20/04/2548 20:12 น. |
มอเตอร์รายละเอียดดังนี้ 3 Phase 2.5/3.0 KW. 1410/2840 RPM. Cos0 0.82/0.88 380 D/YY 5.9/6.66 A. IP 54<br>ถูกส่งมาจากลูกค้า โดยแจ้งว่าขดลวดช๊อตถึงกัน ต้องการให้ตรวจสอบและแก้ไข<br><br>หลังจากการตรวจสอบ ไม่พบสิ่งปกติใด โรงซ่อมได้ทำการโอเวอร์ฮอลล์มอเตอร์ตัวดังกล่าวกลับไปให้ลูกค้า หลังจากการติดตั้งมอเตอร์ก็ไม่สามารถใช้งานได้อีก หลังจากการตรวจเช็คจากช่างของลูกค้า แจ้งว่ามอเตอร์ช๊อตที่ขดลวดอีก<br> ลูกค้าได้ต่อว่ามาทางโรงซ่อมว่าโรงซ่อมทำไมไม่แก้ปัญหาตามที่ลูกค้าแจ้ง และยังคงส่งมอเตอร์ที่ยังไม่ได้แก้ไขกลับไปอีก<br><br>คำถาม เพื่อนๆพี่ๆ ในเวปบอร์ดลองพิจารณาดูซิว่าปัญหาของเรื่องนี้มีสาเหตุมาจากอะไร ที่ทำให้มอเตอร์ไม่สารมารถใช้งานได้ (เสียดายไม่มีสปอนเซอร์ จะได้ให้คนที่ตอบถูก )<br><br>หมายเหตุ<br> ถ้าคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไม่พอใจที่ผมเอาเรื่องนี้มายกเป็นกรณีศึกษา คงต้องขออภัยไว้ ณ. ที่นี้ |
20/04/2548 20:50 น. |
ไม่แน่ใจว่าช่างของลูกค้า Check ถูกต้องหรือเปล่า หรือต่อใช้งานถูกต้องหรือไม่ ส่วนร้านซ่อมคงตรวจสอบดีอยู่นะ มินั้นคงไม่กล้ามั่วเปิดร้านหรอก ( แต่ก็ไม่แน่เหมือนกัน ) |
21/04/2548 11:38 น. |
น่าจะเป็นที่วงจรควบคุมมอเตอร์...ถ้าลูกค่าต่อ Direct ดูก็จะรู้ |
21/04/2548 17:47 น. |
กรณีดังกล่าวลูกค้าน่าจะขาดความเข้าใจ หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับ Pole-changeable three-phase motor<br>ซึ่งเป็นเหตุทำให้เข้าใจว่าขดลวดช๊อตถึงกัน <br>เนื่องจากมอเตอร์ตัวดังกล่าว เป็นมอเตอร์ชนิดพิเศษ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบได้ โดยการเปลี่ยนจำนวนขั้วแม่เหล็ก มอเตอร์ชนิดนี้โดยทั่วไปจะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Dahlander motor ภายในน่าจะประกอบด้วยขดลวด 6 ชุด และมีขั้วต่อออกมา 6 ขั้ว คือ 1u,2u,1v,2v,1w,2w,<br>การต่อใช้งานสามารถต่อใช้งานที่แรงดัน 380 V ได้สองวิธี คือแบบ Delta (D) และแบบ Double Star (YY) <br>การต่อแบบ Delta (D) ให้จ่ายไฟ L1, L2, L3ให้กับ 1u,1v,1w ส่วน 2u,2v,2w ปล่อยลอย ไม่ต้องต่อหรือจั๊มเข้าหากัน <br>หากต้องการต่อแบบ Double Star (YY)ให้จ่ายไฟ L1, L2, L3ให้กับ 2u,2v,2w ส่วน 1u,1v,1w จั๊มรวมเข้าหากัน(star Point ) <br> การใช้งาน<br>จะต่อแบบ Delta (D) เมื่อต้องการความเร็วรอบต่ำ ( 1410 RPM ) แต่ต้องการทอร์คสูง <br>และต่อแบบ Double Star (YY) เมื่อต้องการความเร็วรอบสูง (2840 RPM ) แต่ต้องการทอร์คต่ำกว่า<br><br>หมายเหตุ <br>มอเตอร์ตัวดังกล่าว ให้กำลังเอาท์พุทไม่เท่ากัน 2.5/3.0 KW. กระแสก็ไม่เท่ากัน 5.9/6.66 A ดังนั้นสิ่งที่ต้องระวังก็คือการตั้งกระแสของโอเวอร์โหลด