28/09/2548 17:52 น. |
มอเตอร์ มีรายละเอียดตามเนมเพลทดังนี้ 260D/440Y 60Hz 1.7A 1668 rpm cos.ph0.72 4pole AC35 71 B หากนำมาใช้กับไฟฟ้าระบบ 380 v 50 Hz จะมีผลเรื่อง แรงบิด และความเร็วมากไหมครับ รบกวนผู้อาวุโสทั้งหลายช่วยชี้แนะด้วยครับ เนื่องจากทางเชลล์เขาแจ้งว่าสามารถใช้ได้กับไฟฟ้าทั้งสองระบบ |
28/09/2548 20:15 น. |
จากข้อมูลข้างต้น ผมขอให้ความเห็นอย่างนี้ครับ<br> มอเตอร์จะมีแรงบิดเพิ่มขึ้น 380/( 440/1.2 )ยกกำลังสอง จากแรงบิดเดิม หรือเท่ากับ 7.4 เปอร์เซนต์<br> แรงม้าจะลดลง เท่ากับ 1.07 x 0.8 แรงม้าเดิม หรือ เหลือ 0.856 ของแรงม้าเดิม เนื่องจากแรงบิดเพิ่มขึ้นแค่ 7 เปอร์เซนต์แต่ความเร็วรอบลดลง 20 เปอร์เซนต์จึงทำให้แรงม้าลดลงเหลือ 0.856 ของแรงม้าเดิม |
28/09/2548 23:18 น. |
ขอแก้ไขตัวเลขนิดนึง ครับ<br> แรงม้าจะลดลงเหลือ 1.074 x 0.833 = .894 ของแรงม้าเดิม เพราะความเร็วลดลงมา 16 เปอร์เซนต์ไม่ใช่ 20 เปอร์เซนต์ |
01/10/2548 09:29 น. |
เอาไปใช้ 380 VY 50 Hz แรงบิดพิกัด จะลดลงครับ ไม่ใช่เพิ่มขึ้น จากเหตุผลของ V, speed ลดลงครับตามความถี่ เหลือสัก 1490 rpm ที่สำคัญดูกระแสอย่าให้เกินพิกัด แรงบิดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับโหลดไม่ได้ขึ้นอยู่กับมอเตอร์ แต่มอเตอร์มันจะทำหน้าที่เหมือนวัว มันจะพยายามเดินให้ได้เมื่อโหลดมากแค่นี้แหละมอเตอร์ ถ้าเข้าใจธรรมชาติ ทางเชลล์เขาแจ้งว่าสามารถใช้ได้ ใช้ได้แน่ๆ แต่พิกัด (Rated) จะลดลงจ้า ศรีธนชัยหรือเปล่า |
01/10/2548 09:44 น. |
อีกนิดหนึ่ง ขอบ่นหน่อยน่ะครับ พิกัดนะครับ ย้ำพิกัด มีรุ่นน้องหลายราย เมื่อถูกถามว่าพิกัดคืออะไรใครกำหนด ตอบไม่ถูกแฮะ มันหมายถึงขีดจำกัดสูงสุด กำลัง แรงดัน กระแส แรงบิด ความเร็ว ทุกอย่างมีพิกัดหมด และสัมพันธ์กันทั้งนั้นให้มองแบบบูรณาการ (Systems Thinking) แล้วใครกำหนดพิกัด ถ้าเป็นมอเตอร์ ความร้อน และเมคคานิกคือตัวกำหนดพิกัด ถ้าสามารถทะลุทะลวงความร้อน และเมคคานิกได้ก็ไม่มีพิกัด เช่น เอามอเตอร์ตัวนี้แหละไปใช้งานที่ขั้วโลก พิกัดอาจจะเพิ่มเป็น 3 เท่าก็ได้เป็นต้น สายไฟก็เหมือนกัน ถ้ามี supper conductor เป็นสายไฟขนาดเท่าเส้นผม ก็สามารถสงพลังงานได้ทั้งประเทศได้เลย เพราะไม่มีพิกัดมากำหนดเป้นต้น |
01/10/2548 16:58 น. |
