08/11/2548 15:25 น. |
กรณีทั่ วไปการไฟฟ้าจะส่งแรงดันมา บวกลบ 5 % สมมติในระบบ 3 เฟส การไฟฟ้าส่งมา 400 โวลท์ ถ้ากรณีโหลดเราคือมอเตอร์ 3เฟส เราใช้ทรานฟอร์มเมอร์ลดแรงดันเหลือ 380 โวลท์ ผมต้องการทราบว่าเราจะประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้หรือไม่ มีสูตรการคำนวณหรือไม่อย่างไรส |
08/11/2548 17:23 น. |
เป็นคำถามที่แปลกดีครับ และขอให้ความเห็นดังนี้<br><br>การใช้งานมอเตอร์ให้อยู่ในพิกัด +/- 5 % ที่แรงดันต่างๆ เมื่อมอเตอร์ขับโหลดที่พิกัด กระแสที่มอเตอร์กิน จะไม่เท่ากัน จ่ายแรงดันที่ - 5% มอเตอร์จะกินกระแสมากกว่า +5% ( พฤติกรรมของมอเตอร์ตัวใหญ่ทั่วๆไป ) ซึ่งก็คือจ่ายแรงดันสูง มอเตอร์จะกินกระแสต่ำ และจ่ายแรงดันต่ำมอเตอร์จะกินกระแสสูง ซึ่งก็จะเกือบเหมือนว่า Power ที่มอเตอร์ใช้ในการขับโหลดเท่าเดิม<br><br>ฉะนั้นการที่นำหม้อแปลงไปลดแรงดันลงมา จะมีผลเสียมากกว่าผลดี เพราะ<br>1. แน่นอนหม้อแปลงมีค่าสูญเสียเกิดขึ้น<br>2. การลดค่าแรงดันกระแสมอเตอร์จะมากขึ้น แน่นอนค่าสูญเสีย ที่เกิดที่ขดลวด สเตเตอร์จะมากขึ้น ( ค่าสูญเสียที่มากที่สุดของมอเตอร์ไฟฟ้าเอซีอยู่ที่ขดลวดสเตเตอร์ )<br><br>ผลดีของวิธีนี้จะมีอยู่อย่างเดียวคือป้องกันแรงดัน ที่อาจจะเปลี่ยนแปลงมากขึ้น โดยไม่ทำให้แกนเหล็กของมอเตอร์ทำงานในสภาวะอิ่มตัว ซึ่งก็หมายความว่าการใช้งานมอเตอร์ที่แรงดันสูง มอเตอร์จะมีค่าความสูญเสียต่ำกว่าแรงดันที่ต่ำกว่า ซึ่งต้องอยู่ในค่าพิกัดของแรงดันมอเตอร์ที่เนมเพลท แต่ก็อาจจะเสี่ยงต่อสภาวะการอิ่มตัวของแกนเหล็กถ้าแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์เพิ่มขึ้น |
09/11/2548 19:28 น. |
ผมให้ความเห็นอย่างนี้ครับ โดยปกติมอเตอร์มอเตอร์กำลังไม่สูงมากนัก ประสิทธิภาพจะมีค่าต่ำประมาณ 70-80% ดังนั้นประมาณว่า Copper loss = Core loss ซึ่ง Core loss แปรผันตามแรงดันยกกำลังสอง นั่นก็หมายความว่า Core loss ก็จะลดลงถ้าระดับแรงดันลดลง ค่าไฟฟ้าก็จะลดลง แต่ถ้าเป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ประสิทธิภาพจะมีค่าสูงมากประมาณ 90-98% ตรงนี้ถ้าจะไปลด Core loss ลงประมาณ 1-5% มันไม่คุ้มกับการลงทุน แต่ขณะที่มอเตอร์ตัวเล็ก ไปเล่นที่ 10-15% น่าจะเป็นตัวเลขที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยในสภาวะค่าไฟฟ้าที่กำลังจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครับ |