15/04/2548 19:40 น. |
มอเตอร์กระแสตอน no-load ต่ำถ้านำมาใช้งานจะเกิดปัญหาใดๆบ้างครับ |
16/04/2548 12:44 น. |
และตรงกันข้ามถ้ากระแสตอน no-load สูงจะมีผลเช่นใดถ้านำไปใช้งาน |
16/04/2548 21:20 น. |
ก่อนจะแสดงความคิดเห็นต้องขอให้ตีวงคำถามให้แคบสักหน่อย<br>1. คำถามหมายถึงมอเตอร์ปกติหรือผิดปกติ<br>2. มอเตอร์ที่มีการซ่อมมาแล้วหรือยัง<br><br>เพราะถ้าให้เดาความต้องการต้องตอบเยอะมาก และถ้าเป็นไปได้ถ้ามีกรณีหรือปัญหาอยู่ยกทั้งปัญหามาตั้งเป็นคำถามก็ได้ครับ |
17/04/2548 19:20 น. |
พอดีเพิ่งได้รับมอเตอร์ที่ส่งไปซ่อมกลับมาจากร้านซ่อมแห่งหนึ่ง(ขอไม่กล่าวถึงชื่อและสถานที่)ในกระบวนการซ่อมได้มีการโอเวอร์ฮอลขดลวดและเปลี่ยนตลับลูกปืนตามกระบวนการที่ร้านได้แจ้งมาแต่ล่าสุดเมื่อส่งกลับมาได้มีการเเจ้งมาใน ใบรายงานการซ่อมว่ากระแสตอน เดินตัวเปล่า (Io)ค่อนข้างต่ำถึงต่ำมากประมาณ15%ของกระแสพิกัดเขาแจ้งมาดังนั้นและแนะนำต่อดว้ยว่าต้องทำการตรวจสอบคอนเนคชั่นหรืออาจต้องทำการพันขดลวดใหม่ซึ่งผมก็งงๆเพราะก่อนนี้มอเตอร์ตัวนี้ใช้งานได้อยู่ตามปกติแต่ประวัติการซ่อมก่อนหน้านี้ผมไม่มีจริงๆครับเนื่องจากเป็นคนละแพล้นงานกันกับที่ผมดูแลอยู่บังเอิญมาดูแลแทนช่วงshut-down สงกรานต์อ้อลืมแจ้งไปมอเตอตัวนี้ขนาด 355kw 380d 649amp 2990 rpmกระแสตัวเปล่าตอนเทสมาเขาบอกว่า L1=105,L2=106,L3=105Amp เเรงดัน380,382 381volt ครับตอนนี้เลยเกิดไม่มั่นใจที่จะนำไปใช้งานช่วยเเนะนำหน่อยครับ |
17/04/2548 21:16 น. |
ขอให้ความเห็นตามข้อมูลที่ให้มานะครับ<br>1. มอเตอร์ที่เคยใช้ได้อยู่เมื่อส่งไปโอเวอร์ฮอล์( ปรับปรุงสภาพของฉนวน ) เมื่อส่งกลับมาย่อมใช้ได้แน่นอนครับ ยกเว้นว่าจะต่อวงจรภายนอกผิด ( สตาร์หรือเดลต้า )<br>2. จากค่ากระแสขณะไม่มีโหลดข้างต้น สำหรับมอเตอร์ 2 โปลถือว่าค่อนข้างต่ำครับ เพราะมอเตอร์ 2 โปลค่ากระแสขณะไม่มีโหลดน่าจะอยู่ที่ 20-30 เปอร์เซนต์ของกระแสพิกัด<br>3. ผมติดใจตรงที่ว่าคุณ Q บอกว่าส่งมอเตอร์ไปซ่อมร้านซ่อม ซึ่งน่าจะไม่ใช่โรงซ่อมขนาดใหญ่ จากประสพการณ์แล้ว มอเตอร์ขนาดนี้ ร้านซ่อมจะไม่มี แหล่งจ่ายที่สามารถ สตาร์ทมอเตอร์เพื่อทดสอบมอเตอร์ที่แรงดันพิกัดได้ ยกเว้นจะต่อเป็นสตาร์แล้วทำการสตาร์ทมอเตอร์ ( ขนาดต่อสตาร์แล้วสตาร์ทยังต้องใช้กระแสสตาร์ทประมาณ 2 เท่าของกระแสพิกัด ) ซึ่งเป็นการลดแรงดันในขณะสตาร์ท ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ที่ค่ากระแสที่แสดงอาจจะเป็นค่ากระแสที่เกิดจากการต่อสตาร์ขณะที่จ่ายแรงดันเข้ามอเตอร์ 380 โวลท์ก็เป็นไปได้ <br> |