ซึ่งในทางปฏิบัติวงจรควบคุมมอเตอร์ตัวนี้จะมีโอเวอร์โหลด 2 ชุดแยกกัน<br>ส่วนรูปภาพวงจรของมอเตอร์ ดูตัวอย่างได้ที่ <br><a href="http://www.lucas-nuelle.de/260/Products/Training_Systems/Electric_Machines,_Power_Electronics,_Drives/Electric_Machines/Asynchronous_Machines.htm" Target="_BLANK">http://www.lucas-nuelle.de/260/Products/Training_Systems/Electric_Machines,_Power_Electronics,_Drives/Electric_Machines/Asynchronous_Machines.htm</a><br> |
21/04/2548 18:41 น. |
มอเตอร์ลักษณะนี้มีใช้กับโหลดหรือเครื่องจักรประเภทเครนยกของด้านที่เดินไป-กลับ(รางยาว)ซึ่งผมพบเห็นบ่อย ซึ่งเป็นมอเตอร์ 2 สปีดครับที่เทอร์มินอลมี 6 ขั้วเวลาวัดแล้วชอร์ทถึงกันหมด6เส้นความคิดเห็นของผมคิดว่าทางลูกค้าอาจจะเข้าใจวงจรผิดหรือปล่าวครับคิดว่าเป็นมอเตอร์ที่มีวงจรการต่อภายในแบบมอเตอร์ธรรมดาทั่วๆไปก็เป็นได้นะครับโดยอาจจะยังไม่เข้าใจความหมายของเนมเพลทดีพอ<br> |
22/04/2548 18:25 น. |
ยังอยากให้ พี่ๆ เพื่อนๆ แสดงความคิดเห็นเพิ่มอีกนะครับ และดูเหมือนเพื่อนๆที่ตอบมาแล้ว ยังอาจจะมั่นใจร้านซ่อมมอเตอร์มากเลยเพราะไม่มีใครให้ความเห็นว่าร้านซ่อม ทำให้เกิดปัญหา |
24/04/2548 09:56 น. |
ผมแปลกใจมากที่ทุกคน ตอบถูกหมดเลย ไม่มีคนใดเลยที่คิดว่าปัญหาเกิดจากโรงซ่อม ตรวจสอบไม่ดี<br><br>พี่เสือได้อธิบายถูกต้องและละเอียดดีมากแล้วครับผมคงไม่ต้องอธิบาย เพียงแต่สรุปให้นิดนึงว่า ลูกค้าไปเข้าใจว่ามอเตอร์ 2 ความเร็วควรที่จะมี 2 ขดลวดหรือขดลวด 2 ชุด ( ชุดรอบช้า และ ชุดรอบเร็ว ) และถ้ามีขดลวด 2 ชุดเมือนำ มิเตอร์มาวัดที่เทอร์มินอลมันควรที่จะแบ่งขดลวดออกเป็น 2 ชุดและไม่ควรที่จะถึงกัน จึงคิดว่ามอเตอร์ชอร์ทเทิร์นโดยที่ไม่ได้มีการตรวจสอบชุดคอนโทรล<br><br>ในกรณีแบบนี้ยังเคยเกิดที่โรงซ่อมเลย คือมีโรงซ่อมหนึ่งพอดีผมเข้าไปเยี่ยมเจ้าของเขา พอดีเห็นช่างเขารื้อเชือกที่มัดคอยล์ของมอเตอร์ตัวหนึ่งออกและพยายามมองหาอะไรบางอย่าง เมื่อสอบถามได้ความว่า มอเตอร์ถูกส่งมาโอเวอร์ฮอลล์เป็น ล็อตใหญ่ และมอเตอร์ตัวนี้เกิดการ ชอร์ตเทิร์น หลังการล้างอบแล้ว <br>เมื่อผมเข้าไปดูเนมเพลท แล้วปรากฏว่าตรงกับกรณีตัวอย่างนี้เลย ช่างไม่เข้าใจเกี่ยวกับมอเตอร์ 2 ความเร็วประเภทนี้ จึงไม่แปลกที่คนไม่คุ้นเคยอาจจะเข้าใจผิด และทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามขึ้นมาได้ |
14/05/2548 12:44 น. |
โรงซ่อมจะทำให้เกิดปัญหาได้คือ ต่อขดลวดแล้วเกิดกลับต้นปลายทำให้กระแสในร่องSlotเดียวกันวิ่งสวนทางกันจนเกิดความรอ้นและกำลังตกขับโหลดไม่ได้ จนมอเตอร์ต้องดึงกระแสมาชดเชยจนเกินเป็นผลตามมา เนื่องจากส่วนใหญ่ตามร้านจะทำตามของเดิมและมีจำนวนมากที่ไล่ทิศทางสนามแม่เหล็กหมุนไม่เป็น ขออภัย..บางที่ครับ |