26/07/2548 17:12 น. |
เนื่องจากได้คิดจะทำโปรเจ็คกับตัวนี้ <br>Slip-ring power recovery drive<br>เนื่องจากมอเตอร์ที่ใช้นั้นมีขนาดไม่ใหญ่พอ<br>เกรงว่าจะไม่เห็นผลของการป้อนกลับพลังงาน<br>อยากทราบการใช้งานของจริงนั้นใช้งานกับอะไร<br>ขอให้ ยกมาสักสองตัวอย่าง จะขอบคุณมาก<br><br> |
26/07/2548 17:19 น. |
อีกอย่างหนึ่งครับ<br>สมมุติว่าถ้าหากกำลังป้อนพลังงานคืนกลับสู่ระบบไฟแต่ความถี่ที่ป้อนกลับไม่ตรงกลับความถี่ที่ลายน์จะเกิดอะไรขึ้นครับเมื่อแรงดันไฟเท่ากัน<br>และแรงดันไม่เท่ากัน ความถี่ไม่เท่ากัน เป็นอย่างไร |
26/07/2548 20:55 น. |
ไหม้ |
27/07/2548 21:10 น. |
เอาแบบวิเคราะห์ |
16/08/2548 21:23 น. |
ไม่รู้จะเอารูปขึ้นไปให้ดูได้ไง<br>ในโรงงานขนาดใหญ่ (Heavy Industries) เช่นโรงงานผลิตเหล็ก ปูนซีเมนต์ หรือ ปิโตรเคมี จำเป็นจะต้องใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้สลิปริงมอเตอร์ เพื่อต้องการแรงบิดเริ่มต้นสูงกว่าปกติ หรืออาจจะด้วยเหตุผลของโหลดมีลักษณะโมเมนต์เริ่มต้นสูง หรือหนักมาก จึงไม่สามารถใช้มอเตอร์เหนี่ยวนำแบบกรงกระรอกได้<br> ในขบวนการผลิตบางครั้งจำเป็นต้องมี การควบคุมความเร็วรอบเครื่องจักร ด้วยในอดีตพลังงานไม่ได้มีราคาสูง ดังเช่นปัจจุบัน การปรับความเร็วรอบด้วยระบบทางกลจึงเป็นเหตุผลที่ดีในอดีต เช่น ใช้ระบบไฮดรอลิกคลับปลิ้ง ก็สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้<br> ในรอบหลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีไฟฟ้า ได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้ การนำชุดควบคุมความเร็วรอบสำหรับมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบกรงกระรอก (Variable Speed Drives, VSDs) มีการนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เพื่อมาทดแทนการ การปรับความเร็วรอบทางกล หรือมาทดแทน สลิปริงมอเตอร์ ซึ่งเป็นการกล่าวถึงแต่เรื่องการปรับความเร็วรอบโดยการควบคุมความถี่ และพลังงานไฟฟ้าทางด้านขดลวดบนสเตเตอร์เป็นหลัก แต่ในบางลักษณะงาน การใช้สลิปริงยังมีเหตุผลที่ดีที่จะนำมาใช้ หรือในบางโรงงานหากมีสลิปริงใช้อยู่แล้วจะปรับความเร็วรอบจะทำได้อย่างไรเพื่อการประหยัดพลังงาน <br> นอกเหนือจากประโยชน์ในเรื่องของ การเพิ่มแรงบิดเริ่มหมุนได้สูงสุดแล้ว หากพิจารณาดูที่แรงบิดโหลดเท่าเดิม ในแต่ละเส้นกราฟที่มีค่าความต้านทานโรเตอร์แตกต่างกัน จุดตัดความเร็วรอบระหว่างแรงบิดมอเตอร์ และโหลดจะเปลี่ยนไปในแต่ละเส้นกราฟ ยกตัวอย่างเช่น แรงบิดของโหลดต้องการเพียง 1 เท่า ที่เส้นกราฟ R0 ความเร็วรอบ (&#61559;) เกือบจะเป็น 100% ที่เส้นกราฟ R2 ความเร็วรอบ (&#61559;) ประมาณ 80% ที่เส้นกราฟ R3 ความเร็วรอบ (&#61559;) ประมาณ 60% นั่นแสดงว่าเราสามารถที่จะปรับความเร็วรอบของมอเตอร์ได้ด้วยการเลือก หรือเปลี่ยนค่าความต้านทานของวงจรโรเตอร์ได้<br><br>ระบบขับเคลื่นแบบคาสเคดแบบซับซิงโครนัส คือระบบขับเคลื่อนมอเตอร์กระแสสลับสามเฟสแบบปรับความเร็วได้ ที่ใช้มอเตอร์แบบวงแหวนลื่น (Slipring motor) โดยกำลังสลิปจากโรเตอร์ จะถูกเรียงกระแสและป้อนกลับไปยังระบบไฟสลับโดยผ่านชุดเร็กติไฟร์<br> ในเรื่องการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบพลังงานที่ดึงมาจากวงจรของโรเตอร์แทนที่จะถูกปล่อยทิ้งไปที่ความต้านทาน