29/04/2548 16:05 น. |
อยากจะถามว่าหน้าสัมผัสของวงจรมอเตอร์ที่ทำการสตาทแบบสตารันแบบเดลตาผมจะเลือกกระแสที่จะกำหนดขนาดสายไฟอย่างไรและจะหาขนาดของหน้าสัมผัสอย่างไร |
02/05/2548 17:09 น. |
ผมมีความคิดเห็นอย่างนี้นะครับ <br><br>การสตาร์ท สตาร์-เดลต้า เป็นการสตาร์ทมอเตอร์แบบลดแรงดัน และแรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์ จะเป็นสัดส่วนกำลังสองแรงบิดของมอเตอร์ และแรงบิดจะเป็นสัดส่วนกับกระแสมอเตอร์อีกที<br><br> ลองมาดูตัวอย่างอาจจะเข้าใจมากขึ้น สมมุติว่ามอเตอร์ตัวหนึ่ง มีแรงบิดขณะสตาร์ทแบบต่อตรง 2 เท่า และกระแสสตาร์ท 8 เท่า สมมุติว่า มอเตอร์ ตัวนี้มีกระแสพิกัด 100 แอมป์และแรงบิดพิกัด 20 นิวตัน-เมตร<br> ในการสตาร์ทแบบ สตาร์-เดลต้า เป็นการป้อนแรงดันที่ตกคร่อมเฟสของขดลวดมอเตอร์ 220 โวลท์ ฉะนั้นแรงบิดของมอเตอร์จะเปลี่ยนไปเป็นสัดส่วนกำลังสอง แรงบิดของมอเตอร์ใหม่ ( ขณะสตาร์ท ) จะเป็น = ( 220/380 )2 หรือ 0.334 เท่าของแรงบิดเดิม<br> แรงบิดขณะสตาร์ท สตาร์-เดลต้าของมอเตอร์ตัวนี้ = 0.334 x 2 =0.668 ของแรงบิดพิกัด หรือ 0.668 x 20=13.36 นิวตันเมตร<br> กระแสขณะสตาร์ สตาร์-เดลต้าของมอเตอร์ตัวนี้ = 0.334 x 8x100 = 267 แอมป์<br> จากนั้นนำค่ากระแสที่ได้ไปหาสัดส่วนต่อกระแสต่อตรงจะได้ 267/800 = 0.334 <br> สรุปได้ว่าขนาดแมกเนติกใหม่ที่เราจะเลือกใช้ทำเป็นตัวเมนและตัว เดลต้าจะมีขนาดเหลือเพียง 33.4 เปอร์เซนต์ของ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ที่ระบุในแคตตาล๊อกเพื่อใช้สตาร์ทแบบต่อตรง หรือสรุปง่ายคือมอเตอร์ 100 KW. เราจะใช้แมกเนติกที่มีขนาดไม่เล็กกว่า 33.4 กิโลวัตต์ มาใช้เป็นแมกเนติกตัว เมนและตัวเดลต้า<br><br> |