Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,250
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,527
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,834
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,801
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,260
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,332
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,301
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,672
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,692
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,138
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,071
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,288
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,718
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,488
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,499
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,372
17 Industrial Provision co., ltd 40,440
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,099
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,027
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,358
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,257
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,614
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,036
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,828
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,260
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,278
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,637
28 AVERA CO., LTD. 23,392
29 เลิศบุศย์ 22,351
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,114
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,016
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,667
33 แมชชีนเทค 20,604
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,851
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,834
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,628
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,267
38 SAMWHA THAILAND 19,101
39 วอยก้า จำกัด 18,796
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,328
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,122
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,066
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,010
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,007
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,908
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,902
47 Systems integrator 17,451
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,414
49 Advanced Technology Equipment 17,229
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,218
28/11/2548 21:59 น. , อ่าน 3,231 ครั้ง
Bookmark and Share
Loss field
chan
28/11/2548
21:59 น.
Loss field คือ อะไร เกิดขึ้นอย่างไร มีวิธีกแขอย่างไร
ความคิดเห็นทั้งหมด 14 รายการ |
ความคิดเห็นที่ 1
กี้
29/11/2548
20:49 น.
loss field คือ สนามหาย ( ใครขโมย )<br>
ความคิดเห็นที่ 2
กี้
29/11/2548
21:15 น.
loss field น่าจะหมายถึง การที่ดีซีมอเตอร์ ไม่มีการกระตุ้นของ ขดลวดชุดสร้างสนามแม่เหล็กหลัก separate field / shunt field / series field สาเหตุน่าจะมาจาก สาย field ขาด หลุด หลวม หรือมาจากชุด ไดร์ มาปัญหา เป็นสาเหตุให้ armature หรือ rotor เกิดการ runaway คือความเร็วรอบจะเพิ่มขึ้นไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และกระแสอาร์เมเจอร์จะสูงมาก ถ้าจะป้องกันดีก้ออาจจะทริปก่อนที่มอเตอร์จะเป็นอะไรไป แต่ถ้ามันไม่ทริปละ กระจายแน่ เคยเจอมอเตอร์ loss field มาสองตัว ตัวแรก ดีซีขนาด 450 กิโลวัตต์ สภาพมอเตอร์ดูไม่จืดเลย คอมมิวเตอร์ กระจาย หลุดออกจากอาร์เมเจอร์ ไม่เหลือซักซี่เลย housing กระจาย แตก เพลาคด แต่ก้อมีร้านเอามาซ่อมได้อีกนะ อีกตัวนี้เกิดต่อหน้าต่อตาเลย ตัวนี้เล็ก 15 กิโลวัตตเอง เกิดตอนไม่มีโหลด หมุนคงเป็นหมื่นรอบละมั่ง ขนาดใบพัดระบายความร้อน ที่ตัวอาร์เมเจอร์ เป็นเหล็กหล่อ แตกเลย กระแทก กับhousing กระจายออกมา ลูกน้องยืนอยู่ห่าง 3 เมตร โดนเศษใบพัดเข้าที่ขาเลือดเลยครับ ใครอยากรู้ว่าเป็นเป็นงั้ยก้อลองดูละกัน
ความคิดเห็นที่ 3
jirasak
30/11/2548
17:25 น.
ผมทำงานเกี่ยวกับ งานซ่อมบำรุงมอเตอร์ AC, DC, Servo,Pump, Generatorทั้งในส่วน Overhaul / Rewinding และด้าน Mechanic ถ้าท่านใดต้องการทราบรายละเอียด โปรดติดต่อ 015666106,059160070 ได้ครับ <br> loss field อาจเกิดจากขดลวดชุด Field ขาดหรือช๊อท ผลคือทำให้มอเตอร์ Over speed กระแส Armature เกิน ถ้าเป็น Drive รุ่นเก่ามอเตอร์จะเกิดประกายไฟอย่างรุนแรงที่ commutator ส่งผลให้ commutator ช๊อทและอาจทำให้ Armature ช๊อทในเวลาต่อมา
ความคิดเห็นที่ 4
วิศวะใหม่
30/11/2548
20:46 น.
