09/09/2548 21:29 น. |
ขอสอบถาม คุณกี้เกี่ยวกับ ความคืบหน้าการแก้ปัญหามอเตอร์ดีซี ของกระทู้ 4659 ว่าตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ จะได้เป็นกรณีตัวอย่างให้กับเพื่อนๆ ในเวปบอร์ด |
10/09/2548 22:52 น. |
ยังไม่มีความคืบหน้าครับ<br><br>ทางร้านซ่อมเขากำลังหาทางแก้อยู่ ลองคุยกับช่างที่นั้น เขาบอกว่าเจ้านายเขาจะให้เพิ่มรอบฟิลด์ ขึ้นไปอีก ก้อจะซักไปกันใหญ่แล้ว เข้าไปดูมอเตอร์ที่ร้าน ปรากฏว่าอินเตอร์กับอาร์เมเจอร์ ดำไปแล้ว ตอนใช้งานคงกำลังจะไหม้ แต่โชคดีที่เปลี่ยนมอเตอร์ก่อน<br><br>ถ้าผมจะใช้วิธีเพิ่มรอบของอาร์เมเจอร์จะได้มั้ยครับ black EMF จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนตัวนำหรือจำนวนรอบที่เพิ่มหรือปล่าวครับ<br>เพราะยังงั้ยก้อต้องพันอาร์เมเจอร์ใหม่ ตอนนี้ไม่มีมอเตอร์สำรองไว้เลย ถ้าเกิดตัวหนึ่งตัวใดมีปัญหาขั้นมา คอขาดกันเป็นแถวแน่ ยิ่งตอนนี้เดินเครื่อง 24 ชั่วโมง ทุกตัวด้วยฮ่าๆๆๆๆ |
10/09/2548 23:44 น. |
ขอถามเรื่อง เอซี ไดรว์ หน่อยนะครับ<br><br>พอดีคุยกับเพื่อนสมัยเรียน เพื่อนมันปัญหาเรื่องมอเตอร์ไหม้บ่อยมากๆ<br><br>มอเตอร์เป็น อินดักชั่น แบบกรงกระรอก 113 กิโลวัตต์ 360 โวลท์ 25 Hz 280 แอมป์ 6โพล อาร์พีเอ็มจำไม่ได้ ใช้กับเครื่องตัดเหล็ก มีชุดไดรว์ น่าจะเป็นเอซีไดรว์ มีปัญหาไหม้บ่อยมากๆ เมื่อประมาณ ครึ่งปีที่แล้ว ภายในหนึ่งเดือนไหม้ไปสามรอบ เพื่อนเลยเปลี่ยนร้านซ่อม ที่นี้ใช้ได้3 วันไหม้เลย ส่งเครม ทางร้านเขาสรุป ว่าเป็นที่ไดรว์ มีฮาร์โมนิค ทำให้ไหม้ ไม่เครม ร้านเขาบอกจะวัสดุอย่างเปลี่ยนเกรดลวด เกรดฉนวนใหม่ ใช้ได้เกือบครึ่งปีเป็นอีก อาการไหม้เหมือน เดิม จะไหม้อยู่จุดเดียว <br> report test<br> <br> initial inspaction<br> winding resistance<br> U1- U2 =61 m<br> V1 - V2 = 49 m<br> W1 - W2 = 52 m<br> Mager test<br> U - Earth = 0 M<br> V - Earth = 0 M<br> W - Earth = 50 M<br><br> U - V = 0 M<br> V - W = 20 M<br> W - U = 30 M<br>ดูในรูป จะเป็นรอยไหม้ ดำๆ ที่ลวด อยากให้คุณช่างซ่อม ช่วยวิเคราะห์ให้หน่อย ว่าฮาโมนิคหรือปล่าวที่ทำให้ไหม้ แล้วถ้าใช่มันทำให้ไหม้ได้อย่างไร ตอนนี้เพื่อนบอกว่ามอเตอร์พันใหม่แล่ว ต้องรีบใช้พันร้านเดิน ร้านอะไรไม่รู้ลืมถาม ไม่มีมอเตอร์สำรอง เลยสั่งมอเตอร์ใหม่ ตัวละ 3,000,000 บาท สั่งมอเตอร์ ไปแล้วแต่ต้องรอ 4 เดือน |