ก็ถูกเก็บมาใช้ด้วยชุดอินเวอน์เตอร์แทน ในทางอุดมคติจึงไม่มีพลังงานสูญเสียไป เพราะส่วนประกอบของวงจรที่เป็นความต้านทานไม่ปรากฎ <br> ในทางปฎิบัติเมื่อเราป้อนไฟฟ้าเข้าที่ขดลวดด้านสเตเตอร์ด้วยระดับแรงดัน และความถี่คงที่ สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นในขดลวดด้านสเตเตอร์ก็จะคงที่ หากเราสามารถควบคุมกระแสด้านโรเตอร์ได้ เราก็จะสามารถควบคุมปริมาณของสนามแม่เหล็กที่ช่องว่างอากาศได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือสามารถควบคุมแรงบิดได้จากการควบคุมกระแสที่ไหลอยู่ในโรเตอร์นั่นเอง <br><br> ด้วยคุณสมบัติของมอเตอร์ แรงดันที่โรเตอร์จะลดลงอย่างเป็นเชิงเส้นจากแรงดันที่นิ่งแล้ว (Standstill voltage) ที่ความเร็วเป็นศูนย์ เมื่อความเร็วรอบมอเตอร์เพิ่มขึ้นจนกระทั่งแรงดันมีค่าใกล้เคียงศูนย์ที่ความเร็วซิงโครนัส ความเร็วจะปรับตัวมันเองไปสู่ค่าที่แรงดันโรเตอร์ถูกเรียงกระแส (Rectified rotor voltage) เท่ากับแรงดันต้านกลับ (Back e.m.f.) ของเครื่องผกผันเสมอ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงความเร็วจะไม่เป็นไปอย่างกระทันหัน (Stepless) โดยผ่านชุดควบคุม ค่าแรงดันที่โรเตอร์ชั่วขณะกับแรงดันอินเวอร์เตอร์ (Inverter voltage) ที่แตกต่างกันจะถูกนำโดยรีแอกเตอร์ในไฟตรงเชื่อมโยง การคาสเคดเครื่องแปลงผันแบบสถิตย์ซับซิงโครนัสจะถูกใช้อย่างมากในฐานะที่เป็นระบบขับอุปกรณ์ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างแรงบิด/ความเร็วเป็นกำลังสองและต้องการย่านควบคุมความเร็วที่จำกัด พวกมันเหมาะสมกับงานที่มีกำลังสูงสุด การสตาร์ทไปยังขีดจำกัดต่ำ (Lower limit) ของย่านควบคุมความเร็วจะถูกส่งผลกับตัวต้านทานที่ใช้สตาร์ต (Starting resistor) ในกรณีที่ระบบขับมีกำลังเกิน 400 กิโลวัตต์และมีย่านความเร็วเกินกว่า 40 % ย่านความเร็วทั้งหมดจะถูกแบ่งย่อยโดยการเปลี่ยนอนุกรม/ขนาน (Series/parallel changeover) ในส่วนของเครื่องผกผัน เพื่อจะทำให้ราคาของหม้อแปลงและเครื่องแปลงผันต่ำสุดและเพื่อจะลดความต้องการกำลังรีแอกทีฟ<br> |
17/08/2548 23:43 น. |
ลืมไป ลอง down load ไปอ่านดู<br><a href="http://www.tinamics.com/Artical/CasCade_Drives_Siwa.pdf" Target="_BLANK">http://www.tinamics.com/Artical/CasCade_Drives_Siwa.pdf</a> |
20/08/2548 14:36 น. |
หน่วยงานของผมมีเกือบ 20 ตัว ขนาด 1MW. - 2 MW. 6.6 kv ยืนดีมาดูของจริงได้โทร 097831119 มีทั้งยี่ห้อ ABB และอื่นๆ |
20/08/2548 17:29 น. |
ถ้ามีปัญหา technical หรือ ต้องการการ Technical service หรือคำปรึกษา ของ Cascade drives ติดต่อได้ที่ Tel 035-224806 email : <a href="mailto:noppaco@loxinfo.co.th" Target="_BLANK">noppaco@loxinfo.co.th</a><br>ไม่ทราบว่า คุณ จักร์ อยู่หน่วยงาน โรงงานปูนซีเมนต์ หรือ การประปา |
28/08/2548 10:42 น. |
อยู่การประปาครับแต่ที่ติดตั้งตัวใหม่ๆจะเป็น Drive เช่น vector Control มีแบบทั้ง vsi และ csi ยี้ห้อ ABB , Siemens , AB<br> |
06/06/2550 10:17 น. |
อยากดูรูปส่วนประกอบของสลิปริงมอเตอร์ส่งให้ดูหน่อยได้ไหมคับ |
05/02/2552 16:17 น. |
ส่วนประกอบของสลิปริง<br> |