มอเตอร์เดิม มีพิกัดแรงดัน 440 V. 60 HZ แสดงว่ามี V/F= 440/60=7.33 และเมื่อนำไปใช้งานที่แรงดัน 440 V. 60 HZ จะได้แรงบิดค่า ค่าหนึ่ง<br><br>และเมื่อต้องนำไปใช้กับระบบไฟ 50 HZ. และต้องการให้แรงบิดเท่าเดิม แรงดันที่ป้อนต้องให้ V/F เท่ากันคือ 7.33 นั่นหมายความว่ามอเตอร์ต้องป้อนด้วยแรงดัน 7.33 x 50 =366.66 V. แต่ในความเป็นจริงแรงดันที่เราป้อนเป็น 380 V. จึงเป็นเหตุผลที่ผมสรุปว่า แรงบิดควรจะเพิ่มมากกว่าแรงบิดพิกัดเดิม |
04/10/2548 15:22 น. |
T~i, i=U/Z, U ลดลงจาก 440VY เหลือ 380 VY = i ลดลง 15% ดังนั้น T ต้องลด เหมือนกับเอา R ไปคล่อมก่อนเข้ามอเตอร์ <br>1. ถ้าไม่ยอมลด T กระแสจะเกินพิกัดเนมเพลท มอเตอร์ร้อน ไหม้<br>2. n~f , f ลด 60-50Hz= 15%, n ลดลง 15% การระบายความร้อนแย่ลงเป็นยกกำลัง 2 ถ้ายังดันทุรังขับกระแสที่เนมเพลท ระบายความร้อนไม่ทัน ไหม้พัง ดังนั้นต้องลงกระแสให้ต่ำกว่าเนมเพลดมากกว่า 15% ทำให้ต้องขับโหลด ทอร์กต่ำลงไปอีก |
05/10/2548 18:22 น. |
ถ้านำมอเตอร์ 200 hp ใช้ระบบไฟระบุที่เนมเพลท 440 volt 50hz มาใช้ที่ 380 volt 50hz จะมีผลอย่างไร ใช้ได้เลยหรือไม่(หมายเหตุ ใช้กับโหลด compressor ที่80%ครับ) |
05/10/2548 21:08 น. |
440 volt 50hz พิมพ์ผิดแน่ๆ 440 V 50 Hz ไม่เคยเห็น มีแต่ 60 Hz ? โหลด compressor แบบสกรู แรงเหวี่ยง หรือ ลูกสูบ?<br>ท่าทางจะไหม้ครับ แต่ถ้าแบบแรงเหวี่ยง อาจจะรอดตาย ดูกระแสครับ อย่าเกิน 80% ที่เนมเพลท (ขอสอนหน่อย hz อาจาร์ยคงลืมบอก ที่ถูกต้อง Hz แรงม้า ปัจจุบันสมาคมไฟฟ้า IEEE กำลังรณรงค์ให้ใช้ kW แทนม้า แรงม้ามันเชยเล็กๆ มีแต่พวกเมืองขึ้นอังกฤษที่ยังใช้ Hp อยู่ไม่ยอมใช้ kW) |
06/10/2548 13:37 น. |
ในความเห็นของผม การใช้งานมอเตอร์ที่เปลี่ยนความถี่ไปจากเดิม ค่า Z จะเปลี่ยนไปเป็นสัดส่วนกับความถี่ โดย Z ใหม่จะมีค่าเท่ากับ 50xZ/60 = 0.833 ของอิมพีแดนซ์เดิม แต่แรงดันที่ใช้ปอ้นมอเตอร์ จะลดลงไป 380/440= 0.863 ของแรงดันเดิม และเมื่อนำค่าที่เปลี่ยนแปลงมาคำนวณหาค่ากระแสจะได้ 0.863/0.833= 1.036 ของกระแสเดิม นั่นหมายความว่ามอเตอร์จะกินกระแสเพิ่มมากขึ้น ทำให้แรงบิดของมอเตอร์มากขึ้น |
06/10/2548 15:42 น. |
ขอขอบคุณ พี่ๆ เพื่อนๆทั้งหลายมากเลยครับที่กรุณาให้ความกระจ่างในหลายๆประเด็น ผมขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ มอเตอร์ตัวนี้ใช้ขับพัดลมระบายอาศครับ และผมก็ลองเอาไฟฟ้า 440 V60Hz ป้อนเข้าไป(ผมมี ชุด M-G setนะครับ)แล้วลองวัดรอบ speed แต่ลืมวัดค่า กระแสขณะนั้น <br>(เด็กมันลืมนะครับ) แล้วลองไปเปิด datasheet 440/60ของมอเตอร์จากบริษัทผู้ผลิต (Cemp italy)ดูนะครับ(ผมแอบไปขอมาอีกรอบ)ปรากฎว่า speed มาตรงกับย่านทำงาน 2/4 ของโหลดครับ นั่นพอจะประมาณได้ไหมว่าถ้านำมาใช้งานที่ 380V 50Hzซึ่งเป็นไฟฟ้าปกติที่จะจ่ายไฟให้กับระบบ นั้น จะยังคงสามารถใช้ได้ไหมครับ ขออภัยนะครับถ้าถามแบบโง่ๆไปหน่อย |