เอ คำตอบที่2 และที่ 3 ครับ ทำไม loss field แล้ว ทำไม มอเตอร์ต้องหมุนความเร็วรอบสูงด้วย มอเตอร์น่าจะหยุดหมุนนะเพราะไม่มีอะไรไปผลักกับสนามแม่เหล็กที่เกิดจากอาร์เมเจอร์ ช่วยอธิบายให้ทราบนิดนึงครับ ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 5
ajmahachai
01/12/2548
21:51 น.
ผมมีขอ้สงสัยเหมือนคุณคำถามที่ 4 เลยครับยังงัยช่วยไขข้อสงสัยด้วยครับ
ความคิดเห็นที่ 6
jirasak
02/12/2548
19:23 น.
สาเหตุที่มอเตอร์ Overspeed เพราะยังมีแรงดันไฟฟ้าจ่ายให้กับ Armature อยู่ โดยที่ Armature ยังต่อกับขดลวด Interpole<br>อยู่ซึ่งทำให้สนามแม่เหล็กเกิดขึ้นตามทฤษฎี ( ให้สังเกต Series motor ใช้หลัการเดียวกันเพียงแต่ถ้าเป็น DC ขนาดใหญ่ค่าความต้านทานจะต่ำมากกระแสจึงสูงกว่า ) ส่วน Field มีหน้าที่ในการควบคุมรอบและแรงบิดให้เป็นไปตามที่ต้องการ
ความคิดเห็นที่ 7
ช่างซ่อมมอเตอร์
02/12/2548
21:39 น.
ผมขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ <br><br>ในกรณี มอเตอร์กระตุ้นแยก เมื่อเกิดเหตุที่ทำให้ สนามแม่เหล็กหลักหายไป ( ลอสฟิลด์ ) พฤติกรรมของมอเตอร์จะเป็นเช่นไร โดยผมมีความคิดเห็นแบ่งออกเป็น 2 กรณีครับ<br>1. ในกรณีมอเตอร์ไม่ได้ขับโหลด มอเตอร์จะกระแสสูงในช่วงแรกและเริ่มลดลงเมื่อความเร็วรอบของมอเตอร์สูงขึ้น แต่ความเร็วรอบของมอเตอร์จะสูงขึ้นเรื่อยๆ( พฤติกรรมของดีซีมอเตอร์ โดยใช้ขด อินเทอร์โปลแทนขดลวดซีรีย์ฟิลด์ ) และสูงจนเกินค่าที่โรเตอร์จะทนได้ ทำให้ขดลวดและคอมมิวเตอร์เกิดความเสีย<br>2. ในกรณีมอเตอร์ขับโหลดอยู่ มอเตอร์จะกระแสสูง แต่เพียงอย่างเดียวแต่ ความเร็วรอบไม่สูงขึ้น อาจจะลดลงเสียด้วยซ้ำเพราะแรงบิดของมอเตอร์สร้างได้ลดลง ( แรงบิดสร้างจาก อาร์เมเจอร์กับอินเทอร์โปล ) กระแสสูงเนื่องจาก Back EMF ที่เกิดขึ้นที่ อาร์เมเจอร์ลดลง เนื่องจากไม่มีสนามแม่เหล็กหลัก ความเสียหายจะเกิดขึ้นเฉพาะอาร์เมเจอร์ ถ้าอุปกรณ์ป้องกันไม่ตัดวงจรออก<br><br>ก็เลยเข้าใจว่า กรณีของคุณกี้ น่าจะเป็นกรณีที่มอเตอร์ ลอสฟิลด์ในสภาวะไม่มีโหลด<br> <br>
ความคิดเห็นที่ 8
กี้
02/12/2548
21:56 น.