18/04/2548 22:14 น. |
ผมอาจบอกผิดไปขออภัยครับ จริงๆแล้วเป็นโรงซ่อมใหญ่พอสมควรเขาเทสมาที่เดลต้าตามพิกัดเลยครับ และถามผู้ที่ดูแลแพล้นนี้อยู่เขาบอกขอ้มูลมาว่ามอเตอร์ตัวนี้มีปัญหาเรื่องความร้อนอยู่ขณะใช้งานขับปั๊มคอมเพรสเซอร์ที่โหลดประมาณ60%ความร้อนที่เฟรมนอกประมาณ80องศาcขณะใช้งานตอ้งมีมอเตอร์พัดลมเป่าอยู่ถึง2ตัวเลยครับกระแสตอนเดินขับโหลดเขาเคยจดไว้อยู่ที่250,230,191ampแรงดันไม่ได้บอกไว้ครับ |
19/04/2548 11:33 น. |
จากข้อมูลที่ให้มาให้ความเห็นอย่างนี้ครับ<br>1. ค่ากระแสขณะขับโหลด 60 เปอร์เซนต์ที่ให้มาน่าจะเป็นกระแสเฟส ไม่ใช่กระแสไลน์ เพราะ 250 x 1.732 =433 /649x100=66 % ฉะนั้นกระแสไลน์ของเฟสไลน์ที่สูงน่าจะอยู่ประมาณ 430 แอมป็<br>2. ค่าของกระแสเฟสมีค่าค่า Unbalance สูงมากและนี่จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดความร้อน ปกติไม่ควรเกิน 5 เปอร์เซนต์ แต่ที่ผมคำนวณได้ ประมาณ 11 เปอร์เซนต์ นั่นก็หมายความว่าการใช้งานมอเตอร์ต้องใช้งานให้น้อยกว่าพิกัดแรงม้า มิฉะนั้นมอเตอร์จะร้อนเกินพิกัด<br>3. ถ้าค่ากระแสที่ได้จากโรงซ่อม เป็นค่าที่ได้จากการจ่ายแรงดันตามพิกัด ถ้าเราสมมุติว่าขดลวดสเตเตอร์ปกติ ( เพราะไม่ได้แจ้งว่ามอเตอร์เคยพันมาหรือยัง ) โรเตอร์ของมอเตอร์อาจมีปัญหาเรื่องบาร์แครกก็เป็นไปได้<br>4. สิ่งที่ทำให้กระแสของมอเตอร์เกิดการ Unbalance<br>1. ขดลวดสเตเตอร์ที่พันและต่อไม่สมบูรณ์<br>2. ระบบไฟฟ้าไม่สมดุล ( โดยเฉพาะต่างจังหวัดและอยู่ไกลจาก Power Plant<br>3. เกิดค่า Resistance ที่สูงผิดปกติตามรอยต่อ หรือหน้าคอนแทคต่างๆ<br><br>สรุป<br>1. ถ้าเดิมมอเตอร์เคยใช้ได้มันก็ควรที่จะใช้ได้<br>2. ถ้ามีโอกาสควรตรวจเช็คบาร์โรเตอร์ ว่า แครกหรือไม่ ( ควรส่งโรงซ่อมตรวจ )<br>3.ควรแก้ไขเรื่องการเกิด Unbalance ของกระแสในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขดลวดไฟฟ้า และ ค่าความต้านทานที่หน้าคอนแทค เพราะถ้าปัญหาเกิดจากระบบไฟแล้วแก้ไขมักไม่ค่อยได้<br><br>หมายเหตุ<br>- ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมอยากให้ผมช่วยแนะนำกรุณาแฟกซ์ เทสรีพอท์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาที่ โทรสาร 02-896-0229 |