11/09/2548 20:58 น. |
ขอตอบเรื่องมอเตอร์ดีซี<br>1. เห็นด้วยกับทางร้านซ่อมที่จะมีการแก้ไขที่ฟิลด์คอยล์ แต่ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มจำนวนรอบของฟิลด์คอยล์<br>2. การพิจารณาต้องพิจารณาร่วมกัน ระหว่างอาร์เมเจอร์กับสเตเตอร์ ในเมื่อมีมอเตอร์ที่เท่ากันอยู่น่าจะมีข้อมูลที่เทียบกันได้ และหาข้อสรุปว่าปัญหาเกิดจากอะไร โรเตอร์ หรือ สเตเตอร์<br>3. โอกาสเกิดที่โรเตอร์เป็นไปได้น้อย เนื่องจาก ขดลวดของอาร์เมเจอร์ รอบจะน้อย ถ้าพันผิดอะไรจะฟ้องออกมาให้เห็น ส่วนมากความผิดปกติจะอยู่ในรูปของการสปาร์ค<br>4. มีหลายวิธีที่จะเพิ่ม Back EMF เช่น เพิ่มความเร็วรอบ เพิ่มสนามแม่เหล็กหลักที่สเตเตเตอร์<br>5. ในกระทู้ก่อน บอกว่ามอเตอร์ รันใกล้พิกัดกระแสที่เนมเพลท แต่ไม่เกิน แล้ว อาร์เมเจอร์สีดำได้อย่างไรครับ <br>6. ถ้าร้านซ่อม สรุปวิธีแก้ปัญหาไม่ได้ แนะนำเปลี่ยนร้านซ่อมครับ ร้านและโรงซ่อมมีเยอะ<br><br> |
11/09/2548 21:19 น. |
ขอตอบเรื่องเอซีมอเตอร์<br><br>ตอบยากมากครับสำหรับ การตอบโดยดูจากค่าตัวเลขในใบทดสอบมอเตอร์ก่อนพันใหม่ เพราะเพียงพอจะสรุปได้ว่า มอเตอร์ลงกราวน์ 2 เฟส และมีการช๊อตเทิร์น สามารถมองได้ทั้งเป็นไหม้แบบธรรมดา หรือ ฮาร์โมนิคก็ได้<br> แต่ต้องเข้าใจไว้ส่วนหนึ่งว่าผลของเอซีไดรว์ที่มีผลต่อขดลวดมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วนใหญ่ คือ ฮาร์โมนิคทำให้เกิดความร้อน และฮาร์โมนิคที่มีค่าสไปรซ์โวลเตจที่สูงทำให้ฉนวนของมอเตอร์เสียหาย ซึ่งอาการเสียของ 2 ส่วนนี้แตกต่างกัน ฮาร์โมนิคที่ทำให้เกิดความร้อนจะดูยากมากเพราะจะคล้ายกับการที่มอเตอร์ทำงานโอเวอร์โหลด โดยมอเตอร์จะมีสีดำไปหมด คงต้องเข้าไปดูเรื่องของค่ากระแสที่ใช้งานมาพิจารณษประกอบ<br> ส่วนแบบที่เกิดจากสไปรซ์โวลเตจ มอเตอร์ จะเสียหายเหมือนกับความเสียของมอเตอร์ที่เกิดจากช๊อตเทิร์น มอเตอร์จะไม่ดำไปทั้งลูก จะมีบางส่วนที่ดี และมีการช๊อตระเบิดในตำแหน่งที่ฉนวนมีค่าออ่นแอที่สุด<br> ถ้าสงสัยเกี่ยวกับฮาร์โมนิค ทำไมไม่จ้าง บริษัท ที่เขารับวัดฮาร์โมนิค เข้าไปตรวจเช็ค เพื่อจะได้หาข้อสรุปว่าเป็นที่การซ่อมมอเตอร์ การใช้งานมอเตอร์ หรือเป็นที่ฮาร์โมนิคกันแน่ |