ครับ กรณีของผมเกิดตอนไม่มีโหลด ครับ<br><br>สาเหตุที่มอเตอร์ โอเวอร์สปีด ในกรณีมอเตอร์ กระตุ้นแยก SEPARATE EXCITATION ถ้าเราจ่ายไฟเลี้ยงอาร์เมเจอร์ คงที่ไว้ แล้วเราค่อยๆ ลดกระแสที่เราจ่าย ไฟเลี้ยงฟิลด์ จะทำให้ความเร็วรอบ ค่อยๆสูงขึ้น ยิ่งเราลดกระแสฟิลด์ลงไปมากรอบก้อจะสูงมากขึ้นไปอีก ถ้าเราลดจนหรือ ศูนย์เลย มอเตอร์ก้อจะโอเวอร์สปีดเลย
ความคิดเห็นที่ 9
กี้
02/12/2548
22:37 น.
มีข้อสงสัยขอถาม ( คำตอบที่ 6 ) คุณ jirasak หน่อย ที่คุณบอกว่า อินเตอร์โปล ทำให้สนามแม่เหล็ก แล้วเกิด โอเวอร์สปีด แล้วหลักการเดียวกับซีรี่ส์มอเตอร์ <br><br>ปกติ กระแสที่ไหลผ่านอาร์เมเจอร์จะกระแสตัวเดียวกับอินเตอร์โปล ยิ่งกระแสมากอินเตอร์โปลก้อจะสร้างสนามแม่เหล็กได้มาก ถ้าหลักการเหมือนกับซีรี่ส์มอเตอร์ รอบก้อก็น่าจะน้อยลง รอบไม่น่าสูงขึ้น และตำแหน่งของอินเตอรโปลกับตำแหน่งของซีรี่ส์ฟิลด์ ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกันอยู่ห่างกัน 180 องศาทางไฟฟ้า <br><br>ยังมีข้อสงสัยอีกครับ ถ้าขดลวดอินเตอร์โปลสามารถการเป็นซีรี่ส์ฟิลด์ได้ ดังนั้นในขณะที่เกิดการ ลอสส์ฟิลด์ มอเตอร์ก็อาจจะกลับทางหมุนได้นะซิครับ<br>คือถ้าเราจ่ายไฟให้อาร์เมเจอร์ A1 + และ B2 - แล้วจ่ายไฟ F1+ และ F2- สมมุติว่ามอเตอร์หมุน ตามเข็ม แล้วทำให้เกิดการ ลอสส์ฟิลด์ มอเตอร์เกิดการโอเวอร์สปีด ไปในทิศทาง ตามเข็ม แล้วเราทำการสลับการจ่ายไฟที่ ฟิลด์ ให้เป็ฯF1 - และ F2 + มอเตอร์จะหมุนทวนเข็ม และถ้าทำให้ลอสส์ฟิลด์ มอเตอร์ก็ต้องหมุนโอเวอร์สปีด กลับไปในทิศทาง ตามเข็มใช้ปล่าวครับ เพราะ ทั้งอาร์เมเจอร์และอินเตอร์โปล ( ที่กลายเป็นซีรี่ฟิลด์ไปแล้ว ) เรายังจ่ายไฟขั้วเหมือนเดิม กระแสยังเป็นทิศทางเดิมอยู่ ช่วยอธิบายทีครับ ผมอาจเข้าใจสับสนเองก็ได้<br>
ความคิดเห็นที่ 10
กี้
02/12/2548
23:11 น.
ขอถามต่ออีกนิดนึง แต่ไม่เกี่ยวกับกระทู้แล้ว <br><br>ใครเคยเห็นการเทสรันมอเตอร์ดีซีแบบนี้บางครับ<br><br>คือ เขาจะลดแรงดันที่จ่ายให้อาร์เมเจอร์ลงมาต่ำๆ แล้วลดกระแสฟิลด์ ให้เป็นศุนย์ ชั่วขณะ ประมาณ 1 ถึง 3 วินาที แล้วค่อยจ่ายฟิลด์ ตามเดิม เขาบอกว่าเป็นเหมือนการ สมมุติโหลดให้มอเตอร์ ใครรู้หลักการ เทสแบบนี้ช่วยบอกหน่อยครับ
ความคิดเห็นที่ 11
ช่างซ่อมมอเตอร์
06/12/2548
14:15 น.
