29/03/2548 21:15 น. |
ที่ติดตั้งอยู่ที่ท้ายมอเตอร์ DC มีความสำคัญอย่างไรและมีหลักการทำงานแบบใหนคะ |
30/03/2548 12:09 น. |
เป็นเครื่องกำเหนิดไฟฟ้าดีซี ขนาดเล็กแบบหนึ่ง โครงสร้างส่วนมากจะมีโรเตอร์เป็นอาร์เมเจอร์ และมีสเตเตอร์เป็นแม่เหล็กถาวร <br> <br>แรงดันที่ แทคโชเจน ผลิตออกมาได้ จะแปรผันเป็นเส้นตรงกับความเร็วรอบของโรเตอร์ที่ต่อคัปปิ้งกับมอเตอร์ดีซี หมายความว่า ความเร็วของโรเตอร์ยิ่งมากจะได้แรงดันยิ่งสูงขึ้น<br><br>โดยปกติตัว แทคโชเจน จะมีสเปคระบุเป็นค่า ความเร็วรอบต่อโวลท์ที่ผลิตได้เช่น 1000 รอบต่อ 35 โวลท์ ซึงก็หมายความว่า เมื่อมอเตอร์ดีซีหมุนพาแทคโชเจนให้มีความเร็วรอบ 1000 รอบต่อนาที จะมีแรงดันออกมาจากแทคโชเจน 35 โวลท์ดีซี<br><br>หน้าที่หลักของการใช้งานแทคโชเจน ก็คือการเป็น Feed back sensor ให้กับชุดควบคุมมอเตอร์ เพื่อที่จะบอกให้ชุดควบคุมมอเตอร์รู้ว่าตอนนี้แรงดันที่ป้อนให้กับมอเตอร์ค่านี้แล้ว มอเตอร์มีความเร็วรอบเป็นเท่าไร ( คงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญอธิบายเสริมอีกที ) เพื่อใช้เป็นตัวช่วยให้การควบคุมให้รอบคงที่ตามที่เราต้องการ<br><br>ปัญหาที่พบส่วนใหญ่หลังจากการใช้งานไปนานๆ คือ แรงดันที่แทคโชผลิตได้จะได้ต่ำกว่า สเปคที่กำหนดไว้ที่เนมเพลทในขณะที่ความเร็วรอบเท่าเดิม สาเหตุเกิดจากความเสื่อมสภาพของแม่เหล็กถาวรที่เป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็ก ทำให้จำนวนเส้นแรงแม่เหล็กมีจำนวนน้อยลง และมีผลทำให้แรงดันที่ได้น้อยลงตามไปด้วย<br><br>แต่เนื่องจากแทคโชเจนมีขนาดเล็ก จึงทำให้อาร์เมเจอร์มีขนาดเล็กตามไปด้วย ส่วนมากจะซ่อมค่อนข้างจะยาก และถ้าซ่อมได้คงต้องใช้ช่างที่มีความระเอียดรอบคอบค่อนข้างสูง เพราะจะใช้ลวดเส้นที่เล็กมากและมีจำนวนรอบที่สูง ช่างส่วนมากจะพันรอบไม่ครบ หรือ ต่อวงจรผิด ทำให้แรงดันที่ผลิตออกมาไม่ได้ และบางทีอาจจะอ้างว่าแม่เหล็กถาวรที่สะเตเตอร์เสื่อม ซึ่งควรที่ใช้การพิจารณาร้านซ่อมซักนิดนึง หากคิดจะซ่อมแทคโชเจน |
12/04/2548 19:48 น. |
ลองไปอ่านบทความนี้ดูนะครับ <br><a href="http://www.9engineer.com/9au_main/Drives/ServoDriveSystem_2.htm" Target="_BLANK">http://www.9engineer.com/9au_main/Drives/ServoDriveSystem_2.htm</a> |