11/09/2548 22:46 น. |
เรื่องของ ดีซีก่อนละกัน<br>1.ตอนนี้ร้านเขาคงพันไปแล้ว ทางร้านเขาเข้ามาวัดโอห์มฟิลด์ ของมอเตอร์อีกตัว ที่ใช้งานได้ปกติ แล้วเขาจะพันให้ได้โอห์มเท่ากันเลย แต่มอเตอร์ตัวนี้จะเป็นคนละรุ่นกัน กิโลวัตต์เท่ากันแต่ โวลท์ฟิลด์ แอมป์ฟิลด์ ต่างกัน เป็นไปไม่ได้ที่จะให้โอห์มฟิลด์เท่ากัน ร้านก้อบอกว่าต้องลอง หัวหน้าผมก้อบอกเขาไปว่า จะทำยังงั้ยก้อได้ให้มันใช้งานได้ก้อแล้วกัน เอามาติดตั้งถ้ายังใช้ไม่ได้ ก้อให้ถอดกลับไป<br>2.ลองเทียบกับกับตัวที่ใช้งานอยู่แล้ว คือมอเตอร์มันคนละรุ่นกัน จำนวนซี่คอมมิวก้อไม่เท่ากันแล้ว ฟิลด์ โอห์ม ก้อต่างกัน ดูจากรีพอร์ท <br>3. ก้อมีการสปาร์คอยู่เหมือนกัน แต่เล็กน้อยที่สปาร์คน่าจะมาจากแอมป์สูงมากกว่า<br>4.ความเร็วรอบถ้าจะไปเพิ่มมันคงยาก มอเตอร์ต้องวิ่งที่ความเร็วนี้ เพิ่มไม่ได้ ถ้าไปเพิ่มมันline ผลิตก้อผลิตเร็วขึ้น มอเตอร์ก้อแอมป์สูงขึ้นไปอีก มีวิธีเดียวคือต้องเพิ่ม ratioให้gear box ก้อยากอีก ส่วนเรื่องการเพิ่มสนามแม่เหล็ก ก้ออย่างที่บอกเพิ่มแอมป์ไปจนโอเวอร์แล้ว ยังไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น <br>5.อันนี้ไม่รู้ก้อมันดำไปแล้ว เป็นไปได้ที่พันด้วยลวดที่เล็กกว่า<br>6.ถูกต้องแล้วววคร๊าบบบบบบบ อันนี้แน่นอนเลย ยังงั้ยก้อช่วยแนะนำบริษัทที่ เป็นๆงานหน่อย ที่ใช้หลักวิศวกรรมทำงาน ไม่ใช่วิศวะกะ |
11/09/2548 22:49 น. |
มาเรื่องขอเอซีมั่ง<br>ก้อตอนนี้ไม่มีข้อมูลอะไรเลย<br><br> |
11/09/2548 22:53 น. |
สาเหตูก้อน่าจะมาจากสไปรซ์ โวลเตจ เพราะมันไหม้แค่จะจุดเดียวดูจากรูปแล้ววว ส่วนอื่นๆยังไม่อยู่เลย ลวดยังมีสีที่ปกติอยู่ พอดีมันเป็นมอเตอร์ของเพื่อนผมไม่ได้เป็นมอเตอร์ในโรงงานผมก้อเลยไม่มีข้อมูลอะไรเลย เดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะถ้าข้อมูลจากเพื่อนมาขอความช่วยเหลือจากคูณช่างซ่อมมอเตอร์ |
