18/11/2548 16:20 น. |
อยากทราบเกี่ยวกับ flashover และ back flashover เราจะทราบได้อย่างไรครับว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ flashoverขึ้น มันเป็นการ flashover ธรรมดา หรือ เป็นการเกิด back flashover ขอบคุณครับ |
18/11/2548 16:30 น. |
flashover คือ การเกิด การวาบไฟตามผิวฉนวนทางไฟฟ้า ผมยกตัวอย่าง เช่น ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้านั้น พอมีฝุ่นมาเกาะมากๆเข้าประกอบกับความชื้นหรือ ฝนตก ดังนั้น เมื่อมี กระแสจ่ายใน สายไฟฟ้าตลอดเวลา ความร้อนจากกระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งจะมากระตุ้นให้ ฝุ่นผง และ ความชื้นเหล่านี้เกิดเป็นแถบตัวนำขึ้นซื่งทางไฟฟ้าเรียกว่า แถบแห้ง ซื่งเมื่อมีการขยายใหญ่ขึ้นแล้วจะทำให้เกิดเป็นแถบตัวนำขนาดใหญ่ที่ลูกถ้วย ทำให้สภาพฉนวนลูกถ้วยเสียไปจึงเกิด Voltage ตกคร่อมแถบความต้านทานนี้อย่างมาก เรียกว่า Flasher หรือ Falsh over เดี๋ยวถ้ามีเวลาจะอธิบาย Back Flash over ครับ |
21/11/2548 22:00 น. |
ขอบคุณครับ ช่วยตอบต่อด้วยนะครับ ว่า backflash ต่างกันกับ flashover ยังไง แล้วเราจะรู้ได้ยังไง ว่าเป็น flashover หรือ back flashover ครับ |
25/11/2548 08:29 น. |
คำว่า Back Flash Over คือการเกิดวาบไฟตามผิวย้อนกลับบนลูกถ้วยฉนวน ซื่งเป็นผลทางอ้อมจากเหตุการณ์ฟ้าผ่าลงบนสาย Over Head Ground Wire แล้วทำให้เกิดค่าศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นบนสายดินหรือเสาไฟฟ้าที่มีค่าสูงเกิน แล้ว แรงดันเกินที่ว่าก็จะตกคร่อมลูกถ้วยฉนวนที่มีค่าสูงเกินพิกัดที่จะทนได้ของฉนวนลูกถ้วยผลที่ตามมาก็เหมือนเหตุการณFlash over เหมือน กันลองนึกภาพง่ายๆฉนวนไฟฟ้านั้นปกติจะมีความสามารถในการทนได้ต่อแรงดันของฉนวนแต่ละระบบอยู่ แต่เมื่อเราจะทำให้ฉนวนเสียสภาพหรือทดสอบ Breakdown ฉนวนนั้นเราก็อาจจะป้องแรงดันให้มีค่าสูงจนฉนวนเสียสภาพ กรณี Black Flash over เหมือนกันคือ สิ่งที่เราจะป้องกันคือฟ้าผ่าโดยใช้สาย OHGW แต่ไม่ได้คิดถึงผลตรงที่ว่าเมื่อระบบ Ground ไม่ดี ความต้านทาน Ground มากไป หรือ ความเหนี่ยวนำสายดินมากไปทำให้เกิดผลของ Black Flash over ดังกล่าว แรกๆมีปัญหาเยอะครับต้องไปออกแบบ Ground ใหม่จากเดิมที่เคยปฏิบัติ และเทคโนโลยีใหม่จะมีการประยุกตืใช้ Surge Arrester ร่วมด้วย<br> ปกติ Flah over โดยทั่วไปเกิดจากการสะสมมาเป็นดวลานานของสิ่งเร้าต่างๆเช่น ฝุ่น ความชื้น หรือ Leakage Current ที่จะส่งผลให้ลูกถ้วยเสียสภาพฉนวน แต่ Black Flash over เป็นผลทางอ้อมที่ส่งผลให้เกิดแรงดันเกินมหาศาลคร่อมลูกถ้วย ฉนวน<br>จะรู้ได้อย่างไร ก็เอาง่ายๆอย่างหนึ่งต้องใช้เวลานานจึงเกิด แต่อีกอย่างเปรี้ยงเดียวก็พัง ความรุนแรงครับสังเกตจากสภาพความเสียหายลูกถ้วยก็ได้ถ้ามีประสบการณ์ หรือ ลองไปอ่านวิทยานิพนธ์ ป.โท จุฬาฯเขาจะมีเรื่องการทดสอบอยู่เยอะ |
07/12/2550 17:40 น. |
ขอบคุงนะ พี่ๆคับบบบบบบบบ จากเด็กลาดกาบัง |
25/01/2552 02:29 น. |
ขอขอบคุงท่านมากเชนเดียวกัน |
19/07/2552 21:14 น. |
ขอบคุณมากค่ะ กำลังต้องการคำตอบพอดีเลย |
26/12/2552 15:06 น. |
อยากทราบเกี่ยวกับแรงดันกระแสสลับความถี่ต่ำแป็นยังไง แล้วใช้วัดอะไรค่ะ |