18/08/2548 12:04 น. |
อยากทราบว่า W กับ VA แตกต่างกันอย่างไรใช้งานเหมือนกันหรือเปล่าคับ วานพี่ๆผู้รู้ช่วยตอบด้วยคับ ขอบคุณคับ |
19/08/2548 08:39 น. |
มันน่าจะตัวเดียวกัน ยกเว้นว่า กฎของโอห์ม ใช้ไม่ได้ หรือมีข้อพิสูจน์หลังจากนี้ว่า กฎของโอห์ม ใช้ไม่ได้<br>ในเมื่อ VA ก็น่าจะเป็น V คูณกับ A ซึ่ง V ก็คือ E และ A ก็คือ I<br>กฎของโอห์ม บอกไว้ว่า I เท่ากับ อี/อาร์<br>วัตต์ คือ ไอ^2 X อาร์ หรือ วี^/อาร์ ซึ่งก็ไม่เห็นแตกต่างกับ วีเอ เลย เฮ้ย ชักงง งง งง งง งง<br> |
19/08/2548 11:43 น. |
w ใช้เป็นหน่วยสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าครับ ส่วน VA เป็นหน่วยใช้กับเครื่องจ่ายพลังงานไฟฟ้า |
19/08/2548 15:41 น. |
จริงๆแล้ว VA เป็นหน่วยของ กำลังไฟฟ้าจริง ซึ่งกำลังไฟฟ้าจริงมีค่าเท่ากับผลคูณของแรงดันและกระแส ส่วน W คือหน่วยของกำลังไฟฟ้าปรากฎ ซึ่งกำลังไฟฟ้าปรากฏมีค่าเท่ากับผลคูณของแรงดัน,กระแสและเพาเวอร์แฟคเตอร์ครับ<br> |
19/08/2548 19:57 น. |
VA(apparent power)เป็นกำลังไฟฟ้าปรากฏ ครับ ส่วน W (active power)เป้นกำลังไฟฟ้าจริงครับ |
20/08/2548 15:47 น. |
ตามจริงเป็นหน่วยของกำลังเหมือนกันแต่กำลังคนละชนิดจึงจำเป็นต้องมีหน่วยต่างกันครับเพื่อกันความสับสน เราต้องเรียกให้ถูกนะครับเวลาสื่อสารกับคนอื่นจะได้เข้าใจตรงกัน<br>S = Complex power(VA, kVA, MVA)<br>llSll = Appearent power(VA, kVA, MVA)<br>P = Average power, Real power , Active power (W, kW, MW)<br>Q = Reactive power(VA, kVA, MVA) |
20/08/2548 19:08 น. |
ขอโทษทีครับพิมพ์ผิด Q = Reactive power(VAr, kVAr, MVAr) |
21/08/2548 20:08 น. |
คุณเล็กถูกต้องที่สุด<br><br><br> |
22/08/2548 09:08 น. |
ตอบหมดแล้ว ถามง่ายจัง ตอบไม่ทัน |
06/09/2548 21:41 น. |
คุณเล็กตอบหมดแล้วครับ |
21/04/2552 16:59 น. |
1 วัตต์ เท่ากับกี่ va |
30/10/2552 21:19 น. |
<br>P=กำลังไฟฟ้าจริง(KW)<br>Q=กำลังไฟฟ้าแฝง(KVAR)<br>S=กำลังไฟฟ้าปรากฎ(kVA)<br>S=P+jQ<br>ถ้าดูตามสามเหลี่ยมตัวประกอบกำลังน่าจะเข้าใจกว่านี้เชื่อผม<br>ที่นี้รู้ยังครับว่าต่างกันที่ไหนระหว่าง W กับ VA<br>ต่างกันที่ Q ไงครับ อิอิอิอิ ไม่ได้กวนนะสังเกตดูสมการได้ |
18/02/2553 13:48 น. |
2700VAเท่ากับกี่W |
10/03/2553 16:24 น. |
ไม่แน่ใจ จำผิดหรือป่าวไม่รู้<br>S=VI ........(VA)<br>P=VI*power factor .......(W)<br>เพราะฉะนั้น P=S*power factor .......(W)<br> |
07/10/2557 09:24 น. |
ตอบหมดแล้ว ก็ยังไม่เข้าใจ "ตามจริงเป็นหน่วยของกำลังเหมือนกันแต่กำลังคนละชนิดจึงจำเป็นต้องมีหน่วยต่างกันครับเพื่อกันความสับสน " W เป็น ชนิดไหน va เป็นชนิดไหน.. ขอบตอบแบบ ให้ชาวบ้านชาวนา ได้เป็นความรู้ครับ. |
14/01/2558 10:37 น. |
คือจากสูตรนะครับ PF. = P(W)/S(VA) PF.-> power factor = คือตัวเลขที่บอกถึงกำลังงานที่ใช้ได้จริงๆ ในอุดมคติคือ = 1 นั่นหมายถึง P = S (ตามสูตร) แต่ในความเป็นจริงไม่มีทางที่จะเท่ากับ 1 ได้ มีที่ต่ำๆเช่น 0.5,0.6 ดีๆหน่อยก็ 0.8,0.9 (ด้วยจากเหตุผลมากมาย) จะเห็นว่า PF < 1 นั่นหมายถึง ค่า P(watt) กำลังไฟฟ้าจริงที่จ่ายได้ น้อยกว่า S(VA) กำลังไฟฟ้าปรากฎที่ต้องการจากระบบไฟฟ้าครับ สรุปว่า P(watt)= กำลังไฟฟ้าจริงๆที่จ่ายให้กับโหลดเราจริงๆ S(VA)= กำลังไฟฟ้าปรากฎที่ต้องการจากระบบไฟฟ้าครับ |