06/10/2548 20:08 น. |
ขอให้ความเห็นของคำถามของคำตอบที่7 กรณีที่มีการเปลี่ยนแรงดันใช้งานโดยไม่มีการเปลี่ยนความถี่ แรงบิดของมอเตอร์จะเปลี่ยนไป เป็นกำลังสองของแรงดัน ฉะนั้น แรงบิดของมอเตอร์จะเหลือเท่ากับ 380/440 ยกกำลังสอง = 0.742 ของแรงบิดเดิม แต่เนื่องจากไม่มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ ความเร็วรอบเท่าเดิม มอเตอร์จะมีพิกัดที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยอยู่ที่ 200x0.742= 148.54 แรงม้า ซึ่งถ้าโหลด อยู่ที่ 80 เปอร์เซนต์ =0.8x200=160 แรงม้า มอเตอร์จะทำงานในสภาวะโอเวอร์โหลดครับ |
06/10/2548 23:12 น. |
ลองคิดแบบนี้ดูมั่ง ไม่รู้ถูกปล่าว ผิดตรงไหนช่วยบอกหน่อย<br><br>เนื่องจาก เปลี่ยนจากไฟ 60 Hz เป็น 50 Hz ดังนั้น ความเร็วรอบ จะลดลงเหลือ ประมาณ 50/60 = 0.83จากความเร็วรอบเดิม ดังนั้น กำลังขาออกKILOWATT จะลดลงเหลือประมาณ 0.83จากKILOWATT เดิม ถ้าคิดว่ามอเตอร์ มีการสูญเสีย ( POWER LOSS ) ที่ 60 Hz และ 50 Hz มีค่าเท่ากัน ค่า cos PHI ก้อมีค่าเท่ากัน แล้ว บวกลบคูณหารแล้ว กระแสขณะ ใช้ 50 Hz จะเป็น ประมาณ 0.96เท่าของกระแสขณะใช้ 60 Hz หรือก้อประมาณ เท่ากันเลย <br>เคยเห็นเนมเพลทของมอเตอร์ ABB รุ่นมันมีบอกว่าใช้ ที่50 Hz กับที่ 60 Hz ที่ 50Hz 380 โวล์ท จะมี Killowatt ที่น้อยกว่า 60 Hz 440 โวล์ท cos phi ก้อเกือบเท่ากัน กระแสก้อ เกือบจะเท่ากันเลย <br>สรุปเลยละกัน ว่าลองใช้งานดู ถ้าโหลดเป็นโหลดเดิมกับที่ใช้กับ 60 Hz มาใช้กับ 50 Hz ถ้ากระแสไม่เกิน เนมเพลท แล้วละก้อ มอเตอร์ไม่ไหม้หรอก แต่คุณจะได้งานที่น้อยลงกว่า ที่ใช้กับ 60 Hz ในเวลาที่เท่ากัน |
06/10/2548 23:21 น. |
อยากรู้ว่า จะคำนวนหาค่าความต้านทาน ที่ใช้กับ slip ring อย่าวไร<br><br>ตอนนี้มี slip ring มอเตอร์อยู่ตัวนึง เก่ามาก ขนาด 480 กิโลวัตต์ รู้สึกว่า ตอนขณะออกตัวมันไม่ค่อยมีแรง กระแสขณะออกว่า ก้อต่ำอยู่ที่ประมาณ 650 แอมป์เอง จะให้มันแรงกว่านี้ได้ปล่าว ครับ |
15/10/2548 09:34 น. |
ตอบคุณผู้น้อย คำตอบที่ 10 มอเตอร์ตัวนี้ 440 V60Hz ใช้ขับพัดลมระบายอาศ ถ้านำมาใช้งานที่ 380V 50Hz ซึ่งเป็นไฟฟ้าปกติที่จะจ่ายไฟให้กับระบบนั้น ฟันธงยังคงสามารถใช้ได้ แต่รอบลดลง ลมลดลง ให้สังเกตุกระแสอย่าให้เกินเนมเพลท |
28/05/2551 11:14 น. |
ขอบคุณ ppl มากครับ |