ่านแบริ่ง เพราะ Shaft Current จะสร้างความเสียหายให้กับแบริ่งเป็นหลัก ก็จะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีคือ<br> 1. การบายพาส แบริ่งด้วยการใช้ชุดแปรงถ่าน บายพาสผ่านแบริ่งซึ่งจะต้องทำทั้งสองด้านของแบริ่ง<br> 2. การเปิดวงจรโรเตอร์ออกไม่ให้เกิดการครบวงจร ซึ่งทำได้โดยการกั้นฉนวนไฟฟ้า ไม่ให้โรเตอร์ด้านหนึ่งด้านใดครบวงจร ( เพลาด้านใดด้านหนึ่งของโรเตอร์ไม่ถึงกันทางไฟฟ้ากับเฟรมของมอเตอร์ ) โดยปกติจะกั้นฉนวนที่ด้าน ที่ไม่ใช่เพลาขับเพราะจะทำฉนวนไฟฟ้าจะได้ไม่ต้องรับแรงมาก วิธีการเปิดวงจร มีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ<br> 2.1 การใช้แบริ่งที่เคลือบฉนวนไฟฟ้า <br> 2.2 การออกแบบใส่ฉนวนไฟฟ้าเข้าไปที่ฝาปิดหัวท้ายของมอเตอร์ ( เป็นวิธีที่นิยมที่สุด )<br> 2.3 การพอกฉนวนไฟฟ้า เคลือบผิวเพลาบริเวณที่มีการติดตั้งแบริ่ง<br> <br> จากประสบการ์ณผ่านมาจะพบว่า ผู้ผลิตจะเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งในการ ป้องกัน Shaft Current และคงต้องถอดดูว่ามีการป้องกันแบบใด<br><br> |
18/01/2549 09:10 น. |
การพอกฉนวนไฟฟ้า เคลือบผิวเพลาบริเวณที่มีการติดตั้งแบริ่ง<br>ต่างกับการออกแบบใส่ฉนวนไฟฟ้าเข้าไปที่ฝาปิดหัวท้ายของมอเตอร์ อย่างไรครับ / คุณช่างซ่อมมอเตอร์ |
18/01/2549 22:00 น. |
ทั้งสองวิธี มีจุดประสงค์เดียวกัน คือการเปิดวงจรโรเตอร์ไม่ให้ครบวงจร โดยที่ยังคงใช้แบริ่งแบบธรรมดา <br><br> จากประสบการณ์ของผม เท่าที่เคยพบมาจะมีแต่เฉพาะมอเตอร์ ยี่ห้อ US motor บางโมเดลเท่านั้นที่ใช้วิธี พอกฉนวนไฟฟ้า( เซรามิก ) ที่เพลาบริเวณตำแหน่งที่สวมแน่นแบริ่ง ข้อดีของวิธีนี้ น่าจะเป็นเรื่องของความสะดวก ในการผลิต แต่ข้อเสียจะเห็นได้ชัด เวลาที่ต้องการถอดแบริ่งออก จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะ ฉนวนจะกระเทาะหรือแตกออก และโดยเฉพาะเวลาที่ต้องการถ่วงบาลานซ์ที่โรเตอร์ ต้องหาตำแหน่งอื่นที่เรียบพอ หรือไม่ต้องหาปลอก แบริ่งจำพวก Nu มาใส่เพื่อป้องกันการแตกร้าวในขั้นตอนการทำบาลานซ์<br><br> ฉะนั้นผู้ผลิตส่วนมากจึงมักจะใช้วิธีทำโครงสร้างของฝาปิดท้ายมอเตอร์ให้เป็นฉนวนซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะต้องสังเกตุให้ดีเพราะมองผิวเผินอาจจะมองไม่เห็นเพราะมีการออกแบบที่ดี ซึ่งผมเองก็เคยเหมือนกันที่พยายามมองแบบธรรมดาแต่มองไม่ออก แต่พอนำมิเตอร์มาวัดปรากฏว่ามีฉนวนไฟฟ้า อยู่ ต้องใช้การพิจารณาโครงสร้างกันพอสมควรจึงจะรู้ว่ามีการทำฉนวนไฟฟ้าไว้ที่ตำแหน่งใด |
19/01/2549 09:00 น. |
ผมอ่านเจอใน Manual Toshiba ชนิด mv.motor เขาเขียนว่า<br>location of shaft current insulation<br>B.F.P.motor are provided with a shaft current insulation .The shaft current insulation is fited at the non-drive end side bearing<br>และเรียกชื่อว่าเป็น ISOLATOR <br>สงสัยครับว่าจะป็นการพอกฉนวนที่เพลา หรือ ใส่ฉนวนที่ฝาปิด<br>แต่จากรูปที่ดูเหมือนกับมีการพอกฉนวนที่เพลาเนื่องจากรูป Isolator ที่ว่านี้วางอยู่ในตำแหน่งเพลาด้าน Non - drive end<br> ขอความเห็นหน่อยครับ ว่า เราจะวัดค่าโดยอ้างอิงลักษณะใดที่จะบอกว่าฉนวนยังดีอยู่หรือ การ Maintenance ต้องวาง Schedule อย่างไร<br> รบกวนหน่อยครับ คุณช่างซ่อมมอเตอร์<br><br><br><br><br><br> |
21/01/2549 13:52 น. |
จาก Wording ของ โตชิบา ที่เขียนแจ้งมา ผมอ่านแล้วเข้าใจว่ายังไม่สามารถระบุได้ทันทีว่าเป็น การเคลือบฉนวนไฟฟ้าที่เพลาของมอเตอร์ และเหตุผลที่บอกไปแล้วว่า การเคลือบฉนวนที่เพลาไม่พบบ่อยนัก<br><br> วิธีการตรวจสอบฉนวนไฟฟ้า ว่าเป็นแบบใด คงต้องถอดดู และวิธีการทดสอบ ทำได้โดยการวัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าด้วยเมกเกอร์ 500 V. ค่าที่วัดได้ควรจะสูงกว่า 1 เมกกโอห์ม<br><br> การบำรุงรักษาควรจะมีการตรวจสอบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแบริ่ง หรือทุกครั้งที่มีโอกาสถอด(ชักโรเตอร์ออกจากสเตเตอร์ )โรเตอร์ออกมาจากสเตเตอร์ |
05/09/2551 15:25 น. |
<a href="http://www.tinamics.com/download/tinamics_com/bearing_current_leak_th.pdf" Target="_BLANK">www.tinamics.com/download/tinamics_com/bearing_current_leak_th.pdf</a><br><a href="http://www.tinamics.com/download/tinamics_com/motor_for_inverter.pdf" Target="_BLANK">www.tinamics.com/download/tinamics_com/motor_for_inverter.pdf</a><br> |
16/09/2551 13:25 น. |
bearing ทนความร้อนที่อุณหภูมิเท่าไหร่ |
16/09/2551 13:31 น. |
กระแสของ motor เเต่ละเฟรสควรต่างกันกี่ % จึงถือว่าผิดปกติ |
26/08/2552 15:59 น. |
ขอบคุณครับ |