14/04/2548 00:01 น. |
อยากทราบว่าสามารถต่อมอเตอร์ 3 เฟส ด้วย ไฟเฟสเดียวได้ไหม ต่ออย่างไร โดยใช้คาปาซิเตอร์เป็นตัวช่วย start และสามารถ คำนวนหาคาปาซิเตอร์ว่าต้องใช้ ขนาดไหนได้อย่างไร จาก nanplate ของมอเตอร์ |
14/04/2548 09:31 น. |
เคยให้ความคิดเห็นไว้แล้วในกระทู้ที่ 0372 เลยลอกมาให้อ่านกันดูอีกที<br><br>ไม่ยากหรอกครับ ขั้นแรกทำได้โดยต่อมอเตอร์ให้เป็น 3 สายก่อน ซึ่งก็ควรที่จะเป็น เดลต้า เพราะต้องใช้มอเตอร์ที่มีพิกัดแรงดัน 220/380 V. จากนั้นนำ แคปมาต่อเข้าที่คู่ใด คู่หนึ่งของสายที่ออกมาจากมอเตอร์อาจจะเป็น U-V, V-W, U-W <br>จากนั้นก็นำไปต่อเข้ากับระบบไฟ 1 เฟส สาย L ควรต่อที่สายเส้นใดเส้นหนึ่งที่ต่ออยู่กับแคป ส่วนสาย N ให้ต่อกับสายที่ไม่ได้ต่อกับแคป<br><br>ค่าแคปที่นำมาต่อจะขึ้นอยู่กับขนาดของมอเตอร์ซึ่งผมจำไม่ได้ ต้องหาดูอีกที แต่การต่อใช้งานโดยการนำมอเตอร์ 3 เฟสมาต่อใช้งานกับระบบไฟ 1 เฟส แรงม้าของมอเตอร์จะตกลงไปเหลือ 1/3 ของแรงม้าเดิม ซึ่งการเลือกนำมอเตอร์ไปใช้งานด้วยวิธีนี้คงต้องพิจารณาจุดนี้ด้วย<br> <br>หลักการทำงานก็ไม่มีอะไร แคปจะทำให้เกิดการหน่วงของสัญาณไฟฟ้าทำให้ดูเหมือนเกิดเฟสใหม่ขึ้นมา จึงมีผลทำให้มอเตอร์หมุนได้ |
14/04/2548 10:47 น. |
ทำไมต้องใช้มอเตอร์แรงดัน 220/380 โวลท์ แรงดันอื่นๆนอกเหนือจากนี้สามารถ ต่อได้ใหมครับ |
16/04/2548 21:09 น. |
ไม่ได้ครับเพราะถ้าเป็นมอเตอร์แรงดันอื่น ( ที่มากกว่า 220/380 )เมื่อเรานำไปต่อเข้ากับระบบไฟ 220 โวลท์ 1 เฟส จะเป็นการใช้งานขดลวดที่ต่ำกว่าพิกัดแรงดันแรงม้าจะยิ่งตกเข้าไปอีก ขนาดเป็น มอเตอร์ 220/380 ยังต้องต่อเป็นเดลต้าเพื่อให้แรงดันที่ขดลวดต้องการต่อเฟสเป็น 220 โวลท์เท่ากับระบบไฟที่จ่ายให้กับมอเตอร์<br><br>หรือสรุปง่ายๆ หามอเตอร์ที่แรงดันมอเตอร์สามารถต่อให้ได้เป็น 220 โวลท์ 3 เฟส |
17/04/2548 00:01 น. |
ขอบคุณครับสำหรับคำตอบ มีแหล่งข้อมูลใดอีกบ้างครับที่จะทราบว่า ต้องใช้แคป ขนาดเท่าไร แล้วต้องใช้สวิทช์หนีศูนย์เป็นตัวตัดแคป ออก หลัง start แล้วหรือป่าวครับ |
17/04/2548 16:14 น. |
ต้องขอเวลาหาสักนิดนึง พึ่งจะย้ายที่อยู่ ยังหาแหล่งข้อมูลไม่เจอ หาพบแล้วจะขึ้นมา โพสบอก |
17/04/2548 18:35 น. |
ขอบคุณครับ |
17/04/2548 21:49 น. |
เพราะว่ากระทู้นี้ทำให้ผมได้กลับไปอ่านดูอีกที และต้องขอแก้ไขข้อมูลบางอย่างที่ได้บอกไปแล้ว ข้อมูลใหม่มีดังนี้<br><br>เมื่อมีการนำเอามอเตอร์ 3 เฟสมาต่อใช้งานโดยใช้ระบบไฟ 1 เฟส<br>1. แรงบิดสตาร์ทของมอเตอร์จะมีค่าเท่ากับแรง 0.3 ของแรงบิดพิกัดเดิม หมายความว่าหากเดิมแรงบิดสตาร์ทอยู่ที่ 1.5 เท่าของแรงบิดพิกัด เมื่อมีการต่อใช้งานแบบใหม่แล้ว แรงบิดสตาร์ทจะเหลือ 0.3 x 1.5 = .45 ของแรงบิดพิกัด ฉะนั้นมอเตอร์ไม่ควรสตาร์ในขณะที่มีโหลดต่ออยู่<br>2. แรงม้าของมอเตอร์ จะมีค่าประมาณ 70 เปอร์เซนต์ของแรงม้าเดิม<br>3. ค่าแคปที่นำมาต่อจะมีค่า 70 ไมโครฟารัดต่อ มอเตอร์ 1000 w ยกตัวอย่าง มอเตอร์ 0.55 KW. จะใช้ แคป = 550 x70/1000 = 38.5 ไมโครฟารัด แรงดันที่แคปทนได้ไม่ควรต่ำกว่า 250 โวลท์<br>4. ไม่ต้องใช้สวิทช์แรงเหวี่ยงในการตัดแคปออกนะครับ<br><br>และต้องขออภัยเกี่ยวกับแรงม้าที่บอกไปผิดในการตอบกระทู้ครั้งก่อน<br>หมายเหตุ<br> ที่มาของข้อมูล Workshop Manual ASEA |