12/09/2548 22:54 น. |
เรื่องดีซีมอเตอร์<br>- คงต้องให้ทางร้านซ่อม พันให้เสร็จก่อน แล้วค่อยมาดูผลกัน อย่างไรแล้วมีความคืบหน้าอย่างไร โพสขึ้นมาแจ้งบ้างก็จะดี<br>- เรื่องการแนะนำร้าน/โรงซ่อม คงจะไม่สะดวกที่จะให้แนะนำ เพราะโรงซ่อมส่วนมากก็จะเป็นเพื่อนๆ และ ลูกค้าของผมเกือบทั้งนั้น แต่คงให้ แนวทางการเลือก ( ความคิดเห็นส่วนตัว ) คือเลือกโรงซ่อมที่อยู่ใกล้ไว้ก่อน เพราะผมมีความเห็นว่า โรงซ่อมที่อยู่ใกล้น่าจะมีโอกาสการให้บริการได้ดีกว่าโรงซ่อมที่อยู่ไกล และทำให้เรามีโอกาสที่จะเข้าไปดู มอเตอร์ของเราได้สะดวกด้วย โรงที่อยู่ใกล้บริการไม่ดีไม่ถูกใจ ก็ขยับออกไป เรื่อยๆ ล่ะครับ ( หวังว่าเพื่อนๆโรงซ่อมคงไม่ว่า เพราะอันที่จริงผมเองก็ไม่รู้ว่าคุณกี้อยู่แถวไหน ) |
13/09/2548 12:54 น. |
AC motor ราคาไม่ถึง 3 ล้านหรอกครับ 3 แสน ก็รีบขายแล้ว โดนหรอกหรือเปล่า อาการอย่างนี้เจอบ่อยๆ ลองเอานี้ไปอ่านดู มีวิธีการแก้ให้เสร็จ<br>ผลกระทบจาก อินเวอร์เตอร์ ต่อฉนวนมอเตอร์ไฟฟ้า <br><a href="http://www.tinamics.com/Artical/Insulation_Motor_vs_Drives_TH.pdf" Target="_BLANK">http://www.tinamics.com/Artical/Insulation_Motor_vs_Drives_TH.pdf</a> |
13/09/2548 18:35 น. |
พิมพ์ผิดหรือเปล่า มอเตอร์ AC ตัวละ3,000,000 ฮ่าๆ 555555. |
13/09/2548 22:24 น. |
ก้อเขาขายเท่านี้จิงๆ<br>มันเป็นมอเตอร์ที่เขาผลิตขึ้นมาใช้กับเครื่องจักรตัวนี้โดยเฉพาะ ไม่ใช่มอเตอร์ที่มีวางขายทั่วไป มันเลยแพง ไม่ซื้อที่เขา ก้อหาซื้อที่อื่นไม่ได้แล้ว |
22/09/2548 22:41 น. |
ตอนนี้ ได้ติดตั้งมอเตอร์แล้วหลังจากร้านเขาเอาไปแก้ไขแล้วครับ<br><br>ที่ โหลด เท่าเดิม <br>โดย<br>อาร์เมเจอร์ แอมป์ จากเดิม 150 แอมป์ ลดลงเหลือ 130 แอมป์ อาร์เมเจอร์ โวล์ท จากเดิม 250 โวล์ท เพิ่มขึ้นเป็น285 โวล์ท ฟิลด์ แอมป์ จาก 1.9 แอมป์ เพิ่มเป็น 2.1 แอมป์ <br>ฟิลด์ โวล์ท จำ ตัวเลขเดิมไม่ได้แล้ว <br><br>สรุปก้อ พอใช้งานได้ <br><br>รายละเอียดการแก้ไข <br>อาร์เมเจอร์ ใช้ของเดิมไม่ยอมพันใหม่ มันดำแล้วด้วย น่ากลัวไหม้ แต่เขารับประกัน<br>พันอินเตอร์โปลใหม่หมด แต่พันเหมือนเดิม <br>ฟิลด์ พันใหม่หมด จำนวนรอบเดิม 924 รอบต่อโปล เพิ่มเป็น 1250 รอบ ลดขนาดลวดลง <br>สงสัยที่ผมเข้าใจไว้ตอนเเรก เกี่ยวกับสนามแม่เหล็กอิ่มตัวกับอาร์เมเจอร์พันรอบไม่ครบ จะผิด <br> |