การทดสอบดังกล่าว ศัพท์ทางโรงซ่อมเรียกว่า การทำ ฟิลด์วีด ( Field Weak ) ในหลักการคือต้องการให้ขดลวดอาร์เมเจอร์ และขดลวดที่ต่ออยู่ด้วย เช่น อินเทอร์โปล หรือ คอมเพนเสท ทำงานได้อย่างเต็มที่(มีกระแสพิกัดไหลผ่าน ) เพื่อตรวจสอบ ความถูกต้อง ของ วงจรการต่อ ความผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้นที่ขดลวดทุกขด ระยะห่างต่างๆที่มีผลต่อสนามแม่เหล็ก ถ้าขดลวดทั้งหมดที่ต่ออยู่มีอะไรที่ผิดปกติ มอเตอร์จะแสดงมาให้เห็นในรูปแบบของสปาร์คที่จะเกิดขึ้นที่ถ่านและผิวหน้าคอมมิวเตเตอร์<br><br>ในการทดสอบแบบ Noload กระแสอาร์เมเจอร์ และกระแสที่ไหลผ่านขดอื่นๆที่ต่ออยู่กับ อาร์เมเจอร์จะมีค่าต่ำมากๆเมื่อเทียบกับกระแสพิกัด ฉะนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ขดลวดอาร์เมเจอร์ ขดลวดอินเทอร์โปล และคอมเพนเสท มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นในขณะทำการทดสอบ ขณะไม่มีโหลด<br><br>ขั้นตอนการทดสอบมีดังนี้<br>1. ป้อนแรงดันฟิลด์ตามพิกัด<br>2. ป้อนแรงดันอาร์เมเจอร์ประมาณ 20 เปอร์เซนต์ของแรงดันพิกัด<br>3. ลดแรงดันป้อนฟิลด์อย่างรวดเร็วและให้สังเกตุ ดูกระแสที่จะเพิ่มขึ้นให้อยู่ประมาณที่พิกัดกระแส<br>4. ในขณะที่กระแสพุ่งขึ้นไปที่พิกัดกระแส ให้สังเกตุ การเกิดสปาร์คที่อาจจะเกิดขึ้นที่ซองแปรงถ่าน<br>5. ถ้ามอเตอร์ทุกอย่างปกติจะต้องไม่มีสปาร์คเกิดขึ้น<br><br>ฉะนั้นมอเตอร์ทุกตัวที่มีการซ่อมหรือผ่านการถอดรื้อชิ้นส่วนต่างๆออก ควรจะมีการทดสอบ ฟิลด์วีค เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามอเตอร์จะไม่เกิดการสปาร์คขึ้นในขณะขับโหลด
ความคิดเห็นที่ 12
พึงจะรู้
14/12/2548
20:23 น.
ถาม ช่างซ่อมมอเตอร์ มีหนังสือแบบคำตอบนี้ หาอ่านได้ที่ไหนครับ
ความคิดเห็นที่ 13
noi vila
23/12/2548
12:58 น.
ตำราเเบบนี้ไม่มีครับ มีเเต่สนใจ ใคร่รู้ เเละฝึกปฎิบัติครับ
ความคิดเห็นที่ 14
ช่างซ่อมมอเตอร์
23/12/2548
13:39 น.
คำตอบที่เขียนบอกไป ไม่มีหนังสือที่บอกรายละเอียดโดยตรง แต่ก็จะมีหนังสือบางเล่มที่อ้างอิงบ้างบางส่วน และ ที่เหลือจะอ่านจากบทความต่างๆที่เกี่ยวกับการทดสอบมอเตอร์ และที่สำคัญคือประสบการ์ณที่อยู่กับมอเตอร์มานานครับ
ความคิดเห็นทั้งหมด 14 รายการ |
แนบรูปประกอบ:
นามสกุล *.jpg , *.gif เท่านั้น
ชื่อผู้ตอบกระทู้:
คำถามเชิงวิศวกรรม(ตอบเป็นตัวเลขเท่านั้น):
2 เซ็นติเมตรมีกี่มิลลิเมตร
ระบุข้อความยืนยันด้านล่าง:
4 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD