29/05/2548 17:34 น. |
ขอถามเรื่องการ วีพีไอ<br> <br>อยากทราบ ว่า วีพีไอ คืออะไร <br>อยากทราบว่า มอเตอร์ที่ผ่านการใช้งานมาแล้วมีความจำเป็นแค่ไหน ที่จะต้องทำการ วีพีไอ เพราะปกติมอเตอร์ที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ หรือมอเตอร์ที่มีการพันขดลวดใหม่ จะมีการทำวีพีไออยู่แล้ว ถ้าหากว่าเราจะโอเวอร์ฮอล มอเตอร์แล้วต้องทำการ วีพีไอ จะส่งผลเสียต่อระบบฉนวน หรือไม่<br><br> |
30/05/2548 15:36 น. |
VPI มีชื่อเต็มๆว่า Vacuum Pressure Impregnet เป็นขบวนการที่มีขั้นตอนดังนี้ครับ<br>1. ชิ้นงาน(มอเตอร์) จะถูกใส่ลงไปในถังชิ้นงาน จากนั้นจะถังจะถูกปิดและถูกดูดอากาศออกเพื่อทำให้เป็นสูญยากาศ ( Vaccuum )<br>2. จากนั้นจะมีการปล่อยน้ำยาเข้าไปท่วมชิ้นงาน น้ำยาก็จะไหลเข้าไปตามซอกซอยต่างๆได้ง่ายเนื่องจากรูเล็กต่างๆไม่มีอากาศเป็นตัวกั้น<br>3. ขั้นตอนต่อไปก็ทำการปิดวาล์วน้ำยาและเพิ่มแรงดันเข้าไปในถัง ( Pressure )เพื่อกดน้ำยาให้เข้าไปตามรูเล็กๆเต่างๆ ที่เข้าไม่ได้เนื่องจากความหนืดของน้ำยา การใช้แรงดันสูงจะทำให้น้ำยาสามารถเข้าถึงได้ มีผลทำให้น้ำยาสามารถเข้าไปทุกจุดของระบบฉนวน<br>4. ใช้ระยะเวลาในการอัดแรงดันสักระยะหนึ่ง ก่อนที่จะปรับแรงดันให้กลับสู่สภาวะปกติ และนำชิ้นงานไปอบ ( Impregnet )<br><br>มอเตอร์ที่เหมาะสมกับการทำ VPI ควรจะเป็นมอเตอร์พันใหม่<br><br>มอเตอร์ที่ใช้งานมาแล้ว ถามว่ามีความจำเป็นแค่ไหนที่จะทำ VPI ในความคิดเห็นส่วนตัวไม่เหมาะครับ โดยเฉพาะถ้าระบบฉนวนเดิมที่ไม่ได้เป็น VPI มาก่อน เพราะแรงดันที่อัดเข้าไปในขณะทำ มีโอกาสทำให้เกิดความเสียหายให้กับระบบฉนวนเดิม ซึ่งอาจจะเริ่มมีปัญหาอยู่ก่อน แรงดันที่อัดเข้าไปจะเป็นตัวกระตุ้นทำให้ความเสียหายเพิ่มขึ้น<br><br>แต่การทำ VPI จะช่วยในเรื่องของการระบายความร้อนได้ดี |
30/05/2548 20:52 น. |
น้ำยา vpi เป็นยเเบบใหนครับ. |
30/05/2548 21:48 น. |
แล้วน้ำยาที่ใช้เป็นน้ำ ชนิดไหน <br>เหมือนหรือต่างกับน้ำยา ที่ไม่ใช้วีพีไอ<br><br>แล้วระยะเวลาในแต่ละขั้นตอน มากน้อยแค่ไหน<br>แล้วมอเตอร์ชนิดไหน จำเป็นที่จะต้องใช้วีพีไอ<br> |
30/05/2548 21:54 น. |
สังสัยจากกระทู้ 3676<br><br>คุณช่างซ่อมมอเตอร์ ช่วยอธิบายการเกิดความต่างศักย์ของ บาร์โรเตอร์ กับแกนเหล็ก อีกทีซิ ยังไม่ค่อยเข้าใจ <br>ถ้าเกิดการหลวม จะทำให้เกิดความต่างศักย์ ได้อย่างไร<br>เพราะเคย เจอกรณี มอเตอร์ต้องเปลี่ยนบาร์โรเตอร์ ก้อไปดูขั้นตอนการเปลี่ยนบาร์โรเตอร์ เขาทำเพียงทำแท่งอลูมีเนียมใส่เข้าไปในร่อง ผมลองส่องดูก้อเห็ฯว่ามีช่องว่าง มองทะลุไปอีกด้านได้ ไม่ทราบว่าอย่างนี้จะทำให้ปัญหาแบบที่บอกหรือไม่ |
30/05/2548 22:07 น. |
ขอถามอีกซักข้อ<br><br>วานิช สีแดง ที่เขาเอามาพ่นมอเตอร์ที่โอเวอร์ฮออล์ พ่นเพื่ออะไร<br>แล้ววานิชสีแดงมีคุณสมบัติอย่างไร หาซื้อได้ที่ไหน<br>เราสามารถทำเองได้หรือไม่ โดยไม่ต้องส่งบริษัทซ่อมมอเตอร์ มีขั้นอย่างไร บ้าง ต้องเตรียมมอเตอร์ อย่างงั้ยมั่ง<br><br>ขอขอบคุณครับ |
31/05/2548 13:07 น. |
ขอตอบเรื่องน้ำยา VPI<br><br>น้ำยา VPI ที่ใช้อยู่ในบ้านเราจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ Epoxy และ Polyester ส่วนรายละเอียดความแตกต่าง และข้อดีข้อเสีย ผมจำไม่ได้ครับ แต่เท่าที่จำได้ไม่แตกต่างกันมากนัก<br><br>น้ำยาทั้งสองตัวที่กล่างข้างต้นจะต่างกับวานิชที่เราใช้จุ่มตรงที่เป็นสารชนิดเดียวที่จะต้องไม่มีตัวทำละลายเป็นส่วนประกอบ เพราะในชณะปล่อยน้ำยาเข้าไปในขณะ เป็นสูญญากาศ ตัวทำละลายจะระเหยได้เร็ว จะทำให้น้ำยาที่มีตัวทำละลายเป็นส่วนประกอบแข็งตัว ฉะนั้นน้ำยาที่ใช้ในการทำวีพีไอ ต้องเป็นสารชนิดเดียวไม่มีตัวทำละลายเป็นส่วนประกอบ<br><br>มอเตอร์ที่พันใหม่ทุกประเภท เหมาะกับการทำ วีพีไอ เพราะจะช่วยทำให้ระบบฉนวนดีขึ้นกว่าการจุ่มวานิช ธรรมดา และที่สำคัญช่วยในการระบายความร้อนได้ดีครับ<br><br>ส่วนเรื่องระยะเวลาการทำแต่ละขั้นตอน ผมไม่ทราบครับ เพราะไม่เคยคุม เครื่อง วีพีไอ แต่เท่าที่ทราบระยะเวลา แรงดัน และ ความเป็นสูญญากาศ จะแปรผัน ตาม ประเภทมอเตอร์ ( เอซี หรือ ดีซี ) แรงดันพิกัด และระบบฉนวน |
31/05/2548 13:37 น. |
ขอตอบเรื่องศักย์ของบาร์โรเตอร์<br><br>ในกระทู้ที่3676 ผมอาจจะตอบแบบย่อเกินไป ผมขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้ครับ<br><br>ความต่างศักย์ของบาร์โรเตอร์จะมีค่าสูงที่สุดในขณะมอเตอร์สตาร์ท เพราะในขณะนั้น โรเตอร์จะมีกระแสไหล 6-8 เท่าของกระแสขณะมอเตอร์ทำงานเต็มพิกัด และ ค่า อิมพีแดนซ์ของโรเตอร์มีค่าสูงสุด<br><br>ค่าอิมพีแดนซ์ของโรเตอร์ เมื่อไปวิเคราะห์วงจรของมอเตอร์แล้ว จะเห็นว่า จะแปรผันตามค่า สลิป ค่าสลิปยิ่งมาก ค่าอิมพีแดนซ์ของมอเตอร์ก็จะยิ่งมาก และในขณะที่โรเตอร์หยุดนิ่ง มอเตอร์จะมีค่าสลิปเป็น 1 ซึ่งเป็นค่าที่มากที่สุด<br><br>ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าในขณะสตาร์ทมอเตอร์ กระแสสูงสุด x ค่าอิมพีแดนซ์สูงสุดจะทำให้เกิดค่าแรงดันสูงสุด จึงทำให้ มอเตอร์บางตัวจะมีการสปาร์คที่โรเตอร์ในขณะสตาร์ทในช่วงแรก และจะหายไปเมื่อมอเตอร์หมุนออกตัวไป<br><br>สาเหตุที่ทำให้เกิดการสปาร์คเพราะเนื่องด้วยแกนเหล็กจะเป็นทางผ่านหนึ่งของค่าความแตกต่าง และถ้าแกนเหล้กแนบสนิทกับกับบาร์โรเตอร์ก็จะไม่ทำให้เกิดความค่างศักย์เกิดขึ้น แต่ถ้ามีการหลวมจะทำให้เกิดค่าความต้านทานขึ้นที่บริเวณรอยต่อระหว่าง บาร์โรเตอร์และแกนเหล็ก จึงทำให้เกิดค่าความต่างศักย์ขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการสปาร์ค เพราะถ้าแกนเหล็กแนบสนิทกับบาร์โรเตอร์กระแสก็จะไหลผ่านแกนเหล็กไปได้ด้วยดีโดยไม่ทำให้เกิดการสปาร์ค |
31/05/2548 14:01 น. |
ขอตอบเรื่องวานิชแดง<br><br>ในความเข้าใจของผม การพ่นวานิชแดงเป็นเพียงการเคลือบผิวฉนวนบางๆให้กับขดลวด แต่จะเป็นการเคลือบป้องกันสนิมให้กับแกนเหล็ก วิธีการพ่นวานิชแดง จะเหมาะกับขดลวดที่มีสภาวะแวดล้อมของมอเตอร์ดี สะอาด ไม่มีความชื้น และมีสภาพฉนวนที่ดี ถ้ามอเตอร์อยู่ในสภาวะที่แย่ ค่าความเป็นฉนวนมีค่าต่ำ จะต้องทำการล้างอบให้ค่าความเป็นฉนวนมีค่าสูงก่อนจากนั้นจะนำเอาไปจุ่มวานิช เพื่อที่จะให้วานิชเข้าไปซ่อมฉนวนที่เกิดความเสียหายและไปเคลือบผิวของขดลวดเพื่อรักษาค่าความเป็นฉนวนให้มีค่าสูง<br><br>ถ้าฉนวนอยู่ในสภาพดี( ค่าความเป็นฉนวนสูง ) การพ่นวานิชแดงใครๆก็ทำได้ แต่ ถ้าขดลวดมีสิ่งสกปรกมากๆ ค่าความเป็นฉนวนต่ำ การล้างอบเป็นสิงที่จำเป็น และต้องมีการจุ่มวานิช อาจจะต้องส่งให้โรงซ่อมมอเตอร์ เพราะจะมีการทดสอบในส่วนอื่นไปด้วย เช่น การทดสอบทางกล เช่น เรื่องของ ความสั่นสะเทือน และแบริ่ง |
31/05/2548 23:10 น. |
ครับ ขอบคุณครับ |
06/06/2548 16:04 น. |
ผมมีปัญหามอเตอร์ที่ต้องทำงานใกล้กับพื้นที่ที่มีละอองน้ำและความชื้นมาก แต่ไม่สามารถเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ทั้งหมดได้ เนื่องจากมีเป็นร้อยตัว (IP56) ถ้าจะเอไปทำ VPI จะช่วยยืดอายุของมอเตอร์ได้ไหมครับ แล้วถ้านำมอเตอร์ไปหล่อด้วยเรซินจะมีผลเรื่องการถ่ายเทความร้อยไหมครับ |
06/06/2548 19:06 น. |
มอเตอร์ของคุณที่ว่านี้มีอายุการใช้งานมานานมากนอ้ยแค่ใหนครับเพราะอย่างที่บอกแล้วว่าการทำ vpi ไม่ได้ให้ผลดีเสมอไปโดยเฉพาะกับมอเตอร์เก่าครับลองย้อนกลับไปดูคำตอบที่1ของซ่างซ่อมมอเตอร์นะครับ. |
06/06/2548 20:56 น. |
ขอให้ความเห็นเกี่ยวกับคำถามของคำตอบที่ 10 ดังนี้ครับ<br><br>VPI จะช่วยป้องกันความชื้นที่เกิดขึ้นจากขบวนการผลิดของอากาศโดยรอบ ได้ดีขึ้น และเหมาะสม ถ้าเป็นมอเตอร์ที่จะพันใหม่ แต่ถ้าเป็นมอเตอร์เก่าคงต้องอยู่ในความเสี่ยงเหมือนกันถ้าต้องการที่จะไปทำ VPI<br><br>การนำเอาเรซินมาพอก ตามความเห็นจะมีผลต่อการระบายความร้อน เพราะเรซินจะเป็นเหมือน Buffer ที่กั้นระหว่างอากาศที่ใช้ระบายความร้อนกับขดลวด แต่ก็จะช่วยในการทนการกัดกร่อนได้ดี คงต้องพิจารณาว่า ตอนนี้มอเตอร์มีปัญหาอะไร เช่นมีการกัดกร่อน หรือมีปัญหาเรื่องความชื้นเพียงอย่างเดียว ถ้ามีปัญหาเรื่องความชื้นการพอกด้วยเรซิน จะไม่สามารถทำได้ทั่งถึงเท่ากับขบวนการ VPI |
14/07/2550 15:06 น. |
ขอเสริมเรื่อง VPI นิดนึงครับเนื่องจากมีโรงซ่อมเอาจุดนี้ไปขายกันมากโดยที่ไม่ได้พูดถึงโดยรวมทั้งหมด (แต่ก็ทำให้หลายคนมีความเชื่ออย่างฝังรากลึกว่าระบบนี้เป็นระบบที่ดีที่สุด) ข้อดีที่เห็นชัดเจนมากคือเรื่องความแข็งแรงทางกล เพราะมีการแทรกซึมของ เรซิ่น (ไม่ใช่วานิชนะครับ) เรซิ่นที่ว่าจะเป็นเพียวเรซิ่นมีค่าความหนืดต่ำมาก เพื่อให้สามารถแทรกซึมได้ง่าและทั่วถึง ทั้งนี้การนำฉนวนมาใช้จะต้องเลือกแบที่เหมาะกับกระบวนการ VPI ดังกล่าวด้วย<br> ถ้าเป็น HV. Motor ก็ไม่เหมาะกับการทำ VPI สาเหตุเพราะ การลงขดลวด จะต้องมีการพัน Corona เทปในช่วงที่อยู่ในร่อง Slot เสมอ เพื่อป้องกันการเกิด Partial Discharge (PD) ในการเกิด PD แต่ละครั้งจะมีการทำลายฉนวน ทำให้ค่าความเป็นฉนวนต่ำลงส่งผลให้เกิด ลงกราวนด์ในที่สุด<br> PD เกิดจากการที่มีฟองอากาศปนอยู่ในฉนวน<br> อากาศที่ปนอยู่ในฉนวน มาจากการที่ กระบวนการ VPI ไม่สมบูรณ์ อาจเนื่องมาจาก ขั้นตอนการ Vacumm ไม่สมบูรณ์ ระยะเวลาไม่เพียงพอ, นำฉนวนที่เป็นอุปสรรคกับกับแทรกซึมของเรซิ่นมาใช้, ขั้นตอนการ Pressure ไม่เหมาะสม, นำวานิชทั่วไปมาใช้แทนเรซิ่น ฯลฯ<br> |
14/07/2550 15:07 น. |
ค่าเรซิ่นยังแพงมากๆเมื่อเทียบกับงานซ่อม อาจมีคนแย้งว่าจากโรงงานผลิตก็มีการทำ VPI กับ HV. Motor แน่นอนว่าการควบคุมกระบวนต่างๆ ในสายพานการผลิตแตกต่างกันกับการซ่อม การผลิตแต่ละครั้งอาจผลิตเป็นร้อยตัว แต่การซ่อมเราทำแค่ตัวเดียวจะไม่คุ้มการลงทุน ณ ขณะนี้ราคาเรซิ่น อยู่ที่ประมาณ 100,000,- หนึ่งแสนบาท ต่อ 200 ลิตร เนื่องจากการทำ VPI จำเป็นต้องให้เรซิ่นท่วมขดลวด ยกตัวอย่าง ถ้าถัง 1.2 เมตร ต้องการให้ท่วมชิ้นงานที่ความสูง 1 เมตร จะต้องใช้เรซิ่นถึง 3.14/2 x 1.2 x 1.2 x 1 = 2.26 ลูกบาศก์เมตร 2260 ลิตร = 11 x 100,000.- = 1,100,000.- เป็นอย่างต่ำ ถ้าเสนอราคาเปลี่ยนขดลวดมาที่ 800,000 แล้วบอกว่า VPI มันจะเป็นไปได้หรือ? แล้วถ้าถังใหญ่กว่านี้ล่ะ?<br>อาจมีการทำภาชนะลดขนาดให้ใกล้เคียงกับชิ้นงานแต่ก็ยังไม่คุ้มอยู่ดี<br> |
14/07/2550 15:18 น. |
ยังมีระบบ |