22/09/2548 23:07 น. |
ขอถามต่อ <br>โดยปกติแล้ว ร้านซ่อมมอเตอร์ หรือโรงซ่อมมอเตอร์รับมอเตอร์หนึ่งตัวไปซ่อม จะต้องมีการinspect อะไรบ้างครับ อยากรู้ว่าแต่ละร้านเหมือนกันปล่าว ใครเคยซ่อมมอเตอร์ แล้วมี report ช่วยบอกหน่อย |
23/09/2548 21:04 น. |
การเพิ่มจำนวนรอบของขดลวดฟิลด์ เป็นการเพิ่มสนามแม่เหล็กหลัก ( ในเงื่อนไขที่สามารถปรับกระแสฟิลด์ให้เท่าเดิมได้ ) และแน่นอนการเพิ่มสนามแม่เหล็กหลักจะทำให้มอเตอร์สามารถผลิตแรงบิดได้มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้มอเตอร์กินกระแสอาร์เมเจอร์ลดลง ( เพราะเราไปเพิ่มกำลังไฟฟ้าป้อนเข้ามอเตอร์ทางฟิลด์แทน )<br><br>สิ่งที่ต้องระวังและตรวจสอบต่อไป คือเรื่องของความร้อนที่อาจจะเพิ่มขึ้น เพราะการเพิ่มจำนวนรอบจะเป็นการเพิ่มค่าความต้านทานของขดลวดฟิลด์ การเพิ่มจาก 924 เป็น 1250 รอบ จะเห็นว่าจำนวนรอบจะเพิ่มขึ้น 35 เปอร์เซนต์ แต่ค่าความต้านทานจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 35 เปอร์เซนต์เนื่องจากจำนวนรอบที่เพิ่มขึ้นจะอยู่วงนอกสุดซึ่งเส้นรอบวงรอบนอกจะยาวกว่ารอบใน ( รอบที่1 มีเส้นรอบวงสั้นกว่ารอบที่ 1250 ) และเมื่อความต้านทานเพิ่มขึ้นมากกว่า 35 เปอร์เซนต์ในขณะกระแสเท่าเดิม แน่นอนครับว่า ความร้อนต้องเพิ่มจากเดิมมากกว่า 35 เปอร์เซนต์<br><br>การออกแบบพันขดลวดฟิลด์ควรที่จะใช้การเปลี่ยนขนาดของลวด มาพิจารณาด้วย ซึ่งจะช่วยลดค่าความต้านทาน และเพิ่มแอมแปร์เทิร์นที่ขดลวดฟิลด์ หรือสนามแม่เหล็กหลัก |
27/09/2548 20:53 น. |
ผมให้ทางร้านเขา ส่งฟิลด์คอยล์ที่เอาออกมา ทั้งสี่คอยล์กลับมา ผมลองวัดความต้านทานแล้วทั้งสี่คอยล์ มีค่าเท่ากันเลย อยู่ที่ประมาณ22โอห์ม แล้วผมก็ลองต่ออนุกรมทั้งสี่คอยล์เข้าด้วย แล้วจ่ายไฟเอซี 380 โวล์ท แล้ววัดไฟที่ตกคร่อมแต่ละคอยล์มันก้อเท่ากันหมดเลย อย่างนี้พอจะสรุปได้ว่าอย่างไรครับ |