19/04/2548 20:16 น. |
การแก้ไขเรื่องการเกิด unbalance ของกระแสที่เกี่ยวขอ้งกับขดลวดไฟฟ้าพอจะแนะนำวิธีการที่ถูกตอ้งและไม่ยุ่งยากเพื่อที่จะตรวจสอบเองได้ใหม๋ครับ |
19/04/2548 22:54 น. |
การตรวจสอบขดลวดสเตเตอร์ เพื่อดูความสมดุล ขั้นตอนอย่างน้อยจะต้องทำการตรวจวัด<br>1. ค่าความต้านทานของขดลวดแต่ละเฟส ซึ่งควรจะต้องเท่ากัน หรือมีค่าความแตกต่างไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์จากค่าเฉลี่ย<br>2. วัดค่า อินดักแตนซ์ของขดลวด ซึ่งค่าที่ได้ในแต่ละเฟสควรจะต้องเท่ากัน หรือแตกต่างจากค่าเฉลี่ยไม่ควรเกิน 5 เปอร์เซนต์<br><br>โดยปกติค่าอินดักแตนซ์จะเป็นตัวกำหนดค่าของการเกิดความไม่สมดุลของกระแส แต่ค่าอินดักแตนซ์ที่ไม่สมดุลก็ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของขดลวดเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเกิดจากความเสียหายของแกนเหล็กก็ได้<br><br> ดูแล้วก็คงไม่ง่าย เพราะส่วนมากแล้ว โรงงานมักจะไม่ค่อยจะมีเครื่องมือตรวจสอบขดลวด และเนื่องจากเป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่เวลาวัดค่าความต้านทานอย่างน้อยต้องใช้ มิลลิโอห์มมิเตอร์ และถ้าเป็นอินดักแตนซ์มิเตอร์ด้วยแล้วคงจะยากใหญ่ เพราะส่วนมากจะมีใช้กันเฉพาะโรงซ่อมเท่านั้น<br><br> แต่สิ่งที่ทำได้ก็คงเพียงการยืนยันว่า การเกิดการไม่สมดุลของกระแสเกิดจากมอเตอร์หรือระบบไฟฟ้า ซึ่งทำได้โดยการย้าย สายไฟที่เข้าแหล่งจ่าย สลับตำแหน่งกันพร้อมกันทั้งสามสาย ( เพื่อป้องกันมอเตอร์กลับทางหมุน ) ถ้ากระแสยังสูงหรือแตกต่างอยู่ที่ไลน์เดิม แสดงว่าเป็นที่ระบบไฟฟ้า แต่ถ้ามีการเปลี่ยนไลน์ตามมอเตอร์ไปด้วย สรุปได้เลยว่าเป็นที่มอเตอร์ ซึ่งก็ควรที่จะส่งโรงซ่อมเพื่อแก้ปัญหาการเกิดความไม่สมดุลของกระแสต่อไป เพราะคงไม่มีเครื่องมือตามที่กล่าวมาแล้ว<br> |
21/04/2548 18:47 น. |
ขอบคุณครับช่างซ่อมมอเตอร์ที่ให้คำแนะนำ ผมจะลองทำตามคำแนะนำดูได้ผลอย่างไรแล้วจะแจ้งให้ทราบอีกทีครับ |
09/05/2552 00:45 น. |
หาค่ากระแสไฟฟ้าที่ใช้งานของมอเตอร์<br> |