20/04/2548 09:03 น. |
ที่มาของข้อมูล Workshop Manual ASEA หาได้ที่ไหนครับ<br>อยากได้ข้อมูลอย่างอื่นเพิ่มเติม |
20/04/2548 17:57 น. |
คงจะหายากหล่ะครับ เพราะที่ผมมีเพราะเป็นศิษย์เก่า ABB ศิษย์เก่า ABB ที่มีตำแหน่งเป็นวิศวกรโรงซ่อม น่าจะมีเกือบทุกคน <br><br> และคงจะบอกได้เลยว่าคงไม่สะดวกที่จะให้กอ๊ปปี๊นะครับ เพราะผมเคยให้รุ่นน้องคนหนึ่งกอ๊ปปี๊ไปชุดหนึ่ง ทำชุดต้นฉบับผมเสียหายน่าดู ที่รู้เพราะมาเปิดอ่านตอนหลัง และอีกอย่างโดยปกติจะเป็นคนหวงหนังสือครับ ( คงต้องขอโทษด้วย ถ้าจะขอก๊อป ) |
20/04/2548 19:52 น. |
ค่าแคปที่นำมาต่อจะมีค่า 93 ไมโครฟารัดต่อ มอเตอร์ 1000 w สำหรับมอเตอร์4,6 Pole และ 80 ไมโครฟารัดต่อ มอเตอร์ 1000 w สำหรับมอเตอร์ 2 Pole ยกตัวอย่าง มอเตอร์ 0.55 KW. จะใช้ 38 ไมโครฟารัดสำหรับมอเตอร์ 2 Pole และ 50 ไมโครฟารัดสำหรับมอเตอร์ 4 หรือ 6 Pole ข้อมูลที่ผมมี กราฟมันเป็นเส้นโค้ง ตกท้องช้าง และไม่ต้องมาคูณลด Power แล้ว เอาไปใช้เลย จึงไม่ค่อยแน่ใจที่ช่างซ่อมมอเตอร์ตอบ บางทีข้อมูลผมอาจจะผิดก็ได้ |
21/04/2548 18:54 น. |
tinamics.com ครับดู พี่ตอบแล้วดูหมือนยังไม่คอ่ยมั่นใจเลยแล้วผู้ที่ผ่านเข้ามาจะนำไปใช้ประโยชน์เขาจะมั่นใจได้อย่างไรครับ |
21/04/2548 20:32 น. |
ดีแล้วละครับที่มีผู้ออกความเห็นเยอะๆ งัดตำราที่ตัวเองมีอยู่นำมาแสดง เพราะอย่างไรก็แล้วแต่ก็คงต้องมีคนเอาไปทดลองใช้แน่ ผมก็เช่นเดียวกันว่าจะหาโอกาสเอามอเตอร์มาต่อแคปดูซักหน่อยได้ผลอย่างไรแล้วจะมาสรุปในเวปบอร์ดให้อ่าน |
21/04/2548 20:43 น. |
ผมได้ข้อมูลมาจากตำราเยอรมัน ของ Siemens แล้วจะเชื่อได้ไหม? ฝรั่งเขียนผิดก็มี ฝรั่งโง่ๆ ก็มี ตำราไทยแปลผิดก็มี ช่างมั่วๆก็มี บางทีเรียนรู้จากช่างซ่อมมอเตอร์ หรือคนที่เคยใช้งานจริงเมื่อเทียบกับตำราก็ได้ ไม่มีอะไร 100% หรอก ไงก็ลองดู ใช้ตามผมบอก หรือช่างซ่อมมอเตอร์บอกก็ได้ แล้วบอกกันบ้าง เพราะ คุณสมบัติของมอเตอร์แต่ละตัวไม่เหมือนกัน ของผมข้อมูลจากเยอรมัน 220V 50 Hz ช่างซ่อมมอเตอร์ข้อมูลของไอ้กันมั่ง ไม่รู้ว่าดู ความถี่ หรือยัง Manual ASEA ผมเคยอ่าน เขียนผิดก็เยอะ เถียงกันแทบตาย? ผมแค่อยากให้ Verifly information ก่อน ผมอาจจะผิดก็ได้ หรือช่างซ่อมมอเตอร์อาจจะผิดก็ได้ |
23/04/2548 20:54 น. |
ลอง dowm load ไปอ่านดูก็แล้วกัน<br><a href="http://www.tinamics.com/Artical/3Phase_to_1Phase.pdf" Target="_BLANK">http://www.tinamics.com/Artical/3Phase_to_1Phase.pdf</a> |
04/09/2551 13:20 น. |
การขนานมอเตอร์คืออะไรคับอาจารย์<br> |